17 พ.ย. 2567 – นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง จับหมาไปขังได้แล้ว!!! ผ่านเว็บไซต์ www.thaipost.net มีเนื้อหาดังนี้ถาม เห็นตัวแทนราชทัณฑ์ตอบคณะกรรมาธิการสภาว่า รับตัวทักษิณเข้าเรือนจำแล้ว ก็ส่งตัวไป รพ.ตำรวจเลย โดยอธิบายว่าทางพยาบาลได้โทรศัพท์ปรึกษากับหมอของเรือนจำแล้ว ซึ่งทางกรรมาธิการตรวจสอบข้อมูลแล้วบอกว่า ทั้งหมดนี้ทักษิณใช้เวลาอยู่ในเรือนจำแค่ ๔ นาทีเท่านั้นตรงจุดนี้ผมข้องใจจริงๆครับ อาจารย์ค้นกฎกระทรวงว่าด้วยการส่งตัวผู้ต้องขัง พ.ศ.๒๕๖๓ แล้ว เขาเปิดให้ทำกันง่ายๆอย่างนี้หรือตอบ ไม่จริงครับ ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงระบุชัดเจนว่า นักโทษต้องรับการตรวจทางการแพทย์ก่อน“ข้อ ๒ เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานเรือนจำว่า ผู้ต้องขังคนใดป่วย ให้ส่งตัวผู้ต้องขังคนนั้นไปรับการตรวจในสถานพยาบาล ของเรือนจำ” เมื่อไม่มีการตรวจเลยเช่นนี้ นี่จึงเป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อแรก ที่ ปปช.จะขอเวชระเบียน ขอใบส่งตัวอะไรของหมอเรือนจำนั่น มันก็ไม่มีหรอกครับถาม ตามกฎกระทรวงนี้ ตรวจแล้วต้องทำยังไงต่อครับตอบ กฎกระทรวงกำหนดว่า ถ้าตรวจแล้วฝ่ายการแพทย์ของเรือนจำรายงานว่า รักษาในโรงพยาบาลเรือนจำจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ดำเนินการดังนี้“(๑) กรณีผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาต ให้เจ้าพนักงานเรือนจำพาผู้ต้องขังคนนั้นไปและกลับในวันเดียวกัน(๒) หากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นว่า สมควรรับตัวผู้ต้องขังคนนั้นไว้รักษา ให้เจ้าพนักงาน เรือนจำซึ่งพาผู้ต้องขังคนนั้นไปตรวจรักษาขอหลักฐานและความเห็นของแพทย์ผู้ทำาการตรวจรักษา ประกอบการจัดทำรายงานเสนอผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณา ถ้าผู้บัญชาการเรือนจำเห็นด้วยกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้มีคำสั่งอนุญาตให้รับตัวไว้รักษา”ถาม อ้าว..ตามพฤติการณ์จริงที่ปรากฏนั้น เมื่อส่งทักษิณไปถึงโรงพยาบาลตำรวจแล้ว เขาก็รับตัวไว้ ยาวไป ๖ เดือนเลยนี่ครับ โดยไม่มีการสื่อสารให้ทางราชทัณฑ์อนุญาตหรือไม่อนุญาตเลย จะอยู่จริงหรือไม่นานแค่ไหนก็ไม่มีใครยืนยันได้ตอบ นี่เป็นการละเว้นหน้าที่อย่างชัดเจนเป็นข้อที่ ๒ ดังนั้น ปปช.จะไปขอเวชระเบียน ใบส่งตัว ใบรับตัวพร้อมบันทึกการตรวจร่างกายอะไรก็ไม่มีหรอกครับ ขั้นตอนอนุญาตของ ผบ.เรือนจำข้อนี้สำคัญมากขาดไม่ได้ กฎกระทรวงระบุชัดว่า“กรณีผู้บัญชาการเรือนจำไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้เจ้าพนักงาน นำตัวผู้ต้องขังคนนั้นกลับเข้ารักษาพยาบาลภายในเรือนจำ”ตอบ กฎกระทรวงระบุไว้รัดกุมครับว่า“เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตให้ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้จัดเจ้าพนักงานเรือนจำอย่างน้อยจำนวนสองคนควบคุมผู้ต้องขังป่วยหนึ่งคนให้อยู่ภายใน เขตที่กำหนดให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยม และเวลา เข้าเยี่ยมโดยละเอียด และดูแลให้ผู้เข้าเยี่ยมปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำใช้สิทธิของผู้ต้องขังตามที่ทางราชการจัดให้และห้ามเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไปรับประทานอาหารตามที่สถานที่รักษา ๓ จัดให้”ถาม เห็นพลตำรวจเอกเสรี เตมียเวส ท่านให้การต่อ ปปช.ว่า เมื่อไปเยี่ยมทักษิณสองครั้งนั้น ท่านไม่เห็นมีพนักงานอยู่ประจำเลย ห้องพักก็เป็นห้องพิเศษ ชั้น ๑๔ ทั้งชั้นเห็นเปิดอยู่ห้องเดียว อาหารการกินสมบูรณ์มีข้าวเหนียวมะม่วงเลี้ยงแขกด้วยนะครับตอบ นี่ก็เป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อที่สามครับ พวกเขาทำจน รพ.ตำรวจกลายเป็นโรงแรมไปเลย มีนักโทษคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้นได้รับบริการอย่างนี้ถาม พอส่ง โรงพยาบาลตำรวจแล้ว ในกฎกระทรวงไม่มีการตรวจสอบอะไรอีกเลยหรือครับ อยู่นอกเรือนจำตั้ง ๖ เดือน แล้วก็พักโทษไปเลย ง่ายๆอย่างนี้เลยหรือตอบ กฎหมายเขากำหนดการตรวจสอบทางบริหารไว้อย่างนี้ครับ“- หากพักรักษาตัวเกินกว่าสามสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องหากพักรักษาตัวเกินกว่าหกสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ-หากพักรักษาตัวเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ”ถาม แล้วเขามีหนังสือและรายงานอย่างที่ว่านี้ไหมครับตอบ รัฐมนตรี บอกว่ามี และได้เห็นผลตรวจ MRI ด้วย ผมเข้าใจได้ว่าเป็นผลการตรวจก่อนผ่าซ่อมเอ็นหัวไหล่เท่านั้น ซึ่งอาการอย่างนี้ผู้สูงอายุเป็นกันทั่วไป ผ่าวันเดียวก็กลับเรือนจำได้แล้ว เอามาอ้างอยู่นอกเรือนจำเป็น ๖ เดือนไม่ได้หรอกครับ รายงานและหลักฐานที่ว่านี้จะมีจริงไหม ถูกต้องหรือไม่ ทั้ง ปปช.และ กมธ ก็ยังไม่มีใครได้มาวิเคราะห์เลยถาม แล้วที่คุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ท่านร้องให้ศาลไต่สวนว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ราชทัณฑ์ต้องขอให้ศาลออกคำสั่งทุเลาการลงโทษก่อน จึงจะนอนโรงพยาบาลตำรวจได้ ถ้าไม่ผ่านศาลก็ต้องถือว่าไม่ถูกต้อง ศาลต้องออกหมายจับทักษิณมาขังให้ครบ ๑ ปี นั้น คำร้องนี้ถูกต้องให้ศาลรับวินิจฉัยได้ไหมครับตอบ มาตรานั้น ให้ศาลสั่งได้เมื่อญาติ หรือเรือนจำ ร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นเองว่า จำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก ก็ให้ส่งไปบำบัดรักษานอกคุกได้ แต่กรณีทักษิณนี่ เขาอธิบายว่าเป็นการรักษาตามความจำเป็น ตามอำนาจของราชทัณฑ์ ศาลไม่เกี่ยว จริงๆแล้วกฎกระทรวงน่าจะจำกัดเวลาไว้เลยว่า ถ้าต้องรักษาเกิน ๓๐ วันให้ราชทัณฑ์ไปขอคำสั่งทุเลาการลงโทษ ถ้ากำหนดอย่างนี้ศาลก็จะตรวจสอบได้ตามอำนาจในกฎหมาย โอกาสติดคุกทิพย์ก็จะจำกัดอีกมากถาม แต่เฉพาะปัญหาว่าราชทัณฑ์ทำถูกต้องหรือไม่นี่ มันพอแล้วหรือยังครับที่ ปปช.จะมีมติตั้งข้อกล่าวหาผู้รับผิดชอบว่ากระทำผิดอาญา และมีมติส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจผู้บังคับบัญชา สั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลให้ออกหมายขัง นำตัวนักโทษกลับเข้าคุกด้วยตอบ เห็นเขาบอกให้หมาอยู่ส่วนหมา คนอยู่ส่วนคน ผมว่าเมื่อปล่อยออกมาโดยไม่ชอบชัดเจนจะๆ และยังพองขนอหังการคับบ้านเมืองอยู่นอกกรงอย่างนี้ ก็ควรจับไปขังได้แล้วครับ
17 พ.ย. 2567 – นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง จับหมาไปขังได้แล้ว!!! ผ่านเว็บไซต์ www.thaipost.net มีเนื้อหาดังนี้ถาม เห็นตัวแทนราชทัณฑ์ตอบคณะกรรมาธิการสภาว่า รับตัวทักษิณเข้าเรือนจำแล้ว ก็ส่งตัวไป รพ.ตำรวจเลย โดยอธิบายว่าทางพยาบาลได้โทรศัพท์ปรึกษากับหมอของเรือนจำแล้ว ซึ่งทางกรรมาธิการตรวจสอบข้อมูลแล้วบอกว่า ทั้งหมดนี้ทักษิณใช้เวลาอยู่ในเรือนจำแค่ ๔ นาทีเท่านั้นตรงจุดนี้ผมข้องใจจริงๆครับ อาจารย์ค้นกฎกระทรวงว่าด้วยการส่งตัวผู้ต้องขัง พ.ศ.๒๕๖๓ แล้ว เขาเปิดให้ทำกันง่ายๆอย่างนี้หรือตอบ ไม่จริงครับ ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงระบุชัดเจนว่า นักโทษต้องรับการตรวจทางการแพทย์ก่อน“ข้อ ๒ เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานเรือนจำว่า ผู้ต้องขังคนใดป่วย ให้ส่งตัวผู้ต้องขังคนนั้นไปรับการตรวจในสถานพยาบาล ของเรือนจำ” เมื่อไม่มีการตรวจเลยเช่นนี้ นี่จึงเป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อแรก ที่ ปปช.จะขอเวชระเบียน ขอใบส่งตัวอะไรของหมอเรือนจำนั่น มันก็ไม่มีหรอกครับถาม ตามกฎกระทรวงนี้ ตรวจแล้วต้องทำยังไงต่อครับตอบ กฎกระทรวงกำหนดว่า ถ้าตรวจแล้วฝ่ายการแพทย์ของเรือนจำรายงานว่า รักษาในโรงพยาบาลเรือนจำจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ดำเนินการดังนี้“(๑) กรณีผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาต ให้เจ้าพนักงานเรือนจำพาผู้ต้องขังคนนั้นไปและกลับในวันเดียวกัน(๒) หากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นว่า สมควรรับตัวผู้ต้องขังคนนั้นไว้รักษา ให้เจ้าพนักงาน เรือนจำซึ่งพาผู้ต้องขังคนนั้นไปตรวจรักษาขอหลักฐานและความเห็นของแพทย์ผู้ทำาการตรวจรักษา ประกอบการจัดทำรายงานเสนอผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณา ถ้าผู้บัญชาการเรือนจำเห็นด้วยกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้มีคำสั่งอนุญาตให้รับตัวไว้รักษา”ถาม อ้าว..ตามพฤติการณ์จริงที่ปรากฏนั้น เมื่อส่งทักษิณไปถึงโรงพยาบาลตำรวจแล้ว เขาก็รับตัวไว้ ยาวไป ๖ เดือนเลยนี่ครับ โดยไม่มีการสื่อสารให้ทางราชทัณฑ์อนุญาตหรือไม่อนุญาตเลย จะอยู่จริงหรือไม่นานแค่ไหนก็ไม่มีใครยืนยันได้ตอบ นี่เป็นการละเว้นหน้าที่อย่างชัดเจนเป็นข้อที่ ๒ ดังนั้น ปปช.จะไปขอเวชระเบียน ใบส่งตัว ใบรับตัวพร้อมบันทึกการตรวจร่างกายอะไรก็ไม่มีหรอกครับ ขั้นตอนอนุญาตของ ผบ.เรือนจำข้อนี้สำคัญมากขาดไม่ได้ กฎกระทรวงระบุชัดว่า“กรณีผู้บัญชาการเรือนจำไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้เจ้าพนักงาน นำตัวผู้ต้องขังคนนั้นกลับเข้ารักษาพยาบาลภายในเรือนจำ”ตอบ กฎกระทรวงระบุไว้รัดกุมครับว่า“เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตให้ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้จัดเจ้าพนักงานเรือนจำอย่างน้อยจำนวนสองคนควบคุมผู้ต้องขังป่วยหนึ่งคนให้อยู่ภายใน เขตที่กำหนดให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยม และเวลา เข้าเยี่ยมโดยละเอียด และดูแลให้ผู้เข้าเยี่ยมปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำใช้สิทธิของผู้ต้องขังตามที่ทางราชการจัดให้และห้ามเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไปรับประทานอาหารตามที่สถานที่รักษา ๓ จัดให้”ถาม เห็นพลตำรวจเอกเสรี เตมียเวส ท่านให้การต่อ ปปช.ว่า เมื่อไปเยี่ยมทักษิณสองครั้งนั้น ท่านไม่เห็นมีพนักงานอยู่ประจำเลย ห้องพักก็เป็นห้องพิเศษ ชั้น ๑๔ ทั้งชั้นเห็นเปิดอยู่ห้องเดียว อาหารการกินสมบูรณ์มีข้าวเหนียวมะม่วงเลี้ยงแขกด้วยนะครับตอบ นี่ก็เป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อที่สามครับ พวกเขาทำจน รพ.ตำรวจกลายเป็นโรงแรมไปเลย มีนักโทษคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้นได้รับบริการอย่างนี้ถาม พอส่ง โรงพยาบาลตำรวจแล้ว ในกฎกระทรวงไม่มีการตรวจสอบอะไรอีกเลยหรือครับ อยู่นอกเรือนจำตั้ง ๖ เดือน แล้วก็พักโทษไปเลย ง่ายๆอย่างนี้เลยหรือตอบ กฎหมายเขากำหนดการตรวจสอบทางบริหารไว้อย่างนี้ครับ“- หากพักรักษาตัวเกินกว่าสามสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องหากพักรักษาตัวเกินกว่าหกสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ-หากพักรักษาตัวเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ”ถาม แล้วเขามีหนังสือและรายงานอย่างที่ว่านี้ไหมครับตอบ รัฐมนตรี บอกว่ามี และได้เห็นผลตรวจ MRI ด้วย ผมเข้าใจได้ว่าเป็นผลการตรวจก่อนผ่าซ่อมเอ็นหัวไหล่เท่านั้น ซึ่งอาการอย่างนี้ผู้สูงอายุเป็นกันทั่วไป ผ่าวันเดียวก็กลับเรือนจำได้แล้ว เอามาอ้างอยู่นอกเรือนจำเป็น ๖ เดือนไม่ได้หรอกครับ รายงานและหลักฐานที่ว่านี้จะมีจริงไหม ถูกต้องหรือไม่ ทั้ง ปปช.และ กมธ ก็ยังไม่มีใครได้มาวิเคราะห์เลยถาม แล้วที่คุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ท่านร้องให้ศาลไต่สวนว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ราชทัณฑ์ต้องขอให้ศาลออกคำสั่งทุเลาการลงโทษก่อน จึงจะนอนโรงพยาบาลตำรวจได้ ถ้าไม่ผ่านศาลก็ต้องถือว่าไม่ถูกต้อง ศาลต้องออกหมายจับทักษิณมาขังให้ครบ ๑ ปี นั้น คำร้องนี้ถูกต้องให้ศาลรับวินิจฉัยได้ไหมครับตอบ มาตรานั้น ให้ศาลสั่งได้เมื่อญาติ หรือเรือนจำ ร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นเองว่า จำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก ก็ให้ส่งไปบำบัดรักษานอกคุกได้ แต่กรณีทักษิณนี่ เขาอธิบายว่าเป็นการรักษาตามความจำเป็น ตามอำนาจของราชทัณฑ์ ศาลไม่เกี่ยว จริงๆแล้วกฎกระทรวงน่าจะจำกัดเวลาไว้เลยว่า ถ้าต้องรักษาเกิน ๓๐ วันให้ราชทัณฑ์ไปขอคำสั่งทุเลาการลงโทษ ถ้ากำหนดอย่างนี้ศาลก็จะตรวจสอบได้ตามอำนาจในกฎหมาย โอกาสติดคุกทิพย์ก็จะจำกัดอีกมากถาม แต่เฉพาะปัญหาว่าราชทัณฑ์ทำถูกต้องหรือไม่นี่ มันพอแล้วหรือยังครับที่ ปปช.จะมีมติตั้งข้อกล่าวหาผู้รับผิดชอบว่ากระทำผิดอาญา และมีมติส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจผู้บังคับบัญชา สั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลให้ออกหมายขัง นำตัวนักโทษกลับเข้าคุกด้วยตอบ เห็นเขาบอกให้หมาอยู่ส่วนหมา คนอยู่ส่วนคน ผมว่าเมื่อปล่อยออกมาโดยไม่ชอบชัดเจนจะๆ และยังพองขนอหังการคับบ้านเมืองอยู่นอกกรงอย่างนี้ ก็ควรจับไปขังได้แล้วครับ
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว