ที่ราบสูงโกลัน ที่ถูกยึดครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกได้ของอิสราเอล "ไปชั่วกัปชั่วกัลป์" จากคำประกาศของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู หลังจากหนึ่งวันก่อนหน้า ผู้นำรายนี้สั่งทหารอิสราเอลรุกคืบเข้าไปยังเขตกันชนที่แยกภูมิภาคดังกล่าวออกจากซีเรีย
.
ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อช่วงค่ำวันจันทร์ (9 ธ.ค.) เนทันยาฮู ประกาศว่า "วันนี้ ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญใหญ่หลวงของการปรากฏตัวของเราบนที่ราบสูงโกลัน ไม่ใช่ตรงตีนเขาโกลัน" อ้างถึงดินแดนที่อิสราเอลยึดมาจากซีเรีย ระหว่างสงคราม 6 วัน ปี 1967 "ที่ราบสูงโกลันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกได้ของอิสราเอลไปตลอดกาล"
.
อิสราเอลผนวกที่ราบสูงโกลันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนแต่เพียงฝ่ายเดียวในปี 1981 คำกล่าวอ้างที่ถูกทั่วทั้งโลกมองว่าไม่ชอบธรรมตามกฎหมาย ยกเว้นสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ก่อนหน้าการเข้ายึดเมื่อวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ทหารอิสราเอลไม่เคยประจำการตามแนวชายแดนที่ราบสูงโกลันติดกับซีเรีย ผลจากข้อตกลงปี 1974 ที่รัฐบาลอิสราเอลและซีเรีย เห็นพ้องจัดตั้งเขตกันชนในฝั่งแนวหน้าของอิสราเอล โดยอนุญาตให้เฉพาะกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเข้าประจำการ
.
อิสราเอลส่งรถถังและทหารเข้าไปยังเขตกันชนดังกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) หลังจากกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย บุกยึดกรุงดามัสกัส และประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ถูกโค่นอำนาจ หลบหนีไปยังรัสเซีย เพื่อขอลี้ภัย
.
ในถ้อยแถลงผ่านวิดีโอจากภูมิภาคดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวอ้างว่าข้อตกลงปี 1974 ที่จัดตั้งเขตปลอดทหารนั้น เท่ากับ "พังครืนลงแล้ว" เนื่องจากทหารซีเรียละทิ้งฐานที่มั่นของตนเอง
.
กองกำลังอิสราเอลยังเดินหน้าต่อล่วงล้ำเลยเข้าไปไกลเกินเขตกันชันและเข้าสู่ดินแดนของซีเรียในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) ในปฏิบัติการที่ทางรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล อ้างว่ามีเจตนาเพื่อจัดตั้ง "พื้นที่ความมั่นคงใหม่" ที่จะปราศจาก "อาวุธยุทธศาสตร์หนักและโครงสร้างพื้นฐานของพวกก่อการร้าย" ทั้งนี้ในบรรดาสถานที่ที่กองกำลังอิสราเอลเข้ายึดครองนั้น รวมไปถึงแถบภูเขาเฮอร์มอนในฝั่งของซีเรีย จุดเริ่มต้นของการสู้รบในสงครามยมคิปปูร์ ปี 1973
.
มีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวราว 20,000 คน พำนักอยู่ในที่ราบสูงโกลัน ขณะที่ภูมิภาคแถบนี้เป็นถิ่นฐานของชาวดรูซซีเรียในจำนวนพอๆ กัน อย่างไรก็ตาม มีถิ่นฐานชาวยิวอย่างน้อย 30 แห่ง ในพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
.
เนทันยาฮู ให้คำจำกัดความการรุกคืบของอิสราเอลเข้าสู่เขตกันชน ว่าเป็นแค่ "ชั่วคราว" อย่างไรก็ตาม ประเทศเพื่อนบ้านหลายชาติกล่าวหาอิสราเอล กำลังฉวยโอกาสจากการที่เกิดสุญญากาศทางอำนาจในดามัสกัส จัดฉากยึดดินแดนอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118478
..............
Sondhi X
.
ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อช่วงค่ำวันจันทร์ (9 ธ.ค.) เนทันยาฮู ประกาศว่า "วันนี้ ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญใหญ่หลวงของการปรากฏตัวของเราบนที่ราบสูงโกลัน ไม่ใช่ตรงตีนเขาโกลัน" อ้างถึงดินแดนที่อิสราเอลยึดมาจากซีเรีย ระหว่างสงคราม 6 วัน ปี 1967 "ที่ราบสูงโกลันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกได้ของอิสราเอลไปตลอดกาล"
.
อิสราเอลผนวกที่ราบสูงโกลันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนแต่เพียงฝ่ายเดียวในปี 1981 คำกล่าวอ้างที่ถูกทั่วทั้งโลกมองว่าไม่ชอบธรรมตามกฎหมาย ยกเว้นสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ก่อนหน้าการเข้ายึดเมื่อวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ทหารอิสราเอลไม่เคยประจำการตามแนวชายแดนที่ราบสูงโกลันติดกับซีเรีย ผลจากข้อตกลงปี 1974 ที่รัฐบาลอิสราเอลและซีเรีย เห็นพ้องจัดตั้งเขตกันชนในฝั่งแนวหน้าของอิสราเอล โดยอนุญาตให้เฉพาะกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเข้าประจำการ
.
อิสราเอลส่งรถถังและทหารเข้าไปยังเขตกันชนดังกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) หลังจากกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย บุกยึดกรุงดามัสกัส และประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ถูกโค่นอำนาจ หลบหนีไปยังรัสเซีย เพื่อขอลี้ภัย
.
ในถ้อยแถลงผ่านวิดีโอจากภูมิภาคดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวอ้างว่าข้อตกลงปี 1974 ที่จัดตั้งเขตปลอดทหารนั้น เท่ากับ "พังครืนลงแล้ว" เนื่องจากทหารซีเรียละทิ้งฐานที่มั่นของตนเอง
.
กองกำลังอิสราเอลยังเดินหน้าต่อล่วงล้ำเลยเข้าไปไกลเกินเขตกันชันและเข้าสู่ดินแดนของซีเรียในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) ในปฏิบัติการที่ทางรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล อ้างว่ามีเจตนาเพื่อจัดตั้ง "พื้นที่ความมั่นคงใหม่" ที่จะปราศจาก "อาวุธยุทธศาสตร์หนักและโครงสร้างพื้นฐานของพวกก่อการร้าย" ทั้งนี้ในบรรดาสถานที่ที่กองกำลังอิสราเอลเข้ายึดครองนั้น รวมไปถึงแถบภูเขาเฮอร์มอนในฝั่งของซีเรีย จุดเริ่มต้นของการสู้รบในสงครามยมคิปปูร์ ปี 1973
.
มีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวราว 20,000 คน พำนักอยู่ในที่ราบสูงโกลัน ขณะที่ภูมิภาคแถบนี้เป็นถิ่นฐานของชาวดรูซซีเรียในจำนวนพอๆ กัน อย่างไรก็ตาม มีถิ่นฐานชาวยิวอย่างน้อย 30 แห่ง ในพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
.
เนทันยาฮู ให้คำจำกัดความการรุกคืบของอิสราเอลเข้าสู่เขตกันชน ว่าเป็นแค่ "ชั่วคราว" อย่างไรก็ตาม ประเทศเพื่อนบ้านหลายชาติกล่าวหาอิสราเอล กำลังฉวยโอกาสจากการที่เกิดสุญญากาศทางอำนาจในดามัสกัส จัดฉากยึดดินแดนอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118478
..............
Sondhi X
ที่ราบสูงโกลัน ที่ถูกยึดครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกได้ของอิสราเอล "ไปชั่วกัปชั่วกัลป์" จากคำประกาศของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู หลังจากหนึ่งวันก่อนหน้า ผู้นำรายนี้สั่งทหารอิสราเอลรุกคืบเข้าไปยังเขตกันชนที่แยกภูมิภาคดังกล่าวออกจากซีเรีย
.
ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อช่วงค่ำวันจันทร์ (9 ธ.ค.) เนทันยาฮู ประกาศว่า "วันนี้ ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญใหญ่หลวงของการปรากฏตัวของเราบนที่ราบสูงโกลัน ไม่ใช่ตรงตีนเขาโกลัน" อ้างถึงดินแดนที่อิสราเอลยึดมาจากซีเรีย ระหว่างสงคราม 6 วัน ปี 1967 "ที่ราบสูงโกลันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกได้ของอิสราเอลไปตลอดกาล"
.
อิสราเอลผนวกที่ราบสูงโกลันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนแต่เพียงฝ่ายเดียวในปี 1981 คำกล่าวอ้างที่ถูกทั่วทั้งโลกมองว่าไม่ชอบธรรมตามกฎหมาย ยกเว้นสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ก่อนหน้าการเข้ายึดเมื่อวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ทหารอิสราเอลไม่เคยประจำการตามแนวชายแดนที่ราบสูงโกลันติดกับซีเรีย ผลจากข้อตกลงปี 1974 ที่รัฐบาลอิสราเอลและซีเรีย เห็นพ้องจัดตั้งเขตกันชนในฝั่งแนวหน้าของอิสราเอล โดยอนุญาตให้เฉพาะกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเข้าประจำการ
.
อิสราเอลส่งรถถังและทหารเข้าไปยังเขตกันชนดังกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) หลังจากกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย บุกยึดกรุงดามัสกัส และประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ถูกโค่นอำนาจ หลบหนีไปยังรัสเซีย เพื่อขอลี้ภัย
.
ในถ้อยแถลงผ่านวิดีโอจากภูมิภาคดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวอ้างว่าข้อตกลงปี 1974 ที่จัดตั้งเขตปลอดทหารนั้น เท่ากับ "พังครืนลงแล้ว" เนื่องจากทหารซีเรียละทิ้งฐานที่มั่นของตนเอง
.
กองกำลังอิสราเอลยังเดินหน้าต่อล่วงล้ำเลยเข้าไปไกลเกินเขตกันชันและเข้าสู่ดินแดนของซีเรียในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) ในปฏิบัติการที่ทางรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล อ้างว่ามีเจตนาเพื่อจัดตั้ง "พื้นที่ความมั่นคงใหม่" ที่จะปราศจาก "อาวุธยุทธศาสตร์หนักและโครงสร้างพื้นฐานของพวกก่อการร้าย" ทั้งนี้ในบรรดาสถานที่ที่กองกำลังอิสราเอลเข้ายึดครองนั้น รวมไปถึงแถบภูเขาเฮอร์มอนในฝั่งของซีเรีย จุดเริ่มต้นของการสู้รบในสงครามยมคิปปูร์ ปี 1973
.
มีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวราว 20,000 คน พำนักอยู่ในที่ราบสูงโกลัน ขณะที่ภูมิภาคแถบนี้เป็นถิ่นฐานของชาวดรูซซีเรียในจำนวนพอๆ กัน อย่างไรก็ตาม มีถิ่นฐานชาวยิวอย่างน้อย 30 แห่ง ในพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
.
เนทันยาฮู ให้คำจำกัดความการรุกคืบของอิสราเอลเข้าสู่เขตกันชน ว่าเป็นแค่ "ชั่วคราว" อย่างไรก็ตาม ประเทศเพื่อนบ้านหลายชาติกล่าวหาอิสราเอล กำลังฉวยโอกาสจากการที่เกิดสุญญากาศทางอำนาจในดามัสกัส จัดฉากยึดดินแดนอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118478
..............
Sondhi X