ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก

ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2567 มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้น อย่างน้อย 2 เรื่องใหญ่ คือ พระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พระราชาคณะและรองสมเด็จ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและเข้าสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่สอบบาลีได้จากที่เคยถูกปิดกั้นมานาน
พระบรมราชานุญาตนี้ทำให้การศึกษาภาษาบาลีคึกคักขึ้นทันที โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี(สมชาย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม จบเปรียญธรรม 8 ประโยค เมื่อพ.ศ 2516 ได้สมัครเข้าเรียน ชั้นประโยค ป.ธ.9 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ โดยมีพระราชาคณะสมัครเข้าเรียนร่วมชั้น หลายรูป
พระพรหมเสนาบดี หรือเจ้าคุณพิมพ์ พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 7 กรรมการมหาเถรสมาคม เปรียญธรรม 7 ปรระโยค (พ.ศ.2532) สมัครเรียนชั้น ป.ธ.8 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ และวัดสามพระยา
ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อกรรมการมหาเถรสมาคม 2 รูป พร้อมใจกันลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2567 เพื่อเปิดทางให้พระเถระที่เคยครองตำแหน่งนี้ได้กลับมาครองตำแหน่งเดิม หลังจากถูกถอดจาก มส. ปี พ.ศ. 2561
กรรมการ มส. ที่ลาออก
1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567
2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567
กรรมการ มส. ที่ลาออก
1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567
2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การลาออกจาก มส. ของพระเถระทั้ง 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น (นอกจากถูกปลดออก ถูกถอด ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นต่อหลังจากหมดวาระ 2 ปี และตาย)
สาเหตุที่ลาออก ตามข่าวที่ประมวลได้นั้น ท่านว่า เพื่อเปิดโอกาสให้พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาส วัดสามพระยา (สดๆร้อนๆ) จะได้ดำรงรงตำแหน่งนี้แทน
ทั้งนี้พระพรหมดิลก เคยครองตำแหน่งนี้ แต่ถูกถอดถอนเพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดหลายเรื่องเช่น เรื่องเงินทอนวัด เป็นต้น (เหตุเกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2561) ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด และพระเจ้าอยู่หัวโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม รวมทั้งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาตามเดิมด้วย

ส่วนพระพรหมวัชรเมธี (โกวิท) ที่ลาออก ก็เป็นการเปิดทางให้พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เข้ามาดำรงตำแหน่งตามเดิม ทั้งนี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ถูกถอดจากตำแหน่ง ในข้อหาคล้ายกับ พระพรหมดิลก ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด พระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม ส่วนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศนั้น อยู่ในขั้นตอนเนินการ
อนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 นั้น มีกรรมการมหาเถรสมาคมสามรูป ถูกถอดจากตำแหน่ง 2 รูปแรก คือพระพรหมดิลกและพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคมอีกรูปหนึ่งที่ถูกถอดจาก มส. เช่นกัน คือ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราช แต่ท่านหนีไปลี้ภัยที่ที่ประเทศเยอรมนี หลังจากถูกออกหมายจับ ข้อหาเดียวกับพระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2567 มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้น อย่างน้อย 2 เรื่องใหญ่ คือ พระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พระราชาคณะและรองสมเด็จ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและเข้าสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่สอบบาลีได้จากที่เคยถูกปิดกั้นมานาน พระบรมราชานุญาตนี้ทำให้การศึกษาภาษาบาลีคึกคักขึ้นทันที โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี(สมชาย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม จบเปรียญธรรม 8 ประโยค เมื่อพ.ศ 2516 ได้สมัครเข้าเรียน ชั้นประโยค ป.ธ.9 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ โดยมีพระราชาคณะสมัครเข้าเรียนร่วมชั้น หลายรูป พระพรหมเสนาบดี หรือเจ้าคุณพิมพ์ พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 7 กรรมการมหาเถรสมาคม เปรียญธรรม 7 ปรระโยค (พ.ศ.2532) สมัครเรียนชั้น ป.ธ.8 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ และวัดสามพระยา ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อกรรมการมหาเถรสมาคม 2 รูป พร้อมใจกันลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2567 เพื่อเปิดทางให้พระเถระที่เคยครองตำแหน่งนี้ได้กลับมาครองตำแหน่งเดิม หลังจากถูกถอดจาก มส. ปี พ.ศ. 2561 กรรมการ มส. ที่ลาออก 1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567 กรรมการ มส. ที่ลาออก 1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567 การลาออกจาก มส. ของพระเถระทั้ง 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น (นอกจากถูกปลดออก ถูกถอด ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นต่อหลังจากหมดวาระ 2 ปี และตาย) สาเหตุที่ลาออก ตามข่าวที่ประมวลได้นั้น ท่านว่า เพื่อเปิดโอกาสให้พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาส วัดสามพระยา (สดๆร้อนๆ) จะได้ดำรงรงตำแหน่งนี้แทน ทั้งนี้พระพรหมดิลก เคยครองตำแหน่งนี้ แต่ถูกถอดถอนเพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดหลายเรื่องเช่น เรื่องเงินทอนวัด เป็นต้น (เหตุเกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2561) ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด และพระเจ้าอยู่หัวโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม รวมทั้งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาตามเดิมด้วย ส่วนพระพรหมวัชรเมธี (โกวิท) ที่ลาออก ก็เป็นการเปิดทางให้พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เข้ามาดำรงตำแหน่งตามเดิม ทั้งนี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ถูกถอดจากตำแหน่ง ในข้อหาคล้ายกับ พระพรหมดิลก ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด พระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม ส่วนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศนั้น อยู่ในขั้นตอนเนินการ อนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 นั้น มีกรรมการมหาเถรสมาคมสามรูป ถูกถอดจากตำแหน่ง 2 รูปแรก คือพระพรหมดิลกและพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคมอีกรูปหนึ่งที่ถูกถอดจาก มส. เช่นกัน คือ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราช แต่ท่านหนีไปลี้ภัยที่ที่ประเทศเยอรมนี หลังจากถูกออกหมายจับ ข้อหาเดียวกับพระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 354 มุมมอง 0 รีวิว