สหรัฐฯ ไม่ได้กำลังพิจาณาส่งอาวุธนิวเคลียร์กลับเข้าไปยังยูเครน หลังจากเคียฟยอมละทิ้งอาวุธทำลายล้างชนิดนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จากคำยืนยันของ เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทำเนียบขาว
.
ซัลลิแวน แสดงความคิดเห็นดังกล่าว หลังถูกถามเกี่ยวกับรายงานข่าวหนึ่งของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งอ้างเจ้าหน้าที่ตะวันตกที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามบางส่วนบ่งชี้ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจติดอาวุธนิวเคลียร์แก่ยูเครนก่อนลงจากตำแหน่ง
.
"ไม่ มันไม่ได้อยู่ภายใต้การพิจารณา สิ่งที่เราจำคือการยกระดับแสนยานุภาพโดยทั่วไปที่หลากหลายแก่ยูเครน เพื่อที่พวกเขาจะสามารถป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสู้รบกับรัสเซีย ไม่ใช่การมอบแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์" เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์
.
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียออกมาประณามรายงานข่าวดังกล่าว โดยบอกว่ามันเป็นความคิดที่บ้าโดยสิ้นเชิง พร้อมอ้างว่าการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีหนึ่งๆ เช่นนี้ คือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมรัสเซยต้องส่งทหารบุกเข้าไปยังยูเครน
.
เคียฟ สืบทอดมรดกอาวุธนิวเคลียร์ทมาจากสหภาพโซเวียต ตามหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 แต่พวกเขายอมละทิ้งอาวุธทำลายล้างนี้ภายใต้ข้อตกลงฉบับหนึ่งปี 1994 ที่เรียกว่าบันทึกความเข้าใจบูดาเปสต์ แลกกับคำรับประกันด้านความมั่นคงจากรัสเซีย สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
.
ราวๆ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส อ้างว่า ไบเดน "อาจอนุญาตให้ยูเครนมีอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แบบเดียวกับเมื่อครั้งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียต" อ้างอิงแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์เอ่ยนาม
.
สื่อมวลชนแห่งนี้ให้คำจำกัดความแนวโน้มการติดอาวุธนิวเคลียร์ให้ยูเครน ว่าเป็นการป้องปรามรัสเซียแบบร้ายกาจและทันทีทันใด แต่เน้นว่าก้าวย่างเช่นนี้อาจยุ่งยากซับซ้อนและก่อผลกระทบร้ายแรง
.
ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย เตือนว่า "การส่งมอบอาวุธดังกล่าวอาจถูกมองว่าเป็นการโจมตีเล่นงานประเทศของเรา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการนิวเคลียร์ของประเทศ ที่เพิ่งมีการปรับแก้เมื่อเร็วๆ นี้"
.
หลักการนิวเคลียร์ของรัสเซีย อนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในกรณีที่ถูกโจมตีทางนิวเคลียร์ก่อน เล่นงานดินแดนหรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หรือในกรณีอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของรัสเซียถูกคุกคามถึงตายจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทั่วไป
.
ในการแก้ไขปรับปรุงหลักการนิวเคลียร์เมื่อเร็วๆ นี้ ยังอนุมัติให้รัสเซียปฏิบัติการกับการถูกโจมตีโดยรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของมหาอำนาจนิวเคลียร์ เทียบเท่ากับเป็นการรุกรานทางนิวเคลียร์โดยตรง
.
ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลิน ปฏิเสธรายงานข่าว ระบุว่า "มันเป็นเจตนาที่ไร้ความผิดชอบโดยสิ้นเชิงของคนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริง และของคนที่ไม่รู้สึกต้องแบกรับความรับผิดชอบ สำหรับผลลัพธ์ของข้อเสนอของพวกเขา"
.
ยูเครนทิ้งหัวรบนิวเคลียร์ไปราว 1,700 หัวรบ ตามหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยหากยังมีสต๊อกนิวเคลียร์ดังกล่าว มันจะทำให้เคียฟเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลกเลยทีเดียว
.
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เคยแสดงความเสียใจกรณีที่ประเทศของเขายอมสละทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ โดยประกาศในปี 2022 ว่าเคียฟมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการกลับลำตัดสินใจ และย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม เขาบอกว่ามีเพียง 2 ทางเลือกสำหรับการรับประกันความมั่นคง นั่นคือเข้าร่วมนาโตหรือไม่ก็ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ในเวลาต่อมา เขาชี้แจงว่าตนเองมีตัวเลือกเดียว คือการเป็นสมาชิกนาโต
.
เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน สถาบันวิจัยทางทหารแห่งหนึ่งของยูเครน เรียกร้อง เซเลนสกี เร่งพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า หากสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารงานของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนความช่วยเหลือทางทหาร
.
สถาบันวิจัย Centre for Army, Conversion and Disarmament Studies (CACDS) แนะนำว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องสร้างระเบิดนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทำลายล้างที่ไม่อาจพรรณนาได้ จัดการรัสเซีย โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่เคยใช้ผลิตระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่ถูกหย่อนลงถล่มเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น ปี 1945 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000115650
..............
Sondhi X
.
ซัลลิแวน แสดงความคิดเห็นดังกล่าว หลังถูกถามเกี่ยวกับรายงานข่าวหนึ่งของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งอ้างเจ้าหน้าที่ตะวันตกที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามบางส่วนบ่งชี้ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจติดอาวุธนิวเคลียร์แก่ยูเครนก่อนลงจากตำแหน่ง
.
"ไม่ มันไม่ได้อยู่ภายใต้การพิจารณา สิ่งที่เราจำคือการยกระดับแสนยานุภาพโดยทั่วไปที่หลากหลายแก่ยูเครน เพื่อที่พวกเขาจะสามารถป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสู้รบกับรัสเซีย ไม่ใช่การมอบแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์" เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์
.
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียออกมาประณามรายงานข่าวดังกล่าว โดยบอกว่ามันเป็นความคิดที่บ้าโดยสิ้นเชิง พร้อมอ้างว่าการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีหนึ่งๆ เช่นนี้ คือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมรัสเซยต้องส่งทหารบุกเข้าไปยังยูเครน
.
เคียฟ สืบทอดมรดกอาวุธนิวเคลียร์ทมาจากสหภาพโซเวียต ตามหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 แต่พวกเขายอมละทิ้งอาวุธทำลายล้างนี้ภายใต้ข้อตกลงฉบับหนึ่งปี 1994 ที่เรียกว่าบันทึกความเข้าใจบูดาเปสต์ แลกกับคำรับประกันด้านความมั่นคงจากรัสเซีย สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
.
ราวๆ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส อ้างว่า ไบเดน "อาจอนุญาตให้ยูเครนมีอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แบบเดียวกับเมื่อครั้งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียต" อ้างอิงแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์เอ่ยนาม
.
สื่อมวลชนแห่งนี้ให้คำจำกัดความแนวโน้มการติดอาวุธนิวเคลียร์ให้ยูเครน ว่าเป็นการป้องปรามรัสเซียแบบร้ายกาจและทันทีทันใด แต่เน้นว่าก้าวย่างเช่นนี้อาจยุ่งยากซับซ้อนและก่อผลกระทบร้ายแรง
.
ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย เตือนว่า "การส่งมอบอาวุธดังกล่าวอาจถูกมองว่าเป็นการโจมตีเล่นงานประเทศของเรา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการนิวเคลียร์ของประเทศ ที่เพิ่งมีการปรับแก้เมื่อเร็วๆ นี้"
.
หลักการนิวเคลียร์ของรัสเซีย อนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในกรณีที่ถูกโจมตีทางนิวเคลียร์ก่อน เล่นงานดินแดนหรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หรือในกรณีอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของรัสเซียถูกคุกคามถึงตายจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทั่วไป
.
ในการแก้ไขปรับปรุงหลักการนิวเคลียร์เมื่อเร็วๆ นี้ ยังอนุมัติให้รัสเซียปฏิบัติการกับการถูกโจมตีโดยรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของมหาอำนาจนิวเคลียร์ เทียบเท่ากับเป็นการรุกรานทางนิวเคลียร์โดยตรง
.
ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลิน ปฏิเสธรายงานข่าว ระบุว่า "มันเป็นเจตนาที่ไร้ความผิดชอบโดยสิ้นเชิงของคนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริง และของคนที่ไม่รู้สึกต้องแบกรับความรับผิดชอบ สำหรับผลลัพธ์ของข้อเสนอของพวกเขา"
.
ยูเครนทิ้งหัวรบนิวเคลียร์ไปราว 1,700 หัวรบ ตามหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยหากยังมีสต๊อกนิวเคลียร์ดังกล่าว มันจะทำให้เคียฟเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลกเลยทีเดียว
.
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เคยแสดงความเสียใจกรณีที่ประเทศของเขายอมสละทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ โดยประกาศในปี 2022 ว่าเคียฟมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการกลับลำตัดสินใจ และย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม เขาบอกว่ามีเพียง 2 ทางเลือกสำหรับการรับประกันความมั่นคง นั่นคือเข้าร่วมนาโตหรือไม่ก็ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ในเวลาต่อมา เขาชี้แจงว่าตนเองมีตัวเลือกเดียว คือการเป็นสมาชิกนาโต
.
เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน สถาบันวิจัยทางทหารแห่งหนึ่งของยูเครน เรียกร้อง เซเลนสกี เร่งพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า หากสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารงานของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนความช่วยเหลือทางทหาร
.
สถาบันวิจัย Centre for Army, Conversion and Disarmament Studies (CACDS) แนะนำว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องสร้างระเบิดนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทำลายล้างที่ไม่อาจพรรณนาได้ จัดการรัสเซีย โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่เคยใช้ผลิตระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่ถูกหย่อนลงถล่มเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น ปี 1945 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000115650
..............
Sondhi X
สหรัฐฯ ไม่ได้กำลังพิจาณาส่งอาวุธนิวเคลียร์กลับเข้าไปยังยูเครน หลังจากเคียฟยอมละทิ้งอาวุธทำลายล้างชนิดนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จากคำยืนยันของ เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทำเนียบขาว
.
ซัลลิแวน แสดงความคิดเห็นดังกล่าว หลังถูกถามเกี่ยวกับรายงานข่าวหนึ่งของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งอ้างเจ้าหน้าที่ตะวันตกที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามบางส่วนบ่งชี้ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจติดอาวุธนิวเคลียร์แก่ยูเครนก่อนลงจากตำแหน่ง
.
"ไม่ มันไม่ได้อยู่ภายใต้การพิจารณา สิ่งที่เราจำคือการยกระดับแสนยานุภาพโดยทั่วไปที่หลากหลายแก่ยูเครน เพื่อที่พวกเขาจะสามารถป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสู้รบกับรัสเซีย ไม่ใช่การมอบแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์" เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์
.
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียออกมาประณามรายงานข่าวดังกล่าว โดยบอกว่ามันเป็นความคิดที่บ้าโดยสิ้นเชิง พร้อมอ้างว่าการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีหนึ่งๆ เช่นนี้ คือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมรัสเซยต้องส่งทหารบุกเข้าไปยังยูเครน
.
เคียฟ สืบทอดมรดกอาวุธนิวเคลียร์ทมาจากสหภาพโซเวียต ตามหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 แต่พวกเขายอมละทิ้งอาวุธทำลายล้างนี้ภายใต้ข้อตกลงฉบับหนึ่งปี 1994 ที่เรียกว่าบันทึกความเข้าใจบูดาเปสต์ แลกกับคำรับประกันด้านความมั่นคงจากรัสเซีย สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
.
ราวๆ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส อ้างว่า ไบเดน "อาจอนุญาตให้ยูเครนมีอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แบบเดียวกับเมื่อครั้งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียต" อ้างอิงแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์เอ่ยนาม
.
สื่อมวลชนแห่งนี้ให้คำจำกัดความแนวโน้มการติดอาวุธนิวเคลียร์ให้ยูเครน ว่าเป็นการป้องปรามรัสเซียแบบร้ายกาจและทันทีทันใด แต่เน้นว่าก้าวย่างเช่นนี้อาจยุ่งยากซับซ้อนและก่อผลกระทบร้ายแรง
.
ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย เตือนว่า "การส่งมอบอาวุธดังกล่าวอาจถูกมองว่าเป็นการโจมตีเล่นงานประเทศของเรา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการนิวเคลียร์ของประเทศ ที่เพิ่งมีการปรับแก้เมื่อเร็วๆ นี้"
.
หลักการนิวเคลียร์ของรัสเซีย อนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในกรณีที่ถูกโจมตีทางนิวเคลียร์ก่อน เล่นงานดินแดนหรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หรือในกรณีอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของรัสเซียถูกคุกคามถึงตายจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทั่วไป
.
ในการแก้ไขปรับปรุงหลักการนิวเคลียร์เมื่อเร็วๆ นี้ ยังอนุมัติให้รัสเซียปฏิบัติการกับการถูกโจมตีโดยรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของมหาอำนาจนิวเคลียร์ เทียบเท่ากับเป็นการรุกรานทางนิวเคลียร์โดยตรง
.
ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลิน ปฏิเสธรายงานข่าว ระบุว่า "มันเป็นเจตนาที่ไร้ความผิดชอบโดยสิ้นเชิงของคนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริง และของคนที่ไม่รู้สึกต้องแบกรับความรับผิดชอบ สำหรับผลลัพธ์ของข้อเสนอของพวกเขา"
.
ยูเครนทิ้งหัวรบนิวเคลียร์ไปราว 1,700 หัวรบ ตามหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยหากยังมีสต๊อกนิวเคลียร์ดังกล่าว มันจะทำให้เคียฟเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลกเลยทีเดียว
.
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เคยแสดงความเสียใจกรณีที่ประเทศของเขายอมสละทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ โดยประกาศในปี 2022 ว่าเคียฟมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการกลับลำตัดสินใจ และย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม เขาบอกว่ามีเพียง 2 ทางเลือกสำหรับการรับประกันความมั่นคง นั่นคือเข้าร่วมนาโตหรือไม่ก็ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ในเวลาต่อมา เขาชี้แจงว่าตนเองมีตัวเลือกเดียว คือการเป็นสมาชิกนาโต
.
เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน สถาบันวิจัยทางทหารแห่งหนึ่งของยูเครน เรียกร้อง เซเลนสกี เร่งพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า หากสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารงานของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนความช่วยเหลือทางทหาร
.
สถาบันวิจัย Centre for Army, Conversion and Disarmament Studies (CACDS) แนะนำว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องสร้างระเบิดนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทำลายล้างที่ไม่อาจพรรณนาได้ จัดการรัสเซีย โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่เคยใช้ผลิตระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่ถูกหย่อนลงถล่มเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น ปี 1945 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000115650
..............
Sondhi X