ยุน ซ็อกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ต่อกรณีพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึกแต่ล้มเหลว จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมรายหนึ่งในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) ท่ามกลางเสียงเรียกร้องดังขึ้นขอให้ถอดถอนเขาหรือไม่ก็ลาออกจากตำแหน่ง และวิกฤตความเป็นผู้นำที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ
.
ประธานาธิบดียุน ออกมาขอโทษต่อความพยายามดังกล่าวและบอกว่าจะปล่อยให้ชะตากรรมทางการเมืองและทางกฎหมายของตนเอง ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชาชน (พีพีพี) พรรคการเมืองของเขา แต่ไม่ลาออกจากตำแหน่ง ในขณะที่เวลานี้ผู้นำรายนี้อยู่ภายใต้การสืบสวนทางอาญา ตามรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น
.
ในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) กระทรวงกลาโหมระบุว่า ยุน ยังคงผู้บัญชาการสูงสุดตามกฎหมาย แต่ด้วยมีความเห็นไม่ลงรอยมากขึ้นในหมู่เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงเกี่ยวกับตัวประธานาธิบดี มันจึงก่อคำถามเกี่ยวกับอำนาจที่อยู่ในมือของผู้นำรายนี้
.
โอ ดอง-วูน หัวหน้าสำนักงานสืบสวนคอร์รัปชัน สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูง เปิดเผยว่าเขาห้าม ยุน เดินทางออกไปยังต่างแดน ครั้งที่เข้าให้ปากคำกับรัฐสภา ว่าจะใช้มาตรการใดบ้างกับประธานาธิบดี
.
เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมรายหนึ่ง บอกกับคณะกรรมาธิการเช่นกัน ว่าได้ดำเนินการตามคำสั่งห้ามเดินทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
คณะกรรมาธิการชุดนี้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2021 เพื่อสืบสวนเหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูง ในนั้นรวมถึงประธานาธิบดี และสมาชิกในครอบครัว แต่ไม่มีอำนาจในการดำเนินคดีกับประธานาธิดี โดยกฎหมายบังคับให้ทางคณะกรรมาธิการส่งต่อเรื่องดังกล่าวต่อไปยังสำนักงานอัยการ
.
แม้ ยุน รอดพ้นจากการลงมติถอดถอนในรัฐสภาเมื่อวันเสาร์ (7 ธ.ค.) แต่การที่พรรคของเขาตัดสินใจถ่ายโอนอำนาจประธานาธิบดีไปยังนายกรัฐมนตรี ได้ผลักให้พันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ แห่งนี้เข้าสู่วิกฤตรัฐธรรมนูญ
.
ยุน ปฏิเสธเสียงเรียกร้อง ในนั้นบางส่วนมาจากผู้คนภายในพรรคของเขาเอง ที่ขอให้ลาออกจากตำแหน่ง แต่อนาคตของเขาดูเหมือนจะไม่แน่นอนยิ่งขึ้นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อสำนักข่าวยอนฮับ รายงานว่าเขาถูกสืบสวนทางอาญาสำหรับคำกล่าวหาก่อกบฏ
.
ในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) อัยการได้จับกุม คิม ยอง-ฮยุน อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ตามคำกล่าวหาเกี่ยวกับบทบาทของเขาในการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม
.
ประธานาธิบดียุน มอบอำนาจอย่างกว้างขวางแก่กองทัพในวันที่ 3 ธันวาคม อ้างว่าเพื่อขุดรากถอนโคนในสิ่งที่เขาเรียกว่า "กองกำลังต่อต้านรัฐ" และการทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงาน โดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง" แต่เขากลับลำถอนคำสั่งดังกล่าวในอีก 6 ชั่วโมงต่อมา หลังจากรัฐสภาลงมติคัดค้าน
.
ท่ามกลางกระแสตีกลับ พวกเจ้าหน้าที่ทหารหลายคน ในนั้นรวมถึงรักษาการรัฐมนตรีกลาโหม บอกว่พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามใดๆ หากมีการออกคำสั่งบังคับใช้กฎอัยการศึกอีกรอบ
.
พรรคประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านหลัก (ดีพี) เรียกร้องให้ปลดอำนาจของยุนที่มีเหนือกองทัพ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้จับกุมยุนและเจ้าหน้าที่ทหารรายใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัยการศึกที่ล้มเหลว
.
ในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ฮัน ดง-ฮูน หัวหน้าพรรคพีพีพี บอกว่าประธานาธิบดีจะถูกกันจากกิจการต่างประเทศและกิจการรัฐอื่นๆ โดยที่นายกรัฐมนตรีฮัน ด็อค-ซู จะเข้ารับผิดชอบกิจการรัฐบาลแทน
.
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้าน ที่บอกว่ามันไม่ชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ พวกเขาระบุว่า ยุน ต้องโดนถอดถอนหรือไม่ก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง พร้อมกับเผชิญกับการดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ พวกเขายังมีแผนยื่นถอดถอนผู้นำรายนี้อีกรอบในวันเสาร์ (14 ธ.ค.)
.
การตัดสินใจประกาศใช้กฎอัยการศึกของยุน โหมกระพือการประท้วงบนท้องถนน และก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรทั้งหลายของโซล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ
.
ความยุ่งเหยิงของโซล เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในภูมิภาค หลังมีรายงานข่าวว่าเกาหลีเหนือส่งทหารเข้าไปยังรัสเซีย เพื่อช่วยมอสโกทำสงครามกับยูเครน ท่ามกลางความสัมพันธ์ทางทหารที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างรัสเซียกับเกาหลีเหนือ
.
โช แทย็อล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ แนะนำเจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงของเขาว่า "เราต้องมุ่งมั่นไม่หยุดยั้งในความพยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่นของบรรดาพันธมิตรของเขา และเป็นอีกครั้งที่ต้องยกระดับทำให้ได้ตามความคาดหวังของประชาคมนานาชาติที่มีต่อเกาหลีใต้"
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118434
..............
Sondhi X
ยุน ซ็อกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ต่อกรณีพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึกแต่ล้มเหลว จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมรายหนึ่งในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) ท่ามกลางเสียงเรียกร้องดังขึ้นขอให้ถอดถอนเขาหรือไม่ก็ลาออกจากตำแหน่ง และวิกฤตความเป็นผู้นำที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ . ประธานาธิบดียุน ออกมาขอโทษต่อความพยายามดังกล่าวและบอกว่าจะปล่อยให้ชะตากรรมทางการเมืองและทางกฎหมายของตนเอง ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชาชน (พีพีพี) พรรคการเมืองของเขา แต่ไม่ลาออกจากตำแหน่ง ในขณะที่เวลานี้ผู้นำรายนี้อยู่ภายใต้การสืบสวนทางอาญา ตามรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น . ในวันจันทร์ (9 ธ.ค.) กระทรวงกลาโหมระบุว่า ยุน ยังคงผู้บัญชาการสูงสุดตามกฎหมาย แต่ด้วยมีความเห็นไม่ลงรอยมากขึ้นในหมู่เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงเกี่ยวกับตัวประธานาธิบดี มันจึงก่อคำถามเกี่ยวกับอำนาจที่อยู่ในมือของผู้นำรายนี้ . โอ ดอง-วูน หัวหน้าสำนักงานสืบสวนคอร์รัปชัน สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูง เปิดเผยว่าเขาห้าม ยุน เดินทางออกไปยังต่างแดน ครั้งที่เข้าให้ปากคำกับรัฐสภา ว่าจะใช้มาตรการใดบ้างกับประธานาธิบดี . เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมรายหนึ่ง บอกกับคณะกรรมาธิการเช่นกัน ว่าได้ดำเนินการตามคำสั่งห้ามเดินทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว . คณะกรรมาธิการชุดนี้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2021 เพื่อสืบสวนเหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูง ในนั้นรวมถึงประธานาธิบดี และสมาชิกในครอบครัว แต่ไม่มีอำนาจในการดำเนินคดีกับประธานาธิดี โดยกฎหมายบังคับให้ทางคณะกรรมาธิการส่งต่อเรื่องดังกล่าวต่อไปยังสำนักงานอัยการ . แม้ ยุน รอดพ้นจากการลงมติถอดถอนในรัฐสภาเมื่อวันเสาร์ (7 ธ.ค.) แต่การที่พรรคของเขาตัดสินใจถ่ายโอนอำนาจประธานาธิบดีไปยังนายกรัฐมนตรี ได้ผลักให้พันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ แห่งนี้เข้าสู่วิกฤตรัฐธรรมนูญ . ยุน ปฏิเสธเสียงเรียกร้อง ในนั้นบางส่วนมาจากผู้คนภายในพรรคของเขาเอง ที่ขอให้ลาออกจากตำแหน่ง แต่อนาคตของเขาดูเหมือนจะไม่แน่นอนยิ่งขึ้นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อสำนักข่าวยอนฮับ รายงานว่าเขาถูกสืบสวนทางอาญาสำหรับคำกล่าวหาก่อกบฏ . ในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) อัยการได้จับกุม คิม ยอง-ฮยุน อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ตามคำกล่าวหาเกี่ยวกับบทบาทของเขาในการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม . ประธานาธิบดียุน มอบอำนาจอย่างกว้างขวางแก่กองทัพในวันที่ 3 ธันวาคม อ้างว่าเพื่อขุดรากถอนโคนในสิ่งที่เขาเรียกว่า "กองกำลังต่อต้านรัฐ" และการทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงาน โดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง" แต่เขากลับลำถอนคำสั่งดังกล่าวในอีก 6 ชั่วโมงต่อมา หลังจากรัฐสภาลงมติคัดค้าน . ท่ามกลางกระแสตีกลับ พวกเจ้าหน้าที่ทหารหลายคน ในนั้นรวมถึงรักษาการรัฐมนตรีกลาโหม บอกว่พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามใดๆ หากมีการออกคำสั่งบังคับใช้กฎอัยการศึกอีกรอบ . พรรคประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านหลัก (ดีพี) เรียกร้องให้ปลดอำนาจของยุนที่มีเหนือกองทัพ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้จับกุมยุนและเจ้าหน้าที่ทหารรายใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัยการศึกที่ล้มเหลว . ในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ฮัน ดง-ฮูน หัวหน้าพรรคพีพีพี บอกว่าประธานาธิบดีจะถูกกันจากกิจการต่างประเทศและกิจการรัฐอื่นๆ โดยที่นายกรัฐมนตรีฮัน ด็อค-ซู จะเข้ารับผิดชอบกิจการรัฐบาลแทน . อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้าน ที่บอกว่ามันไม่ชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ พวกเขาระบุว่า ยุน ต้องโดนถอดถอนหรือไม่ก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง พร้อมกับเผชิญกับการดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ พวกเขายังมีแผนยื่นถอดถอนผู้นำรายนี้อีกรอบในวันเสาร์ (14 ธ.ค.) . การตัดสินใจประกาศใช้กฎอัยการศึกของยุน โหมกระพือการประท้วงบนท้องถนน และก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรทั้งหลายของโซล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ . ความยุ่งเหยิงของโซล เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในภูมิภาค หลังมีรายงานข่าวว่าเกาหลีเหนือส่งทหารเข้าไปยังรัสเซีย เพื่อช่วยมอสโกทำสงครามกับยูเครน ท่ามกลางความสัมพันธ์ทางทหารที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างรัสเซียกับเกาหลีเหนือ . โช แทย็อล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ แนะนำเจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงของเขาว่า "เราต้องมุ่งมั่นไม่หยุดยั้งในความพยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่นของบรรดาพันธมิตรของเขา และเป็นอีกครั้งที่ต้องยกระดับทำให้ได้ตามความคาดหวังของประชาคมนานาชาติที่มีต่อเกาหลีใต้" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118434 .............. Sondhi X
Like
4
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 765 มุมมอง 0 รีวิว