เปิดกองปัญหาเรื้อรัง 10 ปี @กบินทร์บุรี ว่าด้วยการลอบทิ้งกากยิปซัม ...“เขาเอาคนในชุมชนมาเป็นยามที่นี่ (โรงงาน) และให้ยามไปบอกชาวบ้านว่าเป็นการก่อสร้างโรงงานปุ๋ย แล้วก็ให้ชาวบ้านมารับปุ๋ยฟรี โดยที่เอาบัตรประชาชนมายื่น” ชาวบ้านรายหนึ่งเล่าย้อนเหตุการณ์เมื่อ 10 ปีก่อน.นั่นคือช่วงประมาณปี พ.ศ. 2557 โรงงานที่พูดถึงเป็นของบริษัท จีเอ็มไบโอเทค จำกัด เป็นโรงงานผลิตสารปรับปรุงดิน ได้เข้าเริ่มดำเนินกิจการที่ ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี .ในขณะนั้นมีการประกาศให้ชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาขนกากยิปซัมจากโรงงาน ไปใช้สำหรับทำปุ๋ยในการเกษตร ซึ่งมีผู้หลงเชื่อจำนวนไม่น้อยกระทั่งต่อมาจึงเริ่มมีข้อมูลว่า แท้จริงแล้วทางโรงงานได้ลักลอบนำกองยิปซัมมาทิ้งไว้ที่บริเวณ ม.5 ต.ลาดตะเคียน นั้น แต่เมื่อมีการร้องเรียนจากชาวบ้าน จึงได้มีการบอกให้ชาวบ้านสามารถมารับกากยิปซัมไปได้ โดยให้เหตุผลว่ากากยิปซัมเป็นปุ๋ย สามารถฆ่าเชื้อและแบคทีเรียในดิน.เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีชาวบ้าน ม.5 และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนร่วม 100 คน ที่นำรถไปขนกากยิปซัมจากโรงงานจีเอ็มไบโอเทคฯ เพื่อไปใช้เป็นปุ๋ยในที่ดินของตน ตามที่โรงงานกล่าวอ้าง .“เราเอาไปใส่ที่ไร่มันเรา ไปกระจายออกลำบากมากมันหนัก พอเสร็จปุ๊ปเราปลูกผลผลิต คือปลูกมันเรานี่แหละ มันไม่งาม ต้นมันเราก็เหลือง สุดท้ายก็เน่า” ชาวบ้านถึงเหตุการณ์หลังจากนำกากยิปซัมเข้ามาใช้ทำปุ๋ยในไร่มันปะหลังของตน ดังนั้นจึงไม่มีใครต้องการปุ๋ยจากโรงงานแห่งนี้อีก.แต่กองกากยิปซัมดังกล่าวยังคงกองอยู่ในพื้นที่ยาวนานเป็นเวลาถึง 10 ปีแล้ว โดยมีจำนวนมาก กองสูงเกินกว่ารถสิบล้อ. “เหม็น..!! เวียนหัว แสบคอ ลมพัดแรงๆ เหม็นจนนอนไม่ได้ กลิ่นเหม็นเน่าๆ แสบคันตามผิวหนัง พอเกาก็จะเป็นผื่น” คือคำบรรยายของคนพื้นที่เมื่อถูกถามถึงผลกระทบที่ได้รับตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จากการมีกากยิปซัมจำนวนมหาศาลมากองทิ้งไว้ห่างจากบ้านของตนเพียง 100 – 200 เมตร.ไม่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้นที่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากกองยิปซัมที่โรงงานจีเอ็มไบโอเทคฯ ทิ้งไว้ แม้กระทั่งวัวควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ยังได้รับผลกระทบด้วย.ชาวบ้านเล่าว่า ในยามที่ฝนตกชะยิปซัมลงไปในพื้นที่ใกล้เคียง วัวควายเดินไปเหยียบถึงกับเล็บเท้าหลุด.จากข้อมูลที่ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศรวบรวมมา พบว่า ยิปซัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1) ยิปซัมที่เกิดตามธรรมชาติจากการตกตะกอนของทะเลเก่า 2) ยิปซัมที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย กากของเสียจากกระบวนการผลิตกรดมะนาว เป็นต้น .ยิปซัม แม้จะประโยชน์ทางการเกษตร ช่วยแก้ปัญหาดินเค็มได้ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่มาก การใช้ยิปซัมมากเกินไปในการเกษตรอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของดินและปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจทำให้มีค่าความเป็นกรดสูง เกิดสภาวะดินเปรี้ยว ดินไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร.ที่สำคัญคือ ควรต้องมีการตรวจสอบปริมาณการปนเปื้อนของสารอันตรายเช่น ปริมาณโลหะหนักก่อนนำไปใช้.นอกจากนี้ ยิปซัมในรูปแบบผงยังเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และบุคคลอาจมีอาการแพ้หรือมีความไวทางผิวหนังต่อยิปซัม การสัมผัสทางผิวหนังกับผลิตภัณฑ์ยิปซัมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบหรือปัญหาผิวหนังอื่นๆ.ยิปซัมมีปริมาณซัลเฟตสูง การรวมของเสียที่มีปริมาณซัลเฟตสูงกับของเสียที่ย่อยสลายได้จะก่อให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีพิษสูงและมีกลิ่นเหม็นด้วย เหตุนี้ยิปซัมจึงถูกห้ามไม่ให้นำไปฝังกลบและต้องกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม ตามประการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว.การกองกากยิปซัมทิ้งไว้นานเป็นเวลา 10 ปี ของบริษัท จีเอ็มไบโอเทค จำกัด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกระบวนการกำจัดของเสียของกระทรวงอุตสาหกรรม และยังสร้างความเดือดร้อนรำคราญแก่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง การใช้วิธียืมมือชาวบ้านหลอกทิ้งกากอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการเป็นคนผลิตขึ้น เป็นวิธีที่ไร้ความรับผิดชอบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม .อีกแง่หนึ่ง เหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านที่เดือดร้อนกลุ่มนี้ เดินทางไปร้องเรียนกับหลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี แต่ปัจจุบันยังต้องเผชิญกับความเดือดร้อนจากเรื่องดังกล่าวอยู่ และไม่มีวี่แววจะดีขึ้นเลย......เรื่องและภาพถ่ายโดย เจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ
เปิดกองปัญหาเรื้อรัง 10 ปี @กบินทร์บุรี ว่าด้วยการลอบทิ้งกากยิปซัม ...“เขาเอาคนในชุมชนมาเป็นยามที่นี่ (โรงงาน) และให้ยามไปบอกชาวบ้านว่าเป็นการก่อสร้างโรงงานปุ๋ย แล้วก็ให้ชาวบ้านมารับปุ๋ยฟรี โดยที่เอาบัตรประชาชนมายื่น” ชาวบ้านรายหนึ่งเล่าย้อนเหตุการณ์เมื่อ 10 ปีก่อน.นั่นคือช่วงประมาณปี พ.ศ. 2557 โรงงานที่พูดถึงเป็นของบริษัท จีเอ็มไบโอเทค จำกัด เป็นโรงงานผลิตสารปรับปรุงดิน ได้เข้าเริ่มดำเนินกิจการที่ ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี .ในขณะนั้นมีการประกาศให้ชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาขนกากยิปซัมจากโรงงาน ไปใช้สำหรับทำปุ๋ยในการเกษตร ซึ่งมีผู้หลงเชื่อจำนวนไม่น้อยกระทั่งต่อมาจึงเริ่มมีข้อมูลว่า แท้จริงแล้วทางโรงงานได้ลักลอบนำกองยิปซัมมาทิ้งไว้ที่บริเวณ ม.5 ต.ลาดตะเคียน นั้น แต่เมื่อมีการร้องเรียนจากชาวบ้าน จึงได้มีการบอกให้ชาวบ้านสามารถมารับกากยิปซัมไปได้ โดยให้เหตุผลว่ากากยิปซัมเป็นปุ๋ย สามารถฆ่าเชื้อและแบคทีเรียในดิน.เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีชาวบ้าน ม.5 และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนร่วม 100 คน ที่นำรถไปขนกากยิปซัมจากโรงงานจีเอ็มไบโอเทคฯ เพื่อไปใช้เป็นปุ๋ยในที่ดินของตน ตามที่โรงงานกล่าวอ้าง .“เราเอาไปใส่ที่ไร่มันเรา ไปกระจายออกลำบากมากมันหนัก พอเสร็จปุ๊ปเราปลูกผลผลิต คือปลูกมันเรานี่แหละ มันไม่งาม ต้นมันเราก็เหลือง สุดท้ายก็เน่า” ชาวบ้านถึงเหตุการณ์หลังจากนำกากยิปซัมเข้ามาใช้ทำปุ๋ยในไร่มันปะหลังของตน ดังนั้นจึงไม่มีใครต้องการปุ๋ยจากโรงงานแห่งนี้อีก.แต่กองกากยิปซัมดังกล่าวยังคงกองอยู่ในพื้นที่ยาวนานเป็นเวลาถึง 10 ปีแล้ว โดยมีจำนวนมาก กองสูงเกินกว่ารถสิบล้อ. “เหม็น..!! เวียนหัว แสบคอ ลมพัดแรงๆ เหม็นจนนอนไม่ได้ กลิ่นเหม็นเน่าๆ แสบคันตามผิวหนัง พอเกาก็จะเป็นผื่น” คือคำบรรยายของคนพื้นที่เมื่อถูกถามถึงผลกระทบที่ได้รับตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จากการมีกากยิปซัมจำนวนมหาศาลมากองทิ้งไว้ห่างจากบ้านของตนเพียง 100 – 200 เมตร.ไม่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้นที่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากกองยิปซัมที่โรงงานจีเอ็มไบโอเทคฯ ทิ้งไว้ แม้กระทั่งวัวควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ยังได้รับผลกระทบด้วย.ชาวบ้านเล่าว่า ในยามที่ฝนตกชะยิปซัมลงไปในพื้นที่ใกล้เคียง วัวควายเดินไปเหยียบถึงกับเล็บเท้าหลุด.จากข้อมูลที่ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศรวบรวมมา พบว่า ยิปซัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1) ยิปซัมที่เกิดตามธรรมชาติจากการตกตะกอนของทะเลเก่า 2) ยิปซัมที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย กากของเสียจากกระบวนการผลิตกรดมะนาว เป็นต้น .ยิปซัม แม้จะประโยชน์ทางการเกษตร ช่วยแก้ปัญหาดินเค็มได้ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่มาก การใช้ยิปซัมมากเกินไปในการเกษตรอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของดินและปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจทำให้มีค่าความเป็นกรดสูง เกิดสภาวะดินเปรี้ยว ดินไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร.ที่สำคัญคือ ควรต้องมีการตรวจสอบปริมาณการปนเปื้อนของสารอันตรายเช่น ปริมาณโลหะหนักก่อนนำไปใช้.นอกจากนี้ ยิปซัมในรูปแบบผงยังเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และบุคคลอาจมีอาการแพ้หรือมีความไวทางผิวหนังต่อยิปซัม การสัมผัสทางผิวหนังกับผลิตภัณฑ์ยิปซัมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบหรือปัญหาผิวหนังอื่นๆ.ยิปซัมมีปริมาณซัลเฟตสูง การรวมของเสียที่มีปริมาณซัลเฟตสูงกับของเสียที่ย่อยสลายได้จะก่อให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีพิษสูงและมีกลิ่นเหม็นด้วย เหตุนี้ยิปซัมจึงถูกห้ามไม่ให้นำไปฝังกลบและต้องกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม ตามประการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว.การกองกากยิปซัมทิ้งไว้นานเป็นเวลา 10 ปี ของบริษัท จีเอ็มไบโอเทค จำกัด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกระบวนการกำจัดของเสียของกระทรวงอุตสาหกรรม และยังสร้างความเดือดร้อนรำคราญแก่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง การใช้วิธียืมมือชาวบ้านหลอกทิ้งกากอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการเป็นคนผลิตขึ้น เป็นวิธีที่ไร้ความรับผิดชอบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม .อีกแง่หนึ่ง เหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านที่เดือดร้อนกลุ่มนี้ เดินทางไปร้องเรียนกับหลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี แต่ปัจจุบันยังต้องเผชิญกับความเดือดร้อนจากเรื่องดังกล่าวอยู่ และไม่มีวี่แววจะดีขึ้นเลย......เรื่องและภาพถ่ายโดย เจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 0 รีวิว