จีนจำกัดการส่งออก ‘แร่พลวง’
วัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
ตอบโต้สหรัฐฯซึ่งห้ามส่งออก‘ชิป’ให้จีน
.
จีนคือประเทศที่จัดหาจัดส่งและดำเนินการผลิตพลวง (Antimony) รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยที่ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stibium) นี้ถูกใช้ในการผลิตพวกขีปนาวุธอินฟราเรด, อาวุธนิวเคลียร์, และกล่องส่องกลางคืน, กระทั่งเซมิคอนดักเตอร์เจนเนอเรชั่นหน้า เวลานี้ปักกิ่งกำลังพยายามอาศัยฐานะครอบงำเหนือพลวง มาเป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งเพื่อตอบโต้เอาคืนการบีบคั้นของวอชิงตันที่มุ่งจำกัดกีดกั้นไม่ให้มีการจัดส่ง “ชิป” มายังประเทศจีน
.
ประเทศจีนกำลังจะควบคุมการส่งออกพลวง ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงแห่งชาติ นี่คือมาตรการล่าสุดจากแรงขับดันของปักกิ่งที่มุ่งจำกัดการส่งออกพวกสินค้าโลหะทางยุทธศาสตร์ ท่ามกลางสงครามการค้ากับฝ่ายตะวันตกที่กำลังขยายตัวบานปลายออกไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ มาตรการแบบนักกีดกันการค้าเช่นนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนเป็นต้นไป
.
นอกจากในอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว พลวงยังถูกใช้ในยุทโปกรณ์ทางการทหาร อย่างเช่น พวกขีปนาวุธอินฟราเรด, อาวุธนิวเคลียร์, และกล้องมองกลางคืน ตลอดจนเป็นสารทำให้พวกลูกปืนและรถถังมีความแข็งมากขึ้น
.
กระทรวงพาณิชย์ของจีน และสำนักงานบริหารทั่วไปด้านศุลกากรของจีน (General Administration of Customs) กล่าวในคำแถลง ที่ออกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม ว่า บริษัททั้งหลายจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก่อนจึงจะสามารถส่งออก สินแร่พลวง, ออกไซด์และไฮไดรด์ของพลวง, สารประกอบ อินเดียม แอนติโมไนด์ (indium antimonides สารประกอบทำจากอินเดียมกับพลวง) สารประกอบ ออร์แกโน-แอนติโมนี, ตลอดจนเทคโนโลยีในการแยกทองคำ-พลวง
.
ตามข้อมูลของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (US Geological Survey) จีนมีสินแร่สำรองพลวงอยู่ 640,000 ตัน คิดเป็นประมาณ 30% ของสินแร่ทั้งหมดที่มีอยูในโลก ติดตามมาด้วยรัสเซียที่มี 350,000 ตัน (16%), และโบลิเวีย 310,000 ตัน (14%) ในด้านของการผลิตและจัดส่ง ในปี 2566 จีนเป็นผู้ซัปพลายพลวงประมาณ 48% ของโลก ติดตามมาด้วยทาจิกิสถานที่ 25% และตุรกีที่ 7%
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 จีนได้ประกาศใช้ระเบียบจำกัดควบคุมการส่งออกแร่แกลเลียม และแร่เจอร์มาเนียม แกลเลียมนั้นใช้ในการทำเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความซับซ้อน โดยบ่อยครั้งมักใช้เพื่อปรับปรุงยกระดับอัตราความเร็วและประสิทธิผลการรับส่งข้อมูลในระบบเรดาร์ ขณะที่เจอร์มาเนียมถูกใช้ในการผลิตกล้องส่องกลางคืน และในแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งเป็นตัวให้พลังของดาวเทียม
.
ทั้งนี้ จีนเป็นผู้ควบคุม ซัปพลายแกลเลียมประมาณ 80% ของโลก และเจอร์มาเนียมราว 60% ของโลก ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยุโรปแห่งพันธมิตรวัตถุดิบสำคัญยิ่งยวด (European industry association Critical Raw Materials Alliance หรือ CRMA)
.
ย่อและเรียบเรียงจาก >> https://mgronline.com/around/detail/9670000077283
.
ภาพประกอบจาก https://www.britannica.com/science/stibnite
วัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
ตอบโต้สหรัฐฯซึ่งห้ามส่งออก‘ชิป’ให้จีน
.
จีนคือประเทศที่จัดหาจัดส่งและดำเนินการผลิตพลวง (Antimony) รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยที่ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stibium) นี้ถูกใช้ในการผลิตพวกขีปนาวุธอินฟราเรด, อาวุธนิวเคลียร์, และกล่องส่องกลางคืน, กระทั่งเซมิคอนดักเตอร์เจนเนอเรชั่นหน้า เวลานี้ปักกิ่งกำลังพยายามอาศัยฐานะครอบงำเหนือพลวง มาเป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งเพื่อตอบโต้เอาคืนการบีบคั้นของวอชิงตันที่มุ่งจำกัดกีดกั้นไม่ให้มีการจัดส่ง “ชิป” มายังประเทศจีน
.
ประเทศจีนกำลังจะควบคุมการส่งออกพลวง ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงแห่งชาติ นี่คือมาตรการล่าสุดจากแรงขับดันของปักกิ่งที่มุ่งจำกัดการส่งออกพวกสินค้าโลหะทางยุทธศาสตร์ ท่ามกลางสงครามการค้ากับฝ่ายตะวันตกที่กำลังขยายตัวบานปลายออกไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ มาตรการแบบนักกีดกันการค้าเช่นนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนเป็นต้นไป
.
นอกจากในอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว พลวงยังถูกใช้ในยุทโปกรณ์ทางการทหาร อย่างเช่น พวกขีปนาวุธอินฟราเรด, อาวุธนิวเคลียร์, และกล้องมองกลางคืน ตลอดจนเป็นสารทำให้พวกลูกปืนและรถถังมีความแข็งมากขึ้น
.
กระทรวงพาณิชย์ของจีน และสำนักงานบริหารทั่วไปด้านศุลกากรของจีน (General Administration of Customs) กล่าวในคำแถลง ที่ออกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม ว่า บริษัททั้งหลายจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก่อนจึงจะสามารถส่งออก สินแร่พลวง, ออกไซด์และไฮไดรด์ของพลวง, สารประกอบ อินเดียม แอนติโมไนด์ (indium antimonides สารประกอบทำจากอินเดียมกับพลวง) สารประกอบ ออร์แกโน-แอนติโมนี, ตลอดจนเทคโนโลยีในการแยกทองคำ-พลวง
.
ตามข้อมูลของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (US Geological Survey) จีนมีสินแร่สำรองพลวงอยู่ 640,000 ตัน คิดเป็นประมาณ 30% ของสินแร่ทั้งหมดที่มีอยูในโลก ติดตามมาด้วยรัสเซียที่มี 350,000 ตัน (16%), และโบลิเวีย 310,000 ตัน (14%) ในด้านของการผลิตและจัดส่ง ในปี 2566 จีนเป็นผู้ซัปพลายพลวงประมาณ 48% ของโลก ติดตามมาด้วยทาจิกิสถานที่ 25% และตุรกีที่ 7%
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 จีนได้ประกาศใช้ระเบียบจำกัดควบคุมการส่งออกแร่แกลเลียม และแร่เจอร์มาเนียม แกลเลียมนั้นใช้ในการทำเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความซับซ้อน โดยบ่อยครั้งมักใช้เพื่อปรับปรุงยกระดับอัตราความเร็วและประสิทธิผลการรับส่งข้อมูลในระบบเรดาร์ ขณะที่เจอร์มาเนียมถูกใช้ในการผลิตกล้องส่องกลางคืน และในแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งเป็นตัวให้พลังของดาวเทียม
.
ทั้งนี้ จีนเป็นผู้ควบคุม ซัปพลายแกลเลียมประมาณ 80% ของโลก และเจอร์มาเนียมราว 60% ของโลก ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยุโรปแห่งพันธมิตรวัตถุดิบสำคัญยิ่งยวด (European industry association Critical Raw Materials Alliance หรือ CRMA)
.
ย่อและเรียบเรียงจาก >> https://mgronline.com/around/detail/9670000077283
.
ภาพประกอบจาก https://www.britannica.com/science/stibnite
จีนจำกัดการส่งออก ‘แร่พลวง’
วัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
ตอบโต้สหรัฐฯซึ่งห้ามส่งออก‘ชิป’ให้จีน
.
จีนคือประเทศที่จัดหาจัดส่งและดำเนินการผลิตพลวง (Antimony) รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยที่ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stibium) นี้ถูกใช้ในการผลิตพวกขีปนาวุธอินฟราเรด, อาวุธนิวเคลียร์, และกล่องส่องกลางคืน, กระทั่งเซมิคอนดักเตอร์เจนเนอเรชั่นหน้า เวลานี้ปักกิ่งกำลังพยายามอาศัยฐานะครอบงำเหนือพลวง มาเป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งเพื่อตอบโต้เอาคืนการบีบคั้นของวอชิงตันที่มุ่งจำกัดกีดกั้นไม่ให้มีการจัดส่ง “ชิป” มายังประเทศจีน
.
ประเทศจีนกำลังจะควบคุมการส่งออกพลวง ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงแห่งชาติ นี่คือมาตรการล่าสุดจากแรงขับดันของปักกิ่งที่มุ่งจำกัดการส่งออกพวกสินค้าโลหะทางยุทธศาสตร์ ท่ามกลางสงครามการค้ากับฝ่ายตะวันตกที่กำลังขยายตัวบานปลายออกไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ มาตรการแบบนักกีดกันการค้าเช่นนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนเป็นต้นไป
.
นอกจากในอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว พลวงยังถูกใช้ในยุทโปกรณ์ทางการทหาร อย่างเช่น พวกขีปนาวุธอินฟราเรด, อาวุธนิวเคลียร์, และกล้องมองกลางคืน ตลอดจนเป็นสารทำให้พวกลูกปืนและรถถังมีความแข็งมากขึ้น
.
กระทรวงพาณิชย์ของจีน และสำนักงานบริหารทั่วไปด้านศุลกากรของจีน (General Administration of Customs) กล่าวในคำแถลง ที่ออกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม ว่า บริษัททั้งหลายจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก่อนจึงจะสามารถส่งออก สินแร่พลวง, ออกไซด์และไฮไดรด์ของพลวง, สารประกอบ อินเดียม แอนติโมไนด์ (indium antimonides สารประกอบทำจากอินเดียมกับพลวง) สารประกอบ ออร์แกโน-แอนติโมนี, ตลอดจนเทคโนโลยีในการแยกทองคำ-พลวง
.
ตามข้อมูลของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (US Geological Survey) จีนมีสินแร่สำรองพลวงอยู่ 640,000 ตัน คิดเป็นประมาณ 30% ของสินแร่ทั้งหมดที่มีอยูในโลก ติดตามมาด้วยรัสเซียที่มี 350,000 ตัน (16%), และโบลิเวีย 310,000 ตัน (14%) ในด้านของการผลิตและจัดส่ง ในปี 2566 จีนเป็นผู้ซัปพลายพลวงประมาณ 48% ของโลก ติดตามมาด้วยทาจิกิสถานที่ 25% และตุรกีที่ 7%
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 จีนได้ประกาศใช้ระเบียบจำกัดควบคุมการส่งออกแร่แกลเลียม และแร่เจอร์มาเนียม แกลเลียมนั้นใช้ในการทำเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความซับซ้อน โดยบ่อยครั้งมักใช้เพื่อปรับปรุงยกระดับอัตราความเร็วและประสิทธิผลการรับส่งข้อมูลในระบบเรดาร์ ขณะที่เจอร์มาเนียมถูกใช้ในการผลิตกล้องส่องกลางคืน และในแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งเป็นตัวให้พลังของดาวเทียม
.
ทั้งนี้ จีนเป็นผู้ควบคุม ซัปพลายแกลเลียมประมาณ 80% ของโลก และเจอร์มาเนียมราว 60% ของโลก ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยุโรปแห่งพันธมิตรวัตถุดิบสำคัญยิ่งยวด (European industry association Critical Raw Materials Alliance หรือ CRMA)
.
ย่อและเรียบเรียงจาก >> https://mgronline.com/around/detail/9670000077283
.
ภาพประกอบจาก https://www.britannica.com/science/stibnite