• 🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠

    ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน

    แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง

    ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย

    🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸

    ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด

    😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎

    😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎

    😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎

    ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ?

    อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ

    😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎

    จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย

    เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม

    ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ

    อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ

    สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย

    หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน

    ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้

    ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต

    ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง

    "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸)

    อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ

    ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้

    เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้

    เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公)

    เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่

    แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ

    เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่

    อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง

    ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่

    หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น

    แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公)

    ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น?

    ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎

    สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

    หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ

    แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公)

    ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ

    🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠 ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย 🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸 ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด 😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎 😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎 😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎 ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ? อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ 😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎 จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้ ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸) อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้ เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้ เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公) เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่ แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่ อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่ หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公) ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น? ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎 สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公) ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ 🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 Comments 0 Shares 277 Views 0 Reviews