#บาลีวันละคำ (4,534)
สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร
อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม
(๑) “สีสะ”
เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก -
(1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย
: สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร)
(2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี)
: สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย”
“สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -
(1) ศีรษะ (the head [of the body])
(2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front)
(3) ข้อสำคัญ (chief point)
(4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops])
(5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject])
บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ -
(1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ).
(2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส)
โปรดสังเกตว่า -
“สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส
“ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร
ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ
(๒) “สิระ”
เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย
: สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่”
“สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง -
(1) ศีรษะหรือหัว (head)
(2) ยอดไม้, ปลาย (tip)
บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.”
“สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ -
(1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).
(2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).
(3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
อภิปราย :
บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า -
“สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ”
“สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร”
..............
ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า -
..............
อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง
ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ
..............
ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง
ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้
ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง
..............
ดูก่อนภราดา!
เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
: ของยิ่งสูงมาก
: ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร
อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม
(๑) “สีสะ”
เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก -
(1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย
: สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร)
(2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี)
: สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย”
“สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -
(1) ศีรษะ (the head [of the body])
(2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front)
(3) ข้อสำคัญ (chief point)
(4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops])
(5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject])
บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ -
(1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ).
(2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส)
โปรดสังเกตว่า -
“สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส
“ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร
ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ
(๒) “สิระ”
เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย
: สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่”
“สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง -
(1) ศีรษะหรือหัว (head)
(2) ยอดไม้, ปลาย (tip)
บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.”
“สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ -
(1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).
(2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).
(3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
อภิปราย :
บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า -
“สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ”
“สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร”
..............
ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า -
..............
อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง
ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ
..............
ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง
ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้
ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง
..............
ดูก่อนภราดา!
เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
: ของยิ่งสูงมาก
: ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
#บาลีวันละคำ (4,534)
สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร
อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม
(๑) “สีสะ”
เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก -
(1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย
: สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร)
(2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี)
: สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย”
“สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -
(1) ศีรษะ (the head [of the body])
(2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front)
(3) ข้อสำคัญ (chief point)
(4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops])
(5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject])
บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ -
(1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ).
(2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส)
โปรดสังเกตว่า -
“สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส
“ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร
ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ
(๒) “สิระ”
เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย
: สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่”
“สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง -
(1) ศีรษะหรือหัว (head)
(2) ยอดไม้, ปลาย (tip)
บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.”
“สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ -
(1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).
(2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).
(3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
อภิปราย :
บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า -
“สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ”
“สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร”
..............
ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า -
..............
อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง
ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ
..............
ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง
ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้
ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง
..............
ดูก่อนภราดา!
เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
: ของยิ่งสูงมาก
: ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
87 มุมมอง
0 รีวิว