อริยสาวกพึงศึกษาหลักการที่ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์
สัทธรรมลำดับที่ : 216
ชื่อบทธรรม : - ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=216
เนื้อความทั้งหมด :-
---หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์
--ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักทุกข์,
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
พึงรู้จักผลของทุกข์,
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์”
ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง
ความเกิด เป็นทุกข์,
ความแก่ เป็นทุกข์,
ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์,
ความตาย เป็นทุกข์,
ความโศก ความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ ;
กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์เป็นทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ตัณหา
#เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่,
ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่,
ที่คลายช้า มีอยู่,
และที่คลายเร็ว มีอยู่.
--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า
#ความเป็นต่างกันของทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
-ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว
มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว
ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล ;
หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว
มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า
“ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี”
ดังนี้.
--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น
ก็มีการแสวงหาที่พึ่ง ภายนอกเป็นผล.
--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า
#ผลของทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.
--ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง
#เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ;
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ.
--ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักทุกข์,
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
พึงรู้จักผลของทุกข์,
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และ
พึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์” ดังนี้นั้น,
เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.-
#ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/369-370/334.
http://etipitaka.com/read/thai/22/369/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔-๕/๓๓๔.
http://etipitaka.com/read/pali/22/465/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%94
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=216 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=15&id=216
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=15
ลำดับสาธยายธรรม : 15 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_15.mp3 อริยสาวกพึงศึกษาหลักการที่ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์
สัทธรรมลำดับที่ : 216
ชื่อบทธรรม : - ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=216
เนื้อความทั้งหมด :-
---หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์
--ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักทุกข์,
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
พึงรู้จักผลของทุกข์,
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์”
ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง
ความเกิด เป็นทุกข์,
ความแก่ เป็นทุกข์,
ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์,
ความตาย เป็นทุกข์,
ความโศก ความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ ;
กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์เป็นทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ตัณหา #เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่,
ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่,
ที่คลายช้า มีอยู่,
และที่คลายเร็ว มีอยู่.
--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า #ความเป็นต่างกันของทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
-ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว
มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว
ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล ;
หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว
มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า
“ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี”
ดังนี้.
--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น
ก็มีการแสวงหาที่พึ่ง ภายนอกเป็นผล.
--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า #ผลของทุกข์.
--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.
--ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง #เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ;
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ.
--ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักทุกข์,
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
พึงรู้จักผลของทุกข์,
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และ
พึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์” ดังนี้นั้น,
เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.-
#ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/369-370/334.
http://etipitaka.com/read/thai/22/369/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔-๕/๓๓๔.
http://etipitaka.com/read/pali/22/465/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%94
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=216
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=15&id=216
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=15
ลำดับสาธยายธรรม : 15 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_15.mp3