• #วัดธาตุทอง
    #กรุงเทพมหานครฯ

    วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ

    ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง

    พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481

    ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน

    สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม

    ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​

    เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดธาตุทอง #กรุงเทพมหานครฯ วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​ เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 0 รีวิว

  • #วัดหนองป่าพง
    #อุบลราชธานี

    วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ)

    คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา

    หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"

    หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483)

    หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา

    กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง”

    จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น

    ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม

    รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดหนองป่าพง #อุบลราชธานี วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ) คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483) หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 438 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันแรกที่เข้าพื้นที่ lit nit พยายามจะจับเข่าคุยกับเจ้าที่เจ้าทางแต่ก็มองไม่เห็นว่าเข่าท่านอยู่ตรงไหน จึงได้ยืนพูดอยู่คนเดียว
    "ถ้าผมมีบุญเพียงพอให้มาพัฒนาพื้นที่นี้ ผมจะพยายามสร้างศาลาพระพุทธรูปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่านี้คือวัดฝางในอดีต คนรุ่นหลังจะได้รู้ว่าที่นี้คือเขตวัดเราแค่มาอาศัยทำกินไม่ใช่เจ้าของ ขอให้เจตนาของผมสำเร็จและช่วยให้ผมพอจะรู้เรื่องราวของวัดในอดีตด้วยเถอะ"
    ....
    เมื่อวันก่อนป้าวัยแปดสิบเศษบิดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามาคุยนู่นนี่นั่น แล้วบอกว่าเมื่อก่อนมีเจดีย์องค์ใหญ่ (ตรงที่ lit nit ทำสัญลักษณ์) แต่โดนพวกขโมยขุดเป็นโพรง แล้วก็จำไม่ได้แล้วว่าเจดีย์หายไปตอนไหน ก็มันนานเกินกว่าหกสิบปีมาแล้ว
    ....
    ความฝันหนึ่งเล็ก ๆ ของ lit nit ที่มีมาหลายปีคือ อยากสร้างศาลาพระเอาไว้สวดมนต์ แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะมีเหตุให้ได้มาบูรณะวัดร้าง มีพี่บางคนที่รู้ข่าวก็บอกว่า มันเป็นสัญญาเก่า !
    #ไม่รู้ว่าจะมีบารมีพอจะทำได้ไหม แต่ถ้าไม่เริ่มมันก็ไม่มีทางสำเร็จใช่ไหมล่ะ^^
    วันแรกที่เข้าพื้นที่ lit nit พยายามจะจับเข่าคุยกับเจ้าที่เจ้าทางแต่ก็มองไม่เห็นว่าเข่าท่านอยู่ตรงไหน จึงได้ยืนพูดอยู่คนเดียว "ถ้าผมมีบุญเพียงพอให้มาพัฒนาพื้นที่นี้ ผมจะพยายามสร้างศาลาพระพุทธรูปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่านี้คือวัดฝางในอดีต คนรุ่นหลังจะได้รู้ว่าที่นี้คือเขตวัดเราแค่มาอาศัยทำกินไม่ใช่เจ้าของ ขอให้เจตนาของผมสำเร็จและช่วยให้ผมพอจะรู้เรื่องราวของวัดในอดีตด้วยเถอะ" .... เมื่อวันก่อนป้าวัยแปดสิบเศษบิดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามาคุยนู่นนี่นั่น แล้วบอกว่าเมื่อก่อนมีเจดีย์องค์ใหญ่ (ตรงที่ lit nit ทำสัญลักษณ์) แต่โดนพวกขโมยขุดเป็นโพรง แล้วก็จำไม่ได้แล้วว่าเจดีย์หายไปตอนไหน ก็มันนานเกินกว่าหกสิบปีมาแล้ว .... ความฝันหนึ่งเล็ก ๆ ของ lit nit ที่มีมาหลายปีคือ อยากสร้างศาลาพระเอาไว้สวดมนต์ แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะมีเหตุให้ได้มาบูรณะวัดร้าง มีพี่บางคนที่รู้ข่าวก็บอกว่า มันเป็นสัญญาเก่า ! #ไม่รู้ว่าจะมีบารมีพอจะทำได้ไหม แต่ถ้าไม่เริ่มมันก็ไม่มีทางสำเร็จใช่ไหมล่ะ^^
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 145 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระกัจจายนะ พระแอด รุ่นสมโภชพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ปี2539
    พระกัจจายนะ พระแอด รุ่นสมโภชพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ปี2539 //พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง นามว่า “พระกัจจายนะ” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระแอด” ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน “วิหารพระมหากัจจายนะ // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ ขอลูกได้ หายเจ็บป่วย โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ อุดมด้วยโภคทรัพย์ ขอพรในเรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วย ช่วยดลบันดาลให้หายจากความเจ็บไข้ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง >>

    ** “พระกัจจายนะ” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระแอด” ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน “วิหารพระมหากัจจายนะ (พระแอด)” เป็นพระพุทธรูปสีทองอร่าม ลักษณะรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ ใบหน้ายิ้มแย้มมีเมตตา เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในแถบนั้น ซึ่งนิยมมากราบไหว้เพื่อขอพรในเรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วย เพราะเชื่อกันว่าพระแอดจะช่วยดลบันดาลให้หายจากความเจ็บไข้ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง นอกจากความเจ็บป่วยแล้ว อีกหนึ่งอภินิหารของพระแอดที่เป็นประจักษ์ก็คือการ “ขอลูก” ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีเมตตาบันดาลลูกให้แก่ผู้ที่มีลูกยาก ความสำเร็จตามคำขอ >>


    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131

    พระกัจจายนะ พระแอด รุ่นสมโภชพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ปี2539 พระกัจจายนะ พระแอด รุ่นสมโภชพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ปี2539 //พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง นามว่า “พระกัจจายนะ” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระแอด” ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน “วิหารพระมหากัจจายนะ // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ ขอลูกได้ หายเจ็บป่วย โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ อุดมด้วยโภคทรัพย์ ขอพรในเรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วย ช่วยดลบันดาลให้หายจากความเจ็บไข้ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง >> ** “พระกัจจายนะ” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระแอด” ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน “วิหารพระมหากัจจายนะ (พระแอด)” เป็นพระพุทธรูปสีทองอร่าม ลักษณะรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ ใบหน้ายิ้มแย้มมีเมตตา เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในแถบนั้น ซึ่งนิยมมากราบไหว้เพื่อขอพรในเรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วย เพราะเชื่อกันว่าพระแอดจะช่วยดลบันดาลให้หายจากความเจ็บไข้ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง นอกจากความเจ็บป่วยแล้ว อีกหนึ่งอภินิหารของพระแอดที่เป็นประจักษ์ก็คือการ “ขอลูก” ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีเมตตาบันดาลลูกให้แก่ผู้ที่มีลูกยาก ความสำเร็จตามคำขอ >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 147 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว วัดท่าคุระ จ.สงขลา ปี2528
    เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว เนื้อทองแดงรมดำ วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี2528 // พระดีพิธีใหญ่ ขอได้-ไหว้รับ พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณเด่นด้านเมตตามหานิยม มหาบารมี ขอได้-ไหว้รับ บนบานขอโชคลาภ ก็ได้สมหวัง ให้โชคลาภ เงินไหลเทมา ความเจริญรุ่งเรื่อง แคล้วคลาด การค้าขาย สุขภาพ ความสำเร็จในชีวิต >>

    ** พระพุทธรูปแม่เจ้าอยู่หัว ขอได้-ไหว้รับ เป็นที่เคารพนับถือและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธ์ ด้วยความเชื่อถือและศรัทธาว่าเจ้าแม่อยู่หัวมีความศักดิ์สิทธ์ มีการสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัวทุกปีเป็นประเพณีโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง.....


    ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว วัดท่าคุระ จ.สงขลา ปี2528 เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว เนื้อทองแดงรมดำ วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี2528 // พระดีพิธีใหญ่ ขอได้-ไหว้รับ พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณเด่นด้านเมตตามหานิยม มหาบารมี ขอได้-ไหว้รับ บนบานขอโชคลาภ ก็ได้สมหวัง ให้โชคลาภ เงินไหลเทมา ความเจริญรุ่งเรื่อง แคล้วคลาด การค้าขาย สุขภาพ ความสำเร็จในชีวิต >> ** พระพุทธรูปแม่เจ้าอยู่หัว ขอได้-ไหว้รับ เป็นที่เคารพนับถือและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธ์ ด้วยความเชื่อถือและศรัทธาว่าเจ้าแม่อยู่หัวมีความศักดิ์สิทธ์ มีการสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัวทุกปีเป็นประเพณีโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง..... ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 131 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช ปี2505
    เหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช ปี2505 // หลวงพ่อบุญรอด เป็น ๑ ใน ๒ องค์ของเกจิสายใต้ที่ได้รับกิจนิมนต์ ร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่องชุด ๒๕ ศรรตวรรษ ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล คือ1. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน 2. หลวงพ่อบุญรอด // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ สมบูรณ์พูนทรัพย์ อยู่เย็นเป็นสุข คุ้มครอง แคล้วคลาด คงกะพันชาตรี ป้องกันสรรพภัยต่างๆ และบันดาลความร่ำรวย โชคลาภเงินทอง เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน หนุนดวงชะตา >>

    ** หลวงพ่อบุญรอด หรือ ท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช พระเกจิที่มีพลังจิตแก่กล้า แต่ไม่เปิดเผยตัวเอง ท่านคือผู้อยู่เบื้องหลังความศักดิ์สิทธ์ของวัตถุมงคลต่างๆ ท่านเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ เกจิที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่องชุด ๒๕ ศรรตวรรษ ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล ครับ และเป็น ๑ ในจำนวน ๒ องค์ของเกจิสายใต้ที่ได้รับกิจนิมนต์นี้ คือ
    1. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
    2. ท่านพระครูบุญรอด

    ** ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านบุญรอดที่มีมา ท่านเป็นศิษย์ที่มีอาจารย์ดี เพราะอาจารย์ท่านเป็นพระเถระที่ทรงไปด้วยกฤติยาคมในยุคก่อน อันมี ท่านพระครูกาเดิม (ทอง) วัดจันทารามซึ่งพระอุปัชฌาย์ตอนท่านบรรชาเป็นสามเณร และท่านครูวิสุทธิจารี (พุ่ม) วัดจันพอ ซึ่งเป็นพระอุปชฌาย์ท่านตอนอุปสมบท และพ่อท่านเอียด วันในเขียว ซึ่งเป็นเกจิบ้านเกิดของท่าน นอกเหนือจากพิธีปลุกเสก 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปีพ.ศ. 2500 แล้ว ท่านหลวงพ่อบุญรอดยังได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมปลุกเสกในพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆอีกมากมาย อาทิเช่น...
    พิธี..พระพุทธรูปภ.ป.ร.‘กฐินต้น' ‘ปี๒๕๐๖ วัดเทวสังฆาราม
    พิธี...พระพุทธรูปภ.ป.ร ปี๒๕๐๘ วัดบวรฯ
    พิธี....พระกริ่งนเรศวร ปี2507 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเททองเมื่อวันที่ 19 พ.ย.2507
    พิธ๊....เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513 ฯลฯ.

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช ปี2505 เหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช ปี2505 // หลวงพ่อบุญรอด เป็น ๑ ใน ๒ องค์ของเกจิสายใต้ที่ได้รับกิจนิมนต์ ร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่องชุด ๒๕ ศรรตวรรษ ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล คือ1. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน 2. หลวงพ่อบุญรอด // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ สมบูรณ์พูนทรัพย์ อยู่เย็นเป็นสุข คุ้มครอง แคล้วคลาด คงกะพันชาตรี ป้องกันสรรพภัยต่างๆ และบันดาลความร่ำรวย โชคลาภเงินทอง เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน หนุนดวงชะตา >> ** หลวงพ่อบุญรอด หรือ ท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช พระเกจิที่มีพลังจิตแก่กล้า แต่ไม่เปิดเผยตัวเอง ท่านคือผู้อยู่เบื้องหลังความศักดิ์สิทธ์ของวัตถุมงคลต่างๆ ท่านเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ เกจิที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่องชุด ๒๕ ศรรตวรรษ ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล ครับ และเป็น ๑ ในจำนวน ๒ องค์ของเกจิสายใต้ที่ได้รับกิจนิมนต์นี้ คือ 1. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน 2. ท่านพระครูบุญรอด ** ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านบุญรอดที่มีมา ท่านเป็นศิษย์ที่มีอาจารย์ดี เพราะอาจารย์ท่านเป็นพระเถระที่ทรงไปด้วยกฤติยาคมในยุคก่อน อันมี ท่านพระครูกาเดิม (ทอง) วัดจันทารามซึ่งพระอุปัชฌาย์ตอนท่านบรรชาเป็นสามเณร และท่านครูวิสุทธิจารี (พุ่ม) วัดจันพอ ซึ่งเป็นพระอุปชฌาย์ท่านตอนอุปสมบท และพ่อท่านเอียด วันในเขียว ซึ่งเป็นเกจิบ้านเกิดของท่าน นอกเหนือจากพิธีปลุกเสก 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปีพ.ศ. 2500 แล้ว ท่านหลวงพ่อบุญรอดยังได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมปลุกเสกในพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆอีกมากมาย อาทิเช่น... พิธี..พระพุทธรูปภ.ป.ร.‘กฐินต้น' ‘ปี๒๕๐๖ วัดเทวสังฆาราม พิธี...พระพุทธรูปภ.ป.ร ปี๒๕๐๘ วัดบวรฯ พิธี....พระกริ่งนเรศวร ปี2507 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเททองเมื่อวันที่ 19 พ.ย.2507 พิธ๊....เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513 ฯลฯ. ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระพุทธรูปที่งดงามยิ่งในกทม ส่วนจากวัดใดนั้น มีวัดสุทัศน์ วัดเทพธิดาราม และวัดเบญจมบพิจฯ
    พระพุทธรูปที่งดงามยิ่งในกทม ส่วนจากวัดใดนั้น มีวัดสุทัศน์ วัดเทพธิดาราม และวัดเบญจมบพิจฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว

  • เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ
    ....
    ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ
    .
    อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้
    .
    น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น
    .
    พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก
    .
    ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ
    .
    บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
    .
    พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ
    .
    แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่....
    .
    ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา
    .
    พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน
    .
    ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน
    .
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า
    .
    ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น
    .
    เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น...
    .
    ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน
    .
    และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์
    ...
    ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ .... ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ . อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้ . น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น . พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก . ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ . บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา . พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ . แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่.... . ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา . พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน . ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน . เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า . ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น . เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น... . ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน . และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์ ... ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 390 มุมมอง 0 รีวิว
  • แนวทางการเปลี่ยนแปลงจิตใจด้วยการแทนที่ความคิดไม่ดี ด้วยสิ่งที่เป็นกุศล ซึ่งเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาและได้ผลในทางปฏิบัติ ดังนี้:

    ---

    1. การแทนที่ความคิดไม่ดีด้วยความคิดดี

    ใช้การสวดมนต์:

    สวดมนต์ต่อหน้าพระพุทธรูป ด้วยความตั้งใจถวายแก้วเสียงแด่พระพุทธเจ้า

    นึกถึงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพื่อให้จิตใจเกิดความสงบและปีติ

    ท่องคำบริกรรม:

    หากไม่มีเวลาสวดมนต์ยาวๆ ให้ท่องคำว่า "พุทโธ" หรือ "นโมตัสสะ" ระหว่างวัน

    คำบริกรรมเหล่านี้ช่วยให้จิตมีสิ่งยึดเหนี่ยว และป้องกันความคิดฟุ้งซ่าน

    ---

    2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อกุศล

    ลดสิ่งกระตุ้นอกุศล:

    เลี่ยงภาพหรือข่าวสารที่ชวนให้คิดอกุศล เช่น การทะเลาะวิวาท หรือสิ่งยั่วยุ

    เพิ่มสิ่งกระตุ้นกุศล:

    ล้อมรอบตัวเองด้วยสื่อธรรมะ หนังสือ หรือบทสวดที่ช่วยปลูกจิตสำนึกดี

    ---

    3. การฝึกสติรู้ตัว

    เมื่อรู้สึกว่าความคิดไม่ดีเกิดขึ้น ให้ หยุดและพิจารณา ว่า:

    ความคิดนี้นำไปสู่สิ่งดีหรือไม่?

    หากไม่ดี ให้ปล่อยวางและแทนที่ด้วยคำบริกรรม หรือบทสวด

    การฝึกสติช่วยให้เรารู้เท่าทันความคิด และเลือกสิ่งที่ดีกว่ามาแทน

    ---

    4. การสร้างนิสัยให้คิดดีเป็นปกติ

    ฝึกประจำวัน:

    ใช้เวลาเช้า-เย็น สวดมนต์หรือบริกรรมคำศักดิ์สิทธิ์เป็นประจำ

    ตั้งจิตปรารถนาดีต่อผู้อื่น:

    นึกถึงการแผ่เมตตา หรือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข จิตจะถูกฝึกให้คิดดีโดยธรรมชาติ

    ---

    5. ประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงจิต

    จิตที่เป็นกุศลช่วยให้มีความสุขในปัจจุบัน:

    ความสงบเย็นในใจที่เกิดจากการคิดดี ทำให้ลดทุกข์และฟุ้งซ่าน

    สร้างบุญให้ตัวเอง:

    จิตที่เปี่ยมด้วยกุศลเป็นเหมือนการสะสมบุญไปในตัว

    ---

    สรุป: “พุทโธ” และบทสวดคือกุญแจ

    การใช้คำบริกรรมหรือบทสวดคือวิธีที่ง่ายและทรงพลัง

    เมื่อจิตติดนิสัยคิดดีอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เราสงบ มั่นคง และห่างไกลจากความคิดอกุศล

    สำคัญที่สุดคือ “การเริ่มทำ” และ “ความต่อเนื่อง” ในการฝึกฝน เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจในระยะยาว.
    แนวทางการเปลี่ยนแปลงจิตใจด้วยการแทนที่ความคิดไม่ดี ด้วยสิ่งที่เป็นกุศล ซึ่งเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาและได้ผลในทางปฏิบัติ ดังนี้: --- 1. การแทนที่ความคิดไม่ดีด้วยความคิดดี ใช้การสวดมนต์: สวดมนต์ต่อหน้าพระพุทธรูป ด้วยความตั้งใจถวายแก้วเสียงแด่พระพุทธเจ้า นึกถึงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพื่อให้จิตใจเกิดความสงบและปีติ ท่องคำบริกรรม: หากไม่มีเวลาสวดมนต์ยาวๆ ให้ท่องคำว่า "พุทโธ" หรือ "นโมตัสสะ" ระหว่างวัน คำบริกรรมเหล่านี้ช่วยให้จิตมีสิ่งยึดเหนี่ยว และป้องกันความคิดฟุ้งซ่าน --- 2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อกุศล ลดสิ่งกระตุ้นอกุศล: เลี่ยงภาพหรือข่าวสารที่ชวนให้คิดอกุศล เช่น การทะเลาะวิวาท หรือสิ่งยั่วยุ เพิ่มสิ่งกระตุ้นกุศล: ล้อมรอบตัวเองด้วยสื่อธรรมะ หนังสือ หรือบทสวดที่ช่วยปลูกจิตสำนึกดี --- 3. การฝึกสติรู้ตัว เมื่อรู้สึกว่าความคิดไม่ดีเกิดขึ้น ให้ หยุดและพิจารณา ว่า: ความคิดนี้นำไปสู่สิ่งดีหรือไม่? หากไม่ดี ให้ปล่อยวางและแทนที่ด้วยคำบริกรรม หรือบทสวด การฝึกสติช่วยให้เรารู้เท่าทันความคิด และเลือกสิ่งที่ดีกว่ามาแทน --- 4. การสร้างนิสัยให้คิดดีเป็นปกติ ฝึกประจำวัน: ใช้เวลาเช้า-เย็น สวดมนต์หรือบริกรรมคำศักดิ์สิทธิ์เป็นประจำ ตั้งจิตปรารถนาดีต่อผู้อื่น: นึกถึงการแผ่เมตตา หรือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข จิตจะถูกฝึกให้คิดดีโดยธรรมชาติ --- 5. ประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงจิต จิตที่เป็นกุศลช่วยให้มีความสุขในปัจจุบัน: ความสงบเย็นในใจที่เกิดจากการคิดดี ทำให้ลดทุกข์และฟุ้งซ่าน สร้างบุญให้ตัวเอง: จิตที่เปี่ยมด้วยกุศลเป็นเหมือนการสะสมบุญไปในตัว --- สรุป: “พุทโธ” และบทสวดคือกุญแจ การใช้คำบริกรรมหรือบทสวดคือวิธีที่ง่ายและทรงพลัง เมื่อจิตติดนิสัยคิดดีอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เราสงบ มั่นคง และห่างไกลจากความคิดอกุศล สำคัญที่สุดคือ “การเริ่มทำ” และ “ความต่อเนื่อง” ในการฝึกฝน เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจในระยะยาว.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 250 มุมมอง 0 รีวิว
  • รับพระราชทาน​ของที่ระลึกในพิธีฉลองพระพุทธรูป​หยกปางสมาธิใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล สุขุมวิท101 บางจาก กรุงเทพมหานคร​
    รับพระราชทาน​ของที่ระลึกในพิธีฉลองพระพุทธรูป​หยกปางสมาธิใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล สุขุมวิท101 บางจาก กรุงเทพมหานคร​
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 209 มุมมอง 0 รีวิว
  • 10/1/68

    🍀A home is at peace in California wildfires disaster.
    The owner of the house is a religious man and does charity work to help poor children in Africa.🙏🪷
    The house that was left in the fire, it appears that the fire has spared this house.
    In Buddhist stories, houses where the owners of the house often do virtuous deeds, have Religious Beliefs, when disasters such as Earthquakes, Fires, Hurricanes, .... It seems to be protected by the Bodhisattva, the Angels and the Law from accidents.
    This is also a blessing to accumulate karma and virtuous Meditation, faith in Religion that thanks to which the owner of the house is always in Peace, without property loss and escape from Fire.

    Amitabha Buddha. 🙏🪷

    Credit to Kelvin Cong Fb

    บ้านอยู่สงบท่ามกลางภัยพิบัติจากไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย
    เจ้าของบ้านเป็นคนเคร่งศาสนาและทำงานการกุศลเพื่อช่วยเหลือเด็กยากจนในแอฟริกา🙏🪷
    บ้านที่ถูกทิ้งไว้ในกองไฟดูเหมือนว่าไฟได้ช่วยบ้านหลังนี้ไว้
    ในเรื่องเล่าของพุทธศาสนา บ้านที่เจ้าของบ้านมักทำความดี มีความเชื่อทางศาสนา เมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ พายุเฮอริเคน .... ดูเหมือนว่าจะได้รับการปกป้องจากพระโพธิสัตว์ เทวดา และกฎแห่งกรรมจากอุบัติเหตุ
    นอกจากนี้ยังเป็นพรแห่งการสะสมกรรมและการทำสมาธิอันบริสุทธิ์ ความศรัทธาในศาสนาที่ทำให้เจ้าของบ้านอยู่เย็นเป็นสุขตลอดเวลา ไม่มีทรัพย์สินสูญหาย และรอดพ้นจากไฟได้

    พระอมิตาภพุทธเจ้า 🙏🪷

    เจ้าของนับถือศาสนาพุทธ
    มีพระพุทธรูปบูชาในบ้าน

    และเขานั่งสมาธิประจำ
    10/1/68 🍀A home is at peace in California wildfires disaster. The owner of the house is a religious man and does charity work to help poor children in Africa.🙏🪷 The house that was left in the fire, it appears that the fire has spared this house. In Buddhist stories, houses where the owners of the house often do virtuous deeds, have Religious Beliefs, when disasters such as Earthquakes, Fires, Hurricanes, .... It seems to be protected by the Bodhisattva, the Angels and the Law from accidents. This is also a blessing to accumulate karma and virtuous Meditation, faith in Religion that thanks to which the owner of the house is always in Peace, without property loss and escape from Fire. Amitabha Buddha. 🙏🪷 Credit to Kelvin Cong Fb บ้านอยู่สงบท่ามกลางภัยพิบัติจากไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย เจ้าของบ้านเป็นคนเคร่งศาสนาและทำงานการกุศลเพื่อช่วยเหลือเด็กยากจนในแอฟริกา🙏🪷 บ้านที่ถูกทิ้งไว้ในกองไฟดูเหมือนว่าไฟได้ช่วยบ้านหลังนี้ไว้ ในเรื่องเล่าของพุทธศาสนา บ้านที่เจ้าของบ้านมักทำความดี มีความเชื่อทางศาสนา เมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ พายุเฮอริเคน .... ดูเหมือนว่าจะได้รับการปกป้องจากพระโพธิสัตว์ เทวดา และกฎแห่งกรรมจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังเป็นพรแห่งการสะสมกรรมและการทำสมาธิอันบริสุทธิ์ ความศรัทธาในศาสนาที่ทำให้เจ้าของบ้านอยู่เย็นเป็นสุขตลอดเวลา ไม่มีทรัพย์สินสูญหาย และรอดพ้นจากไฟได้ พระอมิตาภพุทธเจ้า 🙏🪷 เจ้าของนับถือศาสนาพุทธ มีพระพุทธรูปบูชาในบ้าน และเขานั่งสมาธิประจำ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 464 มุมมอง 0 รีวิว
  • การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า การตอบแทนบุญคุณของพระองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดคือการ ปฏิบัติธรรมเป็นบูชา เพราะพระองค์ทรงมุ่งหมายให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากความทุกข์ และการปฏิบัติธรรมคือหนทางที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายนี้โดยตรง


    ---

    วิธีปฏิบัติธรรมเป็นบูชา

    1. เริ่มต้นด้วยการทำจิตดีๆ ให้เกิดขึ้น

    ด้วยทาน: เปิดใจด้วยการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น

    ด้วยศีล: รักษาความประพฤติของตนให้สะอาดบริสุทธิ์

    ด้วยสมาธิและสติ: ฝึกเจริญสติ รู้กายรู้ใจจนกระจ่างในความไม่เที่ยง



    2. การถวายจิตดีๆ เป็นบูชา

    หากสามารถทำจิตให้สงบและเบาสบายได้แม้เพียงชั่วครู่ ก็น้อมนำจิตดีๆ นั้นถวายแทนการบูชา

    การปฏิบัติที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ของตัวเรา คือสิ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยที่สุด





    ---

    ทางเลือกสำหรับผู้เริ่มต้น

    หากยังไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ลึกซึ้งนัก ก็สามารถแสดงความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้าได้ด้วยการ:

    นำรูปหรือพระพุทธรูปมาบูชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการปฏิบัติดี

    ทำบุญ ถวายทาน หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

    ศึกษาและเผยแผ่คำสอนของพระองค์



    ---

    การตอบแทนคุณครูบาอาจารย์

    ปฏิบัติตามคำสอน: งดเว้นจากสิ่งไม่ดีและลงมือปฏิบัติธรรม

    เผยแผ่คำสอน: ช่วยสืบทอดคำสอนของท่านให้กว้างไกล

    เคารพและระลึกถึงท่าน: ด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี



    ---

    สรุป

    การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เริ่มต้นได้จากใจจริง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ขอเพียงมีความตั้งใจจริง และลงมือทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุกการกระทำที่ดีงาม ล้วนถือเป็นการตอบแทนคุณอันสมบูรณ์แล้ว.

    การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า การตอบแทนบุญคุณของพระองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดคือการ ปฏิบัติธรรมเป็นบูชา เพราะพระองค์ทรงมุ่งหมายให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากความทุกข์ และการปฏิบัติธรรมคือหนทางที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายนี้โดยตรง --- วิธีปฏิบัติธรรมเป็นบูชา 1. เริ่มต้นด้วยการทำจิตดีๆ ให้เกิดขึ้น ด้วยทาน: เปิดใจด้วยการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยศีล: รักษาความประพฤติของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยสมาธิและสติ: ฝึกเจริญสติ รู้กายรู้ใจจนกระจ่างในความไม่เที่ยง 2. การถวายจิตดีๆ เป็นบูชา หากสามารถทำจิตให้สงบและเบาสบายได้แม้เพียงชั่วครู่ ก็น้อมนำจิตดีๆ นั้นถวายแทนการบูชา การปฏิบัติที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ของตัวเรา คือสิ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยที่สุด --- ทางเลือกสำหรับผู้เริ่มต้น หากยังไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ลึกซึ้งนัก ก็สามารถแสดงความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้าได้ด้วยการ: นำรูปหรือพระพุทธรูปมาบูชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการปฏิบัติดี ทำบุญ ถวายทาน หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ศึกษาและเผยแผ่คำสอนของพระองค์ --- การตอบแทนคุณครูบาอาจารย์ ปฏิบัติตามคำสอน: งดเว้นจากสิ่งไม่ดีและลงมือปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน: ช่วยสืบทอดคำสอนของท่านให้กว้างไกล เคารพและระลึกถึงท่าน: ด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี --- สรุป การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เริ่มต้นได้จากใจจริง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ขอเพียงมีความตั้งใจจริง และลงมือทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุกการกระทำที่ดีงาม ล้วนถือเป็นการตอบแทนคุณอันสมบูรณ์แล้ว.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 439 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนึกถึงพระมหากรุณา​ธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแก่​ ข้าพระพุทธเจ้า​นา​ยสุร​เดช​โล่ห์​เพช​รัตน์​ ในพิธีฉลองพระพุทธมงคลศรีไทยพระพุทธรูปหยกเขียวปางสมาธิที่ใหญ่ที่สุดในโลกปีพ.ศ.2542วัดธรรมมงคล สุขุมวิท101 กรุงเทพ​มหานคร​
    สำนึกถึงพระมหากรุณา​ธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแก่​ ข้าพระพุทธเจ้า​นา​ยสุร​เดช​โล่ห์​เพช​รัตน์​ ในพิธีฉลองพระพุทธมงคลศรีไทยพระพุทธรูปหยกเขียวปางสมาธิที่ใหญ่ที่สุดในโลกปีพ.ศ.2542วัดธรรมมงคล สุขุมวิท101 กรุงเทพ​มหานคร​
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 176 มุมมอง 0 รีวิว
  • อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา
    หากกล่าวถึง อันดากู สำหรับสังคมของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธชาวเมียนมาร์ แล้ว หมายถึงองค์ปฏิมากรรมขนาดเล็กซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่คำว่าอันดากู เป็นชื่อของหินสบู่ชนิดหนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศเมียนมาร์ แต่ด้วยความยาวนานของอายุศิลปะชนิดนี้ที่มีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันทำให้คำว่า อันดากู กลายเป็นสรรพนามของการเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมการเรียกอันดากู ที่มีความหมายทั้งชื่อของวัสดุ และศิลปะเพื่อศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับปรัชญาทางพุทธประวัติที่ถูกยอมรับโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดีทั่วโลกในทุกวันนี้
    อันดากูเป็นปฏิมากรรมขนาดเล็กมาก สืบเนื่องมาจากการที่เป็นแผ่นหินธรรมชาติขนาดเล็กทั้งขาดซึ่งเทคโนโลยี่ในการขุดในสมัยนั้น จึงทำให้ขนาดของอันดากูจึงเป็นเอกลักษณ์อีกชนิดหนึ่งของศิลปะชนิดนี้ เพราะโดยปรกติปฏิมากรชาวเมียนมาร์นิยมการและสลักหินขนาดใหญ่อย่างที่เรามักจะพบเห็นพระพุทธรูปที่แกะจากหินชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่มากในเมียนมาร์ที่มีอยู่จำนวนมากตามสถานที่ต่างๆ แต่สำหรับชาวเมียนมาร์แล้ว อันดากูถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่กลับซ่อนความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ไว้ภายใน เหตุเพราะอันดากูถูกรังสรรค์ขึ้นจากปรัชญาที่ลุ่มลึกไม่เหมือนใคร หากผู้ใดเข้าถึงปรัชญาการสร้างนี้แล้ว เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดแรงศรัทธาที่มีต่อปฏิมากรรมชิ้นเล็กเหล่านี้ เพราะคำว่า อันดากู ในสังคมของชาวเมียนมาร์หมายถึงคำศักดิ์สิทธิ์คล้ายกับการเอ่ยพระนามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา หากกล่าวถึง อันดากู สำหรับสังคมของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธชาวเมียนมาร์ แล้ว หมายถึงองค์ปฏิมากรรมขนาดเล็กซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่คำว่าอันดากู เป็นชื่อของหินสบู่ชนิดหนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศเมียนมาร์ แต่ด้วยความยาวนานของอายุศิลปะชนิดนี้ที่มีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันทำให้คำว่า อันดากู กลายเป็นสรรพนามของการเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมการเรียกอันดากู ที่มีความหมายทั้งชื่อของวัสดุ และศิลปะเพื่อศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับปรัชญาทางพุทธประวัติที่ถูกยอมรับโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดีทั่วโลกในทุกวันนี้ อันดากูเป็นปฏิมากรรมขนาดเล็กมาก สืบเนื่องมาจากการที่เป็นแผ่นหินธรรมชาติขนาดเล็กทั้งขาดซึ่งเทคโนโลยี่ในการขุดในสมัยนั้น จึงทำให้ขนาดของอันดากูจึงเป็นเอกลักษณ์อีกชนิดหนึ่งของศิลปะชนิดนี้ เพราะโดยปรกติปฏิมากรชาวเมียนมาร์นิยมการและสลักหินขนาดใหญ่อย่างที่เรามักจะพบเห็นพระพุทธรูปที่แกะจากหินชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่มากในเมียนมาร์ที่มีอยู่จำนวนมากตามสถานที่ต่างๆ แต่สำหรับชาวเมียนมาร์แล้ว อันดากูถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่กลับซ่อนความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ไว้ภายใน เหตุเพราะอันดากูถูกรังสรรค์ขึ้นจากปรัชญาที่ลุ่มลึกไม่เหมือนใคร หากผู้ใดเข้าถึงปรัชญาการสร้างนี้แล้ว เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดแรงศรัทธาที่มีต่อปฏิมากรรมชิ้นเล็กเหล่านี้ เพราะคำว่า อันดากู ในสังคมของชาวเมียนมาร์หมายถึงคำศักดิ์สิทธิ์คล้ายกับการเอ่ยพระนามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 319 มุมมอง 0 รีวิว
  • สังฆทานเวียนหรือการผาติกรรมสังฆทานมีอานิสงส์ไหม

    🔹️ผู้ถาม : “ทีนี้ก็มีคนสงสัยเรื่องสังฆทานครับ ถามว่า สังฆทานที่มาถวายหลวงพ่อ
    แล้วก็ ผาติกรรมไปแล้วก็กลับมาถวายหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง อานิสงส์จะสมบูรณ์หรือไม่ อย่างไรครับ

    หลวงพ่อ : เท่ากันแหละ
    เขาเอาแบงค์มาถวายก็เป็นสังฆทาน ถ้าอยากจะมีของไปรับเอามาก็เท่ากัน”

    🔹️ผู้ถาม : “ซื้อมาเองกับผาติกรรม หน่ะครับ…?”

    หลวงพ่อ : “แต่อย่าลืมว่าสตางค์ของใคร นั่นเป็นสัญลักษณ์เป็นนิมิตออกมา มีของสักหน่อยใจมันก็สบายกว่าไม่มีของใช่ไหม ถ้าเจตนาให้เงินมันเป็นอะไรมันก็เป็นตามนั้น และก็ตั้งใจเฉยๆ เกรงว่าไม่เป็นไปตามนั้น

    ให้มันมีของตั้งอยู่ ถ้าต้องการจีวรต้องการพระพุทธรูป ก็เป็นนิมิตจับ..

    อย่า ! ลืมว่าอานิสงส์ของสังฆทาน อะไรๆก็ต้องไปดาวดึงส์เป็นอย่างน้อย

    🌟#สังฆทาน
    กับ 🌟#วิหารทาน
    จุดแรกต่ำสุด คือดาวดึงส์ หลังจากนั้นจะไปเลวกว่านั้นก็ตามใจ แต่อย่าลืมนะดาวดึงส์นี่เข้ายาก ไม่ใช่เข้าง่ายๆเลย

    นอกจากทำบุญขั้นสังฆทานและวิหารทานแล้ว ถ้าเป็นบุญเล็กน้อย ก็ต้องเป็นการทำบุญตัดชีวิต”

    ==============================

    📖 จากหนังสือ ​หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๘-๒๙


    เพจ วัดท่าซุง
    สังฆทานเวียนหรือการผาติกรรมสังฆทานมีอานิสงส์ไหม 🔹️ผู้ถาม : “ทีนี้ก็มีคนสงสัยเรื่องสังฆทานครับ ถามว่า สังฆทานที่มาถวายหลวงพ่อ แล้วก็ ผาติกรรมไปแล้วก็กลับมาถวายหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง อานิสงส์จะสมบูรณ์หรือไม่ อย่างไรครับ หลวงพ่อ : เท่ากันแหละ เขาเอาแบงค์มาถวายก็เป็นสังฆทาน ถ้าอยากจะมีของไปรับเอามาก็เท่ากัน” 🔹️ผู้ถาม : “ซื้อมาเองกับผาติกรรม หน่ะครับ…?” หลวงพ่อ : “แต่อย่าลืมว่าสตางค์ของใคร นั่นเป็นสัญลักษณ์เป็นนิมิตออกมา มีของสักหน่อยใจมันก็สบายกว่าไม่มีของใช่ไหม ถ้าเจตนาให้เงินมันเป็นอะไรมันก็เป็นตามนั้น และก็ตั้งใจเฉยๆ เกรงว่าไม่เป็นไปตามนั้น ให้มันมีของตั้งอยู่ ถ้าต้องการจีวรต้องการพระพุทธรูป ก็เป็นนิมิตจับ.. อย่า ! ลืมว่าอานิสงส์ของสังฆทาน อะไรๆก็ต้องไปดาวดึงส์เป็นอย่างน้อย 🌟#สังฆทาน กับ 🌟#วิหารทาน จุดแรกต่ำสุด คือดาวดึงส์ หลังจากนั้นจะไปเลวกว่านั้นก็ตามใจ แต่อย่าลืมนะดาวดึงส์นี่เข้ายาก ไม่ใช่เข้าง่ายๆเลย นอกจากทำบุญขั้นสังฆทานและวิหารทานแล้ว ถ้าเป็นบุญเล็กน้อย ก็ต้องเป็นการทำบุญตัดชีวิต” ============================== 📖 จากหนังสือ ​หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๘-๒๙ เพจ วัดท่าซุง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 238 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรียนเชิญร่วมด้วยช่วยแบ่งปันครับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคารพรัก
    📍📍ขอเชิญศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาที่เคารพทุกท่าน
    ในนามของผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสาวแหวิทยา
    ขอประชาสัมพันธ์เรียนเชิญทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา "ศิษย์เก่า คืนสู่เหย้าชาวสาวแหวิทยา" เพื่อปรับปรุงห้องเรียนคุณภาพ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยใช้ระบบโซล่าเซลล์ สร้างฐานพระพุทธรูป ปรับปรุงเสาธง จัดทำซุ้มประตูหน้าโรงเรียน และจัดหาที่ดินให้โรงเรียน
    📍📍ในวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2567
    จึงใคร่ขอกราบเรียนเชิญศิษย์เก่า และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมอนุโมทนาบุญเพื่อเป็นพลังบุญ เพิ่มบารมีให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุขความเจริญ ร่ำรวยด้วยลาภ ยศ สรรเสริญตลอดไป
    ร่วมทำบุญสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ได้ที่
    📍บัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    [บัญชีเงินฝากออมทรัพย์] สาขา หนองฮี
    ชื่อบัญชี รายได้สถานศึกษาอื่นๆโรงเรียนสาวแหวิทยา
    ⭐️เลขที่บัญชี 020241221538⭐️
    (บริจาคผ่านระบบ E-Donation สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า)
    📌ติดต่อสอบถาม/บริจาคได้ที่
    ผอ.กำพล นามเพ็ง 062-452-2465
    คุณครูยุพา มีผล 086-049-8662
    คุณครูนิภาพร ขอนโพธิ์ 084-463-3688
    #ผ้าป่าโรงเรียนสาวแหวิทยา #ผ้าป่าเพื่อการศึกษา #ศิษย์เก่าสาวแหวิทยา#บริจาค #ทำบุญ #ร่วมบุญ #ผ้าป่าโรงเรียน #ผู้มีจิตศรัทธา #ยิ้มดัง #ดงเพลง #dongplengonair #shawsherryduck #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #ชอว์พิชิต #หนองฮี #พนมไพร #ร้อยเอ็ด
    เรียนเชิญร่วมด้วยช่วยแบ่งปันครับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคารพรัก 📍📍ขอเชิญศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาที่เคารพทุกท่าน ในนามของผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสาวแหวิทยา ขอประชาสัมพันธ์เรียนเชิญทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา "ศิษย์เก่า คืนสู่เหย้าชาวสาวแหวิทยา" เพื่อปรับปรุงห้องเรียนคุณภาพ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยใช้ระบบโซล่าเซลล์ สร้างฐานพระพุทธรูป ปรับปรุงเสาธง จัดทำซุ้มประตูหน้าโรงเรียน และจัดหาที่ดินให้โรงเรียน 📍📍ในวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2567 จึงใคร่ขอกราบเรียนเชิญศิษย์เก่า และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมอนุโมทนาบุญเพื่อเป็นพลังบุญ เพิ่มบารมีให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุขความเจริญ ร่ำรวยด้วยลาภ ยศ สรรเสริญตลอดไป ร่วมทำบุญสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ได้ที่ 📍บัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร [บัญชีเงินฝากออมทรัพย์] สาขา หนองฮี ชื่อบัญชี รายได้สถานศึกษาอื่นๆโรงเรียนสาวแหวิทยา ⭐️เลขที่บัญชี 020241221538⭐️ (บริจาคผ่านระบบ E-Donation สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า) 📌ติดต่อสอบถาม/บริจาคได้ที่ ผอ.กำพล นามเพ็ง 062-452-2465 คุณครูยุพา มีผล 086-049-8662 คุณครูนิภาพร ขอนโพธิ์ 084-463-3688 #ผ้าป่าโรงเรียนสาวแหวิทยา #ผ้าป่าเพื่อการศึกษา #ศิษย์เก่าสาวแหวิทยา​ #บริจาค #ทำบุญ #ร่วมบุญ #ผ้าป่าโรงเรียน #ผู้มีจิตศรัทธา #ยิ้มดัง #ดงเพลง #dongplengonair #shawsherryduck #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #ชอว์พิชิต #หนองฮี #พนมไพร #ร้อยเอ็ด
    Love
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1287 มุมมอง 28 0 รีวิว
  • หลวงพ่อใหญ่ ชื่อเดิมของพระพุทธชินราชถ้าพูดถึงจังหวัดพิษณุโลกแน่นอนที่สุดเราจะนึกถึงพระพุทธชินราชพระเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารแต่เดิมมีชื่อว่าวัดใหญ่ ในอดีตชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธชินราชว่า "หลวงพ่อใหญ่"พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อายุกว่า 663 ปี เป็นงานฝีมือช่างจากเมืองแห่งศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก สร้างขึ้นมาพร้อมๆการสร้างเมือง และสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ใน พ.ศ. 1900 จากพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยในสมัยนั้นในอดีตพระพุทธชินราชไม่ได้ลงรักปิดทอง ในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระเอกาทศรถคราวเสด็จพระราชดำเนินมา นมัสการ พระพุทธชินราชจึงได้ และมีการปิดทองครั้งแรกบรรพบุรุษไทยได้สร้างศิลปะอันทรงคุณค่าสืบทอดยาวนานมาให้ลูกหลานได้กราบสักการะบูชา ถือได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย ที่ควรสืบทอดและอนุรักษ์ให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านานช้างเรื่องเยอะ!#ช้างเรื่องเยอะ #ช้างชักภาพ #พระพุทธชินราช #พิษณุโลก #วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร #เที่ยวไทย #เทรนวันนี้
    หลวงพ่อใหญ่ ชื่อเดิมของพระพุทธชินราชถ้าพูดถึงจังหวัดพิษณุโลกแน่นอนที่สุดเราจะนึกถึงพระพุทธชินราชพระเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารแต่เดิมมีชื่อว่าวัดใหญ่ ในอดีตชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธชินราชว่า "หลวงพ่อใหญ่"พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อายุกว่า 663 ปี เป็นงานฝีมือช่างจากเมืองแห่งศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก สร้างขึ้นมาพร้อมๆการสร้างเมือง และสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ใน พ.ศ. 1900 จากพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยในสมัยนั้นในอดีตพระพุทธชินราชไม่ได้ลงรักปิดทอง ในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระเอกาทศรถคราวเสด็จพระราชดำเนินมา นมัสการ พระพุทธชินราชจึงได้ และมีการปิดทองครั้งแรกบรรพบุรุษไทยได้สร้างศิลปะอันทรงคุณค่าสืบทอดยาวนานมาให้ลูกหลานได้กราบสักการะบูชา ถือได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย ที่ควรสืบทอดและอนุรักษ์ให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านานช้างเรื่องเยอะ!#ช้างเรื่องเยอะ #ช้างชักภาพ #พระพุทธชินราช #พิษณุโลก #วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร #เที่ยวไทย #เทรนวันนี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 735 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัดวิหารทอง ตั้งอยู่ในพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก พระราชวังแห่งนี้คือสถานที่เสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นที่ประทับของพระองค์เมื่อทรงดำรงตำแหน่งอุปราช โดยในขณะนั้นเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของกรุงศรีอยุธยา และวัดวิหารทองคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางยืนขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปนี้มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดสระเกศ และจำลองพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์จริงมาประดิษฐานแทนในวิหารเดิม และบริเวณรายรอบพระราชวังยังมีวัดอีก 2 วัดที่ถูกสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ใครผ่านมาจังหวัดพิษณุโลกนอกจากที่เราจะมากราบพระพุทธชินราช ยังสามารถมากล่าวสักการะพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่พระราชวังจันทน์ได้อีกด้วย#ช้างเรื่องเยอะ #ลุงช้างหญ่าย #วังจันทน์พิษณุโลก #จอมใจอโยธยา
    วัดวิหารทอง ตั้งอยู่ในพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก พระราชวังแห่งนี้คือสถานที่เสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นที่ประทับของพระองค์เมื่อทรงดำรงตำแหน่งอุปราช โดยในขณะนั้นเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของกรุงศรีอยุธยา และวัดวิหารทองคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางยืนขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปนี้มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดสระเกศ และจำลองพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์จริงมาประดิษฐานแทนในวิหารเดิม และบริเวณรายรอบพระราชวังยังมีวัดอีก 2 วัดที่ถูกสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ใครผ่านมาจังหวัดพิษณุโลกนอกจากที่เราจะมากราบพระพุทธชินราช ยังสามารถมากล่าวสักการะพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่พระราชวังจันทน์ได้อีกด้วย#ช้างเรื่องเยอะ #ลุงช้างหญ่าย #วังจันทน์พิษณุโลก #จอมใจอโยธยา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 797 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถ้ำกระแซ ทางรถไฟสายมรณะ ที่เที่ยวกาญจนบุรี สุดหวาดเสียวว
    ถ้ำกระแซ
    ต.วังโพธิ์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

    สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของกาญจนบุรี ที่ห้ามพลาด คือ ถ้ำกระแซ เพราะตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตก เป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา

    หลังจากรถไฟเทียบชานชาลาที่ สถานี ถ้ำกระแซ กาญจนบุรี ความตื่นเต้นที่หายไปนานด้วยความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ได้กลับมาให้หัวใจได้เต้นตูมตามอีกครั้ง กลิ่นใบไม้ ใบหญ้า กลิ่นดินจากความสดชื่นของป่าใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทยช่วยดีท็อกซ์ความเหนื่อยล้าให้หายเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว

    ลังจากรถไฟทิ้งสถานีมุ่งหน้าเดินทางต่อไป ความคึกครื้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติก็เริ่มกลับมา เราเดินมุ่งหน้าไปที่ ถ้ำกระแซ ค่ะ ซึ่งถ้ำนี้เคยเป็น ที่พักของเชลยศึก เมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า และภายในถ้ำยังมี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ด้วย ความรู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเมื่อได้ไปเหยียบสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก

    หลังจากเดินชมถ้ำกระแซเรียบร้อย ขอไปถ่ายรูปสวยๆ ที่รางรถไฟดูบ้าง ตรงจุดนี้คือจุดที่เรียกว่า ทางรถไฟสายมรณะ ค่ะ ถือว่าเป็นจุดที่สวยที่สุด และอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟ ด้วยความสูงมากๆ และติดเลียบหน้าผาทำให้เสียวสันหลังเล็กๆ มองลงไปด้านล่างทำเอาเข่าเกือบทรุด เพราะเป็นแม่น้ำแควที่ไหลเอื่อยๆ อย่างสงบ แต่ก็ต้องใจกล้าค่ะ เพราะอยากได้ภาพสวยๆ กลับมาเป็นที่ระลึกอีกด้วย
    ถ้ำกระแซ ทางรถไฟสายมรณะ ที่เที่ยวกาญจนบุรี สุดหวาดเสียวว ถ้ำกระแซ ต.วังโพธิ์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของกาญจนบุรี ที่ห้ามพลาด คือ ถ้ำกระแซ เพราะตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตก เป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา หลังจากรถไฟเทียบชานชาลาที่ สถานี ถ้ำกระแซ กาญจนบุรี ความตื่นเต้นที่หายไปนานด้วยความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ได้กลับมาให้หัวใจได้เต้นตูมตามอีกครั้ง กลิ่นใบไม้ ใบหญ้า กลิ่นดินจากความสดชื่นของป่าใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทยช่วยดีท็อกซ์ความเหนื่อยล้าให้หายเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว ลังจากรถไฟทิ้งสถานีมุ่งหน้าเดินทางต่อไป ความคึกครื้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติก็เริ่มกลับมา เราเดินมุ่งหน้าไปที่ ถ้ำกระแซ ค่ะ ซึ่งถ้ำนี้เคยเป็น ที่พักของเชลยศึก เมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า และภายในถ้ำยังมี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ด้วย ความรู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเมื่อได้ไปเหยียบสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก หลังจากเดินชมถ้ำกระแซเรียบร้อย ขอไปถ่ายรูปสวยๆ ที่รางรถไฟดูบ้าง ตรงจุดนี้คือจุดที่เรียกว่า ทางรถไฟสายมรณะ ค่ะ ถือว่าเป็นจุดที่สวยที่สุด และอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟ ด้วยความสูงมากๆ และติดเลียบหน้าผาทำให้เสียวสันหลังเล็กๆ มองลงไปด้านล่างทำเอาเข่าเกือบทรุด เพราะเป็นแม่น้ำแควที่ไหลเอื่อยๆ อย่างสงบ แต่ก็ต้องใจกล้าค่ะ เพราะอยากได้ภาพสวยๆ กลับมาเป็นที่ระลึกอีกด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 447 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮวงจุ้ยห้องนอนที่ดี
    มืด,เงียบ,สะอาด,เย็น
    ไม่เอาสิ่งของ ตู้เสื้อผ้าไปเก็บไว้ในห้องนอน
    ห้องนอนให้มีแค่เตียงนอน พัดลม แอร์ เครื่องฟอกอากาศ เพลงกล่อมนอนเท่านั้น
    ประตูห้องนอนไม่ตรงกับบันไดลงชั้นล่าง จะเก็บเงินทองไม่อยู่
    เปิดประตูเข้าห้องนอน ไม่ตรงประตูห้องนำ้,ประตูระเบียง เงินทองจะไม่เหลือเก็บ
    ห้ามมีกระจกเงาส่องตรงไปถูกเตียงนอน จะเจ็บป่วยตรงที่กระจกส่องถูก
    เตียงนอนไม่วางขวางทิศทางประตู
    เตียงนอนไม่อยู่ใต้คาน ใต้โคมระย้า
    ไม่ตั้งชุดรับแขกไว้ในห้องนอน
    ไม่ทำห้องนำ้แบบเปิดโล่งในห้องนอน
    ไม่ทำห้องนำ้ใหญ่กว่าในห้องนอน
    ไม่นำโต๊ะหมู่บูชา หรือพระพุทธรูปไว้ในห้องนอน
    ฮวงจุ้ยห้องนอนที่ดี มืด,เงียบ,สะอาด,เย็น ไม่เอาสิ่งของ ตู้เสื้อผ้าไปเก็บไว้ในห้องนอน ห้องนอนให้มีแค่เตียงนอน พัดลม แอร์ เครื่องฟอกอากาศ เพลงกล่อมนอนเท่านั้น ประตูห้องนอนไม่ตรงกับบันไดลงชั้นล่าง จะเก็บเงินทองไม่อยู่ เปิดประตูเข้าห้องนอน ไม่ตรงประตูห้องนำ้,ประตูระเบียง เงินทองจะไม่เหลือเก็บ ห้ามมีกระจกเงาส่องตรงไปถูกเตียงนอน จะเจ็บป่วยตรงที่กระจกส่องถูก เตียงนอนไม่วางขวางทิศทางประตู เตียงนอนไม่อยู่ใต้คาน ใต้โคมระย้า ไม่ตั้งชุดรับแขกไว้ในห้องนอน ไม่ทำห้องนำ้แบบเปิดโล่งในห้องนอน ไม่ทำห้องนำ้ใหญ่กว่าในห้องนอน ไม่นำโต๊ะหมู่บูชา หรือพระพุทธรูปไว้ในห้องนอน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 277 มุมมอง 0 รีวิว
  • #บาลีวันละคำ (4,534)

    สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร

    อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม

    (๑) “สีสะ”

    เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก -

    (1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย

    : สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร)

    (2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี)

    : สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย”

    “สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -

    (1) ศีรษะ (the head [of the body])
    (2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front)
    (3) ข้อสำคัญ (chief point)
    (4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops])
    (5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject])

    บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ”
    สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
    (สะกดตามต้นฉบับ)

    “ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.”

    ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ -

    (1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ).

    (2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส)

    โปรดสังเกตว่า -

    “สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส
    “ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร
    ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ

    (๒) “สิระ”

    เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย

    : สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่”

    “สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง -

    (1) ศีรษะหรือหัว (head)
    (2) ยอดไม้, ปลาย (tip)

    บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ”
    สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ -
    (สะกดตามต้นฉบับ)

    “ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.”

    “สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร”

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ -

    (1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).

    (2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).

    (3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.

    อภิปราย :

    บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า -

    “สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ”
    “สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร”

    ..............

    ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า -

    ..............

    อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง

    ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ

    ..............

    ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง

    ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้

    ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย

    ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

    ..............

    ดูก่อนภราดา!

    เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม

    : ของยิ่งสูงมาก
    : ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก
    พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
    #บาลีวันละคำ (4,534) สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม (๑) “สีสะ” เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก - (1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย : สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร) (2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี) : สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย” “สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ - (1) ศีรษะ (the head [of the body]) (2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front) (3) ข้อสำคัญ (chief point) (4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops]) (5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject]) บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า - (สะกดตามต้นฉบับ) “ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ - (1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ). (2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส) โปรดสังเกตว่า - “สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส “ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ (๒) “สิระ” เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย : สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่” “สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง - (1) ศีรษะหรือหัว (head) (2) ยอดไม้, ปลาย (tip) บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ - (สะกดตามต้นฉบับ) “ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.” “สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ - (1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา). (2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร). (3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร. อภิปราย : บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า - “สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ” “สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร” .............. ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า - .............. อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ .............. ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้ ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง .............. ดูก่อนภราดา! เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม : ของยิ่งสูงมาก : ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 512 มุมมอง 0 รีวิว
  • #งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี๒๕๖๗

    ขอเชิญเที่ยวงานนมัสการ
    #องค์พระปฐมเจดีย์ ประจำปี ๒๕๖๗
    ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม
    #งานประจำปี ๙ วัน ๙ คืน ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
    #งานออกร้าน ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน - ๘ ธันวาคม ๒๕๖๗

    นอกจากนี้
    เชิญชวนนมัสการและสักการะ
    ปูชนียวัตถุสถานภายในพระอาราม
    อาทิ...
    ● พระบรมสารีริกธาตุ
    ● พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์ ฉลอง ๑๐๙ ปี (๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๘-๒๕๖๗) หน้าพระเจดีย์ด้านทิศเหนือ
    ● พระพุทธรูปศิลาขาว (ศิลปะทวารวดี) พระประธานในพระอุโบสถ
    ● พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร หน้าพระวิหารทิศใต้
    ● พระพุทธสิหิงค์จำลอง บนองค์พระเจดีย์
    ● พระพุทธรูปปางโปรดปัญจวัคคีย์ ในพระวิหารทิศใต้
    ● พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก
    ● พระพุทธไสยาสน์ ในพระวิหารทิศตะวันตก
    ● พระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
    ● พระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พร้อมด้วยพระสรีรางคาร พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ และพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งประดิษฐานไว้ที่ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่พระวิหารทิศเหนือ

    และเยี่ยมชม
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
    ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ขวาพระ)
    ภายนอกตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม
    #งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี๒๕๖๗ ขอเชิญเที่ยวงานนมัสการ #องค์พระปฐมเจดีย์ ประจำปี ๒๕๖๗ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม ● #งานประจำปี ๙ วัน ๙ คืน ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ● #งานออกร้าน ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน - ๘ ธันวาคม ๒๕๖๗ นอกจากนี้ เชิญชวนนมัสการและสักการะ ปูชนียวัตถุสถานภายในพระอาราม อาทิ... ● พระบรมสารีริกธาตุ ● พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์ ฉลอง ๑๐๙ ปี (๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๘-๒๕๖๗) หน้าพระเจดีย์ด้านทิศเหนือ ● พระพุทธรูปศิลาขาว (ศิลปะทวารวดี) พระประธานในพระอุโบสถ ● พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร หน้าพระวิหารทิศใต้ ● พระพุทธสิหิงค์จำลอง บนองค์พระเจดีย์ ● พระพุทธรูปปางโปรดปัญจวัคคีย์ ในพระวิหารทิศใต้ ● พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก ● พระพุทธไสยาสน์ ในพระวิหารทิศตะวันตก ● พระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ ● พระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พร้อมด้วยพระสรีรางคาร พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ และพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งประดิษฐานไว้ที่ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่พระวิหารทิศเหนือ และเยี่ยมชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ขวาพระ) ภายนอกตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 476 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7/11/67

    “ปริศนาจากพระพุทธรูป"

    คงไม่มีใครไม่เคยเห็นพระพุทธรูป แต่คงจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ลักษณะของพระพุทธรูปที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งนั้น แฝงข้อคิดอันประเสริฐสุดในชีวิตเอาไว้ ถึง 5 ประการ
    คือ

    1. พระเศียรแหลม

    มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม

    พระเศียรแหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต สอนให้เราใช้ชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์

    ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แล้วความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย หรือแม้มันเกิดขึ้น เราก็จะเรียนรู้จากมันได้อย่างรวดเร็ว

    ปัญญาคือ ที่สุดแห่งธรรม หากมีปัญญา ชีวิตจะไม่มีปัญหา เพราะทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจิตใจได้เสมอ

    2. พระกรรณยาน

    หูยานเป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย แล้วจึงเชื่อในหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ตัวเองได้นำไปทดสอบแล้ว

    เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าสุดท้าย คน ๆเดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือ ตัวเราเอง และ ชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด คำพูด และการกระทำของเราเองฉะนั้น ในการใช้ชีวิต ให้มีความสุขุมเยือกเย็น มีสติ และ มีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจไปยึดตามสิ่งที่ได้ยิน เชื่อตามคนอื่น หรือตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นจนเกินไป ลองพิสูจน์สิ่งต่าง ๆด้วยตัวเองเสียก่อนจะเชื่อ ตามหลัก “กาลามสูตร” เพื่อฝึกฝนการเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ดั่งองค์พระพุทธฯ

    3. พระเนตรมองต่ำ

    พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ ไม่ได้มองดูหน้าต่าง หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี่เป็นปริศนาธรรม

    สอนให้มองตนเองและพิจารณาตนเองเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อนจะไปคอยจับผิดผู้อื่น ตามปกติคนเรามักจะมองเห็นแต่ความผิดพลาดของบุคคลอื่น โดยลืมมองข้อบกพร่องของตนเอง มัวแต่เอาเวลาไปนินทาว่าร้ายและจ้องแต่จะคอยวิจารณ์หรือเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างอย่างเดียว ทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า

    “อตฺตนา โจทยตฺตาน”

    ซึ่งแปลเป็นกลอนได้ว่า...

    “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
    ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
    ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน
    ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย”

    นอกจากนั้น พระเนตรที่มองต่ำคือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อมองฟ้าจนฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือ มัวหลงล่องลอยอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมา ตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด... กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก... เพราะนั่นคือ ดินแดนแห่งสวรรค์ที่แท้จริง”

    4. พระพักตร์อันสงบนิ่ง

    ไม่ว่าใครจะด่าว่าพระพุทธรูปอย่างไร ท่านก็ยังสงบนิ่ง ไม่ว่าน้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว หรือใครจะเตะ ต่อย นินทา หรือทำร้ายพระพุทธรูปมากแค่ไหน ท่านก็นิ่งสงบรับแรงกระทบต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างมั่นคง เบิกบาน และไม่หวั่นไหวไปกับปัญหาทั้งเล็กและใหญ่

    ให้ความรู้สึกเย็นสบายต่อผู้พบเห็นอยู่เสมอ ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมคนอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถฝึกรับแรงกระแทกทุกรูปแบบด้วยความนิ่งสงบได้ เราก็จะสามารถตอบโต้อย่างสร้างสรรค์และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม เพราะคนบ้าจะโต้ตอบแบบหน้ามืด และคนโง่จะตอบโต้ตอนที่ตัวเองกำลังโกรธ ส่งผลให้ตัวเองและคนอื่นตกตายไปตามกัน

    หากเรารู้จักนิ่งสงบรับแรงกระแทกต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนพระพุทธรูป ขั้นตอนต่อไปของการตอบโต้จะเกิดจากสติ เกิดจากปัญญา และเกิดจากพลังอันยิ่งใหญ่ที่มาจากใจที่สงบนิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นหรือตัวเอง

    5. รอยยิ้มของผู้ที่เข้าใจโลก

    สุดท้าย คือปริศนาจากพระโอษฐ์ที่แย้มยิ้มอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รักสรรพสิ่ง รักโลก และเข้าใจความจริงของโลก...

    ความจริงที่ว่า... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรแน่นอน
    ความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรคงทนถาวรความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง

    ความสุขและความทุกข์ เป็นของคู่กันเสมอ ฉะนั้น

    “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง

    นอกจากนั้นรอยยิ้มของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้มของผู้ที่ถ่อมตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจความยิ่งใหญ่และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ รู้ว่าแม้ตัวเองจะเป็นเพียงเศษผงธุลีหนึ่งในจักรวาล แต่ก็เป็นเศษผงธุลีที่สามารถเข้าใจความจริงของจักรวาลได้ จึงทั้งเป็นสิ่งที่พิเศษและไม่พิเศษ ในเวลาเดียวกัน...

    อย่าลืมนะ ว่า ในจิตใจของพวกเราทุกคน มีความเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ซ่อนอยู่ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงคำว่า “พระพุทธเจ้า” (ผู้ตื่นรู้) ไม่ใช่ “ชื่อ” แต่เป็น “คำนำหน้าชื่อ”

    และในอดีตก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ โดยองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดีมีพระนามว่า

    “โคตมะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขับไล่ความมืด (อวิชชา) ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา”

    ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
    ไม่ว่าใครก็สามารถไปถึงจุดของความเป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น หากคนคนนั้นหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญาอยู่เสมอ

    # ฉะนั้น เมื่อใดที่เราก้มลงกราบพระพุทธรูป นอกจากจะระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าลืมระลึกถึงปรัชญาที่แฝงไว้ด้วย
    7/11/67 “ปริศนาจากพระพุทธรูป" คงไม่มีใครไม่เคยเห็นพระพุทธรูป แต่คงจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ลักษณะของพระพุทธรูปที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งนั้น แฝงข้อคิดอันประเสริฐสุดในชีวิตเอาไว้ ถึง 5 ประการ คือ 1. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม พระเศียรแหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต สอนให้เราใช้ชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แล้วความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย หรือแม้มันเกิดขึ้น เราก็จะเรียนรู้จากมันได้อย่างรวดเร็ว ปัญญาคือ ที่สุดแห่งธรรม หากมีปัญญา ชีวิตจะไม่มีปัญหา เพราะทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจิตใจได้เสมอ 2. พระกรรณยาน หูยานเป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย แล้วจึงเชื่อในหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ตัวเองได้นำไปทดสอบแล้ว เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าสุดท้าย คน ๆเดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือ ตัวเราเอง และ ชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด คำพูด และการกระทำของเราเองฉะนั้น ในการใช้ชีวิต ให้มีความสุขุมเยือกเย็น มีสติ และ มีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจไปยึดตามสิ่งที่ได้ยิน เชื่อตามคนอื่น หรือตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นจนเกินไป ลองพิสูจน์สิ่งต่าง ๆด้วยตัวเองเสียก่อนจะเชื่อ ตามหลัก “กาลามสูตร” เพื่อฝึกฝนการเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ดั่งองค์พระพุทธฯ 3. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ ไม่ได้มองดูหน้าต่าง หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี่เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองและพิจารณาตนเองเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อนจะไปคอยจับผิดผู้อื่น ตามปกติคนเรามักจะมองเห็นแต่ความผิดพลาดของบุคคลอื่น โดยลืมมองข้อบกพร่องของตนเอง มัวแต่เอาเวลาไปนินทาว่าร้ายและจ้องแต่จะคอยวิจารณ์หรือเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างอย่างเดียว ทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า “อตฺตนา โจทยตฺตาน” ซึ่งแปลเป็นกลอนได้ว่า... “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย” นอกจากนั้น พระเนตรที่มองต่ำคือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อมองฟ้าจนฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือ มัวหลงล่องลอยอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมา ตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด... กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก... เพราะนั่นคือ ดินแดนแห่งสวรรค์ที่แท้จริง” 4. พระพักตร์อันสงบนิ่ง ไม่ว่าใครจะด่าว่าพระพุทธรูปอย่างไร ท่านก็ยังสงบนิ่ง ไม่ว่าน้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว หรือใครจะเตะ ต่อย นินทา หรือทำร้ายพระพุทธรูปมากแค่ไหน ท่านก็นิ่งสงบรับแรงกระทบต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างมั่นคง เบิกบาน และไม่หวั่นไหวไปกับปัญหาทั้งเล็กและใหญ่ ให้ความรู้สึกเย็นสบายต่อผู้พบเห็นอยู่เสมอ ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมคนอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถฝึกรับแรงกระแทกทุกรูปแบบด้วยความนิ่งสงบได้ เราก็จะสามารถตอบโต้อย่างสร้างสรรค์และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม เพราะคนบ้าจะโต้ตอบแบบหน้ามืด และคนโง่จะตอบโต้ตอนที่ตัวเองกำลังโกรธ ส่งผลให้ตัวเองและคนอื่นตกตายไปตามกัน หากเรารู้จักนิ่งสงบรับแรงกระแทกต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนพระพุทธรูป ขั้นตอนต่อไปของการตอบโต้จะเกิดจากสติ เกิดจากปัญญา และเกิดจากพลังอันยิ่งใหญ่ที่มาจากใจที่สงบนิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นหรือตัวเอง 5. รอยยิ้มของผู้ที่เข้าใจโลก สุดท้าย คือปริศนาจากพระโอษฐ์ที่แย้มยิ้มอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รักสรรพสิ่ง รักโลก และเข้าใจความจริงของโลก... ความจริงที่ว่า... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรแน่นอน ความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรคงทนถาวรความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง ความสุขและความทุกข์ เป็นของคู่กันเสมอ ฉะนั้น “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง นอกจากนั้นรอยยิ้มของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้มของผู้ที่ถ่อมตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจความยิ่งใหญ่และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ รู้ว่าแม้ตัวเองจะเป็นเพียงเศษผงธุลีหนึ่งในจักรวาล แต่ก็เป็นเศษผงธุลีที่สามารถเข้าใจความจริงของจักรวาลได้ จึงทั้งเป็นสิ่งที่พิเศษและไม่พิเศษ ในเวลาเดียวกัน... อย่าลืมนะ ว่า ในจิตใจของพวกเราทุกคน มีความเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ซ่อนอยู่ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงคำว่า “พระพุทธเจ้า” (ผู้ตื่นรู้) ไม่ใช่ “ชื่อ” แต่เป็น “คำนำหน้าชื่อ” และในอดีตก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ โดยองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดีมีพระนามว่า “โคตมะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขับไล่ความมืด (อวิชชา) ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา” ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถไปถึงจุดของความเป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น หากคนคนนั้นหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญาอยู่เสมอ # ฉะนั้น เมื่อใดที่เราก้มลงกราบพระพุทธรูป นอกจากจะระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าลืมระลึกถึงปรัชญาที่แฝงไว้ด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 812 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทอดถวายกฐินสามัคคี ประจำปี 2567
    เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่
    พร้อมอาคารพิพิธภัณฑ์
    ในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567
    ณ วัดป่าภูแปก ญาณสมฺปนฺโน บ้านกกบก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    ทอดถวายกฐินสามัคคี ประจำปี 2567 เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่ พร้อมอาคารพิพิธภัณฑ์ ในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 ณ วัดป่าภูแปก ญาณสมฺปนฺโน บ้านกกบก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    Like
    Love
    19
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 615 มุมมอง 1 รีวิว
  • ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก
    .
    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
    .
    ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก
    .
    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562
    .
    พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้
    .
    "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค"
    .
    สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
    .
    โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา
    .
    นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535
    .
    ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
    ..............
    Sondhi X
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก . เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 . ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก . สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562 . พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้ . "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" . สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร . โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา . นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535 . ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ .............. Sondhi X
    Like
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1474 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts