• Elephant in the Room
    The Crimes of the Pharmaceutical Industry
    เรื่องของบิ้กฟาร์ม่า

    Roddriver Aug 25, 2021

    อุตสาหกรรมยา เป็นการผลิตยาเพื่อผลทางการแพทย์ อุตสาหกรรมนี้เน้นการรณรงค์เรื่องของสิทธิบัตรทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ ...ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิจารณ์หนักมากในเรื่องของสิทธิบัตรยา ...ยาที่มีสิทธิบัตรมักจะขายได้ราคาสูงกว่ายาที่ไม่มีสิทธิบัตรนับพัน ๆ เท่า

    อุตสาหกรรมนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงประเด็นที่ได้โพสท์ไว้ก่อนหน้านี้ (แปลแล้ว) เกี่ยวกับอำนาจและอาชญากรรมจากสิทธิบัตรของบริษัทยักษ์ทั้งหลาย

    Researching The Wrong Problems
    วืจัยเฉพาะเรื่องที่มีกำไร

    การทำวิจัยส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยที่มีกำลังซื้อ ...มียาเพียง 21 ตัวจาก 1,556 ตัวซึ่งออกสู่ตลาดโลกตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 2004 ที่เล็งเป้าไปต่อสู้กับโรคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวตะวันตกนัก ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน

    บริษัทเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการวิจัยยาที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่นไวอากร้ามากกว่ายารักษาวัณโรค เพราะกำไรมันอยู่ตรงนั้น ทั้ง ๆ ที่เราสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพของประเทศยากจนได้โดยใช้ทุนต่ำกว่ามาก ...ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้วที่ World Health Organization (WHO) เริ่มพูดถึงปัญหานี้ แต่การหาทุนก็ยังคงมีไม่พอ

    Social Costs, Private Profits
    เงินวิจัยจากสาธารณชน แต่กำไรเป็นของเอกชน

    ในช่วงต้น ๆ ของการวิจัยและพัฒนามักจะได้รับทุนสาธารณะ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก ...บริษัทยักษ์จะเข้ามาร่วมด้วยหลังจากรู้ชัดว่าการทดลองขั้นต้นแสดงให้เห็นแล้วว่า..ยาตัวนี้น่าจะต้องมีอนาคตแน่

    อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทไหนได้ถือสิทธิบัตรเอาไว้ ก็จะได้กำไรส่วนใหญ่ไป เพราะเมื่อมีสิทธิบัตรอยู่ในมือ พวกเขาก็จะชาร์จราคาสูงสุดได้ตามใจ พูดอีกอย่างก็คือ ราคาที่คนร่ำรวยจะจ่ายให้ได้

    ถ้าเป็นไปตามนี้ การปล่อยให้บริษัทเอกชนเก็บกำไรทั้งหมดจากยาที่ได้รับสิทธิบัตร..ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก มันคืออีกช่องทางหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่ถูกวางแผนครอบไว้ ในการดูดเอาความมั่งคั่งเข้ากระเป๋าพวกนักบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ...แค่นั้นเอง

    Depriving Poor Countries of Medicines
    คนจนไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ยา

    ยาที่จะทำประโยชน์ให้คนนับล้านได้ในประเทศยากจน จำเป็นต้องมีราคาที่คนจนจะจับต้องได้ แต่พวกบิ้กฟาร์ม่าที่ถือสิทธิบัตรยาเหล่านั้น..ต้องการควบคุมการเข้าถึง และชาร์จที่ราคาสูงสุดเท่าที่จะทำได้

    World Trade organization (WTO) มีการบังคับใช้สิทธิบัตรผ่านข้อตกลง ที่เรียกว่า TRIPS (Trade Related Aspects of Intellectual Property) ...แต่ TRIPS ก็ยังมีข้อดีอยู่นิดหน่อยที่อนุญาตให้ประเทศยากจนหลายประเทศสามารถก้อปปี้การผลิตยาเฉพาะตัวที่สำคัญ ๆ และมีข้อบังคับทางกฏหมายให้บางประเทศเช่นอินเดียสามารถทำได้ ...แต่ถึงอย่างนั้น บิ้กฟาร์ม่าก็ยังคงบล็อกการเข้าถึงยาได้ทั่วโลกอยู่ ประเทศยากจนส่วนใหญ่ยังคงต้องซื้อยาในราคาแพงอยู่ เพราะยังคงมีการขู่จากทั้งสหรัฐ อังกฤษ และประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

    Nelson Mandela ผู้นำประเทศอัฟริกาใต้ เคยพยายามที่จะได้ยา HIV ราคาถูกเพื่อรักษาผู้ป่วยเอดส์ในประเทศ ...บริษัทยาตะวันตกชาร์จที่ราคา $15,000 ต่อคนต่อปี ในขณะที่บริษัทอินเดียผลิตได้แค่ $300 ต่อคนต่อปี ...แต่แมนเดล่าถูกขู่ที่จะแซงค์ชั่น..หลังจากบริษัทยายักษ์ใหญ่ล้อบบี้ฐบาลสหรัฐ ทำให้ผู้คนหลายล้านในอัฟริกาใต้ต้องตาย เพราะไม่สามารถเข้าถึงยาจากอินเดียที่ก้อปปี้จากยาราคาแพงตัวนี้ได้

    More Spent on Marketing Than on Research
    ใช้เงินไปกับการตลาดมากกว่าใช้กับการวิจัยซะอีก

    ถ้ายาได้ผลดีจริง มันก็ไม่ต้องการการตลาดเลย ถ้ามันให้ผลดีจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จริงแล้ว แพทย์และเครือข่ายการแพทย์ทั่วโลกย่อมจะต้องนำมาใช้อยู่แล้ว ...แต่จริง ๆ แล้ว ยาส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ผลนัก บริษัทจึงจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลในการ "ชักชวน" ให้แพทย์ทั้งหลายให้มาสั่งใช้ยานั้น ...ทั้งหมดนี้หมายความรวมถึง ของขวัญ การจัดท่องเที่ยววันหยุด หรือการสร้างสิ่งจูงใจ (ฟังดูไพเราะกว่า "สินบน" เยอะเลย) แพทย์จำนวนมากก็แฮ้ปปี้ที่จะร่วมเล่นด้วย ...ค่าใช้จ่ายการตลาดเหล่านี้น่ะ มันรวมอยู่ในราคายาแล้วแหละ

    Fraud and Deception are Widespread
    การฉ้อฉลมันกระจายวงไปกว้างไกลมาก

    อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุด บิ้กฟาร์ม่าหลายแห่งถูกกล่าวหาว่าขายยาที่เป็นอันตราย หรืออาจถึงชีวิตได้ ...อุตสาหกรรมนี้เคยถูกสั่งปรับมาแล้วถึงมากกว่า $5 หมื่นล้านในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา ...เมื่อปี 2012 Glaxo Smith Kline (GSK) ก็ถูกปรับไป $3 พันล้านในสหรัฐที่ขายยาผิดประเภท และจ่ายสินบนแก่แพทย์ และปิดบังผลวิจัย นอกจากนี้ GSK ยังถูกปรับที่อินเดีย อัฟริกาใต้และอังกฤษ

    แต่บริษัทนี้ขายยาแค่รายการเดียวก็อาจเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่าปรับหลายเท่าตัวก็ได้สบาย ๆ

    อุตสาหกรรมยามีประวัติการโฆษณายาเกินจริง..ไม่บอกถึงผลด้อยของคุณภาพ..และปิดบังผลร้ายของยามานานแล้ว ...จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า เวชภัณท์มีผลร้ายมากกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ถึง 4 เท่าส่งผลให้มีผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลถึงสองแสนกว่าคนในอังกฤษ และอีกสองล้านคนในสหรัฐในแต่ละปี

    นอกจากนี้ยังมีกรณีเสียชีวิตอีกถึง 55,000 รายจากยาแก้ปวด แต่ข้อมูลเหล่านี้ถูกปิดบังโดย Merck ผู้ผลิตยา ....ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ จากผลของยารักษาเบาหวาน

    ตอนนี้มีหลักฐานว่าบริษัทยาเหล่านี้มีการจัดการยักย้ายงานวิจัยของตน พวกนี้ทดสอบยาของตนเอง และออกผลทดสอบที่แสดงแต่ส่วนดีและซ่อนส่วนที่เป็นโทษ

    อุตสาหกรรมยาใช้เงินล้อบบี้รัฐบาลสหรัฐมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ..ปี 2018 มีการใช้เงินถึง $2.8 แสนล้าน นี่แสดงให้เห็นถึงการไร้กฏระเบียบของอุตสาหกรรมนี้ ถึงแม้สหรัฐจะมี Food and Drug Administration (FDA) แต่หน่วยงานนี้ก็มีงบประมาณไม่พอ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ...เจ้าหน้าที่ในสต้าฟมีสัมพันธภาพกับอุตสาหกรรมนี้ อดีตผอ. FDA ก็ออกไปทำงานกับ Pfizer ...ส่วนอดีตสมาชิกสภาคองเกรสจำนวนไม่น้อยก็ไปรับจ้อบเป็นล้อบบี้ยิสต์ให้กับอุตสาหกรรมยา

    สถานการณ์ของการรักษากฏของเรื่องนี้ในอังกฤษยิ่งร้ายหนักกว่าอีก อังกฤษไม่เคยมีการลงโทษบริษัทยาซักแห่งเลย มีการปรับเล็กน้อยรวมกันแค่ £73,300 แต่ไม่เคยมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังเลย

    Not Fit For Purpose

    แทบทุกประเทศที่มีหน่วยงานเกี่ยวกับอาหารและยามักจะตายใจไม่นึกว่าอุตสาหกรรมยาน่ะมันเชี่..แค่ไหน พวกสื่อเองก็เงียบไม่พูดถึงกำ ไรมหาศาลของบริษัทยาเพราะรับทรัพย์ไปเยอะ ...อุตสาหกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อสนองจุดประสงค์แท้จริงของสาธารณชน (not fit for purpose) มันทำความล้มเหลวทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจนถ้วนหน้า

    ถ้าอุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องที่ดำเนินงานไปโดยหน่วยงานของชาติ ยาทุกชนิดจะมีราคาเป็นแค่เศษเสี้ยวของราคาปัจจุบัน ไม่ต้องมีปัญหายาปลอม ไม่ต้องมีการล็อบบี้ ไม่ต้องมีการแย่งชิงสิทธิบัตร ประเทศยากจนเข้าถึงยาได้ง่าย ๆ ที่ราคาต่ำมาก ๆ จนอาจให้เปล่าได้เลย

    ถ้าเราพูดถึงการต่อสู้ความยากจนของโลกจริง ๆ แล้ว นี่เป็นเรื่องแรก ๆ ที่ต้องทำ ....แต่ความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมยาควรจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลดำเนินงานเอง เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครพูดถึงเลย......

    ***ผมไม่ได้แปลส่วนเชิงอรรถในบทความนะครับ แต่เพื่อน ๆ ดูได้ในบทความต้นฉบับนะครับ***

    https://medium.com/elephantsintheroom/42-the-crimes-of-the-pharmaceutical-industry-5fee08225cbb
    Elephant in the Room The Crimes of the Pharmaceutical Industry เรื่องของบิ้กฟาร์ม่า Roddriver Aug 25, 2021 อุตสาหกรรมยา เป็นการผลิตยาเพื่อผลทางการแพทย์ อุตสาหกรรมนี้เน้นการรณรงค์เรื่องของสิทธิบัตรทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ ...ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิจารณ์หนักมากในเรื่องของสิทธิบัตรยา ...ยาที่มีสิทธิบัตรมักจะขายได้ราคาสูงกว่ายาที่ไม่มีสิทธิบัตรนับพัน ๆ เท่า อุตสาหกรรมนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงประเด็นที่ได้โพสท์ไว้ก่อนหน้านี้ (แปลแล้ว) เกี่ยวกับอำนาจและอาชญากรรมจากสิทธิบัตรของบริษัทยักษ์ทั้งหลาย Researching The Wrong Problems วืจัยเฉพาะเรื่องที่มีกำไร การทำวิจัยส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยที่มีกำลังซื้อ ...มียาเพียง 21 ตัวจาก 1,556 ตัวซึ่งออกสู่ตลาดโลกตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 2004 ที่เล็งเป้าไปต่อสู้กับโรคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวตะวันตกนัก ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน บริษัทเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการวิจัยยาที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่นไวอากร้ามากกว่ายารักษาวัณโรค เพราะกำไรมันอยู่ตรงนั้น ทั้ง ๆ ที่เราสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพของประเทศยากจนได้โดยใช้ทุนต่ำกว่ามาก ...ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้วที่ World Health Organization (WHO) เริ่มพูดถึงปัญหานี้ แต่การหาทุนก็ยังคงมีไม่พอ Social Costs, Private Profits เงินวิจัยจากสาธารณชน แต่กำไรเป็นของเอกชน ในช่วงต้น ๆ ของการวิจัยและพัฒนามักจะได้รับทุนสาธารณะ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก ...บริษัทยักษ์จะเข้ามาร่วมด้วยหลังจากรู้ชัดว่าการทดลองขั้นต้นแสดงให้เห็นแล้วว่า..ยาตัวนี้น่าจะต้องมีอนาคตแน่ อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทไหนได้ถือสิทธิบัตรเอาไว้ ก็จะได้กำไรส่วนใหญ่ไป เพราะเมื่อมีสิทธิบัตรอยู่ในมือ พวกเขาก็จะชาร์จราคาสูงสุดได้ตามใจ พูดอีกอย่างก็คือ ราคาที่คนร่ำรวยจะจ่ายให้ได้ ถ้าเป็นไปตามนี้ การปล่อยให้บริษัทเอกชนเก็บกำไรทั้งหมดจากยาที่ได้รับสิทธิบัตร..ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก มันคืออีกช่องทางหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่ถูกวางแผนครอบไว้ ในการดูดเอาความมั่งคั่งเข้ากระเป๋าพวกนักบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ...แค่นั้นเอง Depriving Poor Countries of Medicines คนจนไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ยา ยาที่จะทำประโยชน์ให้คนนับล้านได้ในประเทศยากจน จำเป็นต้องมีราคาที่คนจนจะจับต้องได้ แต่พวกบิ้กฟาร์ม่าที่ถือสิทธิบัตรยาเหล่านั้น..ต้องการควบคุมการเข้าถึง และชาร์จที่ราคาสูงสุดเท่าที่จะทำได้ World Trade organization (WTO) มีการบังคับใช้สิทธิบัตรผ่านข้อตกลง ที่เรียกว่า TRIPS (Trade Related Aspects of Intellectual Property) ...แต่ TRIPS ก็ยังมีข้อดีอยู่นิดหน่อยที่อนุญาตให้ประเทศยากจนหลายประเทศสามารถก้อปปี้การผลิตยาเฉพาะตัวที่สำคัญ ๆ และมีข้อบังคับทางกฏหมายให้บางประเทศเช่นอินเดียสามารถทำได้ ...แต่ถึงอย่างนั้น บิ้กฟาร์ม่าก็ยังคงบล็อกการเข้าถึงยาได้ทั่วโลกอยู่ ประเทศยากจนส่วนใหญ่ยังคงต้องซื้อยาในราคาแพงอยู่ เพราะยังคงมีการขู่จากทั้งสหรัฐ อังกฤษ และประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ Nelson Mandela ผู้นำประเทศอัฟริกาใต้ เคยพยายามที่จะได้ยา HIV ราคาถูกเพื่อรักษาผู้ป่วยเอดส์ในประเทศ ...บริษัทยาตะวันตกชาร์จที่ราคา $15,000 ต่อคนต่อปี ในขณะที่บริษัทอินเดียผลิตได้แค่ $300 ต่อคนต่อปี ...แต่แมนเดล่าถูกขู่ที่จะแซงค์ชั่น..หลังจากบริษัทยายักษ์ใหญ่ล้อบบี้ฐบาลสหรัฐ ทำให้ผู้คนหลายล้านในอัฟริกาใต้ต้องตาย เพราะไม่สามารถเข้าถึงยาจากอินเดียที่ก้อปปี้จากยาราคาแพงตัวนี้ได้ More Spent on Marketing Than on Research ใช้เงินไปกับการตลาดมากกว่าใช้กับการวิจัยซะอีก ถ้ายาได้ผลดีจริง มันก็ไม่ต้องการการตลาดเลย ถ้ามันให้ผลดีจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จริงแล้ว แพทย์และเครือข่ายการแพทย์ทั่วโลกย่อมจะต้องนำมาใช้อยู่แล้ว ...แต่จริง ๆ แล้ว ยาส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ผลนัก บริษัทจึงจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลในการ "ชักชวน" ให้แพทย์ทั้งหลายให้มาสั่งใช้ยานั้น ...ทั้งหมดนี้หมายความรวมถึง ของขวัญ การจัดท่องเที่ยววันหยุด หรือการสร้างสิ่งจูงใจ (ฟังดูไพเราะกว่า "สินบน" เยอะเลย) แพทย์จำนวนมากก็แฮ้ปปี้ที่จะร่วมเล่นด้วย ...ค่าใช้จ่ายการตลาดเหล่านี้น่ะ มันรวมอยู่ในราคายาแล้วแหละ Fraud and Deception are Widespread การฉ้อฉลมันกระจายวงไปกว้างไกลมาก อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุด บิ้กฟาร์ม่าหลายแห่งถูกกล่าวหาว่าขายยาที่เป็นอันตราย หรืออาจถึงชีวิตได้ ...อุตสาหกรรมนี้เคยถูกสั่งปรับมาแล้วถึงมากกว่า $5 หมื่นล้านในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา ...เมื่อปี 2012 Glaxo Smith Kline (GSK) ก็ถูกปรับไป $3 พันล้านในสหรัฐที่ขายยาผิดประเภท และจ่ายสินบนแก่แพทย์ และปิดบังผลวิจัย นอกจากนี้ GSK ยังถูกปรับที่อินเดีย อัฟริกาใต้และอังกฤษ แต่บริษัทนี้ขายยาแค่รายการเดียวก็อาจเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่าปรับหลายเท่าตัวก็ได้สบาย ๆ อุตสาหกรรมยามีประวัติการโฆษณายาเกินจริง..ไม่บอกถึงผลด้อยของคุณภาพ..และปิดบังผลร้ายของยามานานแล้ว ...จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า เวชภัณท์มีผลร้ายมากกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ถึง 4 เท่าส่งผลให้มีผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลถึงสองแสนกว่าคนในอังกฤษ และอีกสองล้านคนในสหรัฐในแต่ละปี นอกจากนี้ยังมีกรณีเสียชีวิตอีกถึง 55,000 รายจากยาแก้ปวด แต่ข้อมูลเหล่านี้ถูกปิดบังโดย Merck ผู้ผลิตยา ....ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ จากผลของยารักษาเบาหวาน ตอนนี้มีหลักฐานว่าบริษัทยาเหล่านี้มีการจัดการยักย้ายงานวิจัยของตน พวกนี้ทดสอบยาของตนเอง และออกผลทดสอบที่แสดงแต่ส่วนดีและซ่อนส่วนที่เป็นโทษ อุตสาหกรรมยาใช้เงินล้อบบี้รัฐบาลสหรัฐมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ..ปี 2018 มีการใช้เงินถึง $2.8 แสนล้าน นี่แสดงให้เห็นถึงการไร้กฏระเบียบของอุตสาหกรรมนี้ ถึงแม้สหรัฐจะมี Food and Drug Administration (FDA) แต่หน่วยงานนี้ก็มีงบประมาณไม่พอ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ...เจ้าหน้าที่ในสต้าฟมีสัมพันธภาพกับอุตสาหกรรมนี้ อดีตผอ. FDA ก็ออกไปทำงานกับ Pfizer ...ส่วนอดีตสมาชิกสภาคองเกรสจำนวนไม่น้อยก็ไปรับจ้อบเป็นล้อบบี้ยิสต์ให้กับอุตสาหกรรมยา สถานการณ์ของการรักษากฏของเรื่องนี้ในอังกฤษยิ่งร้ายหนักกว่าอีก อังกฤษไม่เคยมีการลงโทษบริษัทยาซักแห่งเลย มีการปรับเล็กน้อยรวมกันแค่ £73,300 แต่ไม่เคยมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังเลย Not Fit For Purpose แทบทุกประเทศที่มีหน่วยงานเกี่ยวกับอาหารและยามักจะตายใจไม่นึกว่าอุตสาหกรรมยาน่ะมันเชี่..แค่ไหน พวกสื่อเองก็เงียบไม่พูดถึงกำ ไรมหาศาลของบริษัทยาเพราะรับทรัพย์ไปเยอะ ...อุตสาหกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อสนองจุดประสงค์แท้จริงของสาธารณชน (not fit for purpose) มันทำความล้มเหลวทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจนถ้วนหน้า ถ้าอุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องที่ดำเนินงานไปโดยหน่วยงานของชาติ ยาทุกชนิดจะมีราคาเป็นแค่เศษเสี้ยวของราคาปัจจุบัน ไม่ต้องมีปัญหายาปลอม ไม่ต้องมีการล็อบบี้ ไม่ต้องมีการแย่งชิงสิทธิบัตร ประเทศยากจนเข้าถึงยาได้ง่าย ๆ ที่ราคาต่ำมาก ๆ จนอาจให้เปล่าได้เลย ถ้าเราพูดถึงการต่อสู้ความยากจนของโลกจริง ๆ แล้ว นี่เป็นเรื่องแรก ๆ ที่ต้องทำ ....แต่ความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมยาควรจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลดำเนินงานเอง เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครพูดถึงเลย...... ***ผมไม่ได้แปลส่วนเชิงอรรถในบทความนะครับ แต่เพื่อน ๆ ดูได้ในบทความต้นฉบับนะครับ*** https://medium.com/elephantsintheroom/42-the-crimes-of-the-pharmaceutical-industry-5fee08225cbb
    MEDIUM.COM
    42) The Crimes of the Pharmaceutical Industry
    “The history of medicine is littered with wonderful early results which over a period of time turn out to be not so wonderful…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 331 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 27 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 31 มุมมอง 0 รีวิว
  • Elephant in the Room
    The Crimes of the Pharmaceutical Industry
    เรื่องของบิ้กฟาร์ม่า

    Roddriver Aug 25, 2021

    อุตสาหกรรมยา เป็นการผลิตยาเพื่อผลทางการแพทย์ อุตสาหกรรมนี้เน้นการรณรงค์เรื่องของสิทธิบัตรทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ ...ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิจารณ์หนักมากในเรื่องของสิทธิบัตรยา ...ยาที่มีสิทธิบัตรมักจะขายได้ราคาสูงกว่ายาที่ไม่มีสิทธิบัตรนับพัน ๆ เท่า

    อุตสาหกรรมนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงประเด็นที่ได้โพสท์ไว้ก่อนหน้านี้ (แปลแล้ว) เกี่ยวกับอำนาจและอาชญากรรมจากสิทธิบัตรของบริษัทยักษ์ทั้งหลาย

    Researching The Wrong Problems
    วืจัยเฉพาะเรื่องที่มีกำไร

    การทำวิจัยส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยที่มีกำลังซื้อ ...มียาเพียง 21 ตัวจาก 1,556 ตัวซึ่งออกสู่ตลาดโลกตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 2004 ที่เล็งเป้าไปต่อสู้กับโรคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวตะวันตกนัก ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน

    บริษัทเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการวิจัยยาที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่นไวอากร้ามากกว่ายารักษาวัณโรค เพราะกำไรมันอยู่ตรงนั้น ทั้ง ๆ ที่เราสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพของประเทศยากจนได้โดยใช้ทุนต่ำกว่ามาก ...ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้วที่ World Health Organization (WHO) เริ่มพูดถึงปัญหานี้ แต่การหาทุนก็ยังคงมีไม่พอ

    Social Costs, Private Profits
    เงินวิจัยจากสาธารณชน แต่กำไรเป็นของเอกชน

    ในช่วงต้น ๆ ของการวิจัยและพัฒนามักจะได้รับทุนสาธารณะ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก ...บริษัทยักษ์จะเข้ามาร่วมด้วยหลังจากรู้ชัดว่าการทดลองขั้นต้นแสดงให้เห็นแล้วว่า..ยาตัวนี้น่าจะต้องมีอนาคตแน่

    อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทไหนได้ถือสิทธิบัตรเอาไว้ ก็จะได้กำไรส่วนใหญ่ไป เพราะเมื่อมีสิทธิบัตรอยู่ในมือ พวกเขาก็จะชาร์จราคาสูงสุดได้ตามใจ พูดอีกอย่างก็คือ ราคาที่คนร่ำรวยจะจ่ายให้ได้

    ถ้าเป็นไปตามนี้ การปล่อยให้บริษัทเอกชนเก็บกำไรทั้งหมดจากยาที่ได้รับสิทธิบัตร..ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก มันคืออีกช่องทางหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่ถูกวางแผนครอบไว้ ในการดูดเอาความมั่งคั่งเข้ากระเป๋าพวกนักบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ...แค่นั้นเอง

    Depriving Poor Countries of Medicines
    คนจนไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ยา

    ยาที่จะทำประโยชน์ให้คนนับล้านได้ในประเทศยากจน จำเป็นต้องมีราคาที่คนจนจะจับต้องได้ แต่พวกบิ้กฟาร์ม่าที่ถือสิทธิบัตรยาเหล่านั้น..ต้องการควบคุมการเข้าถึง และชาร์จที่ราคาสูงสุดเท่าที่จะทำได้

    World Trade organization (WTO) มีการบังคับใช้สิทธิบัตรผ่านข้อตกลง ที่เรียกว่า TRIPS (Trade Related Aspects of Intellectual Property) ...แต่ TRIPS ก็ยังมีข้อดีอยู่นิดหน่อยที่อนุญาตให้ประเทศยากจนหลายประเทศสามารถก้อปปี้การผลิตยาเฉพาะตัวที่สำคัญ ๆ และมีข้อบังคับทางกฏหมายให้บางประเทศเช่นอินเดียสามารถทำได้ ...แต่ถึงอย่างนั้น บิ้กฟาร์ม่าก็ยังคงบล็อกการเข้าถึงยาได้ทั่วโลกอยู่ ประเทศยากจนส่วนใหญ่ยังคงต้องซื้อยาในราคาแพงอยู่ เพราะยังคงมีการขู่จากทั้งสหรัฐ อังกฤษ และประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

    Nelson Mandela ผู้นำประเทศอัฟริกาใต้ เคยพยายามที่จะได้ยา HIV ราคาถูกเพื่อรักษาผู้ป่วยเอดส์ในประเทศ ...บริษัทยาตะวันตกชาร์จที่ราคา $15,000 ต่อคนต่อปี ในขณะที่บริษัทอินเดียผลิตได้แค่ $300 ต่อคนต่อปี ...แต่แมนเดล่าถูกขู่ที่จะแซงค์ชั่น..หลังจากบริษัทยายักษ์ใหญ่ล้อบบี้ฐบาลสหรัฐ ทำให้ผู้คนหลายล้านในอัฟริกาใต้ต้องตาย เพราะไม่สามารถเข้าถึงยาจากอินเดียที่ก้อปปี้จากยาราคาแพงตัวนี้ได้

    More Spent on Marketing Than on Research
    ใช้เงินไปกับการตลาดมากกว่าใช้กับการวิจัยซะอีก

    ถ้ายาได้ผลดีจริง มันก็ไม่ต้องการการตลาดเลย ถ้ามันให้ผลดีจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จริงแล้ว แพทย์และเครือข่ายการแพทย์ทั่วโลกย่อมจะต้องนำมาใช้อยู่แล้ว ...แต่จริง ๆ แล้ว ยาส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ผลนัก บริษัทจึงจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลในการ "ชักชวน" ให้แพทย์ทั้งหลายให้มาสั่งใช้ยานั้น ...ทั้งหมดนี้หมายความรวมถึง ของขวัญ การจัดท่องเที่ยววันหยุด หรือการสร้างสิ่งจูงใจ (ฟังดูไพเราะกว่า "สินบน" เยอะเลย) แพทย์จำนวนมากก็แฮ้ปปี้ที่จะร่วมเล่นด้วย ...ค่าใช้จ่ายการตลาดเหล่านี้น่ะ มันรวมอยู่ในราคายาแล้วแหละ

    Fraud and Deception are Widespread
    การฉ้อฉลมันกระจายวงไปกว้างไกลมาก

    อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุด บิ้กฟาร์ม่าหลายแห่งถูกกล่าวหาว่าขายยาที่เป็นอันตราย หรืออาจถึงชีวิตได้ ...อุตสาหกรรมนี้เคยถูกสั่งปรับมาแล้วถึงมากกว่า $5 หมื่นล้านในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา ...เมื่อปี 2012 Glaxo Smith Kline (GSK) ก็ถูกปรับไป $3 พันล้านในสหรัฐที่ขายยาผิดประเภท และจ่ายสินบนแก่แพทย์ และปิดบังผลวิจัย นอกจากนี้ GSK ยังถูกปรับที่อินเดีย อัฟริกาใต้และอังกฤษ

    แต่บริษัทนี้ขายยาแค่รายการเดียวก็อาจเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่าปรับหลายเท่าตัวก็ได้สบาย ๆ

    อุตสาหกรรมยามีประวัติการโฆษณายาเกินจริง..ไม่บอกถึงผลด้อยของคุณภาพ..และปิดบังผลร้ายของยามานานแล้ว ...จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า เวชภัณท์มีผลร้ายมากกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ถึง 4 เท่าส่งผลให้มีผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลถึงสองแสนกว่าคนในอังกฤษ และอีกสองล้านคนในสหรัฐในแต่ละปี

    นอกจากนี้ยังมีกรณีเสียชีวิตอีกถึง 55,000 รายจากยาแก้ปวด แต่ข้อมูลเหล่านี้ถูกปิดบังโดย Merck ผู้ผลิตยา ....ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ จากผลของยารักษาเบาหวาน

    ตอนนี้มีหลักฐานว่าบริษัทยาเหล่านี้มีการจัดการยักย้ายงานวิจัยของตน พวกนี้ทดสอบยาของตนเอง และออกผลทดสอบที่แสดงแต่ส่วนดีและซ่อนส่วนที่เป็นโทษ

    อุตสาหกรรมยาใช้เงินล้อบบี้รัฐบาลสหรัฐมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ..ปี 2018 มีการใช้เงินถึง $2.8 แสนล้าน นี่แสดงให้เห็นถึงการไร้กฏระเบียบของอุตสาหกรรมนี้ ถึงแม้สหรัฐจะมี Food and Drug Administration (FDA) แต่หน่วยงานนี้ก็มีงบประมาณไม่พอ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ...เจ้าหน้าที่ในสต้าฟมีสัมพันธภาพกับอุตสาหกรรมนี้ อดีตผอ. FDA ก็ออกไปทำงานกับ Pfizer ...ส่วนอดีตสมาชิกสภาคองเกรสจำนวนไม่น้อยก็ไปรับจ้อบเป็นล้อบบี้ยิสต์ให้กับอุตสาหกรรมยา

    สถานการณ์ของการรักษากฏของเรื่องนี้ในอังกฤษยิ่งร้ายหนักกว่าอีก อังกฤษไม่เคยมีการลงโทษบริษัทยาซักแห่งเลย มีการปรับเล็กน้อยรวมกันแค่ £73,300 แต่ไม่เคยมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังเลย

    Not Fit For Purpose

    แทบทุกประเทศที่มีหน่วยงานเกี่ยวกับอาหารและยามักจะตายใจไม่นึกว่าอุตสาหกรรมยาน่ะมันเชี่..แค่ไหน พวกสื่อเองก็เงียบไม่พูดถึงกำ ไรมหาศาลของบริษัทยาเพราะรับทรัพย์ไปเยอะ ...อุตสาหกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อสนองจุดประสงค์แท้จริงของสาธารณชน (not fit for purpose) มันทำความล้มเหลวทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจนถ้วนหน้า

    ถ้าอุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องที่ดำเนินงานไปโดยหน่วยงานของชาติ ยาทุกชนิดจะมีราคาเป็นแค่เศษเสี้ยวของราคาปัจจุบัน ไม่ต้องมีปัญหายาปลอม ไม่ต้องมีการล็อบบี้ ไม่ต้องมีการแย่งชิงสิทธิบัตร ประเทศยากจนเข้าถึงยาได้ง่าย ๆ ที่ราคาต่ำมาก ๆ จนอาจให้เปล่าได้เลย

    ถ้าเราพูดถึงการต่อสู้ความยากจนของโลกจริง ๆ แล้ว นี่เป็นเรื่องแรก ๆ ที่ต้องทำ ....แต่ความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมยาควรจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลดำเนินงานเอง เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครพูดถึงเลย......

    ***ผมไม่ได้แปลส่วนเชิงอรรถในบทความนะครับ แต่เพื่อน ๆ ดูได้ในบทความต้นฉบับนะครับ***

    https://medium.com/elephantsintheroom/42-the-crimes-of-the-pharmaceutical-industry-5fee08225cbb
    Elephant in the Room The Crimes of the Pharmaceutical Industry เรื่องของบิ้กฟาร์ม่า Roddriver Aug 25, 2021 อุตสาหกรรมยา เป็นการผลิตยาเพื่อผลทางการแพทย์ อุตสาหกรรมนี้เน้นการรณรงค์เรื่องของสิทธิบัตรทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ ...ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิจารณ์หนักมากในเรื่องของสิทธิบัตรยา ...ยาที่มีสิทธิบัตรมักจะขายได้ราคาสูงกว่ายาที่ไม่มีสิทธิบัตรนับพัน ๆ เท่า อุตสาหกรรมนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงประเด็นที่ได้โพสท์ไว้ก่อนหน้านี้ (แปลแล้ว) เกี่ยวกับอำนาจและอาชญากรรมจากสิทธิบัตรของบริษัทยักษ์ทั้งหลาย Researching The Wrong Problems วืจัยเฉพาะเรื่องที่มีกำไร การทำวิจัยส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยที่มีกำลังซื้อ ...มียาเพียง 21 ตัวจาก 1,556 ตัวซึ่งออกสู่ตลาดโลกตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 2004 ที่เล็งเป้าไปต่อสู้กับโรคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวตะวันตกนัก ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน บริษัทเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการวิจัยยาที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่นไวอากร้ามากกว่ายารักษาวัณโรค เพราะกำไรมันอยู่ตรงนั้น ทั้ง ๆ ที่เราสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพของประเทศยากจนได้โดยใช้ทุนต่ำกว่ามาก ...ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้วที่ World Health Organization (WHO) เริ่มพูดถึงปัญหานี้ แต่การหาทุนก็ยังคงมีไม่พอ Social Costs, Private Profits เงินวิจัยจากสาธารณชน แต่กำไรเป็นของเอกชน ในช่วงต้น ๆ ของการวิจัยและพัฒนามักจะได้รับทุนสาธารณะ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก ...บริษัทยักษ์จะเข้ามาร่วมด้วยหลังจากรู้ชัดว่าการทดลองขั้นต้นแสดงให้เห็นแล้วว่า..ยาตัวนี้น่าจะต้องมีอนาคตแน่ อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทไหนได้ถือสิทธิบัตรเอาไว้ ก็จะได้กำไรส่วนใหญ่ไป เพราะเมื่อมีสิทธิบัตรอยู่ในมือ พวกเขาก็จะชาร์จราคาสูงสุดได้ตามใจ พูดอีกอย่างก็คือ ราคาที่คนร่ำรวยจะจ่ายให้ได้ ถ้าเป็นไปตามนี้ การปล่อยให้บริษัทเอกชนเก็บกำไรทั้งหมดจากยาที่ได้รับสิทธิบัตร..ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก มันคืออีกช่องทางหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่ถูกวางแผนครอบไว้ ในการดูดเอาความมั่งคั่งเข้ากระเป๋าพวกนักบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ...แค่นั้นเอง Depriving Poor Countries of Medicines คนจนไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ยา ยาที่จะทำประโยชน์ให้คนนับล้านได้ในประเทศยากจน จำเป็นต้องมีราคาที่คนจนจะจับต้องได้ แต่พวกบิ้กฟาร์ม่าที่ถือสิทธิบัตรยาเหล่านั้น..ต้องการควบคุมการเข้าถึง และชาร์จที่ราคาสูงสุดเท่าที่จะทำได้ World Trade organization (WTO) มีการบังคับใช้สิทธิบัตรผ่านข้อตกลง ที่เรียกว่า TRIPS (Trade Related Aspects of Intellectual Property) ...แต่ TRIPS ก็ยังมีข้อดีอยู่นิดหน่อยที่อนุญาตให้ประเทศยากจนหลายประเทศสามารถก้อปปี้การผลิตยาเฉพาะตัวที่สำคัญ ๆ และมีข้อบังคับทางกฏหมายให้บางประเทศเช่นอินเดียสามารถทำได้ ...แต่ถึงอย่างนั้น บิ้กฟาร์ม่าก็ยังคงบล็อกการเข้าถึงยาได้ทั่วโลกอยู่ ประเทศยากจนส่วนใหญ่ยังคงต้องซื้อยาในราคาแพงอยู่ เพราะยังคงมีการขู่จากทั้งสหรัฐ อังกฤษ และประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ Nelson Mandela ผู้นำประเทศอัฟริกาใต้ เคยพยายามที่จะได้ยา HIV ราคาถูกเพื่อรักษาผู้ป่วยเอดส์ในประเทศ ...บริษัทยาตะวันตกชาร์จที่ราคา $15,000 ต่อคนต่อปี ในขณะที่บริษัทอินเดียผลิตได้แค่ $300 ต่อคนต่อปี ...แต่แมนเดล่าถูกขู่ที่จะแซงค์ชั่น..หลังจากบริษัทยายักษ์ใหญ่ล้อบบี้ฐบาลสหรัฐ ทำให้ผู้คนหลายล้านในอัฟริกาใต้ต้องตาย เพราะไม่สามารถเข้าถึงยาจากอินเดียที่ก้อปปี้จากยาราคาแพงตัวนี้ได้ More Spent on Marketing Than on Research ใช้เงินไปกับการตลาดมากกว่าใช้กับการวิจัยซะอีก ถ้ายาได้ผลดีจริง มันก็ไม่ต้องการการตลาดเลย ถ้ามันให้ผลดีจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จริงแล้ว แพทย์และเครือข่ายการแพทย์ทั่วโลกย่อมจะต้องนำมาใช้อยู่แล้ว ...แต่จริง ๆ แล้ว ยาส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ผลนัก บริษัทจึงจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลในการ "ชักชวน" ให้แพทย์ทั้งหลายให้มาสั่งใช้ยานั้น ...ทั้งหมดนี้หมายความรวมถึง ของขวัญ การจัดท่องเที่ยววันหยุด หรือการสร้างสิ่งจูงใจ (ฟังดูไพเราะกว่า "สินบน" เยอะเลย) แพทย์จำนวนมากก็แฮ้ปปี้ที่จะร่วมเล่นด้วย ...ค่าใช้จ่ายการตลาดเหล่านี้น่ะ มันรวมอยู่ในราคายาแล้วแหละ Fraud and Deception are Widespread การฉ้อฉลมันกระจายวงไปกว้างไกลมาก อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุด บิ้กฟาร์ม่าหลายแห่งถูกกล่าวหาว่าขายยาที่เป็นอันตราย หรืออาจถึงชีวิตได้ ...อุตสาหกรรมนี้เคยถูกสั่งปรับมาแล้วถึงมากกว่า $5 หมื่นล้านในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา ...เมื่อปี 2012 Glaxo Smith Kline (GSK) ก็ถูกปรับไป $3 พันล้านในสหรัฐที่ขายยาผิดประเภท และจ่ายสินบนแก่แพทย์ และปิดบังผลวิจัย นอกจากนี้ GSK ยังถูกปรับที่อินเดีย อัฟริกาใต้และอังกฤษ แต่บริษัทนี้ขายยาแค่รายการเดียวก็อาจเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่าปรับหลายเท่าตัวก็ได้สบาย ๆ อุตสาหกรรมยามีประวัติการโฆษณายาเกินจริง..ไม่บอกถึงผลด้อยของคุณภาพ..และปิดบังผลร้ายของยามานานแล้ว ...จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า เวชภัณท์มีผลร้ายมากกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ถึง 4 เท่าส่งผลให้มีผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลถึงสองแสนกว่าคนในอังกฤษ และอีกสองล้านคนในสหรัฐในแต่ละปี นอกจากนี้ยังมีกรณีเสียชีวิตอีกถึง 55,000 รายจากยาแก้ปวด แต่ข้อมูลเหล่านี้ถูกปิดบังโดย Merck ผู้ผลิตยา ....ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ จากผลของยารักษาเบาหวาน ตอนนี้มีหลักฐานว่าบริษัทยาเหล่านี้มีการจัดการยักย้ายงานวิจัยของตน พวกนี้ทดสอบยาของตนเอง และออกผลทดสอบที่แสดงแต่ส่วนดีและซ่อนส่วนที่เป็นโทษ อุตสาหกรรมยาใช้เงินล้อบบี้รัฐบาลสหรัฐมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ..ปี 2018 มีการใช้เงินถึง $2.8 แสนล้าน นี่แสดงให้เห็นถึงการไร้กฏระเบียบของอุตสาหกรรมนี้ ถึงแม้สหรัฐจะมี Food and Drug Administration (FDA) แต่หน่วยงานนี้ก็มีงบประมาณไม่พอ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ...เจ้าหน้าที่ในสต้าฟมีสัมพันธภาพกับอุตสาหกรรมนี้ อดีตผอ. FDA ก็ออกไปทำงานกับ Pfizer ...ส่วนอดีตสมาชิกสภาคองเกรสจำนวนไม่น้อยก็ไปรับจ้อบเป็นล้อบบี้ยิสต์ให้กับอุตสาหกรรมยา สถานการณ์ของการรักษากฏของเรื่องนี้ในอังกฤษยิ่งร้ายหนักกว่าอีก อังกฤษไม่เคยมีการลงโทษบริษัทยาซักแห่งเลย มีการปรับเล็กน้อยรวมกันแค่ £73,300 แต่ไม่เคยมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังเลย Not Fit For Purpose แทบทุกประเทศที่มีหน่วยงานเกี่ยวกับอาหารและยามักจะตายใจไม่นึกว่าอุตสาหกรรมยาน่ะมันเชี่..แค่ไหน พวกสื่อเองก็เงียบไม่พูดถึงกำ ไรมหาศาลของบริษัทยาเพราะรับทรัพย์ไปเยอะ ...อุตสาหกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อสนองจุดประสงค์แท้จริงของสาธารณชน (not fit for purpose) มันทำความล้มเหลวทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจนถ้วนหน้า ถ้าอุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องที่ดำเนินงานไปโดยหน่วยงานของชาติ ยาทุกชนิดจะมีราคาเป็นแค่เศษเสี้ยวของราคาปัจจุบัน ไม่ต้องมีปัญหายาปลอม ไม่ต้องมีการล็อบบี้ ไม่ต้องมีการแย่งชิงสิทธิบัตร ประเทศยากจนเข้าถึงยาได้ง่าย ๆ ที่ราคาต่ำมาก ๆ จนอาจให้เปล่าได้เลย ถ้าเราพูดถึงการต่อสู้ความยากจนของโลกจริง ๆ แล้ว นี่เป็นเรื่องแรก ๆ ที่ต้องทำ ....แต่ความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมยาควรจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลดำเนินงานเอง เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครพูดถึงเลย...... ***ผมไม่ได้แปลส่วนเชิงอรรถในบทความนะครับ แต่เพื่อน ๆ ดูได้ในบทความต้นฉบับนะครับ*** https://medium.com/elephantsintheroom/42-the-crimes-of-the-pharmaceutical-industry-5fee08225cbb
    MEDIUM.COM
    42) The Crimes of the Pharmaceutical Industry
    “The history of medicine is littered with wonderful early results which over a period of time turn out to be not so wonderful…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 340 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก็ขนาดสส.ยังขอเงินบริจาค พันธุ์อาจ ผู้สมัครนายก อบจ เชียงใหม่ เลยขานรับนโยบาย แบมือขอเงินประชาชน กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นพักไว้ก่อน ขอกระจายเงินบริจาคสู่นักการเมืองท้องถิ่นก่อน
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    ก็ขนาดสส.ยังขอเงินบริจาค พันธุ์อาจ ผู้สมัครนายก อบจ เชียงใหม่ เลยขานรับนโยบาย แบมือขอเงินประชาชน กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นพักไว้ก่อน ขอกระจายเงินบริจาคสู่นักการเมืองท้องถิ่นก่อน #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 42 0 รีวิว
  • ออฟฟิตน่อยๆ ที่มีเครื่องกรองอากาศ ค่อยหายใจสบายหน่อย 🙂
    ออฟฟิตน่อยๆ ที่มีเครื่องกรองอากาศ ค่อยหายใจสบายหน่อย 🙂
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 40 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    Wow
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 253 มุมมอง 56 1 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 38 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • "หมาป่ากับลูกแกะ"

    - สหรัฐส่งผู้อพยพผิดกฎหมายชาวโคลอมเบียกลับประเทศด้วยเครื่องบินขนส่งทหาร C- 17 จำนวน 2 ลำ แต่ละลำมีผู้อพยพประมาณ 80 คนต่อลำ แต่ถูกประธานาธิบดีกุสตาโว เปตรอฟแห่งโคลัมเบียปฏิเสธการลงจอด ทำให้ต้องบินกลับสหรัฐ

    - เปตรอฟอ้างเหตุผลว่า ผู้อพยพเหล่านั้นไม่ควรถูกปฏิบัติเยี่ยงอาชญากรรุนแรง ที่ต้องใส่กุญแจมือ บางรายถึงกับตีตรวนที่ขา และการใช้เครื่องบินทหารไม่มีประเทศไหนทำกัน การส่งผู้อพยพกลับควรเป็นไปในช่องทางการทูต

    - โดนัลด์ ทรัมป์ โกรธจัด และถือว่านี่เป็นการท้าทายอำนาจสหรัฐ ประกาศภาษีนำเข้า 25% จะถูกปรับขึ้นเป็น 50% ใน 1 สัปดาห์

    - มีคำสั่งปิดแผนกวีซ่าที่สถานทูตสหรัฐฯ ในเมืองหลวงของโคลอมเบีย เพื่อยกเลิกการเดินทางเข้าสหรัฐ

    - เปโตรตอบโต้ทรัมป์ ด้วยการโพสต์ท้าทายบน "X" โดยขู่ว่าจะตอบโต้ภาษีของทรัมป์ในลักษณะเดียวกัน “ผมรับแจ้งว่าคุณกำลังกำหนดภาษี เป็น 50% และผมจะทำเช่นเดียวกัน”

    - แม้ว่าเปโตรจะออกแถลงการณ์ตอบโต้ทรัมป์ ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลโคลอมเบียกำลังเร่งเจรจากับสหรัฐอย่างจริงจังเพื่อหาข้อตกลงในการรับผู้อพยพกลับโคลอมเบีย

    - หลังการเจรจาสิ้นสุดลง ประธานาธิบดีโคลอมเบีย "ยอมจำนน" โดยประกาศส่งเครื่องบินจำนวน 2 ลำไปรับผู้อพยพทั้งหมด และทำเนียบขาวยืนยันโคลอมเบียตกลงตามเงื่อนไขทั้งหมดของทรัมป์

    - และไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีกุสตาโว เปตรอฟแห่งโคลัมเบียยอมจำนนต่อภาษีศุลกากรและข้อจำกัดด้านวีซ่าของทรัมป์ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้โพสต์ภาพตัวเองสวมหมวกคาวบอยลงโซเชียล (รูป-1)

    "หมาป่ากับลูกแกะ" - สหรัฐส่งผู้อพยพผิดกฎหมายชาวโคลอมเบียกลับประเทศด้วยเครื่องบินขนส่งทหาร C- 17 จำนวน 2 ลำ แต่ละลำมีผู้อพยพประมาณ 80 คนต่อลำ แต่ถูกประธานาธิบดีกุสตาโว เปตรอฟแห่งโคลัมเบียปฏิเสธการลงจอด ทำให้ต้องบินกลับสหรัฐ - เปตรอฟอ้างเหตุผลว่า ผู้อพยพเหล่านั้นไม่ควรถูกปฏิบัติเยี่ยงอาชญากรรุนแรง ที่ต้องใส่กุญแจมือ บางรายถึงกับตีตรวนที่ขา และการใช้เครื่องบินทหารไม่มีประเทศไหนทำกัน การส่งผู้อพยพกลับควรเป็นไปในช่องทางการทูต - โดนัลด์ ทรัมป์ โกรธจัด และถือว่านี่เป็นการท้าทายอำนาจสหรัฐ ประกาศภาษีนำเข้า 25% จะถูกปรับขึ้นเป็น 50% ใน 1 สัปดาห์ - มีคำสั่งปิดแผนกวีซ่าที่สถานทูตสหรัฐฯ ในเมืองหลวงของโคลอมเบีย เพื่อยกเลิกการเดินทางเข้าสหรัฐ - เปโตรตอบโต้ทรัมป์ ด้วยการโพสต์ท้าทายบน "X" โดยขู่ว่าจะตอบโต้ภาษีของทรัมป์ในลักษณะเดียวกัน “ผมรับแจ้งว่าคุณกำลังกำหนดภาษี เป็น 50% และผมจะทำเช่นเดียวกัน” - แม้ว่าเปโตรจะออกแถลงการณ์ตอบโต้ทรัมป์ ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลโคลอมเบียกำลังเร่งเจรจากับสหรัฐอย่างจริงจังเพื่อหาข้อตกลงในการรับผู้อพยพกลับโคลอมเบีย - หลังการเจรจาสิ้นสุดลง ประธานาธิบดีโคลอมเบีย "ยอมจำนน" โดยประกาศส่งเครื่องบินจำนวน 2 ลำไปรับผู้อพยพทั้งหมด และทำเนียบขาวยืนยันโคลอมเบียตกลงตามเงื่อนไขทั้งหมดของทรัมป์ - และไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีกุสตาโว เปตรอฟแห่งโคลัมเบียยอมจำนนต่อภาษีศุลกากรและข้อจำกัดด้านวีซ่าของทรัมป์ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้โพสต์ภาพตัวเองสวมหมวกคาวบอยลงโซเชียล (รูป-1)
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 202 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 34 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ เด็กจีนแก้แค้นพ่อ จุดประกายให้เด็กไทย ที่โดนพ่อแทรกแซงครอบงำ อาจโทรฟ้องเรื่องพ่อแกล้งนอนป่วยชั้น14
    #7ดอกจิก
    ♣ เด็กจีนแก้แค้นพ่อ จุดประกายให้เด็กไทย ที่โดนพ่อแทรกแซงครอบงำ อาจโทรฟ้องเรื่องพ่อแกล้งนอนป่วยชั้น14 #7ดอกจิก
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยุบ voice tv เพื่อลดคอส แล้วไปใช้งบหลวงเชียร์รัฐบาลที่ NBT แถมใช้ voice tv เป็นที่ทำการใหม่พรรคเพื่อไทย คิดใหญ่ใช้คุ้ม จริงๆ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    ยุบ voice tv เพื่อลดคอส แล้วไปใช้งบหลวงเชียร์รัฐบาลที่ NBT แถมใช้ voice tv เป็นที่ทำการใหม่พรรคเพื่อไทย คิดใหญ่ใช้คุ้ม จริงๆ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 302 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 36 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน?"

    ทำไมมติชนไม่นำข้อมูลรายงานสภาพอากาศจากกรมอุตุฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง
    "ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน?" ทำไมมติชนไม่นำข้อมูลรายงานสภาพอากาศจากกรมอุตุฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 156 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่ให้พี่เดต้องรอนาน เพราะเราขายกาแฟ แต่พี่เดสั่งเก๊กฮวยร้อน บาริสต้าจึงต้องไปห้องน้ำแปป
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    ขออภัยที่ให้พี่เดต้องรอนาน เพราะเราขายกาแฟ แต่พี่เดสั่งเก๊กฮวยร้อน บาริสต้าจึงต้องไปห้องน้ำแปป #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 188 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 36 มุมมอง 0 รีวิว
  • สลามเมืองไทย EP07 โจอี้ กาน่า ตลกมุสลิม สัญชาติกานา ภูมิใจอยู่ไทยเสรี
    สลามเมืองไทย EP07 โจอี้ กาน่า ตลกมุสลิม สัญชาติกานา ภูมิใจอยู่ไทยเสรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 36 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 62 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 31 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 34 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว