จีนนำเสนอเครื่องบินขับไล่ล่องหนใหม่ล่าสุด ต่อสายตาของสาธารณชนเป็นครั้งแรก ความเคลื่อนไหวซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่จีนเร่งยกระดับความทันสมัยของกองทัพ ในการแข่งขันกับวอชิงตัน สำหรับความเหนือกว่าบนท้องฟ้า ท่ามกลางความตึงเครียดที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆในภูมิภาค
.
เครื่องบินล่องหน J-35A ประจำการภาคพื้น ถูกเปิดตัว ณ พิธีเปิดงานนิทรรศการอวกาศและการบินระหว่างประเทศ (China International Aviation & Aerospace Exhibition) ในเมืองจูไห่ ทางภาคใต้ของจีน ผ่านการบินสาธิตทางอากาศเป็นเวลา 5 นาที
.
นอกจากนี้แล้วภายในงานดังกล่าว ยังมีการจัดแสดงเครื่องบินล่องหน J-35 เวอร์ชันประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินเช่นกัน ตามรายงานของสื่อมวลชนแห่งรัฐ ขณะที่นิทรรศการทางอากาศที่จัดขึ้น 2 ปีครั้ง ถือเป็นการรวมตัวของอากาศยานกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งในเอเชีย
.
แม้รายละเอียดเกี่ยวกับสมรรถนะของ J-35 จะมีอย่างจำกัด แต่พวกนักวิเคราะห์บอกว่าการเปิดตัวครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญของจีน ในความพยายามยกระดับกองทัพให้มีความทันสมัยและท้าทายความเป็นเต้ยของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวๆไต้หวัน ซึ่งทางปักกิ่งกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
.
คาร์ล ชูสเตอร์ นักวิเคราะห์ทางทหารและอดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ แห่งศูนย์ข่าวกรองร่วมของกองบัญชาการแปซิฟิกแห่งกองทัพสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า "งานแอร์โชว์ในปีนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อส่งสารว่า กองทัพจีนทัดเทียมกับสหรัฐฯและทั่วทั้งตะวันตก กองกำลังสหรัฐฯเคยเปรมปรีดิ์ ในความเหนือกว่าทางอากาศในทุกๆความขัดแย้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เวลานี้แสนนายุภาพทางอากาศที่กำลังเติบโตขึ้นของจีน กำลังท้าทายความได้เปรียบดั้งเดิมของตะวันตก"
.
ด้วยการเปิดตัว J-35 ทำให้จีน ก้าวขึ้นมาทัดเทียมกับสหรัฐฯ เป็นเพียง 2 ประเทศ ที่สามารรถผลิตเครื่องบินขับไล่ล่องหนได้มากกว่า 1 ซีรีย์ นอกจากนี้แล้วพวกเขายังเป็นประเทศเดียวที่กำลังเดินหน้าผลิตทั้ง 2 ซีรีย์ เนื่องจากสหรัฐฯระงับการผลิต F-22 แรปเตอร์ไปแล้ว
.
"จีนไล่กวดเข้ามาในแง่ของขอบเขตยุทโธปกรณ์ที่พวกเขามี อย่างน้อยๆก็ที่นำออกมาแสดง" เจมส์ ชาร์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพจีน ณ สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางของสิงคโปร์กล่าว "แต่ในแง่การไล่ตามอเมริกา พวกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขายังคงล้าหลังอยู่ราวๆ 10 ถึง 15 ปี" เช่นเดียวกับแง่มุมอื่นๆเกียวกับการประจำการทางทหาร อย่างเช่นการฝึกฝนและความพร้อมด้านปฏิบัติการ
.
J-35 ถูกพัฒนามานานกว่า 1 ทศวรรษโดยเฉินหยาง แอร์คราฟท์ คอร์ปอเรชัน หน่วยธุรกิจของอาเวียชัน อินดัสตรี คอร์ปอเรชีน ออฟ ไชนา บริษัทที่มีรัฐเป็นเจ้าของ และมันจะถูกส่งเข้าประจำการในกองทัพปักกิ่ง ร่วมกับเครื่องบินล่องหน J-2 มุ่งเน้นจากอากาศสู่อากาศ ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2017
.
ชูสเตอร์ คาดหมายว่าเครื่องบิน J-35 ล็อตแรก ที่จะเข้าร่วมในการฝึกซ้อมด้านปฏิบัติการของกองทัพอากาศจีน ในเดือนมีนาคม 2026
.
หนี่ เล่อเซวียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และกฎหมายเซี่ยงไฮ้ ระบุว่าด้วยศักยภาพยิงจากอากาศสู่ภาคพื้นและโจมตีทางอากาศสู่อากาศ รวมถึงความสามารถในการเทคออฟขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินซีรีย์ต่างๆของ J-35 ถูกออกแบบมาให้ทัดเทียมกับเครื่องบินล่องหน F-35 ซีรีย์ต่างๆของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ ปักกิ่ง ยังไม่แถลงเกี่ยวกับเวอร์ชันที่สามารถเทคออฟและลงจอดในแนวดิ่ง บางอย่างที่ F-35B สามารถทำได้
.
ปีเตอร์ เลย์ตัน จากสถาบันวิจัยรอยัล ยูไนเต็ด เซอร์วิส เน้นว่า J-35 กำลังเข้าประจำการตามหลัง F-35 ของสหรัฐฯเกือบ 10 ปี และมีขึ้นหลังจากวอชิงตันเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องบินล่องหนรุ่นใหม่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามเขามองว่าด้วยความสามารถในการผลิตที่เหนือกว่าของจีน จึงหมายความว่า F-35 อาจสร้างได้ง่ายกว่าและมีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯที่ใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ทำให้ J-35 มีความได้เปรียบในแง่ของการส่งออกไปยังตลาดต่างๆ
.
เครื่องบินที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการอวกาศและการบินระหว่างประเทศในปีนี้ ยังรวมไปถึงซูคอย ซู-27 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงสัญญาณความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมมากขึ้นและแน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างปักกิ่งกับมอสโก จากความเห็นของ คอลลิน โก๊ะ นักวิจัยอีกคนของสถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000109079
..............
Sondhi X
.
เครื่องบินล่องหน J-35A ประจำการภาคพื้น ถูกเปิดตัว ณ พิธีเปิดงานนิทรรศการอวกาศและการบินระหว่างประเทศ (China International Aviation & Aerospace Exhibition) ในเมืองจูไห่ ทางภาคใต้ของจีน ผ่านการบินสาธิตทางอากาศเป็นเวลา 5 นาที
.
นอกจากนี้แล้วภายในงานดังกล่าว ยังมีการจัดแสดงเครื่องบินล่องหน J-35 เวอร์ชันประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินเช่นกัน ตามรายงานของสื่อมวลชนแห่งรัฐ ขณะที่นิทรรศการทางอากาศที่จัดขึ้น 2 ปีครั้ง ถือเป็นการรวมตัวของอากาศยานกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งในเอเชีย
.
แม้รายละเอียดเกี่ยวกับสมรรถนะของ J-35 จะมีอย่างจำกัด แต่พวกนักวิเคราะห์บอกว่าการเปิดตัวครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญของจีน ในความพยายามยกระดับกองทัพให้มีความทันสมัยและท้าทายความเป็นเต้ยของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวๆไต้หวัน ซึ่งทางปักกิ่งกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
.
คาร์ล ชูสเตอร์ นักวิเคราะห์ทางทหารและอดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ แห่งศูนย์ข่าวกรองร่วมของกองบัญชาการแปซิฟิกแห่งกองทัพสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า "งานแอร์โชว์ในปีนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อส่งสารว่า กองทัพจีนทัดเทียมกับสหรัฐฯและทั่วทั้งตะวันตก กองกำลังสหรัฐฯเคยเปรมปรีดิ์ ในความเหนือกว่าทางอากาศในทุกๆความขัดแย้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เวลานี้แสนนายุภาพทางอากาศที่กำลังเติบโตขึ้นของจีน กำลังท้าทายความได้เปรียบดั้งเดิมของตะวันตก"
.
ด้วยการเปิดตัว J-35 ทำให้จีน ก้าวขึ้นมาทัดเทียมกับสหรัฐฯ เป็นเพียง 2 ประเทศ ที่สามารรถผลิตเครื่องบินขับไล่ล่องหนได้มากกว่า 1 ซีรีย์ นอกจากนี้แล้วพวกเขายังเป็นประเทศเดียวที่กำลังเดินหน้าผลิตทั้ง 2 ซีรีย์ เนื่องจากสหรัฐฯระงับการผลิต F-22 แรปเตอร์ไปแล้ว
.
"จีนไล่กวดเข้ามาในแง่ของขอบเขตยุทโธปกรณ์ที่พวกเขามี อย่างน้อยๆก็ที่นำออกมาแสดง" เจมส์ ชาร์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพจีน ณ สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางของสิงคโปร์กล่าว "แต่ในแง่การไล่ตามอเมริกา พวกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขายังคงล้าหลังอยู่ราวๆ 10 ถึง 15 ปี" เช่นเดียวกับแง่มุมอื่นๆเกียวกับการประจำการทางทหาร อย่างเช่นการฝึกฝนและความพร้อมด้านปฏิบัติการ
.
J-35 ถูกพัฒนามานานกว่า 1 ทศวรรษโดยเฉินหยาง แอร์คราฟท์ คอร์ปอเรชัน หน่วยธุรกิจของอาเวียชัน อินดัสตรี คอร์ปอเรชีน ออฟ ไชนา บริษัทที่มีรัฐเป็นเจ้าของ และมันจะถูกส่งเข้าประจำการในกองทัพปักกิ่ง ร่วมกับเครื่องบินล่องหน J-2 มุ่งเน้นจากอากาศสู่อากาศ ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2017
.
ชูสเตอร์ คาดหมายว่าเครื่องบิน J-35 ล็อตแรก ที่จะเข้าร่วมในการฝึกซ้อมด้านปฏิบัติการของกองทัพอากาศจีน ในเดือนมีนาคม 2026
.
หนี่ เล่อเซวียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และกฎหมายเซี่ยงไฮ้ ระบุว่าด้วยศักยภาพยิงจากอากาศสู่ภาคพื้นและโจมตีทางอากาศสู่อากาศ รวมถึงความสามารถในการเทคออฟขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินซีรีย์ต่างๆของ J-35 ถูกออกแบบมาให้ทัดเทียมกับเครื่องบินล่องหน F-35 ซีรีย์ต่างๆของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ ปักกิ่ง ยังไม่แถลงเกี่ยวกับเวอร์ชันที่สามารถเทคออฟและลงจอดในแนวดิ่ง บางอย่างที่ F-35B สามารถทำได้
.
ปีเตอร์ เลย์ตัน จากสถาบันวิจัยรอยัล ยูไนเต็ด เซอร์วิส เน้นว่า J-35 กำลังเข้าประจำการตามหลัง F-35 ของสหรัฐฯเกือบ 10 ปี และมีขึ้นหลังจากวอชิงตันเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องบินล่องหนรุ่นใหม่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามเขามองว่าด้วยความสามารถในการผลิตที่เหนือกว่าของจีน จึงหมายความว่า F-35 อาจสร้างได้ง่ายกว่าและมีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯที่ใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ทำให้ J-35 มีความได้เปรียบในแง่ของการส่งออกไปยังตลาดต่างๆ
.
เครื่องบินที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการอวกาศและการบินระหว่างประเทศในปีนี้ ยังรวมไปถึงซูคอย ซู-27 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงสัญญาณความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมมากขึ้นและแน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างปักกิ่งกับมอสโก จากความเห็นของ คอลลิน โก๊ะ นักวิจัยอีกคนของสถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000109079
..............
Sondhi X
จีนนำเสนอเครื่องบินขับไล่ล่องหนใหม่ล่าสุด ต่อสายตาของสาธารณชนเป็นครั้งแรก ความเคลื่อนไหวซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่จีนเร่งยกระดับความทันสมัยของกองทัพ ในการแข่งขันกับวอชิงตัน สำหรับความเหนือกว่าบนท้องฟ้า ท่ามกลางความตึงเครียดที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆในภูมิภาค
.
เครื่องบินล่องหน J-35A ประจำการภาคพื้น ถูกเปิดตัว ณ พิธีเปิดงานนิทรรศการอวกาศและการบินระหว่างประเทศ (China International Aviation & Aerospace Exhibition) ในเมืองจูไห่ ทางภาคใต้ของจีน ผ่านการบินสาธิตทางอากาศเป็นเวลา 5 นาที
.
นอกจากนี้แล้วภายในงานดังกล่าว ยังมีการจัดแสดงเครื่องบินล่องหน J-35 เวอร์ชันประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินเช่นกัน ตามรายงานของสื่อมวลชนแห่งรัฐ ขณะที่นิทรรศการทางอากาศที่จัดขึ้น 2 ปีครั้ง ถือเป็นการรวมตัวของอากาศยานกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งในเอเชีย
.
แม้รายละเอียดเกี่ยวกับสมรรถนะของ J-35 จะมีอย่างจำกัด แต่พวกนักวิเคราะห์บอกว่าการเปิดตัวครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญของจีน ในความพยายามยกระดับกองทัพให้มีความทันสมัยและท้าทายความเป็นเต้ยของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวๆไต้หวัน ซึ่งทางปักกิ่งกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
.
คาร์ล ชูสเตอร์ นักวิเคราะห์ทางทหารและอดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ แห่งศูนย์ข่าวกรองร่วมของกองบัญชาการแปซิฟิกแห่งกองทัพสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า "งานแอร์โชว์ในปีนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อส่งสารว่า กองทัพจีนทัดเทียมกับสหรัฐฯและทั่วทั้งตะวันตก กองกำลังสหรัฐฯเคยเปรมปรีดิ์ ในความเหนือกว่าทางอากาศในทุกๆความขัดแย้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เวลานี้แสนนายุภาพทางอากาศที่กำลังเติบโตขึ้นของจีน กำลังท้าทายความได้เปรียบดั้งเดิมของตะวันตก"
.
ด้วยการเปิดตัว J-35 ทำให้จีน ก้าวขึ้นมาทัดเทียมกับสหรัฐฯ เป็นเพียง 2 ประเทศ ที่สามารรถผลิตเครื่องบินขับไล่ล่องหนได้มากกว่า 1 ซีรีย์ นอกจากนี้แล้วพวกเขายังเป็นประเทศเดียวที่กำลังเดินหน้าผลิตทั้ง 2 ซีรีย์ เนื่องจากสหรัฐฯระงับการผลิต F-22 แรปเตอร์ไปแล้ว
.
"จีนไล่กวดเข้ามาในแง่ของขอบเขตยุทโธปกรณ์ที่พวกเขามี อย่างน้อยๆก็ที่นำออกมาแสดง" เจมส์ ชาร์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพจีน ณ สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางของสิงคโปร์กล่าว "แต่ในแง่การไล่ตามอเมริกา พวกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขายังคงล้าหลังอยู่ราวๆ 10 ถึง 15 ปี" เช่นเดียวกับแง่มุมอื่นๆเกียวกับการประจำการทางทหาร อย่างเช่นการฝึกฝนและความพร้อมด้านปฏิบัติการ
.
J-35 ถูกพัฒนามานานกว่า 1 ทศวรรษโดยเฉินหยาง แอร์คราฟท์ คอร์ปอเรชัน หน่วยธุรกิจของอาเวียชัน อินดัสตรี คอร์ปอเรชีน ออฟ ไชนา บริษัทที่มีรัฐเป็นเจ้าของ และมันจะถูกส่งเข้าประจำการในกองทัพปักกิ่ง ร่วมกับเครื่องบินล่องหน J-2 มุ่งเน้นจากอากาศสู่อากาศ ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2017
.
ชูสเตอร์ คาดหมายว่าเครื่องบิน J-35 ล็อตแรก ที่จะเข้าร่วมในการฝึกซ้อมด้านปฏิบัติการของกองทัพอากาศจีน ในเดือนมีนาคม 2026
.
หนี่ เล่อเซวียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และกฎหมายเซี่ยงไฮ้ ระบุว่าด้วยศักยภาพยิงจากอากาศสู่ภาคพื้นและโจมตีทางอากาศสู่อากาศ รวมถึงความสามารถในการเทคออฟขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินซีรีย์ต่างๆของ J-35 ถูกออกแบบมาให้ทัดเทียมกับเครื่องบินล่องหน F-35 ซีรีย์ต่างๆของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ ปักกิ่ง ยังไม่แถลงเกี่ยวกับเวอร์ชันที่สามารถเทคออฟและลงจอดในแนวดิ่ง บางอย่างที่ F-35B สามารถทำได้
.
ปีเตอร์ เลย์ตัน จากสถาบันวิจัยรอยัล ยูไนเต็ด เซอร์วิส เน้นว่า J-35 กำลังเข้าประจำการตามหลัง F-35 ของสหรัฐฯเกือบ 10 ปี และมีขึ้นหลังจากวอชิงตันเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องบินล่องหนรุ่นใหม่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามเขามองว่าด้วยความสามารถในการผลิตที่เหนือกว่าของจีน จึงหมายความว่า F-35 อาจสร้างได้ง่ายกว่าและมีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯที่ใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ทำให้ J-35 มีความได้เปรียบในแง่ของการส่งออกไปยังตลาดต่างๆ
.
เครื่องบินที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการอวกาศและการบินระหว่างประเทศในปีนี้ ยังรวมไปถึงซูคอย ซู-27 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงสัญญาณความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมมากขึ้นและแน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างปักกิ่งกับมอสโก จากความเห็นของ คอลลิน โก๊ะ นักวิจัยอีกคนของสถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000109079
..............
Sondhi X