โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังพ้นตำแหน่ง มีข่าวว่ากำลังพูดคุยในความเป็นไปได้ในการอภัยโทษอย่างครอบคลุมให้พวกคนดังทั้งหลายที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อปกป้องคนเหล่านี้ จากความเป็นไปได้ที่จะถูกตามประหัตประหารในอนาคต ตามรายงานข่าวของโพลิติโก เว็บไซต์ข่าวการเมืองอเมริกาและซีบีเอสนิวส์
.
เมื่อเร็วๆนี้ ไบเดน เพิ่งอภัยโทษให้ลูกชาย ไม่ใช่แค่ที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอาญาต่างๆนานา แต่ยังรวมทุกๆอย่างที่เขาอาจกระทำผิดมาตั้งแต่ปี 2014 ทั้งนี้ขอบเขตการอภัยโทษอย่างกว้างขวางที่ไม่ปกติดังกล่าว เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง แม้กระทั่งจากคนในพรรคของประธานาธิบดีเอง
.
เว็บไซต์ข่าวโพลิติโก รายงานอ้างแหล่งข่าวคนวงในภายในพรรค ว่าพรรคเดโมแครตต้องการปกป้องคนกลุ่มหนึ่งจากการถูก ทรัมป์ แก้แค้น ครั้งที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม โดยเวลานี้ เจฟฟรีย์ ไซอ็องส์ หัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาวและ เอ็ด ซิสเคิล หัวหน้าที่ปรึกษา กำลังหารือเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม และบรรดาบุคคลที่อาจอยู่ในรายชื่อดังกล่าว ตามรายงานของซีบีเอสเมื่อวันศุกร์(6ธ.ค.)
.
ในบรรดาชื่อที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงคือนายแพทย์แอนโทนี เฟาซี อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงของสหรัฐฯ ผู้ซึ่งช่วยวางแผนมาตรการล็อคดาวน์โควิด-19 และบังคับสวมหน้ากาก ครั้งที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งสมัยแรก และหลังจากนั้นก็ช่วยวางแผนบังคับฉีดวัคซีน ในฐานะที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับสูงของไบเดน
.
รายงานของสภาคองเกรสเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับแหล่งต้นกำเนิดของโควิด-19 ได้กล่าวหา เฟาซี ปกปิดบทบาทของเขา ในการให้เงินสนับสนุนห้องปฏิบัติการในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน บริเวณที่เชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของไวรัส โดยดำเนินการผ่านมือที่ 3
.
ส่วนอีกคนที่อาจได้รับการอภัยโทษคือ มาร์ค มิลลีย์ นายพลปลดเกษียณ ที่เคยเรียกทรัมป์ว่า "พวกฟาสซิสต์" และ "พวกกระสันเป็นเผด็จการ" โดยอดีตประธานเสนาธิการทหารร่วมรายนี้ เคยพูดระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า เขาต่อสายหาประธานเสนาธิการทหารร่วมของจีน ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020 และอีกครั้งหลังจากเหตุจลาจลจู่โจมอาคารรัฐสภาอเมริกา วันที่ 6 มกราคม 2021 เรียกร้องให้ทำงานร่วมกับพรรคเดโมโครต เพราะเขาคิดว่า ทรัมป์ "เป็นคนบ้า"
.
ทรัมป์ ประณามการออกมาเปิดเผยดังกล่าว โดยชี้ว่าพฤติกรรมของมิลลีย์ ควรถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อกบฏ "เขาจะเริ่มโยนผู้คนเข้าห้องขัง และผมจะมีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆในบัญชีดังกล่าว" มิลลีย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ดิ แอตแลนติก ในเดือนกันยายน 202 เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการในการหวนคืนสู่อำนาจของทรัมป์
.
ลิซ เชนีย์ อดีตสมาชิกสภาคองเกรสหญิงจากรีพับลิกัน จากรัฐไวโอมิง ซึ่งหันมาเข้าร่วมกับพรรคเดโมแครต ในคณะกรรมการสืบสวนเหตุการณ์ 6 มกราคม และร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้ กมลา แฮร์ริส ในปีนี้ ก็มีข่าวลือว่าจะอยู่ในรายชื่อได้รับการอภัยโทษเช่นกัน เช่นเดียวกับ อดัม ชิฟฟ์ ว่าที่วุฒิสภาจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นแกนนำในการยื่นถอดถอน ทรัมป์ 2 รอบ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก
.
ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษผู้คนที่ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายรัฐบาลกลาง แต่ไม่ใช่กับข้อกล่าวหาในระดับรัฐหรือระดับท้องถิ่น ส่วนรูปแบบการอภัยโทษล่วงหน้าที่กล่าวอ้างว่ากำลังมีการพูดคุยกันอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ไม่พบเห็นบ่อยนัก แต่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
.
ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งลาออกจากตำแหน่งในปี 1974 ก่อนหน้าการลงมติถอดถอนในวุฒิสภา ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีเจรัลด์ ฟอร์ด ผู้สืบทอดตำแหน่งจากเขา ในคดีวอเตอร์เกต ดักฟังฝ่ายตรงข้าม
.
จากนั้นอีก 3 ปีต่อมา ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ให้อภัยโทษอย่างครอบคลุมต่อทุกคนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารระหว่างสงครามเวียดนาม และในปี 1992 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช อภัยโทษให้ แคสปาร์ ไวน์เบอร์เกอร์ ก่อนที่เขาอาจถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกรณีอื้อฉาว "อิหร่าน-คอนทรา" (Iran-Contra)
.
กรณีอื้อฉาวดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐสมัย ประธนาธิบดีโรัลด์ เรแกน ลักลอบขายอาวุธให้กับอิหร่าน แล้วนำเงินที่ได้จากอิหร่านส่งไปช่วยกลุ่มกบฏคอนทราที่ต่อสู้กับรัฐบาลสังคมนิยมในนิคารากัว
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117847
..................
Sondhi X
โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังพ้นตำแหน่ง มีข่าวว่ากำลังพูดคุยในความเป็นไปได้ในการอภัยโทษอย่างครอบคลุมให้พวกคนดังทั้งหลายที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อปกป้องคนเหล่านี้ จากความเป็นไปได้ที่จะถูกตามประหัตประหารในอนาคต ตามรายงานข่าวของโพลิติโก เว็บไซต์ข่าวการเมืองอเมริกาและซีบีเอสนิวส์ . เมื่อเร็วๆนี้ ไบเดน เพิ่งอภัยโทษให้ลูกชาย ไม่ใช่แค่ที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอาญาต่างๆนานา แต่ยังรวมทุกๆอย่างที่เขาอาจกระทำผิดมาตั้งแต่ปี 2014 ทั้งนี้ขอบเขตการอภัยโทษอย่างกว้างขวางที่ไม่ปกติดังกล่าว เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง แม้กระทั่งจากคนในพรรคของประธานาธิบดีเอง . เว็บไซต์ข่าวโพลิติโก รายงานอ้างแหล่งข่าวคนวงในภายในพรรค ว่าพรรคเดโมแครตต้องการปกป้องคนกลุ่มหนึ่งจากการถูก ทรัมป์ แก้แค้น ครั้งที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม โดยเวลานี้ เจฟฟรีย์ ไซอ็องส์ หัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาวและ เอ็ด ซิสเคิล หัวหน้าที่ปรึกษา กำลังหารือเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม และบรรดาบุคคลที่อาจอยู่ในรายชื่อดังกล่าว ตามรายงานของซีบีเอสเมื่อวันศุกร์(6ธ.ค.) . ในบรรดาชื่อที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงคือนายแพทย์แอนโทนี เฟาซี อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงของสหรัฐฯ ผู้ซึ่งช่วยวางแผนมาตรการล็อคดาวน์โควิด-19 และบังคับสวมหน้ากาก ครั้งที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งสมัยแรก และหลังจากนั้นก็ช่วยวางแผนบังคับฉีดวัคซีน ในฐานะที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับสูงของไบเดน . รายงานของสภาคองเกรสเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับแหล่งต้นกำเนิดของโควิด-19 ได้กล่าวหา เฟาซี ปกปิดบทบาทของเขา ในการให้เงินสนับสนุนห้องปฏิบัติการในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน บริเวณที่เชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของไวรัส โดยดำเนินการผ่านมือที่ 3 . ส่วนอีกคนที่อาจได้รับการอภัยโทษคือ มาร์ค มิลลีย์ นายพลปลดเกษียณ ที่เคยเรียกทรัมป์ว่า "พวกฟาสซิสต์" และ "พวกกระสันเป็นเผด็จการ" โดยอดีตประธานเสนาธิการทหารร่วมรายนี้ เคยพูดระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า เขาต่อสายหาประธานเสนาธิการทหารร่วมของจีน ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020 และอีกครั้งหลังจากเหตุจลาจลจู่โจมอาคารรัฐสภาอเมริกา วันที่ 6 มกราคม 2021 เรียกร้องให้ทำงานร่วมกับพรรคเดโมโครต เพราะเขาคิดว่า ทรัมป์ "เป็นคนบ้า" . ทรัมป์ ประณามการออกมาเปิดเผยดังกล่าว โดยชี้ว่าพฤติกรรมของมิลลีย์ ควรถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อกบฏ "เขาจะเริ่มโยนผู้คนเข้าห้องขัง และผมจะมีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆในบัญชีดังกล่าว" มิลลีย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ดิ แอตแลนติก ในเดือนกันยายน 202 เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการในการหวนคืนสู่อำนาจของทรัมป์ . ลิซ เชนีย์ อดีตสมาชิกสภาคองเกรสหญิงจากรีพับลิกัน จากรัฐไวโอมิง ซึ่งหันมาเข้าร่วมกับพรรคเดโมแครต ในคณะกรรมการสืบสวนเหตุการณ์ 6 มกราคม และร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้ กมลา แฮร์ริส ในปีนี้ ก็มีข่าวลือว่าจะอยู่ในรายชื่อได้รับการอภัยโทษเช่นกัน เช่นเดียวกับ อดัม ชิฟฟ์ ว่าที่วุฒิสภาจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นแกนนำในการยื่นถอดถอน ทรัมป์ 2 รอบ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก . ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษผู้คนที่ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายรัฐบาลกลาง แต่ไม่ใช่กับข้อกล่าวหาในระดับรัฐหรือระดับท้องถิ่น ส่วนรูปแบบการอภัยโทษล่วงหน้าที่กล่าวอ้างว่ากำลังมีการพูดคุยกันอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ไม่พบเห็นบ่อยนัก แต่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน . ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งลาออกจากตำแหน่งในปี 1974 ก่อนหน้าการลงมติถอดถอนในวุฒิสภา ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีเจรัลด์ ฟอร์ด ผู้สืบทอดตำแหน่งจากเขา ในคดีวอเตอร์เกต ดักฟังฝ่ายตรงข้าม . จากนั้นอีก 3 ปีต่อมา ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ให้อภัยโทษอย่างครอบคลุมต่อทุกคนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารระหว่างสงครามเวียดนาม และในปี 1992 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช อภัยโทษให้ แคสปาร์ ไวน์เบอร์เกอร์ ก่อนที่เขาอาจถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกรณีอื้อฉาว "อิหร่าน-คอนทรา" (Iran-Contra) . กรณีอื้อฉาวดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐสมัย ประธนาธิบดีโรัลด์ เรแกน ลักลอบขายอาวุธให้กับอิหร่าน แล้วนำเงินที่ได้จากอิหร่านส่งไปช่วยกลุ่มกบฏคอนทราที่ต่อสู้กับรัฐบาลสังคมนิยมในนิคารากัว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117847 .................. Sondhi X
Like
Haha
8
0 Comments 0 Shares 728 Views 0 Reviews