• พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๗ )ประทับบนรถจักรไอน้ำบอลด์วินหมายเลข ๒๒๖ ที่นั่งพนักงานขับรถ

    โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม, ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงยืนอยู่ด้านหลังที่รถลำเลียง

    สำหรับรถจักรไอน้ำ "บอลด์วิน"หมายเลข ๒๒๖ นี้ เป็นรถจักรฯที่กรมรถไฟหลวง สั่งซื้อจากบริษัท Baldwin Locomotive Works U.S.A. ในราคาคันละ ๕๔๔,๗๖๑.๙๐ บาท นำมาใช้การในปี พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นรถจักรชนิด ๓ สูบ ใช้ไอที่ผ่าน Superheater แล้ว (ไอแห้ง) มาดันลูกสูบแบบล้อ ๔-๖-๒ (แปซิฟิก) ใช้วิ่งในทางขนาดกว้าง ๑ เมตร เลิกใช้การเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๗ มีอายุใช้การประมาณ ๓๐ ปี

    ประวัติความสำคัญของหัวรถจักรไอน้ำคันนี้ ยังมีตรา "ปปร" และ "รพ." ปรากฏอยู่เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากหัวรถจักรคันนี้ได้เคยใช้ทำการลากจูงขบวนรถไฟพระที่นั่ง ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จไปประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานพระราม ๖ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๙
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๗ )ประทับบนรถจักรไอน้ำบอลด์วินหมายเลข ๒๒๖ ที่นั่งพนักงานขับรถ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม, ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงยืนอยู่ด้านหลังที่รถลำเลียง สำหรับรถจักรไอน้ำ "บอลด์วิน"หมายเลข ๒๒๖ นี้ เป็นรถจักรฯที่กรมรถไฟหลวง สั่งซื้อจากบริษัท Baldwin Locomotive Works U.S.A. ในราคาคันละ ๕๔๔,๗๖๑.๙๐ บาท นำมาใช้การในปี พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นรถจักรชนิด ๓ สูบ ใช้ไอที่ผ่าน Superheater แล้ว (ไอแห้ง) มาดันลูกสูบแบบล้อ ๔-๖-๒ (แปซิฟิก) ใช้วิ่งในทางขนาดกว้าง ๑ เมตร เลิกใช้การเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๗ มีอายุใช้การประมาณ ๓๐ ปี ประวัติความสำคัญของหัวรถจักรไอน้ำคันนี้ ยังมีตรา "ปปร" และ "รพ." ปรากฏอยู่เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากหัวรถจักรคันนี้ได้เคยใช้ทำการลากจูงขบวนรถไฟพระที่นั่ง ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จไปประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานพระราม ๖ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๙
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 129 มุมมอง 0 รีวิว
  • ใน “พระราชบันทึกทรงเล่า” สมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงกล่าวถึง สมาชิก “คณะราษฎร” บางคนที่เคยก่อการยึดอํานาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ว่า

    “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามานวราชเสวี เคยไปขอเฝ้าบอกว่า
    ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลําบากยากเย็นถึงเพียงนี้ ถ้ารู้ยังงี้ก็ไม่ทํา
    ฉันก็ไม่ว่าอะไรเขา เรื่องมันแล้วไปแล้ว ไม่เคยเก็บมาคิดอะไร..”

    คนที่ผ่านการสูญเสีย​ น้อยคนจะตรัสตอบเช่นนี้.

    #สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
    #2475 #คณะราษฎร์
    ใน “พระราชบันทึกทรงเล่า” สมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงกล่าวถึง สมาชิก “คณะราษฎร” บางคนที่เคยก่อการยึดอํานาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ว่า “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามานวราชเสวี เคยไปขอเฝ้าบอกว่า ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลําบากยากเย็นถึงเพียงนี้ ถ้ารู้ยังงี้ก็ไม่ทํา ฉันก็ไม่ว่าอะไรเขา เรื่องมันแล้วไปแล้ว ไม่เคยเก็บมาคิดอะไร..” คนที่ผ่านการสูญเสีย​ น้อยคนจะตรัสตอบเช่นนี้. #สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี #2475 #คณะราษฎร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระนาม​ "ภูมิพลอดุลเดช" ในรัชกาลที่9​ ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ขณะที่พระนาม​ "สิริกิติ์" ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ​นั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่7​ พระราชทาน แสดงถึงพระชะตาทั้ง4พระองค์ที่ผูกพันกันมาแต่ไหน
    #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว#สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี#พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช#สม้ด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
    พระนาม​ "ภูมิพลอดุลเดช" ในรัชกาลที่9​ ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระนาม​ "สิริกิติ์" ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ​นั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่7​ พระราชทาน แสดงถึงพระชะตาทั้ง4พระองค์ที่ผูกพันกันมาแต่ไหน #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว​ #สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี​ #พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช​ #สม้ด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 0 รีวิว