• #ยาลดกรด

    ถ้าคุณใช้ยาลดกรดไม่ว่าจะตามคำสั่งแพทย์หรือฟังจากโฆษณาแล้วเชื่อตามนั้น ลองอ่านให้จบว่าอาการเหล่านี้ได้เกิดกับตัวคุณแล้วหรือยัง

    จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ (1) การใช้สาร proton pump inhibitors ในระยะยาวอย่างเช่น Prilosec, Prevacid และ Nexium (ยาเม็ดสีม่วง) - ยาที่ช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร - เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบี 12

    ผู้เข้าร่วมที่กินยาลดกรดมานานกว่าสองปีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ของการขาดวิตามินบี 12 ซึ่งอาจนำไปโรค :

    -โรคโลหิตจาง
    -ความเสียหายของเส้นประสาท
    -ปัญหาเกี่ยวกับจิต
    -สมองเสื่อม (Dementia)

    ยิ่งกินในปริมาณที่สูงกว่าก็มีความเสี่ยงที่สูงกว่า ตามที่อธิบายไว้โดยนักวิจัยอาวุโส Dr. Douglas Corley (2) Gastroenterologist ที่ Kaiser Permanente:

    "ยาลดกรดชนิดนี้อาจทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากเซลล์ที่สร้างกรดในกระเพาะอาหารยังสร้างโปรตีนที่ช่วยให้วิตามินบี 12 ถูกดูดซึมได้"

    การขาดวิตามินบี 12 จะทำให้สุขภาพของคุณแย่ลงได้อย่างไร

    เมื่อระดับวิตามินบี 12 ของคุณเริ่มลดลง ร่างกายจะส่งสัญญาณบางอย่างเริ่มให้เห็นรวมถึง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อาทิเช่นการขาดแรงจูงใจหรือความรู้สึกไม่แยแสและถ้าระดับต่ำมาก ๆ ยังสามารถนำไปสู่ความหดหู่ ปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อและ – สัญญาณที่เด่นชัดที่สุดคือ- ความเมื่อยล้า

    วิตามินบี 12 เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวิตามินแห่งพลังงานและร่างกายของคุณต้องการสำหรับกิจกรรมที่สำคัญหลายชนิดรวมทั้งการผลิตพลังงานและ :

    การย่อยอาหารที่เหมาะสม การดูดซึมอาหาร การใช้ธาตุเหล็ก การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน การทำงานของระบบประสาทที่ดี มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเส้นประสาทตามปกติ ช่วยในการควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง การก่อตัวของเซลล์และอายุการใช้งานที่ยาวนาน

    การผลิตฮอร์โมน เพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง สนับสนุนความเป็นสตรีเพศและการตั้งครรภ์
    สร้างความรู้สึกให้พอใจกับความเป็นอยู่และการควบคุมอารมณ์ การมีสมาธิ ส่งเสริมความจำ เพิ่มความเข้มข้นในด้านสมรรถภาพทางกาย อารมณ์และจิตใจ

    การวิจัยล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่าการมีวิตามินบี 12 ต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในชายสูงวัย ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้หลังจากคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ เช่นการสูบบุหรี่ สถานะของวิตามินดีและปริมาณแคลเซียม medicinenet.com: (3) กล่าวว่า :

    “ผู้ชายที่อยู่ในกลุ่มที่มีระดับ B-12 ต่ำสุดมีโอกาสเกิดการแตกหักของกระดูกมากกว่าร้อยละ 70 ในการศึกษานี้พบว่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการแตกหักของกระดูกสันหลังส่วนเอวซึ่งมีโอกาสเกิดการแตกหักมากขึ้นถึงร้อยละ 120 เมื่อเทียบกับกระดูกส่วนอื่น "

    และถ้าหากขาดวิตามินบี 12 เรื้อรังในระยะยาวก็อาจทำให้เกิดภาวะร้ายแรงอื่น ๆ ได้แก่ :

    -โรคซึมเศร้า
    -ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
    -ความอุดมสมบูรณ์ของหญิงและปัญหาการคลอดบุตร
    -โรคหัวใจและมะเร็ง

    รูปแบบตามธรรมชาติของ B12 จะมีอยู่ในสัตว์และไม่จำเป็นต้องเป็นเนื้อ แต่อาจเป็นไข่และนมก็ได้ อาหารที่มี B12 สูงรวมถึง:

    -ไข่อินทรีย์
    -เนื้อวัวและตับวัวที่เลี้ยงดวยหญ้าอินทรีย์
    -ไก่อินทรีย์
    -ปลาแซลมอนอลาสก้าที่จับได้ในป่า
    -นมดิบของสัตว์ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์และไม่ผ่านกระบวนการ

    ถ้าคุณมีอาการข้างต้นและไม่บริโภคสัตว์หรือสิ่งที่ได้จากสัตว์ ขอแนะนำให้หาวิตามินบี 12 มารับประทานตามความเหมาะสมของอายุและมวลกายรายการ หมอนอกกะลา

    ยาลดกรด 2

    ตอนที่ 1 ได้พูดถึงสองในสี่ผลกระทบหลักของยาลดกรด:
    คือแบคทีเรียเลว ๆ มากเกินไปและความบกพร่องในการดูดซึมสารอาหาร

    อีก 2 ผลกระทบที่เหลือ

    ลดความต้านทานต่อการติดเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ

    เบื้องแรกในการป้องกันร่างกายของเรา:

    ปาก หลอดอาหารและลำไส้เป็นบ้านของระหว่าง 400-1,000 สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม กระเพาะอาหารที่ดีจะมีการฆ่าเชื้ออยู่เสมอ ทำไมน่ะรึ !! เพราะกรดในกระเพาะอาหารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

    ในความเป็นจริง กรดคือบทบาทที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างการขัดขวางสองทางที่ช่วยปกป้องกระเพาะอาหารจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ลำดับแรกแรก : กรดในกระเพาะอาหารจะป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายซึ่งอาจจะอยู่ในอาหารหรือเครื่องดื่มที่เรากินหรืออากาศที่เราหายใจเข้ามาในลำไส้และในเวลาเดียวกัน กรดในกระเพาะอาหารยังช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียตามปกติจากลำไส้ซึ่งจะย้ายเข้าสู่กระเพาะอาหารและหลอดอาหารซึ่งพวกมันอาจทำให้เกิดปัญหา

    สภาพแวดล้อมของกระเพาะอาหารค่า pH ต่ำ (กรดสูง) เป็นหนึ่งในกลไกการป้องกันที่ไม่เฉพาะเจาะจงที่สำคัญของร่างกาย เมื่อค่าความเป็นกรดของกระเพาะอาหารมีค่าที่ 3 หรือต่ำกว่าถือว่าเป็นปรกติของช่วงท้องว่างหรือ "พักผ่อน" แบคทีเรียจะอยู่ได้ไม่เกินสิบห้านาที แต่ในขณะที่pH เพิ่มขึ้นถึง 5 หรือมากกว่า สายพันธุ์ต่าง ๆ ของแบคทีเรียสามารถหลีกเลี่ยงการกำจัดของกรดและเริ่มที่จะเจริญเติบโต

    แต่น่าเสียดาย มันจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณกินยาลดกรด ทั้ง Tagamet และ Zantac จะเพิ่มค่า pHของกระเพาะอาหารจากประมาณ 1-2 ก่อนการรักษาเป็น 5.5-6.5 อย่างมีนัยสำคัญ ตามลำดับ

    Prilosec และ PPIs และอื่น ๆ จะยิ่งเลวร้ายเข้าไปใหญ่ เพียงหนึ่งเม็ดของยาเหล่านี้สามารถลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้ถึงร้อยละ90 ถึง 95เพื่อส่วนที่ดีกว่าของวัน การกิน PPIs ในปริมาณที่สูงขึ้นหรือบ่อยมากขึ้น ซึ่งมักจะถูกแนะนำ จะทำให้เกิดภาวะ achlorydia (แทบไม่มีกรดในกระเพาะอาหารเลย) ในการศึกษาของผู้ชายที่มีสุขภาพดี10 คนอายุ 22-55 ปี การให้กิน Prilosec 20 หรือ 40 มิลลิกรัมลดระดับกรดในกระเพาะอาหารจนเกือบหมด

    กระเพาะอาหารที่เป็นกรดไม่มากพอเชื้อแบคทีเรียก่อโรคก็อุดมสมบูรณ์ สนุกสนาน เพราะมันมันทั้งมืดทั้งอบอุ่น ทั้งชื้นและเต็มไปด้วยสารอาหาร แบคทีเรียจะไม่ฆ่าเรา – อย่างน้อยก็ไม่ทันที- แต่บางส่วนของพวกมันสามารถ คนที่มีค่าความเป็นกรดด่างในกระเพาะอาหารสูงพอที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงได้อย่างง่ายดาย

    การทบทวนที่ผ่านมาเกี่ยวกับยาลดกรดในกระเพาะอาหารชี้ให้เห็นว่าพวกมันเป็นต้นเหตุจริงของการเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อ(PDF) ผู้เขียนพบหลักฐานยืนยันว่า การใช้ยาลดกรดสามารถเพิ่มโอกาสของการติดเชื้อต่อไปนี้:

    Salmonella
    Campylobacter
    อหิวาตกโรค
    Listeria
    Giardia
    C. difficile
    การศึกษาอื่น ๆ พบว่ายาลดกรดยังเพิ่มความเสี่ยงสำหรับ:
    โรคปอดบวม
    วัณโรค
    ไทฟอยด์
    บิด

    ยาลดกรดไม่เพียงแต่เพิ่มความไวต่อการติดเชื้อแต่มันยังไปลดลงความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของเราในการต่อสู้กับการติดเชื้อเมื่อเราได้รับเชื้อ จากการศึกษาในหลอดทดลองได้แสดงให้เห็นว่า PPIs ทำให้การทำหน้าที่ของเม็ดเลือดขาว nuetrophil ทำงานผิดพลาด ลดการยึดเกาะกับเซลล์ endothelial ลดการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของจุลินทรีย์และยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลายอย่าง neutrophil และเพิ่มกรดใน phagolysosome

    ประตูสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ

    อย่างที่เราได้กล่าวถึงในบทความแรกไว้ว่า การลดลงของการหลั่งกรดตามอายุเป็นเรื่องที่มีเอกสารยืนยัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ในปี 1996 แพทย์ชาวอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่า กระเพาะอาหารเกี่ยวข้องกับการลดลงของกรดตามอายุเนื่องจากการเสียหายของเซลล์ผลิตกรด สภาพนี้เรียกว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบ(atrophic gastritis)

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อหาต่อไปนี้ กระเพาะอาหารอักเสบ (สภาพที่กรดในกระเพาะอาหารอยู่ในระดับที่ต่ำมาก) มีความเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของความผิดปกติร้ายแรงที่ไปไกลเกินกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ซึ่งรวมถึง:

    มะเร็งกระเพาะอาหาร
    โรคภูมิแพ้
    โรคหอบหืด
    อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ความผิดปกติของอารมณ์
    โลหิตจาง
    โรคผิวหนังรวมทั้งการเกิดสิว, โรคผิวหนังกลากและลมพิษ
    โรคนิ่วในถุงน้ำดี
    โรคแพ้ภูมิเช่นโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคเกรฟส์
    อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) โรค Crohn (CD), ลำไส้ใหญ่ (UC)
    โรคไวรัสตับอักเสบ
    โรคกระดูกพรุน
    โรคเบาหวานประเภท 1
    และอย่าลืมนะว่ากรดในกระเพาะอาหารต่ำอาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางอก!

    มะเร็งกระเพาะอาหาร

    โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เชื้อ H. pylori เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ และยาลดกรดก็ยิ่งทำให้อาการเหล่านี้เลวลงและเพิ่มอัตราการติดเชื้อ

    ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่อะไรนักหรอกที่จะสงสัยว่ายาลดกรดเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ที่ติดเชื้อ H.pylori ในบทความที่ผ่านมาของ Julie Parsonnet, M.D. of Standford University Medical School เขียนไว้ว่า :
    โดยหลักการแล้ว การรักษาด้วยยาลดกรดในปัจจุบันนี้ อาจเป็นตัวเร่งโรคมะเร็งโดยการแปลงการอักเสบเพียงเล็กน้อยของกระเพาะอาหารเป็นทำลายขั้นรุนแรงในกระบวนการก่อมะเร็ง

    แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

    ประมาณ 90% ของลำไส้เล็กส่วนต้น (ลำไส้) และ 65% ของแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากเชื้อ H. pylori
    ในการทดลองฉีดวัคซีนในมนุษย์ การติดเชื้อไม่สามารถเกิดขึ้นได้เว้นแต่ค่า pH ของกระเพาะอาหารสูงขึ้น(ลดความเป็นกรดลง) โดยการใช้สารต้านฮิสตามีนซึ่งไปลดกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มค่าความเป็นด่าง ยาลดกรดในกระเพาะอาหารจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ H. pylori และตามมาด้วยการพัฒนาไปเป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นหรือกระเพาะอาหาร

    อาการลำไส้แปรปรวน โรค Crohn และลำไส้ใหญ่อักเสบ

    สารอะดีโนซีน(Adenosine)เป็นตัวกลางหลักของการอักเสบในระบบทางเดินอาหารและสารอะดีโนซีนในระดับสูงจะไปกดและแก้ไขปัญหาการอักเสบเรื้อรังของทั้งโรค Crohn และลำไส้ใหญ่อักเสบ การใช้ PPIs อย่างต่อเนื่องได้รับการยืนยันว่าไปลดความเข้มข้นของสารอะดีโนซีน จึงส่งผลในการเพิ่มขึ้นของการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการใช้งานยาลดกรดในระยะยาว อาจพัฒนาความผิดปกติของลำไส้ให้อักเสบอย่างรุนแรงได้

    ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลและความผิดปกติทางอารมณ์

    ในขณะที่ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุ (เท่าที่ผมรู้) การเชื่อมโยงของยาลดกรดกับความผิดปกติทางอารมณ์หรือภาวะซึมเศร้า ความเข้าใจพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างการย่อยโปรตีนและสุขภาพจิตแสดงให้เห็นว่าอาจจะมีการเชื่อมกัน ในระหว่างการย่อยอาหาร การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารจะปล่อยน้ำย่อยซึ่งเรียกว่า เพพซิน (pepsin) น้ำย่อยนี้เป็นเอนไซม์ที่มีความรับผิดชอบต่อการสลายพันธะโปรตีนไปเป็นกรดอะมิโนและเปปไทด์ กรดอะมิโนที่เรียกว่า "จำเป็น" ก็เพราะเราไม่สามารถผลิตได้เองในร่างกายของเรา เราจะต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

    หากขาดน้ำย่อยโปรตีน (Pepsin) โปรตีนที่เรากินเข้าไปจะไม่ถูกทำลายไปเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและส่วนประกอบเปปไทด์ และเนื่องจากกรดอะมิโนจำเป็นเหล่านี้เช่น phenylalanine และ tryptophan มีบทบาทสำคัญในด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรม กรดในกระเพาะอาหารที่ต่ำอาจเป็นตัวชักนำต่อการพัฒนาความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์

    โรคแพ้ภูมิ

    กรดในกระเพาะอาหารต่ำและต่อมาก็มีแบคทีเรียมากเกินไปทำให้เกิดลำไส้ที่ซึมผ่านได้ง่ายแล้วปล่อยให้โปรตีนที่ไม่ได้รับการย่อยเข้าสู่กระแสเลือด ภาวะนี้มักจะถูกเรียกว่า "กลุ่มอาการของโรคลำไส้รั่ว" Salzman และเพื่อนได้แสดงให้เห็นว่า
    การซึมผ่านได้ง่ายของเซลล์ลำไส้ ทั้งtranscellular และ paracellular เพิ่มขึ้นอย่างมากในผู้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ควบคุม

    เมื่อโปรตีนที่ไม่ผ่านการย่อยไปเข้าอยู่ในกระแสเลือดพวกมันจะถูกถือว่าเป็น "ผู้รุกราน" โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายระดมการป้องกันของมัน (อาทิ T เซลล์ Bเซลล์และแอนติบอดี ) เพื่อที่จะกำจัดการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

    ประเภทของการตอบสนองจากภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนที่เรากินนี้ก่อให้เกิดการแพ้อาหาร กลไกที่คล้ายกันนี้ที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจในคนที่มีลำไส้รั่ว การพัฒนาโรคแพ้ภูมิรุนแรงมากขึ้นจนกลายไปเป็นอาทิ โรคลูปัส (พุ่มพวง เอสแอลอี), โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (เบาหวานแห้ง)โรคเกรฟส์และความผิดปกติของลำไส้อักเสบเช่น Crohn และลำไส้ใหญ่อักเสบ

    ความสัมพันธ์ระหว่างโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) และกรดในกระเพาะอาหารยังมีรายงานไว้ในงานเขียนและงานวิจัยมากมาย การตรวจสอบปริมาณกรดในกระเพาะอาหารของผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ RA 45 คน ของนักวิจัยชาวสวีเดนพบว่า 16 คน(36 เปอร์เซ็นต์) แทบจะไม่มีกรดในกระเพาะอาหารเลย คนที่ได้รับความทรมานจาก RA ที่ยาวที่สุดมีกรดในกระเพาะอาหารน้อยที่สุด กลุ่มนักวิจัยอิตาลียังพบอีกว่าคนที่มี RA มีอัตราของโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่สูงมากด้วยค่าความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลปกติ

    โรคหอบหืด

    ในรอบสิบปีที่ผ่านมา มากกว่าสี่ร้อยบทความทางวิทยาศาสตร์ให้กังวลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างโรคหอบหืดและความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หนึ่งในคุณสมบัติที่พบบ่อยที่สุดของโรคหอบหืดนอกเหนือไปจากการหายใจก็คือเป็นกรดไหลย้อน เป็นที่คาดการณ์กันว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีโรคหอบหืดยังมีโรคกรดไหลย้อนพ่วงท้ายอีกต่างหาก เมื่อเทียบกับคนที่มีสุขภาพดี และมีการระคายเคืองจากกรดเกินมากขึ้นในเยื่อบุหลอดอาหารของพวกเขา

    เมื่อกรดเข้าไปในหลอดลม จะทำให้ความสามารถของปอดในการหายใจเข้าออกลดลงเป็นสิบเท่า แพทย์ที่มีความตระหนักถึงสิ่งนี้ก็เริ่มจ่ายยาลดกรดให้กับผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ทุกข์ทรมานจากโรคกรดไหลย้อน ในขณะที่ยาลดกรดนี้อาจช่วยบรรเทาอาการชั่วคราว แต่มันไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุของความผิดปกติที่กรดไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารในคราวแรก

    ในความเป็นจริง มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่ายาลดกรดทำให้ทุกปัญหาพื้นฐานแย่ลง (กรดในกระเพาะอาหารน้อยเกินไปและเพิ่มแบคทีเรีย) ดังนั้นทำให้อาการยาวนานและรุนแรง

    สรุป

    อย่างที่เราได้อ่านจากบทความก่อนหน้านี้ในตอนที่ 1 แสบร้อนกลางอกและโรคกรดไหลย้อนมันเกิดจากการน้อยเกินไป - และไม่มากพอ – ของกรดในกระเพาะอาหาร แต่น่าเสียดายที่กรดในกระเพาะอาหารไม่เพียงพอนี้ยังไปเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียมากจนเกินไป การดูดซึมสารอาหารด้อยคุณภาพลง การลดลงของความต้านทานต่อการติดเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร, แผลในกระเพาะอาหาร,ลำไส้แปรปรวน และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ ภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์และโรคแพ้ภูมิตัวเองและโรคหอบหืด

    การบรรเทาอาการชั่วคราวของยาลดกรดเหล่านี้ให้ความคุ้มค่าต่อความเสี่ยงหรือไม่ นั่นคือสิ่งเดียวที่คุณสามารถตัดสินใจได้เอง

    Cr. Santi Manadee
    #ยาลดกรด ถ้าคุณใช้ยาลดกรดไม่ว่าจะตามคำสั่งแพทย์หรือฟังจากโฆษณาแล้วเชื่อตามนั้น ลองอ่านให้จบว่าอาการเหล่านี้ได้เกิดกับตัวคุณแล้วหรือยัง จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ (1) การใช้สาร proton pump inhibitors ในระยะยาวอย่างเช่น Prilosec, Prevacid และ Nexium (ยาเม็ดสีม่วง) - ยาที่ช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร - เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบี 12 ผู้เข้าร่วมที่กินยาลดกรดมานานกว่าสองปีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ของการขาดวิตามินบี 12 ซึ่งอาจนำไปโรค : -โรคโลหิตจาง -ความเสียหายของเส้นประสาท -ปัญหาเกี่ยวกับจิต -สมองเสื่อม (Dementia) ยิ่งกินในปริมาณที่สูงกว่าก็มีความเสี่ยงที่สูงกว่า ตามที่อธิบายไว้โดยนักวิจัยอาวุโส Dr. Douglas Corley (2) Gastroenterologist ที่ Kaiser Permanente: "ยาลดกรดชนิดนี้อาจทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากเซลล์ที่สร้างกรดในกระเพาะอาหารยังสร้างโปรตีนที่ช่วยให้วิตามินบี 12 ถูกดูดซึมได้" การขาดวิตามินบี 12 จะทำให้สุขภาพของคุณแย่ลงได้อย่างไร เมื่อระดับวิตามินบี 12 ของคุณเริ่มลดลง ร่างกายจะส่งสัญญาณบางอย่างเริ่มให้เห็นรวมถึง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อาทิเช่นการขาดแรงจูงใจหรือความรู้สึกไม่แยแสและถ้าระดับต่ำมาก ๆ ยังสามารถนำไปสู่ความหดหู่ ปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อและ – สัญญาณที่เด่นชัดที่สุดคือ- ความเมื่อยล้า วิตามินบี 12 เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวิตามินแห่งพลังงานและร่างกายของคุณต้องการสำหรับกิจกรรมที่สำคัญหลายชนิดรวมทั้งการผลิตพลังงานและ : การย่อยอาหารที่เหมาะสม การดูดซึมอาหาร การใช้ธาตุเหล็ก การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน การทำงานของระบบประสาทที่ดี มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเส้นประสาทตามปกติ ช่วยในการควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง การก่อตัวของเซลล์และอายุการใช้งานที่ยาวนาน การผลิตฮอร์โมน เพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง สนับสนุนความเป็นสตรีเพศและการตั้งครรภ์ สร้างความรู้สึกให้พอใจกับความเป็นอยู่และการควบคุมอารมณ์ การมีสมาธิ ส่งเสริมความจำ เพิ่มความเข้มข้นในด้านสมรรถภาพทางกาย อารมณ์และจิตใจ การวิจัยล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่าการมีวิตามินบี 12 ต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในชายสูงวัย ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้หลังจากคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ เช่นการสูบบุหรี่ สถานะของวิตามินดีและปริมาณแคลเซียม medicinenet.com: (3) กล่าวว่า : “ผู้ชายที่อยู่ในกลุ่มที่มีระดับ B-12 ต่ำสุดมีโอกาสเกิดการแตกหักของกระดูกมากกว่าร้อยละ 70 ในการศึกษานี้พบว่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการแตกหักของกระดูกสันหลังส่วนเอวซึ่งมีโอกาสเกิดการแตกหักมากขึ้นถึงร้อยละ 120 เมื่อเทียบกับกระดูกส่วนอื่น " และถ้าหากขาดวิตามินบี 12 เรื้อรังในระยะยาวก็อาจทำให้เกิดภาวะร้ายแรงอื่น ๆ ได้แก่ : -โรคซึมเศร้า -ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ -ความอุดมสมบูรณ์ของหญิงและปัญหาการคลอดบุตร -โรคหัวใจและมะเร็ง รูปแบบตามธรรมชาติของ B12 จะมีอยู่ในสัตว์และไม่จำเป็นต้องเป็นเนื้อ แต่อาจเป็นไข่และนมก็ได้ อาหารที่มี B12 สูงรวมถึง: -ไข่อินทรีย์ -เนื้อวัวและตับวัวที่เลี้ยงดวยหญ้าอินทรีย์ -ไก่อินทรีย์ -ปลาแซลมอนอลาสก้าที่จับได้ในป่า -นมดิบของสัตว์ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์และไม่ผ่านกระบวนการ ถ้าคุณมีอาการข้างต้นและไม่บริโภคสัตว์หรือสิ่งที่ได้จากสัตว์ ขอแนะนำให้หาวิตามินบี 12 มารับประทานตามความเหมาะสมของอายุและมวลกายรายการ หมอนอกกะลา ยาลดกรด 2 ตอนที่ 1 ได้พูดถึงสองในสี่ผลกระทบหลักของยาลดกรด: คือแบคทีเรียเลว ๆ มากเกินไปและความบกพร่องในการดูดซึมสารอาหาร อีก 2 ผลกระทบที่เหลือ ลดความต้านทานต่อการติดเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ เบื้องแรกในการป้องกันร่างกายของเรา: ปาก หลอดอาหารและลำไส้เป็นบ้านของระหว่าง 400-1,000 สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม กระเพาะอาหารที่ดีจะมีการฆ่าเชื้ออยู่เสมอ ทำไมน่ะรึ !! เพราะกรดในกระเพาะอาหารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความเป็นจริง กรดคือบทบาทที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างการขัดขวางสองทางที่ช่วยปกป้องกระเพาะอาหารจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ลำดับแรกแรก : กรดในกระเพาะอาหารจะป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายซึ่งอาจจะอยู่ในอาหารหรือเครื่องดื่มที่เรากินหรืออากาศที่เราหายใจเข้ามาในลำไส้และในเวลาเดียวกัน กรดในกระเพาะอาหารยังช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียตามปกติจากลำไส้ซึ่งจะย้ายเข้าสู่กระเพาะอาหารและหลอดอาหารซึ่งพวกมันอาจทำให้เกิดปัญหา สภาพแวดล้อมของกระเพาะอาหารค่า pH ต่ำ (กรดสูง) เป็นหนึ่งในกลไกการป้องกันที่ไม่เฉพาะเจาะจงที่สำคัญของร่างกาย เมื่อค่าความเป็นกรดของกระเพาะอาหารมีค่าที่ 3 หรือต่ำกว่าถือว่าเป็นปรกติของช่วงท้องว่างหรือ "พักผ่อน" แบคทีเรียจะอยู่ได้ไม่เกินสิบห้านาที แต่ในขณะที่pH เพิ่มขึ้นถึง 5 หรือมากกว่า สายพันธุ์ต่าง ๆ ของแบคทีเรียสามารถหลีกเลี่ยงการกำจัดของกรดและเริ่มที่จะเจริญเติบโต แต่น่าเสียดาย มันจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณกินยาลดกรด ทั้ง Tagamet และ Zantac จะเพิ่มค่า pHของกระเพาะอาหารจากประมาณ 1-2 ก่อนการรักษาเป็น 5.5-6.5 อย่างมีนัยสำคัญ ตามลำดับ Prilosec และ PPIs และอื่น ๆ จะยิ่งเลวร้ายเข้าไปใหญ่ เพียงหนึ่งเม็ดของยาเหล่านี้สามารถลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้ถึงร้อยละ90 ถึง 95เพื่อส่วนที่ดีกว่าของวัน การกิน PPIs ในปริมาณที่สูงขึ้นหรือบ่อยมากขึ้น ซึ่งมักจะถูกแนะนำ จะทำให้เกิดภาวะ achlorydia (แทบไม่มีกรดในกระเพาะอาหารเลย) ในการศึกษาของผู้ชายที่มีสุขภาพดี10 คนอายุ 22-55 ปี การให้กิน Prilosec 20 หรือ 40 มิลลิกรัมลดระดับกรดในกระเพาะอาหารจนเกือบหมด กระเพาะอาหารที่เป็นกรดไม่มากพอเชื้อแบคทีเรียก่อโรคก็อุดมสมบูรณ์ สนุกสนาน เพราะมันมันทั้งมืดทั้งอบอุ่น ทั้งชื้นและเต็มไปด้วยสารอาหาร แบคทีเรียจะไม่ฆ่าเรา – อย่างน้อยก็ไม่ทันที- แต่บางส่วนของพวกมันสามารถ คนที่มีค่าความเป็นกรดด่างในกระเพาะอาหารสูงพอที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงได้อย่างง่ายดาย การทบทวนที่ผ่านมาเกี่ยวกับยาลดกรดในกระเพาะอาหารชี้ให้เห็นว่าพวกมันเป็นต้นเหตุจริงของการเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อ(PDF) ผู้เขียนพบหลักฐานยืนยันว่า การใช้ยาลดกรดสามารถเพิ่มโอกาสของการติดเชื้อต่อไปนี้: Salmonella Campylobacter อหิวาตกโรค Listeria Giardia C. difficile การศึกษาอื่น ๆ พบว่ายาลดกรดยังเพิ่มความเสี่ยงสำหรับ: โรคปอดบวม วัณโรค ไทฟอยด์ บิด ยาลดกรดไม่เพียงแต่เพิ่มความไวต่อการติดเชื้อแต่มันยังไปลดลงความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของเราในการต่อสู้กับการติดเชื้อเมื่อเราได้รับเชื้อ จากการศึกษาในหลอดทดลองได้แสดงให้เห็นว่า PPIs ทำให้การทำหน้าที่ของเม็ดเลือดขาว nuetrophil ทำงานผิดพลาด ลดการยึดเกาะกับเซลล์ endothelial ลดการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของจุลินทรีย์และยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลายอย่าง neutrophil และเพิ่มกรดใน phagolysosome ประตูสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ อย่างที่เราได้กล่าวถึงในบทความแรกไว้ว่า การลดลงของการหลั่งกรดตามอายุเป็นเรื่องที่มีเอกสารยืนยัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ในปี 1996 แพทย์ชาวอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่า กระเพาะอาหารเกี่ยวข้องกับการลดลงของกรดตามอายุเนื่องจากการเสียหายของเซลล์ผลิตกรด สภาพนี้เรียกว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบ(atrophic gastritis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อหาต่อไปนี้ กระเพาะอาหารอักเสบ (สภาพที่กรดในกระเพาะอาหารอยู่ในระดับที่ต่ำมาก) มีความเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของความผิดปกติร้ายแรงที่ไปไกลเกินกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ซึ่งรวมถึง: มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ความผิดปกติของอารมณ์ โลหิตจาง โรคผิวหนังรวมทั้งการเกิดสิว, โรคผิวหนังกลากและลมพิษ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคแพ้ภูมิเช่นโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคเกรฟส์ อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) โรค Crohn (CD), ลำไส้ใหญ่ (UC) โรคไวรัสตับอักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานประเภท 1 และอย่าลืมนะว่ากรดในกระเพาะอาหารต่ำอาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางอก! มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เชื้อ H. pylori เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ และยาลดกรดก็ยิ่งทำให้อาการเหล่านี้เลวลงและเพิ่มอัตราการติดเชื้อ ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่อะไรนักหรอกที่จะสงสัยว่ายาลดกรดเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ที่ติดเชื้อ H.pylori ในบทความที่ผ่านมาของ Julie Parsonnet, M.D. of Standford University Medical School เขียนไว้ว่า : โดยหลักการแล้ว การรักษาด้วยยาลดกรดในปัจจุบันนี้ อาจเป็นตัวเร่งโรคมะเร็งโดยการแปลงการอักเสบเพียงเล็กน้อยของกระเพาะอาหารเป็นทำลายขั้นรุนแรงในกระบวนการก่อมะเร็ง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ประมาณ 90% ของลำไส้เล็กส่วนต้น (ลำไส้) และ 65% ของแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากเชื้อ H. pylori ในการทดลองฉีดวัคซีนในมนุษย์ การติดเชื้อไม่สามารถเกิดขึ้นได้เว้นแต่ค่า pH ของกระเพาะอาหารสูงขึ้น(ลดความเป็นกรดลง) โดยการใช้สารต้านฮิสตามีนซึ่งไปลดกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มค่าความเป็นด่าง ยาลดกรดในกระเพาะอาหารจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ H. pylori และตามมาด้วยการพัฒนาไปเป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นหรือกระเพาะอาหาร อาการลำไส้แปรปรวน โรค Crohn และลำไส้ใหญ่อักเสบ สารอะดีโนซีน(Adenosine)เป็นตัวกลางหลักของการอักเสบในระบบทางเดินอาหารและสารอะดีโนซีนในระดับสูงจะไปกดและแก้ไขปัญหาการอักเสบเรื้อรังของทั้งโรค Crohn และลำไส้ใหญ่อักเสบ การใช้ PPIs อย่างต่อเนื่องได้รับการยืนยันว่าไปลดความเข้มข้นของสารอะดีโนซีน จึงส่งผลในการเพิ่มขึ้นของการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการใช้งานยาลดกรดในระยะยาว อาจพัฒนาความผิดปกติของลำไส้ให้อักเสบอย่างรุนแรงได้ ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลและความผิดปกติทางอารมณ์ ในขณะที่ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุ (เท่าที่ผมรู้) การเชื่อมโยงของยาลดกรดกับความผิดปกติทางอารมณ์หรือภาวะซึมเศร้า ความเข้าใจพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างการย่อยโปรตีนและสุขภาพจิตแสดงให้เห็นว่าอาจจะมีการเชื่อมกัน ในระหว่างการย่อยอาหาร การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารจะปล่อยน้ำย่อยซึ่งเรียกว่า เพพซิน (pepsin) น้ำย่อยนี้เป็นเอนไซม์ที่มีความรับผิดชอบต่อการสลายพันธะโปรตีนไปเป็นกรดอะมิโนและเปปไทด์ กรดอะมิโนที่เรียกว่า "จำเป็น" ก็เพราะเราไม่สามารถผลิตได้เองในร่างกายของเรา เราจะต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น หากขาดน้ำย่อยโปรตีน (Pepsin) โปรตีนที่เรากินเข้าไปจะไม่ถูกทำลายไปเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและส่วนประกอบเปปไทด์ และเนื่องจากกรดอะมิโนจำเป็นเหล่านี้เช่น phenylalanine และ tryptophan มีบทบาทสำคัญในด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรม กรดในกระเพาะอาหารที่ต่ำอาจเป็นตัวชักนำต่อการพัฒนาความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์ โรคแพ้ภูมิ กรดในกระเพาะอาหารต่ำและต่อมาก็มีแบคทีเรียมากเกินไปทำให้เกิดลำไส้ที่ซึมผ่านได้ง่ายแล้วปล่อยให้โปรตีนที่ไม่ได้รับการย่อยเข้าสู่กระแสเลือด ภาวะนี้มักจะถูกเรียกว่า "กลุ่มอาการของโรคลำไส้รั่ว" Salzman และเพื่อนได้แสดงให้เห็นว่า การซึมผ่านได้ง่ายของเซลล์ลำไส้ ทั้งtranscellular และ paracellular เพิ่มขึ้นอย่างมากในผู้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ควบคุม เมื่อโปรตีนที่ไม่ผ่านการย่อยไปเข้าอยู่ในกระแสเลือดพวกมันจะถูกถือว่าเป็น "ผู้รุกราน" โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายระดมการป้องกันของมัน (อาทิ T เซลล์ Bเซลล์และแอนติบอดี ) เพื่อที่จะกำจัดการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ประเภทของการตอบสนองจากภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนที่เรากินนี้ก่อให้เกิดการแพ้อาหาร กลไกที่คล้ายกันนี้ที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจในคนที่มีลำไส้รั่ว การพัฒนาโรคแพ้ภูมิรุนแรงมากขึ้นจนกลายไปเป็นอาทิ โรคลูปัส (พุ่มพวง เอสแอลอี), โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (เบาหวานแห้ง)โรคเกรฟส์และความผิดปกติของลำไส้อักเสบเช่น Crohn และลำไส้ใหญ่อักเสบ ความสัมพันธ์ระหว่างโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) และกรดในกระเพาะอาหารยังมีรายงานไว้ในงานเขียนและงานวิจัยมากมาย การตรวจสอบปริมาณกรดในกระเพาะอาหารของผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ RA 45 คน ของนักวิจัยชาวสวีเดนพบว่า 16 คน(36 เปอร์เซ็นต์) แทบจะไม่มีกรดในกระเพาะอาหารเลย คนที่ได้รับความทรมานจาก RA ที่ยาวที่สุดมีกรดในกระเพาะอาหารน้อยที่สุด กลุ่มนักวิจัยอิตาลียังพบอีกว่าคนที่มี RA มีอัตราของโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่สูงมากด้วยค่าความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลปกติ โรคหอบหืด ในรอบสิบปีที่ผ่านมา มากกว่าสี่ร้อยบทความทางวิทยาศาสตร์ให้กังวลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างโรคหอบหืดและความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หนึ่งในคุณสมบัติที่พบบ่อยที่สุดของโรคหอบหืดนอกเหนือไปจากการหายใจก็คือเป็นกรดไหลย้อน เป็นที่คาดการณ์กันว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีโรคหอบหืดยังมีโรคกรดไหลย้อนพ่วงท้ายอีกต่างหาก เมื่อเทียบกับคนที่มีสุขภาพดี และมีการระคายเคืองจากกรดเกินมากขึ้นในเยื่อบุหลอดอาหารของพวกเขา เมื่อกรดเข้าไปในหลอดลม จะทำให้ความสามารถของปอดในการหายใจเข้าออกลดลงเป็นสิบเท่า แพทย์ที่มีความตระหนักถึงสิ่งนี้ก็เริ่มจ่ายยาลดกรดให้กับผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ทุกข์ทรมานจากโรคกรดไหลย้อน ในขณะที่ยาลดกรดนี้อาจช่วยบรรเทาอาการชั่วคราว แต่มันไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุของความผิดปกติที่กรดไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารในคราวแรก ในความเป็นจริง มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่ายาลดกรดทำให้ทุกปัญหาพื้นฐานแย่ลง (กรดในกระเพาะอาหารน้อยเกินไปและเพิ่มแบคทีเรีย) ดังนั้นทำให้อาการยาวนานและรุนแรง สรุป อย่างที่เราได้อ่านจากบทความก่อนหน้านี้ในตอนที่ 1 แสบร้อนกลางอกและโรคกรดไหลย้อนมันเกิดจากการน้อยเกินไป - และไม่มากพอ – ของกรดในกระเพาะอาหาร แต่น่าเสียดายที่กรดในกระเพาะอาหารไม่เพียงพอนี้ยังไปเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียมากจนเกินไป การดูดซึมสารอาหารด้อยคุณภาพลง การลดลงของความต้านทานต่อการติดเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร, แผลในกระเพาะอาหาร,ลำไส้แปรปรวน และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ ภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์และโรคแพ้ภูมิตัวเองและโรคหอบหืด การบรรเทาอาการชั่วคราวของยาลดกรดเหล่านี้ให้ความคุ้มค่าต่อความเสี่ยงหรือไม่ นั่นคือสิ่งเดียวที่คุณสามารถตัดสินใจได้เอง Cr. Santi Manadee
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 990 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลักษณะอาการต้นเมล่อนที่เป็นโรคไวรัส!🦠 #เมล่อน #ปลูกเมล่อน #โรคไวรัส
    ลักษณะอาการต้นเมล่อนที่เป็นโรคไวรัส!🦠 #เมล่อน #ปลูกเมล่อน #โรคไวรัส
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 366 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • "🌧️ #เคล็ดลับรับมือฤดูฝน: ดูแลเมล่อนอย่างมือโปร! 🍈

    วันนี้ที่ Silver Valley - เมล่อนเอมเมอรัล อันดามันของเรากำลังติดผล! 🌱

    👨‍🌾 วิธีจัดการสวนช่วงฝนตกทุกบ่าย:
    1. ตัดแต่งใบล่าง 5-6 ใบ เพื่อให้โคนต้นโปร่ง
    2. เพิ่มการระบายอากาศ ลดความเสี่ยงโรคเชื้อรา
    3. หลังตัดแต่ง พ่น #ไตรโคบิวพลัส ป้องกันเชื้อราที่แผล

    💪 #ผลลัพธ์ที่ได้:
    • ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ใบใหญ่
    • ไม่พบโรคไวรัส เชื้อรา หรือแมลงรบกวน
    • ป้องกันโรคราน้ำค้างได้ดีเยี่ยม

    🔑 #เคล็ดลับความสำเร็จ:
    พ่น #ไตรโคบิวพลัส ทุก 5 วันตลอดการปลูก

    🐐 Fun Fact: เศษยอด ใบ และแขนงที่ตัดแต่ง เราให้เป็นอาหารสัตว์:
    • เฉาก๊วย • นมสด • มอคค่า • ลาเต้
    ปลอดสารพิษ 100% แพะ แกะ และนกกระจอกเทศกินได้อย่างปลอดภัย!

    🌟 ลิตเติ้ลฟาร์ม พร้อมสนับสนุนการปลูกเมล่อนของคุณ:
    • ปุ๋ย AB เมล่อนคุณภาพสูง
    • ธาตุอาหารบำรุงต้น
    • ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและแมลง
    • คำปรึกษาฟรีตลอดการปลูก!

    📞 สนใจสอบถาม: 093-696-2691
    💬 หรือทัก Inbox ได้เลยครับ

    #เมล่อนชีวภัณฑ์ #เกษตรปลอดสาร #SilverValley #ลิตเติ้ลฟาร์ม"
    "🌧️ #เคล็ดลับรับมือฤดูฝน: ดูแลเมล่อนอย่างมือโปร! 🍈 วันนี้ที่ Silver Valley - เมล่อนเอมเมอรัล อันดามันของเรากำลังติดผล! 🌱 👨‍🌾 วิธีจัดการสวนช่วงฝนตกทุกบ่าย: 1. ตัดแต่งใบล่าง 5-6 ใบ เพื่อให้โคนต้นโปร่ง 2. เพิ่มการระบายอากาศ ลดความเสี่ยงโรคเชื้อรา 3. หลังตัดแต่ง พ่น #ไตรโคบิวพลัส ป้องกันเชื้อราที่แผล 💪 #ผลลัพธ์ที่ได้: • ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ใบใหญ่ • ไม่พบโรคไวรัส เชื้อรา หรือแมลงรบกวน • ป้องกันโรคราน้ำค้างได้ดีเยี่ยม 🔑 #เคล็ดลับความสำเร็จ: พ่น #ไตรโคบิวพลัส ทุก 5 วันตลอดการปลูก 🐐 Fun Fact: เศษยอด ใบ และแขนงที่ตัดแต่ง เราให้เป็นอาหารสัตว์: • เฉาก๊วย • นมสด • มอคค่า • ลาเต้ ปลอดสารพิษ 100% แพะ แกะ และนกกระจอกเทศกินได้อย่างปลอดภัย! 🌟 ลิตเติ้ลฟาร์ม พร้อมสนับสนุนการปลูกเมล่อนของคุณ: • ปุ๋ย AB เมล่อนคุณภาพสูง • ธาตุอาหารบำรุงต้น • ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและแมลง • คำปรึกษาฟรีตลอดการปลูก! 📞 สนใจสอบถาม: 093-696-2691 💬 หรือทัก Inbox ได้เลยครับ #เมล่อนชีวภัณฑ์ #เกษตรปลอดสาร #SilverValley #ลิตเติ้ลฟาร์ม"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 854 มุมมอง 0 รีวิว
  • กัญชาถึงฟ้าทะลายโจร เมื่อการสาธารณสุขถูกครอบงำ แต่ความจริงก็ไม่อาจปกปิด

    🌿กัญชา

    ✍️“หมอธีระวัฒน์” ชี้เรื่องกัญชา สะท้อนความนิ่งเฉย เสื่อมน้ำใจและความเมตตา ลั่นถอยไม่ได้แล้ว
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000039410#google_vignette
    ✍️“กัญชา-บุหรี่และแอลกอฮอล์” ควรนำสิ่งใดกลับสู่ยาเสพติด?
    https://mgronline.com/daily/detail/9670000042065
    ✍️กัญชา กัญชง ลดการอักเสบ
    https://youtu.be/-j9HYHTUugU?si=E3RbUpfpJRmspEXX
    ✍️“หมอธีระวัฒน์” เผยใช้สารเดี่ยว CBD รักษาลมชักให้ทำให้โรคดื้อยา ทำไมไม่ใช้ตำรับบ้านๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล กลับชง “กัญชา” เป็นยาเสพติด
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000047356
    ✍️หมอธวัชชัย” ชี้ดึงกัญชากลับสู่ยาเสพติดวุ่นวายแน่ ยันก่อนปลดล็อกผ่านการศึกษาข้อมูลมากแล้ว เริ่มจากยุค “หมอปิยะสกล” ไม่ใช่การเมือง
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000049253
    ✍️“ปานเทพ” แฉ 5 ประเด็นบิดเบือนข้อมูลกัญชา ดึงกลับเป็นยาเสพติด ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000050912
    ✍️เผยงานวิจัย ยากัญชาไทยรักษาเด็กโรคลมชักดื้อยา ได้ผลดีกว่ายาฝรั่ง จะช่วยประหยัดเงินได้สูงถึง 7.3 หมื่นล้านบาท
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000055043
    ✍️วันที่ 5 ก.ค.2567 รายการสภากาแฟ ช่อง News1 สัมภาษณ์ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร และคุณประสิทธิชัย หนูนวล หัวข้อ ฟังความเป็นจริงของสถานการณ์ กัญชา และ ระบบทรราชทางการแพทย์ (Medical Tyranny)
    https://www.youtube.com/live/kBdl3ud3RDE
    ✍️“อ.ปานเทพ”ค้านนำช่อดอกกัญชากัญชงเป็นยาเสพติด บังคับใช้ กม.ไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ กระทบผู้ป่วย เกษตรกร แพทย์แผนไทย
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000057536?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2n0WMI0yEvvFrhmDEvvIYDVFiFmi74wgnBcb-NGMeeRL3peNb34PE72t0_aem_RLFy41fdTyNwRVhW-BqJDA
    ✍️“อ.ปานเทพ” ยื่นหนังสือ 12 ก.ค.2567
    จี้ รมว.สธ.ทบทวนประกาศกัญชาเป็นยาเสพติด พร้อมแถลงแนวทางใหม่แก้ปัญหา
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000059092
    ✍️มหัศจรรย์กัญชา เด็กหนุ่มเลือดออกในสมอง หมอบอกจะเสียชีวิต แต่กลับคืนมาใช้ชีวิตตามปกติได้
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000059188
    ✍️ อ.ปานเทพ ยื่นหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เหตุที่ต้องทบทวนมติ ช่อดอกกัญชา ช่อดอกกันชงยาเสพติด 12 ก.ค.2567 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    https://youtu.be/F9Llyj2B5PE?si=uFlm9ovYpEfhH28-
    ✍️วันที่ 8 ก.ค.2567 ประชาชนและเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย ร่วมชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ที่สะพานชมัยมรุเชฐ เพื่อทวงสิทธิทางกัญชาเพื่อประชาชน
    https://www.amarintv.com/news/detail/224142
    https://ch3plus.com/news/social/morning/407582
    รวมภาพ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0SsB5c3wJo44TqTkXmo5TqC9iEEuNat8Wt8gTNuvj8RiKfikXAZcLZa36vYfdfKUkl&id=100002610663072
    คลิปอาจารย์เดชา ศิริภัทร และม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0hC9uN9iSm2444FgBUbyBcGnNc91Ef4txT4YcnTSnzZiWCv16o98eAD9odrT6Zfcxl&id=100007418351447
    ✍️“อ.ปานเทพ” เปิดหลักฐานกลุ่มผลประโยชน์ ล็อกสเปกกัญชาเป็นยาเสพติด เอื้อทุนใหญ่- กีดกันแพทย์แผนไทย
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000061226
    ✍️วันที่ 23 ก.ค.2567 แหล่งข่าวจากคณะรัฐมนตรี เรื่องกัญชา สรุป คณะรัฐมนตรีวันนี้ นายกรัฐมนตรีให้นำเรื่องกัญชา กัญชงตราเป็นพระราชบัญญัติ ทุกพรรค ทุกกลุ่มสามารถเสนอร่างของตัวเองต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาต่อไป
    แปลว่าไม่ใช่นำกัญชา กัญชงเข้าสู่บัญชียาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้มีกฎหมายเฉพาะสำหรับใช้ประโยชน์และควบคุมกัญชา กัญชง
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1017634479730252/?
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000062202

    🌿ฟ้าทะลายโจร

    ✍️แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 5 มิถุนายน 2567
    ได้ถอดฟ้าทะลายโจรออกจากการรักษาแล้ว
    https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1
    ✍️คำถามกรณีการตัดฟ้าทะลายโจรออกจากเวชปฏิบัติการรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาล เพื่อผลประโยชน์ของใครกันแน่ ?/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/990160812477619/?
    ✍️“ปานเทพ” ถาม ตัด “ฟ้าทะลายโจร” ออกจากแนวทางรักษาโควิด เอื้อประโยชน์ใครหรือไม่
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000048616
    ✍️“หมอธีระวัฒน์” ชี้ผลศึกษา “ฟ้าทะลายโจร” เป็นที่ตื่นเต้นทั่วโลก รักษาโควิด-โรคไวรัสทางระบบหายใจได้ผล
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000059905
    https://youtu.be/4N7GL1BbcH4?si=1aov92cn7xEXWSuV
    ✍️วันที่ 16 กรกฎาคม 67 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรม และระบบประสาท ในฐานะที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา เข้ายื่นหนังสือถึงนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เพื่อยื่นข้อเสนอกรณีถอด “ฟ้าทะลายโจร” ออกจากแนวทางรักษา ทั้งที่มีประสิทธิภาพ พร้อมนำข้อมูลตีแผ่ต่อสาธารณะ ถึงสาเหตุถอดสมุนไพรไทยดังกล่าว ทั้งที่ช่วงโควิดเป็นสมุนไพรรักษาที่ดี ช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมาก
    https://www.hfocus.org/content/2024/07/31098?
    https://www.hfocus.org/content/2024/07/31097
    https://youtu.be/rjUdN1cFr7I?si=p8Pl1398CpXUjpJQ
    ✍️กรมการแพทย์ยอมใช้ฟ้าทะลายโจรกลับมารักษาโควิดได้แล้ว รวมทั้งแพทย์จ่ายได้และรักษาไม่คิดค่าใช้จ่าย 23 ก.ค.2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/07/31153?
    ✍️“หมอธีระวัฒน์” ทวง รมว.สธ.แจงเบื้องหลังถอดฟ้าทะลายโจรพ้นเวชปฏิบัติรักษาโควิด ชี้คนไทยเสียประโยชน์ต้องมีผู้รับผิดชอบ
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000067814
    ✍️ “ปานเทพ” ถาม “สมศักดิ์” ทวงคืนฟ้าทะลายโจรให้ผู้ป่วยกี่โมง
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000067977
    ✅หัวข้อ : 3 หมอ กอบกู้"โลก" รักษา"โรค" ด้วยสมุนไพร
    ระดมพลังบรรยายโดย 1. นพ. อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง 2.พญ. สุภาพร มีลาภ และ 3. นพ. พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
    ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ 3 พฤษภาคม 2567 👇คลิกชม👇
    https://www.facebook.com/share/v/K8yDn5N29sbiaqVm/?mibextid=oFDknk
    กัญชาถึงฟ้าทะลายโจร เมื่อการสาธารณสุขถูกครอบงำ แต่ความจริงก็ไม่อาจปกปิด 🌿กัญชา ✍️“หมอธีระวัฒน์” ชี้เรื่องกัญชา สะท้อนความนิ่งเฉย เสื่อมน้ำใจและความเมตตา ลั่นถอยไม่ได้แล้ว https://mgronline.com/qol/detail/9670000039410#google_vignette ✍️“กัญชา-บุหรี่และแอลกอฮอล์” ควรนำสิ่งใดกลับสู่ยาเสพติด? https://mgronline.com/daily/detail/9670000042065 ✍️กัญชา กัญชง ลดการอักเสบ https://youtu.be/-j9HYHTUugU?si=E3RbUpfpJRmspEXX ✍️“หมอธีระวัฒน์” เผยใช้สารเดี่ยว CBD รักษาลมชักให้ทำให้โรคดื้อยา ทำไมไม่ใช้ตำรับบ้านๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล กลับชง “กัญชา” เป็นยาเสพติด https://mgronline.com/qol/detail/9670000047356 ✍️หมอธวัชชัย” ชี้ดึงกัญชากลับสู่ยาเสพติดวุ่นวายแน่ ยันก่อนปลดล็อกผ่านการศึกษาข้อมูลมากแล้ว เริ่มจากยุค “หมอปิยะสกล” ไม่ใช่การเมือง https://mgronline.com/qol/detail/9670000049253 ✍️“ปานเทพ” แฉ 5 ประเด็นบิดเบือนข้อมูลกัญชา ดึงกลับเป็นยาเสพติด ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา https://mgronline.com/politics/detail/9670000050912 ✍️เผยงานวิจัย ยากัญชาไทยรักษาเด็กโรคลมชักดื้อยา ได้ผลดีกว่ายาฝรั่ง จะช่วยประหยัดเงินได้สูงถึง 7.3 หมื่นล้านบาท https://mgronline.com/qol/detail/9670000055043 ✍️วันที่ 5 ก.ค.2567 รายการสภากาแฟ ช่อง News1 สัมภาษณ์ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร และคุณประสิทธิชัย หนูนวล หัวข้อ ฟังความเป็นจริงของสถานการณ์ กัญชา และ ระบบทรราชทางการแพทย์ (Medical Tyranny) https://www.youtube.com/live/kBdl3ud3RDE ✍️“อ.ปานเทพ”ค้านนำช่อดอกกัญชากัญชงเป็นยาเสพติด บังคับใช้ กม.ไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ กระทบผู้ป่วย เกษตรกร แพทย์แผนไทย https://mgronline.com/politics/detail/9670000057536?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2n0WMI0yEvvFrhmDEvvIYDVFiFmi74wgnBcb-NGMeeRL3peNb34PE72t0_aem_RLFy41fdTyNwRVhW-BqJDA ✍️“อ.ปานเทพ” ยื่นหนังสือ 12 ก.ค.2567 จี้ รมว.สธ.ทบทวนประกาศกัญชาเป็นยาเสพติด พร้อมแถลงแนวทางใหม่แก้ปัญหา https://mgronline.com/qol/detail/9670000059092 ✍️มหัศจรรย์กัญชา เด็กหนุ่มเลือดออกในสมอง หมอบอกจะเสียชีวิต แต่กลับคืนมาใช้ชีวิตตามปกติได้ https://mgronline.com/qol/detail/9670000059188 ✍️ อ.ปานเทพ ยื่นหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เหตุที่ต้องทบทวนมติ ช่อดอกกัญชา ช่อดอกกันชงยาเสพติด 12 ก.ค.2567 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข https://youtu.be/F9Llyj2B5PE?si=uFlm9ovYpEfhH28- ✍️วันที่ 8 ก.ค.2567 ประชาชนและเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย ร่วมชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ที่สะพานชมัยมรุเชฐ เพื่อทวงสิทธิทางกัญชาเพื่อประชาชน https://www.amarintv.com/news/detail/224142 https://ch3plus.com/news/social/morning/407582 รวมภาพ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0SsB5c3wJo44TqTkXmo5TqC9iEEuNat8Wt8gTNuvj8RiKfikXAZcLZa36vYfdfKUkl&id=100002610663072 คลิปอาจารย์เดชา ศิริภัทร และม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0hC9uN9iSm2444FgBUbyBcGnNc91Ef4txT4YcnTSnzZiWCv16o98eAD9odrT6Zfcxl&id=100007418351447 ✍️“อ.ปานเทพ” เปิดหลักฐานกลุ่มผลประโยชน์ ล็อกสเปกกัญชาเป็นยาเสพติด เอื้อทุนใหญ่- กีดกันแพทย์แผนไทย https://mgronline.com/politics/detail/9670000061226 ✍️วันที่ 23 ก.ค.2567 แหล่งข่าวจากคณะรัฐมนตรี เรื่องกัญชา สรุป คณะรัฐมนตรีวันนี้ นายกรัฐมนตรีให้นำเรื่องกัญชา กัญชงตราเป็นพระราชบัญญัติ ทุกพรรค ทุกกลุ่มสามารถเสนอร่างของตัวเองต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาต่อไป แปลว่าไม่ใช่นำกัญชา กัญชงเข้าสู่บัญชียาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้มีกฎหมายเฉพาะสำหรับใช้ประโยชน์และควบคุมกัญชา กัญชง https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1017634479730252/? https://mgronline.com/qol/detail/9670000062202 🌿ฟ้าทะลายโจร ✍️แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 5 มิถุนายน 2567 ได้ถอดฟ้าทะลายโจรออกจากการรักษาแล้ว https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=182&bannerId=1 ✍️คำถามกรณีการตัดฟ้าทะลายโจรออกจากเวชปฏิบัติการรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาล เพื่อผลประโยชน์ของใครกันแน่ ?/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/990160812477619/? ✍️“ปานเทพ” ถาม ตัด “ฟ้าทะลายโจร” ออกจากแนวทางรักษาโควิด เอื้อประโยชน์ใครหรือไม่ https://mgronline.com/qol/detail/9670000048616 ✍️“หมอธีระวัฒน์” ชี้ผลศึกษา “ฟ้าทะลายโจร” เป็นที่ตื่นเต้นทั่วโลก รักษาโควิด-โรคไวรัสทางระบบหายใจได้ผล https://mgronline.com/qol/detail/9670000059905 https://youtu.be/4N7GL1BbcH4?si=1aov92cn7xEXWSuV ✍️วันที่ 16 กรกฎาคม 67 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรม และระบบประสาท ในฐานะที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา เข้ายื่นหนังสือถึงนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เพื่อยื่นข้อเสนอกรณีถอด “ฟ้าทะลายโจร” ออกจากแนวทางรักษา ทั้งที่มีประสิทธิภาพ พร้อมนำข้อมูลตีแผ่ต่อสาธารณะ ถึงสาเหตุถอดสมุนไพรไทยดังกล่าว ทั้งที่ช่วงโควิดเป็นสมุนไพรรักษาที่ดี ช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมาก https://www.hfocus.org/content/2024/07/31098? https://www.hfocus.org/content/2024/07/31097 https://youtu.be/rjUdN1cFr7I?si=p8Pl1398CpXUjpJQ ✍️กรมการแพทย์ยอมใช้ฟ้าทะลายโจรกลับมารักษาโควิดได้แล้ว รวมทั้งแพทย์จ่ายได้และรักษาไม่คิดค่าใช้จ่าย 23 ก.ค.2567 https://www.hfocus.org/content/2024/07/31153? ✍️“หมอธีระวัฒน์” ทวง รมว.สธ.แจงเบื้องหลังถอดฟ้าทะลายโจรพ้นเวชปฏิบัติรักษาโควิด ชี้คนไทยเสียประโยชน์ต้องมีผู้รับผิดชอบ https://mgronline.com/qol/detail/9670000067814 ✍️ “ปานเทพ” ถาม “สมศักดิ์” ทวงคืนฟ้าทะลายโจรให้ผู้ป่วยกี่โมง https://mgronline.com/qol/detail/9670000067977 ✅หัวข้อ : 3 หมอ กอบกู้"โลก" รักษา"โรค" ด้วยสมุนไพร ระดมพลังบรรยายโดย 1. นพ. อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง 2.พญ. สุภาพร มีลาภ และ 3. นพ. พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ 3 พฤษภาคม 2567 👇คลิกชม👇 https://www.facebook.com/share/v/K8yDn5N29sbiaqVm/?mibextid=oFDknk
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3263 มุมมอง 0 รีวิว