"ปานเทพ" น็อก "ทนายปาเกียว"
เปิดสัญญาเด็ด โยงปม 71ล.
ย้ำ "เมียตั้ม" รู้เห็นเงินโกงหวยออนไลน์
.
"ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์" ออกรายการโหนกระแส ย้อนรอยที่มาคดีเงิน 71 ล้านบาท ย้ำไม่ใช่ให้โดยเสน่หา ไม่ใช่ทั้งกู้และยืมเงิน สัญญาชัดคุณอ้อยกับผู้ผลิตแพลตฟอร์ม ไม่มีทนายตั้มเกี่ยวข้อง ชี้ถ้ามีไม้เด็ดจริงคงไม่อยู่เรือนจำ ไม่ได้ประกันตัว ถูกอายัดทรัพย์ ส่วนที่อ้างว่าภรรยาไม่รู้นั้นไม่จริง ยังไงก็รับทราบโดยตลอด
.
วันนี้ (13 พ.ย.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยผ่านรายการโหนกระแส ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ดำเนินรายการโดยนายกรรชัย กำเนิดพลอย ว่า น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือคุณอ้อย และคณะมาร้องเรียนกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ เนื่องจากนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม เป็นบุคคลมีชื่อเสียงและมีเครือข่ายมาก ถ้าจะมีใครสักคนสามารถเปิดความจริงและต่อสู้ผ่านสื่อน่าจะเป็นค่ายผู้จัดการ ระหว่างนั้นก็เก็บข้อมูล คลิปทั้งหมด แต่ไม่คิดจะเปิดในช่วงแรก เพราะรอให้คดีนี้เข้าสู่ตำรวจสอบสวนกลาง แล้วจะเปิดประเด็นก่อน
.
เมื่อนายษิทราและนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ไปออกรายการโหนกระแส เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2567 และนายกรรชัย กำเนิดพลอย ผู้ดำเนินรายการ ถามว่าทำไมนายษิทราจึงรวย มีของแบรนด์เนม นายษิทราหลุดมาว่าให้โดยเสน่หา ซึ่งในตอนเช้านายษิทราโทรศัพท์ไปหาทนายความของ น.ส.จตุพร เพราะรู้ว่ามีการแจ้งความและรู้ว่ามีเรื่องต่อกัน และเมื่อเห็นว่านายษิทราอาศัยรายการดังกล่าวสร้างภาพ และฟอกตัวว่าไม่มีปัญหาต่อกัน ทำให้เครือผู้จัดการตัดสินใจเปิดข้อมูลในช่วงบ่าย โดยนำข้อมูลในรายการไปลงปิดท้ายด้วย ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่ตัดสินใจเปิดประเด็น และจะเปิดสักวันหนึ่งเมื่อคดีคืบหน้าจากทั้งสองฝั่งแล้ว
.
เมื่อเปิดข้อมูล ปรากฎว่านายษิทราไปพาดพิงนายสนธิท้าว่าใครแพ้จะให้ดื่มน้ำปัสสาวะ 71 แก้ว ทำให้ต้องเปิดข้อมูลทั้งหมด แล้วนายษิทราก็เงียบหายไป ต่อมานายษิทราไปออกรายการของ อ.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ อ้างว่าเป็นการให้โดยเสน่หา และครั้งที่ 3 ให้สัมภาษณ์ที่กองปราบปราม อ้างว่าให้โดยเสน่หาโดยไม่มีเงื่อนไข และจะมีการจ่ายภาษี 5% ของรายได้ที่เกิน 10 ล้านบาท คำถามก็คือที่กล่าวว่าให้โดยเสน่หามาตลอด เพิ่งมาเปลี่ยนในรายการวานนี้ (12 พ.ย.) ว่าเป็นเงินกู้เพื่อการลงทุน ตกลงเป็นเงินกู้เพื่อการลงทุน หรือเงินยืมเพื่อการลงทุนกันแน่
.
ส่วนกรณีที่นายษิทราเคยนำโทรศัพท์มือถือไปให้ อ.ยิ่งศักดิ์อ่าน และนายสายหยุด เพ็งบุญชู ทนายความของนายษิทรา นำเอกสารมาให้นายกรรชัย และนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความอ่าน อ้างว่าเป็นแชตสำคัญ ตนรู้ตั้งแต่แรกว่าเป็นแชตนี้ ไม่ใช่แชตระหว่างนายษิทรากับคุณอ้อย และรู้ว่าไม่สามารถจะเป็นไม้เด็ดได้ หากเป็นไม้เด็ดจริงคงไม่อยู่ในเรือนจำ ประกันตัวไม่ได้ และอายัดทรัพย์ หลักฐานนี้เป็นการสร้างวาทกรรมการพิมพ์ไลน์ของทนายตั้มเพื่อคุยกับคุณน้อย เลขาส่วนตัว เพื่อสมอ้างว่าได้คุยกับคุณอ้อยแล้ว และข้อความไม่ได้แปลว่าสำเร็จแล้วโดยนายษิทรา เป็นการขอให้คุณน้อยไปเจรจากับคุณอ้อยอีกครั้งหนึ่ง แปลว่ายังไม่ได้เห็นด้วย
.
ทั้งนี้ บทสนทนาดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วง วันที่ 28-30 ม.ค. 2566 หลังจากนั้นมีการตกลงกันที่ไม่ใช่ในแชต นายษิทราอ้างว่าเป็นการให้โดยเสน่หา 3 ครั้ง โดยจ่ายภาษี 5% แต่ตอนนี้ไม่เอาแล้ว เหลือแค่ 2 อย่าง คือการกู้เงินหรือยืมเงิน พลิกไปพลิกมา ทั้งที่การกู้เงินต้องมีสัญญา ส่วนการลงทุนต้องมีผลตอบแทนและสัดส่วนหุ้นชัดเจน หากเป็นการยืมเพื่อลงทุน ก็ถือว่าเป็นการกู้อยู่ดี นายษิทราเป็นนักกฎหมาย เป็นคู่สัญญาในฐานะที่ปรึกษากฎหมาย ย่อมต้องรู้ว่าจะต้องร่างสัญญากู้เงิน แต่กลับไม่มี แสดงว่าไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ส่วนการลงทุน มีการจดทะเบียนทรัพย์สินหรือไม่ ในแชตไลน์นำไปสู่การอ้างว่าจะทำแอปฯ หวยออนไลน์
.
แต่ที่ไม่เปิดนอกจากโต้ไม่ได้แล้ว ยังอวดอ้างว่ามีเส้นสายในการรับสัมปทานหวยออนไลน์ ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง นอกจากจะพูดคนที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ข้อกฎหมาย และหลงเชื่อว่ามีเส้นสาย มีคอนเนกชัน มีระบบสัมปทานที่จะทำได้ ก็เลยไม่กล้าเปิด อีกทั้งการลงทุนต้องมีหุ้นในสัดส่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีทางไม่มีสัญญาเพราะนายษิทราเป็นนักกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายของคุณอ้อย จะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณอ้อยเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสมายังประเทศไทย เมื่อวันที่ 2-8 ก.พ. 2566 เพื่อเซ็นสัญญากับบริษัทผลิตแอปพลิเคชัน ลงวันที่ 3 ก.พ. 2566 ลงนามจริงวันที่ 5 ก.พ. 2566 ทำขึ้นระหว่างคุณอ้อยกับบริษัทผู้รับจ้างผลิตแอปพลิเคชัน แสดงว่าทรัพย์สินไม่ใช่ของนายษิทรา ที่อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินจึงเป็นความเท็จทั้งสิ้น
.
"คนเราจะตัดสินใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับสัญญา ไม่ใช่แชตไลน์คุย เพราะการแชตไลน์คุย คุณอ้างหลักฐานพิมพ์เองว่าตกลงกันแล้วอะไรก็ได้ คุณคุยกับเลขาฯ ไม่ได้คุยกับพี่อ้อยด้วย แต่ผลลัพธ์คือเซ็นสัญญาที่ไม่มีชื่อทนายตั้มเกี่ยวข้องเลย จะมาอ้างว่าเงินกู้ยืมก็ไม่ได้ เงินลงทุนก็ไม่ได้ เพราะสัญญาไม่มีชื่อคุณแม้แต่คำเดียว และที่สำคัญ สัญญานี้ทำการปรับปรุงและแก้ไขจากสำนักงานทนายความษิทรา ลอว์เฟิร์ม ทั้งสิ้น" นายปานเทพ กล่าว
.
เมื่อทีมกฎหมายของนายษิทราส่งข้อความไปยังนายกรรชัย ถามว่า ใครเป็นคนสั่งให้ทำสัญญานี้ และสัญญานี้คุณอ้อยให้ทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงหน่วยงานราชการฝรั่งเศส นำเงินมาให้นายษิทราจริงหรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า เป็นคำถามที่ดีเพราะมีการแอบอ้างว่าสัญญาทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพราง เรื่องนี้มีสัญญาชัดเจน คุณอ้อยมาประเทศไทยวันที่ 2-8 ก.พ. 2566 ภายใต้สัญญานี้ เมื่อกลับไปประเทศฝรั่งเศสก็ไปทำเรื่องถอนเงิน เตรียมขายหลักทรัพย์เพื่อโอนเงินมา เพราะเป็นทรัพย์สินของเขาเอง และการโอนเงินจากฝรั่งเศสมายังประเทศไทย ถ้าเป็นทรัพย์สินของตัวเองไม่ต้องเสียภาษี จ่ายแค่ธรรมเนียม รวมทั้งเงินทำบุญและใช้ส่วนตัวก็หลักการเดียวกัน จึงไม่จำเป็นต้องสร้างนิติกรรมอำพราง
.
หลังจากนั้นจึงนำเงินไปให้นายษิทราเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566 เพราะนายษิทราอ้างว่าเป็นผู้ดำเนินการ โดยที่นายษิทราเป็นคนติดต่อบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันเอง และติดต่อคุณอ้อยโดยไม่ให้ทั้งสองฝ่ายเจอกัน โดยอ้างว่ารับเงินมาแล้วไปดำเนินการต่อ เพราะฉะนั้นเงิน 71 ล้านบาทจ่ายไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามสัญญาฉบับดังกล่าว และสัญญาดังกล่าวระบุว่าจะต้องมีการจ่ายเงินภายในวันที่ 15 ก.พ. 2566 แต่โอนเงินเข้ามาไม่ทัน ต้องเป็นวันรุ่งขึ้น จึงสอดคล้องกับสัญญานี้ โดยที่คุณอ้อยหลงเชื่อว่าควรจะเป็นทรัพย์สินที่เดินหน้าทำสลากออนไลน์เพราะหลงเชื่อนายษิทรา
.
ทั้งนี้ นายษิทราอ้างในไลน์ตลอดว่าทำสลากออนไลน์ พอได้เงินมาเสร็จหลังจากนั้นถอนเงินไปซื้อบ้านด้วยเงินสด กรณีนี้จึงเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกคุณอ้อย เพราะเมื่อบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันไม่ได้เงินก็ถามว่า ไหนสัญญาบอกว่าจะได้รับเงิน นายษิทรากล่าวว่า คุณอ้อยยกเลิกสัญญาแล้ว ทั้งที่คุณอ้อยไม่ได้ยกเลิกและจ่ายเงินไปแล้ว แต่บริษัทไม่รู้ว่ามีการจ่ายเงิน และเมื่อไม่มีการโอนเงินก็ยุติสัญญา เดิมนายษิทราและภรรยาไปขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านในราคา 43 ล้านบาท จากนั้นวันที่ 22 มี.ค. 2566 นำเงินก้อนนี้เปลี่ยนจากสินเชื่อกลายเป็นซื้อเงินสด เพราะได้เงินมาจากคุณอ้อย กรณีนี้ถ้าทำกันถึงขนาดนี้คิดว่าเข้าข่ายฉ้อโกง เพราะชี้ขาดว่าใครเป็นคู่สัญญาและเจ้าของทรัพย์สิน แต่นายษิทราเป็นตัวกลางกลับนำเงินตรงนี้ไปใช้ส่วนตัวซื้อบ้านซึ่งไม่เกี่ยว
.
เมื่อทีมกฎหมายของนายษิทราส่งข้อความไปยังนายกรรชัย ถามว่า รู้เรื่องการโอนเงินไปยังล่ามที่ชื่อจุ๋ม ซึ่งถูกหัก 40% หรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า กรณีนี้ทรัพย์สินไม่ใช่คนอื่น เป็นคุณอ้อยโดยตรง แล้วชื่อบัญชีเป็นคุณอ้อย ชื่อสัญญาเป็นคุณอ้อย จะเป็นสัญญาคนอื่นในการโอนตรงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าตั้งใจโอนเงินเป็นทรัพย์สินของเขาเอง
.
นายปานเทพ กล่าวว่า จากนั้นใกล้ปลายปี 2566 ก็เริ่มคิดเรื่องภาษีว่านายษิทราจะนำเงินที่มา 71 ล้านบาทเป็นอย่างไร จึงมีการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันว่า ขอผ่านเงินสัก 70 ล้านบาทได้ไหม เพื่อที่จะมีบันทึกโดยไม่บอกที่มาที่ไป ต่อมาไม่มีความคืบหน้า มาเจรจาอีกครั้ง 27 ก.พ. 2567 ใกล้ถึงรอบวงจ่ายภาษี นายษิทราเสนอว่าจะเอาเงินผ่านโดยไม่บอกว่าเป็นสัญญาเดิม ครั้งที่หนึ่ง 30 ล้านบาท ครั้งที่สอง 30 ล้านบาท และครั้งที่สาม 11 ล้านบาท แล้วจะให้ค่าตอบแทน 10 ล้านบาท บริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันจึงคิดว่ายอดใกล้ 71 ล้านบาท สงสัยจะฟอกเงินและบริษัทฯ จะเป็นแพะ จึงปฎิเสธ ซึ่งมีบทสนทนา
.
พอถึงช่วงที่จะส่งมอบแอปพลิเคชัน กลับไม่มีการส่งมอบ คุณอ้อยจึงดำเนินการทำโนติสถึงนายษิทรา และเมื่อนายษิทราไม่สามารถนำส่งได้ ทั้งที่ได้ดำเนินการและรับเงินไปแล้ว อีกทั้งนายษิทราบอกเองว่าเป็นผู้ประสานงานโครงการนี้ ทำไมถึงยังไม่ได้ ปรากฎว่านายษิทราแชตไลน์ไปพูดคุยกับบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันว่า มีแพลตฟอร์มนาคี ชื่อเหมือนกันแต่โลโก้เป็นสีเขียว อ้างว่าไปจ้างเขาทำมาเอง เหมือนถูกเลียนแบบ นายษิทราให้ช่วยนำแอปพลิเคชันนี้ส่งให้คุณอ้อย แต่บริษัทปฎิเสธทำไม่ได้ เพราะไม่เคยทำ และไม่ใช่แอปฯ ของบริษัท จะไปหลอกคุณอ้อยแบบนั้นไม่ได้ ก็เลยไม่ทำ เรื่องแบบนี้เป็นการให้โดยเสน่หาได้อย่างไร ให้เพื่อการลงทุนได้อย่างไรเพราะไม่มีของสักอย่างแล้วอุปโลกน์เป็นอย่างอื่น จะเรียกว่าฉ้อโกงหรือไม่
.
นายปานเทพ กล่าวว่า ตอนนี้ฝ่ายนายษิทรามีความคิดที่จะประกันตัวนางปทิตตา เบี้ยบังเกิด หรือเดือน ภรรยา โดยอ้างว่าแค่รับเงินมาซื้อบ้าน ไม่รับรู้ที่ไปที่มา ตนอยากจะบอกว่าไม่จริง เพราะตำรวจมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ป่านนี้รู้แล้วว่ามีข้อมูลการใช้โทรศัพท์ และแชตไลน์ทั้งหมดไปหมดแล้ว ยังไงนางปทิตตาอยู่ในคณะทำงานเรื่องหวยออนไลน์และรับทราบโดยตลอด ไม่ใช่ไม่รับรู้ ลองไปยื่นประกันตัวดู ตนเชื่อว่าตำรวจมีหลักฐานพอที่จะยืนยันได้ว่า นางปทิตตารับรู้โดยตลอดในธุรกรรมนี้ อย่างน้อยที่บอกว่าไม่รู้เรื่องนั้น ไม่จริง รู้แน่นอน หลักฐานตำรวจเขาน่าจะมีในตอนนี้
.
Live โหนกระแส อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ มาแล้ว เชื่อทนายปาเกียวกำลังพลิกคดี มั่นใจเมียตั้มมีรู้เห็นทั้งหมด

https://www.youtube.com/watch?v=7X__nPHGDD0

#Thaitimes
"ปานเทพ" น็อก "ทนายปาเกียว" เปิดสัญญาเด็ด โยงปม 71ล. ย้ำ "เมียตั้ม" รู้เห็นเงินโกงหวยออนไลน์ . "ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์" ออกรายการโหนกระแส ย้อนรอยที่มาคดีเงิน 71 ล้านบาท ย้ำไม่ใช่ให้โดยเสน่หา ไม่ใช่ทั้งกู้และยืมเงิน สัญญาชัดคุณอ้อยกับผู้ผลิตแพลตฟอร์ม ไม่มีทนายตั้มเกี่ยวข้อง ชี้ถ้ามีไม้เด็ดจริงคงไม่อยู่เรือนจำ ไม่ได้ประกันตัว ถูกอายัดทรัพย์ ส่วนที่อ้างว่าภรรยาไม่รู้นั้นไม่จริง ยังไงก็รับทราบโดยตลอด . วันนี้ (13 พ.ย.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยผ่านรายการโหนกระแส ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ดำเนินรายการโดยนายกรรชัย กำเนิดพลอย ว่า น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือคุณอ้อย และคณะมาร้องเรียนกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ เนื่องจากนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม เป็นบุคคลมีชื่อเสียงและมีเครือข่ายมาก ถ้าจะมีใครสักคนสามารถเปิดความจริงและต่อสู้ผ่านสื่อน่าจะเป็นค่ายผู้จัดการ ระหว่างนั้นก็เก็บข้อมูล คลิปทั้งหมด แต่ไม่คิดจะเปิดในช่วงแรก เพราะรอให้คดีนี้เข้าสู่ตำรวจสอบสวนกลาง แล้วจะเปิดประเด็นก่อน . เมื่อนายษิทราและนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ไปออกรายการโหนกระแส เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2567 และนายกรรชัย กำเนิดพลอย ผู้ดำเนินรายการ ถามว่าทำไมนายษิทราจึงรวย มีของแบรนด์เนม นายษิทราหลุดมาว่าให้โดยเสน่หา ซึ่งในตอนเช้านายษิทราโทรศัพท์ไปหาทนายความของ น.ส.จตุพร เพราะรู้ว่ามีการแจ้งความและรู้ว่ามีเรื่องต่อกัน และเมื่อเห็นว่านายษิทราอาศัยรายการดังกล่าวสร้างภาพ และฟอกตัวว่าไม่มีปัญหาต่อกัน ทำให้เครือผู้จัดการตัดสินใจเปิดข้อมูลในช่วงบ่าย โดยนำข้อมูลในรายการไปลงปิดท้ายด้วย ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่ตัดสินใจเปิดประเด็น และจะเปิดสักวันหนึ่งเมื่อคดีคืบหน้าจากทั้งสองฝั่งแล้ว . เมื่อเปิดข้อมูล ปรากฎว่านายษิทราไปพาดพิงนายสนธิท้าว่าใครแพ้จะให้ดื่มน้ำปัสสาวะ 71 แก้ว ทำให้ต้องเปิดข้อมูลทั้งหมด แล้วนายษิทราก็เงียบหายไป ต่อมานายษิทราไปออกรายการของ อ.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ อ้างว่าเป็นการให้โดยเสน่หา และครั้งที่ 3 ให้สัมภาษณ์ที่กองปราบปราม อ้างว่าให้โดยเสน่หาโดยไม่มีเงื่อนไข และจะมีการจ่ายภาษี 5% ของรายได้ที่เกิน 10 ล้านบาท คำถามก็คือที่กล่าวว่าให้โดยเสน่หามาตลอด เพิ่งมาเปลี่ยนในรายการวานนี้ (12 พ.ย.) ว่าเป็นเงินกู้เพื่อการลงทุน ตกลงเป็นเงินกู้เพื่อการลงทุน หรือเงินยืมเพื่อการลงทุนกันแน่ . ส่วนกรณีที่นายษิทราเคยนำโทรศัพท์มือถือไปให้ อ.ยิ่งศักดิ์อ่าน และนายสายหยุด เพ็งบุญชู ทนายความของนายษิทรา นำเอกสารมาให้นายกรรชัย และนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความอ่าน อ้างว่าเป็นแชตสำคัญ ตนรู้ตั้งแต่แรกว่าเป็นแชตนี้ ไม่ใช่แชตระหว่างนายษิทรากับคุณอ้อย และรู้ว่าไม่สามารถจะเป็นไม้เด็ดได้ หากเป็นไม้เด็ดจริงคงไม่อยู่ในเรือนจำ ประกันตัวไม่ได้ และอายัดทรัพย์ หลักฐานนี้เป็นการสร้างวาทกรรมการพิมพ์ไลน์ของทนายตั้มเพื่อคุยกับคุณน้อย เลขาส่วนตัว เพื่อสมอ้างว่าได้คุยกับคุณอ้อยแล้ว และข้อความไม่ได้แปลว่าสำเร็จแล้วโดยนายษิทรา เป็นการขอให้คุณน้อยไปเจรจากับคุณอ้อยอีกครั้งหนึ่ง แปลว่ายังไม่ได้เห็นด้วย . ทั้งนี้ บทสนทนาดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วง วันที่ 28-30 ม.ค. 2566 หลังจากนั้นมีการตกลงกันที่ไม่ใช่ในแชต นายษิทราอ้างว่าเป็นการให้โดยเสน่หา 3 ครั้ง โดยจ่ายภาษี 5% แต่ตอนนี้ไม่เอาแล้ว เหลือแค่ 2 อย่าง คือการกู้เงินหรือยืมเงิน พลิกไปพลิกมา ทั้งที่การกู้เงินต้องมีสัญญา ส่วนการลงทุนต้องมีผลตอบแทนและสัดส่วนหุ้นชัดเจน หากเป็นการยืมเพื่อลงทุน ก็ถือว่าเป็นการกู้อยู่ดี นายษิทราเป็นนักกฎหมาย เป็นคู่สัญญาในฐานะที่ปรึกษากฎหมาย ย่อมต้องรู้ว่าจะต้องร่างสัญญากู้เงิน แต่กลับไม่มี แสดงว่าไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ส่วนการลงทุน มีการจดทะเบียนทรัพย์สินหรือไม่ ในแชตไลน์นำไปสู่การอ้างว่าจะทำแอปฯ หวยออนไลน์ . แต่ที่ไม่เปิดนอกจากโต้ไม่ได้แล้ว ยังอวดอ้างว่ามีเส้นสายในการรับสัมปทานหวยออนไลน์ ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง นอกจากจะพูดคนที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ข้อกฎหมาย และหลงเชื่อว่ามีเส้นสาย มีคอนเนกชัน มีระบบสัมปทานที่จะทำได้ ก็เลยไม่กล้าเปิด อีกทั้งการลงทุนต้องมีหุ้นในสัดส่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีทางไม่มีสัญญาเพราะนายษิทราเป็นนักกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายของคุณอ้อย จะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณอ้อยเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสมายังประเทศไทย เมื่อวันที่ 2-8 ก.พ. 2566 เพื่อเซ็นสัญญากับบริษัทผลิตแอปพลิเคชัน ลงวันที่ 3 ก.พ. 2566 ลงนามจริงวันที่ 5 ก.พ. 2566 ทำขึ้นระหว่างคุณอ้อยกับบริษัทผู้รับจ้างผลิตแอปพลิเคชัน แสดงว่าทรัพย์สินไม่ใช่ของนายษิทรา ที่อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินจึงเป็นความเท็จทั้งสิ้น . "คนเราจะตัดสินใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับสัญญา ไม่ใช่แชตไลน์คุย เพราะการแชตไลน์คุย คุณอ้างหลักฐานพิมพ์เองว่าตกลงกันแล้วอะไรก็ได้ คุณคุยกับเลขาฯ ไม่ได้คุยกับพี่อ้อยด้วย แต่ผลลัพธ์คือเซ็นสัญญาที่ไม่มีชื่อทนายตั้มเกี่ยวข้องเลย จะมาอ้างว่าเงินกู้ยืมก็ไม่ได้ เงินลงทุนก็ไม่ได้ เพราะสัญญาไม่มีชื่อคุณแม้แต่คำเดียว และที่สำคัญ สัญญานี้ทำการปรับปรุงและแก้ไขจากสำนักงานทนายความษิทรา ลอว์เฟิร์ม ทั้งสิ้น" นายปานเทพ กล่าว . เมื่อทีมกฎหมายของนายษิทราส่งข้อความไปยังนายกรรชัย ถามว่า ใครเป็นคนสั่งให้ทำสัญญานี้ และสัญญานี้คุณอ้อยให้ทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงหน่วยงานราชการฝรั่งเศส นำเงินมาให้นายษิทราจริงหรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า เป็นคำถามที่ดีเพราะมีการแอบอ้างว่าสัญญาทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพราง เรื่องนี้มีสัญญาชัดเจน คุณอ้อยมาประเทศไทยวันที่ 2-8 ก.พ. 2566 ภายใต้สัญญานี้ เมื่อกลับไปประเทศฝรั่งเศสก็ไปทำเรื่องถอนเงิน เตรียมขายหลักทรัพย์เพื่อโอนเงินมา เพราะเป็นทรัพย์สินของเขาเอง และการโอนเงินจากฝรั่งเศสมายังประเทศไทย ถ้าเป็นทรัพย์สินของตัวเองไม่ต้องเสียภาษี จ่ายแค่ธรรมเนียม รวมทั้งเงินทำบุญและใช้ส่วนตัวก็หลักการเดียวกัน จึงไม่จำเป็นต้องสร้างนิติกรรมอำพราง . หลังจากนั้นจึงนำเงินไปให้นายษิทราเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566 เพราะนายษิทราอ้างว่าเป็นผู้ดำเนินการ โดยที่นายษิทราเป็นคนติดต่อบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันเอง และติดต่อคุณอ้อยโดยไม่ให้ทั้งสองฝ่ายเจอกัน โดยอ้างว่ารับเงินมาแล้วไปดำเนินการต่อ เพราะฉะนั้นเงิน 71 ล้านบาทจ่ายไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามสัญญาฉบับดังกล่าว และสัญญาดังกล่าวระบุว่าจะต้องมีการจ่ายเงินภายในวันที่ 15 ก.พ. 2566 แต่โอนเงินเข้ามาไม่ทัน ต้องเป็นวันรุ่งขึ้น จึงสอดคล้องกับสัญญานี้ โดยที่คุณอ้อยหลงเชื่อว่าควรจะเป็นทรัพย์สินที่เดินหน้าทำสลากออนไลน์เพราะหลงเชื่อนายษิทรา . ทั้งนี้ นายษิทราอ้างในไลน์ตลอดว่าทำสลากออนไลน์ พอได้เงินมาเสร็จหลังจากนั้นถอนเงินไปซื้อบ้านด้วยเงินสด กรณีนี้จึงเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกคุณอ้อย เพราะเมื่อบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันไม่ได้เงินก็ถามว่า ไหนสัญญาบอกว่าจะได้รับเงิน นายษิทรากล่าวว่า คุณอ้อยยกเลิกสัญญาแล้ว ทั้งที่คุณอ้อยไม่ได้ยกเลิกและจ่ายเงินไปแล้ว แต่บริษัทไม่รู้ว่ามีการจ่ายเงิน และเมื่อไม่มีการโอนเงินก็ยุติสัญญา เดิมนายษิทราและภรรยาไปขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านในราคา 43 ล้านบาท จากนั้นวันที่ 22 มี.ค. 2566 นำเงินก้อนนี้เปลี่ยนจากสินเชื่อกลายเป็นซื้อเงินสด เพราะได้เงินมาจากคุณอ้อย กรณีนี้ถ้าทำกันถึงขนาดนี้คิดว่าเข้าข่ายฉ้อโกง เพราะชี้ขาดว่าใครเป็นคู่สัญญาและเจ้าของทรัพย์สิน แต่นายษิทราเป็นตัวกลางกลับนำเงินตรงนี้ไปใช้ส่วนตัวซื้อบ้านซึ่งไม่เกี่ยว . เมื่อทีมกฎหมายของนายษิทราส่งข้อความไปยังนายกรรชัย ถามว่า รู้เรื่องการโอนเงินไปยังล่ามที่ชื่อจุ๋ม ซึ่งถูกหัก 40% หรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า กรณีนี้ทรัพย์สินไม่ใช่คนอื่น เป็นคุณอ้อยโดยตรง แล้วชื่อบัญชีเป็นคุณอ้อย ชื่อสัญญาเป็นคุณอ้อย จะเป็นสัญญาคนอื่นในการโอนตรงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าตั้งใจโอนเงินเป็นทรัพย์สินของเขาเอง . นายปานเทพ กล่าวว่า จากนั้นใกล้ปลายปี 2566 ก็เริ่มคิดเรื่องภาษีว่านายษิทราจะนำเงินที่มา 71 ล้านบาทเป็นอย่างไร จึงมีการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันว่า ขอผ่านเงินสัก 70 ล้านบาทได้ไหม เพื่อที่จะมีบันทึกโดยไม่บอกที่มาที่ไป ต่อมาไม่มีความคืบหน้า มาเจรจาอีกครั้ง 27 ก.พ. 2567 ใกล้ถึงรอบวงจ่ายภาษี นายษิทราเสนอว่าจะเอาเงินผ่านโดยไม่บอกว่าเป็นสัญญาเดิม ครั้งที่หนึ่ง 30 ล้านบาท ครั้งที่สอง 30 ล้านบาท และครั้งที่สาม 11 ล้านบาท แล้วจะให้ค่าตอบแทน 10 ล้านบาท บริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันจึงคิดว่ายอดใกล้ 71 ล้านบาท สงสัยจะฟอกเงินและบริษัทฯ จะเป็นแพะ จึงปฎิเสธ ซึ่งมีบทสนทนา . พอถึงช่วงที่จะส่งมอบแอปพลิเคชัน กลับไม่มีการส่งมอบ คุณอ้อยจึงดำเนินการทำโนติสถึงนายษิทรา และเมื่อนายษิทราไม่สามารถนำส่งได้ ทั้งที่ได้ดำเนินการและรับเงินไปแล้ว อีกทั้งนายษิทราบอกเองว่าเป็นผู้ประสานงานโครงการนี้ ทำไมถึงยังไม่ได้ ปรากฎว่านายษิทราแชตไลน์ไปพูดคุยกับบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันว่า มีแพลตฟอร์มนาคี ชื่อเหมือนกันแต่โลโก้เป็นสีเขียว อ้างว่าไปจ้างเขาทำมาเอง เหมือนถูกเลียนแบบ นายษิทราให้ช่วยนำแอปพลิเคชันนี้ส่งให้คุณอ้อย แต่บริษัทปฎิเสธทำไม่ได้ เพราะไม่เคยทำ และไม่ใช่แอปฯ ของบริษัท จะไปหลอกคุณอ้อยแบบนั้นไม่ได้ ก็เลยไม่ทำ เรื่องแบบนี้เป็นการให้โดยเสน่หาได้อย่างไร ให้เพื่อการลงทุนได้อย่างไรเพราะไม่มีของสักอย่างแล้วอุปโลกน์เป็นอย่างอื่น จะเรียกว่าฉ้อโกงหรือไม่ . นายปานเทพ กล่าวว่า ตอนนี้ฝ่ายนายษิทรามีความคิดที่จะประกันตัวนางปทิตตา เบี้ยบังเกิด หรือเดือน ภรรยา โดยอ้างว่าแค่รับเงินมาซื้อบ้าน ไม่รับรู้ที่ไปที่มา ตนอยากจะบอกว่าไม่จริง เพราะตำรวจมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ป่านนี้รู้แล้วว่ามีข้อมูลการใช้โทรศัพท์ และแชตไลน์ทั้งหมดไปหมดแล้ว ยังไงนางปทิตตาอยู่ในคณะทำงานเรื่องหวยออนไลน์และรับทราบโดยตลอด ไม่ใช่ไม่รับรู้ ลองไปยื่นประกันตัวดู ตนเชื่อว่าตำรวจมีหลักฐานพอที่จะยืนยันได้ว่า นางปทิตตารับรู้โดยตลอดในธุรกรรมนี้ อย่างน้อยที่บอกว่าไม่รู้เรื่องนั้น ไม่จริง รู้แน่นอน หลักฐานตำรวจเขาน่าจะมีในตอนนี้ . Live โหนกระแส อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ มาแล้ว เชื่อทนายปาเกียวกำลังพลิกคดี มั่นใจเมียตั้มมีรู้เห็นทั้งหมด https://www.youtube.com/watch?v=7X__nPHGDD0 #Thaitimes
Like
Haha
Love
9
0 Comments 0 Shares 640 Views 1 Reviews