สนธินัด 2 ธ.ค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ชี้แจงเอ็มโอยู 44
.
สนธิ ลิ้มทองกุล เตรียมยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ชี้เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จ่อสูญเสียอธิปไตยเช่นเดียวกรณีปราสาทพระวิหาร ชี้มีพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 9 ยึดหลักกฎหมายทะเลสากล
.
วันนี้ (25 พ.ย.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ Sondhitalk ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 10.30 น. ตนและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จะไปยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯ ชี้แจงกรณีเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา 2544 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเลโดยรอบเกาะกูด จ.ตราด หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อ้างว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้
.
โดยนายสนธิเห็นว่าการที่นายภูมิธรรมพูด แสดงว่าไม่เข้าใจว่าเอ็มโอยูเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ไม่ใช่สนธิสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่หากไม่พอใจข้อตกลงก็สามารถถอนตัวได้ พร้อมกันนี้ ถ้าหากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมั่นใจในข้อมูล ก็อยากจะเสนอให้นายภูมิธรรมมาออกรายการโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งฝั่งตนจะอธิบายและคัดค้านด้วยหลักฐานและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ตนขอถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งทหารเรือหยุดลาดตระเวนโดยรอบเกาะกูดเป็นคำสั่งของนายภูมิธรรมหรือไม่ ถ้าสั่งจริงก็เหมือนกับจะยกพื้นที่ให้กับกัมพูชาใช่หรือไม่
.
สำหรับที่มาที่ไปของเอ็มโอยู 2544 คนที่ลงนามเป็นคนแรกคือ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับรอง เคยมีความพยายามยกเลิกในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการนำเรื่องเอ็มโอยู 2544 ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในขณะนั้น การที่ยอมรับเอ็มโอยู 2544 เท่ากับเป็นการยอมรับกัมพูชาลากเส้นทางทะเลรุกล้ำเขตแดนฝั่งไทย ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราชโองการและหลักฐานชัดเจนว่าถ้าจะมีการเจรจาให้ยึดกฎหมายทะเลสากลเป็นหลัก แต่ไม่มีใครพูดถึง
.
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของการสูญเสียอธิปไตยไป เราสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรแล้ว ยุคนั้นเขมรไปฟ้องศาลโลก เราเตือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วว่าอย่าไป เพราะเราไม่ยอมรับศาลโลก แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แสดงว่ายอมรับความเป็นสากล ผลปรากฎว่าเราแพ้ วันนี้เราใช้กฎหมายทะเลสากล เขมรก็ไม่ยอมรับตรงนี้ แต่กลับกันสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กลับยอมรับศาลโลกได้ มันเป็นความขัดแย้งที่เลวร้ายมาก คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจคนละแบบได้อย่างไร ถ้าเราจะเจรจากับเขมรด้วยหลักการเอ็มโอยู 2544 เราจะสูญเสียอธิปไตยอย่างแน่นอน ประชาชนรับได้หรือไม่ที่นายทักษิณพูดว่า ช่างมันเถอะ แบ่งผลประโยชน์กัน 50-50 คุณทักษิณพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่พูดเรื่องอธิปไตยของชาติ“ นายสนธิ กล่าว
.
นายสนธิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นายภูมิธรรม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ไม่พูดถึงพระบรมราชโองการของรัฐบาลที่ 9 ซึ่งประกาศออกมาในปี 2516 ว่ามีหลักการแบบนี้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะพระบรมราชโองการเมื่อประกาศออกมาแล้ว ถือว่าเป็นคำสั่งของจอมทัพ ของประมุขประเทศ คนอื่นจะไปทำเป็นอย่างอื่นย่อมทำไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว เป็นเรื่องใหญ่
........
Sondhi X
สนธินัด 2 ธ.ค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ชี้แจงเอ็มโอยู 44 . สนธิ ลิ้มทองกุล เตรียมยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ชี้เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จ่อสูญเสียอธิปไตยเช่นเดียวกรณีปราสาทพระวิหาร ชี้มีพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 9 ยึดหลักกฎหมายทะเลสากล . วันนี้ (25 พ.ย.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ Sondhitalk ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 10.30 น. ตนและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จะไปยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯ ชี้แจงกรณีเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา 2544 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเลโดยรอบเกาะกูด จ.ตราด หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อ้างว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้ . โดยนายสนธิเห็นว่าการที่นายภูมิธรรมพูด แสดงว่าไม่เข้าใจว่าเอ็มโอยูเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ไม่ใช่สนธิสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่หากไม่พอใจข้อตกลงก็สามารถถอนตัวได้ พร้อมกันนี้ ถ้าหากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมั่นใจในข้อมูล ก็อยากจะเสนอให้นายภูมิธรรมมาออกรายการโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งฝั่งตนจะอธิบายและคัดค้านด้วยหลักฐานและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ตนขอถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งทหารเรือหยุดลาดตระเวนโดยรอบเกาะกูดเป็นคำสั่งของนายภูมิธรรมหรือไม่ ถ้าสั่งจริงก็เหมือนกับจะยกพื้นที่ให้กับกัมพูชาใช่หรือไม่ . สำหรับที่มาที่ไปของเอ็มโอยู 2544 คนที่ลงนามเป็นคนแรกคือ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับรอง เคยมีความพยายามยกเลิกในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการนำเรื่องเอ็มโอยู 2544 ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในขณะนั้น การที่ยอมรับเอ็มโอยู 2544 เท่ากับเป็นการยอมรับกัมพูชาลากเส้นทางทะเลรุกล้ำเขตแดนฝั่งไทย ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราชโองการและหลักฐานชัดเจนว่าถ้าจะมีการเจรจาให้ยึดกฎหมายทะเลสากลเป็นหลัก แต่ไม่มีใครพูดถึง . “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของการสูญเสียอธิปไตยไป เราสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรแล้ว ยุคนั้นเขมรไปฟ้องศาลโลก เราเตือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วว่าอย่าไป เพราะเราไม่ยอมรับศาลโลก แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แสดงว่ายอมรับความเป็นสากล ผลปรากฎว่าเราแพ้ วันนี้เราใช้กฎหมายทะเลสากล เขมรก็ไม่ยอมรับตรงนี้ แต่กลับกันสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กลับยอมรับศาลโลกได้ มันเป็นความขัดแย้งที่เลวร้ายมาก คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจคนละแบบได้อย่างไร ถ้าเราจะเจรจากับเขมรด้วยหลักการเอ็มโอยู 2544 เราจะสูญเสียอธิปไตยอย่างแน่นอน ประชาชนรับได้หรือไม่ที่นายทักษิณพูดว่า ช่างมันเถอะ แบ่งผลประโยชน์กัน 50-50 คุณทักษิณพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่พูดเรื่องอธิปไตยของชาติ“ นายสนธิ กล่าว . นายสนธิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นายภูมิธรรม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ไม่พูดถึงพระบรมราชโองการของรัฐบาลที่ 9 ซึ่งประกาศออกมาในปี 2516 ว่ามีหลักการแบบนี้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะพระบรมราชโองการเมื่อประกาศออกมาแล้ว ถือว่าเป็นคำสั่งของจอมทัพ ของประมุขประเทศ คนอื่นจะไปทำเป็นอย่างอื่นย่อมทำไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว เป็นเรื่องใหญ่ ........ Sondhi X
Like
Love
Wow
5
0 Comments 0 Shares 239 Views 0 Reviews