ไม่มีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ที่ไทยมีแต่เสียเปรียบกัมพูชามากขนาดนี้ ภาพแรก ด้านซ้ายมือสุด เป็นพื้นที่ตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศเขตไหล่ทวีปตามกฎหมายทะเลสากลโดยลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยและ เกาะกงของกัมพูชา ก่อให้เกิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะในอ่าวไทย 88,194 ตารางกิโลเมตร หรือ 55 ล้านไร่ เป็นของประเทศไทยประเทศเดียว ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน สามารถใช้สิทธิทางทะเล ทั้งอ่าวไทย การท่องเที่ยว การทหาร และทรัพยากรโดยไม่เคยถูกรุกล้ำทางกายภาพจากกัมพูชาเลยแม้แต่ครั้งเดียวภาพที่สอง เป็นภาพ MOU 2544 พื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะของไทยตามพระบรมราชโองการ 88,194 ตารางกิโลเมตร กลับหายไปประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็นพี้นที่เหนือละติจูดองศาเหนือขึ้นไปประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนพื้นที่ใต้ละติจูดองศาเหนือลงมา 16,000 ตารางกิโลเมตร ให้แบ่งผลประโยชน์กันระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สาม เป็นภาพ MOU2544 ภาพที่ 3 เป็นสมมุติฐานว่ากัมพูชาได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุด ไทยจะสูญเสียพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรตกเป็นของกัมพูชา ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สี่ เป็นภาพ MOU2544 ภาพขวาสุด เป็นสมมุติฐานว่าฝ่ายไทยได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุดตาม MOU 2544 ไทยจะได้เพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรทั้งๆที่เป็นของไทยตามกฎหมายทะเลสากลอยู่แล้ว ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการจะมีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรไทยที่เปลี่ยนหลักการ “สิทธิอธิปไตย” ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยที่เสียเปรียบและแตกต่างจากพระบรมราชโองการจนเสียเปรียบขนาดนี้ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ไม่สนใจแผนที่ตามพระบรมราชโองการอีกด้วยถึงเวลาต้องเพิกถอน MOU2544 และ JC2544 แล้วหรือยัง? ขอเชิญทุกท่านร่วมลงนามถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแก้ไขการเสียเปรียบของชาติในครั้งนี้ ในเช้าวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 9.00 น. ณ โรงอาหารศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ของทำเนียบรัฐบาล (กพ.) และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เวลา 10.00 น.ด้วยจิตคารวะปานเทพ พัวพงษ์พันธ์คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 2 ธันวาคม 2567https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1106546160839083/?
ไม่มีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ที่ไทยมีแต่เสียเปรียบกัมพูชามากขนาดนี้ ภาพแรก ด้านซ้ายมือสุด เป็นพื้นที่ตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศเขตไหล่ทวีปตามกฎหมายทะเลสากลโดยลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยและ เกาะกงของกัมพูชา ก่อให้เกิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะในอ่าวไทย 88,194 ตารางกิโลเมตร หรือ 55 ล้านไร่ เป็นของประเทศไทยประเทศเดียว ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน สามารถใช้สิทธิทางทะเล ทั้งอ่าวไทย การท่องเที่ยว การทหาร และทรัพยากรโดยไม่เคยถูกรุกล้ำทางกายภาพจากกัมพูชาเลยแม้แต่ครั้งเดียวภาพที่สอง เป็นภาพ MOU 2544 พื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะของไทยตามพระบรมราชโองการ 88,194 ตารางกิโลเมตร กลับหายไปประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็นพี้นที่เหนือละติจูดองศาเหนือขึ้นไปประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนพื้นที่ใต้ละติจูดองศาเหนือลงมา 16,000 ตารางกิโลเมตร ให้แบ่งผลประโยชน์กันระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สาม เป็นภาพ MOU2544 ภาพที่ 3 เป็นสมมุติฐานว่ากัมพูชาได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุด ไทยจะสูญเสียพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรตกเป็นของกัมพูชา ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สี่ เป็นภาพ MOU2544 ภาพขวาสุด เป็นสมมุติฐานว่าฝ่ายไทยได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุดตาม MOU 2544 ไทยจะได้เพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรทั้งๆที่เป็นของไทยตามกฎหมายทะเลสากลอยู่แล้ว ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการจะมีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรไทยที่เปลี่ยนหลักการ “สิทธิอธิปไตย” ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยที่เสียเปรียบและแตกต่างจากพระบรมราชโองการจนเสียเปรียบขนาดนี้ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ไม่สนใจแผนที่ตามพระบรมราชโองการอีกด้วยถึงเวลาต้องเพิกถอน MOU2544 และ JC2544 แล้วหรือยัง? ขอเชิญทุกท่านร่วมลงนามถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแก้ไขการเสียเปรียบของชาติในครั้งนี้ ในเช้าวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 9.00 น. ณ โรงอาหารศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ของทำเนียบรัฐบาล (กพ.) และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เวลา 10.00 น.ด้วยจิตคารวะปานเทพ พัวพงษ์พันธ์คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 2 ธันวาคม 2567https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1106546160839083/?
Love
2
0 Comments 0 Shares 345 Views 0 Reviews