• อ่านเพิ่มเติม
    #HPylori มันคือสาเหตุการเกิด “โรคกระเพาะอาหาร” ทั้งยังสามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือ เอชไพโลไร (H.Pylori) เป็นแบคทีเรียประเภทที่พบได้บ่อยและใช่ มันเป็นโรคติดต่อที่ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โดยปกติแล้วแบคทีเรียจะเข้าสู่ปากและเข้าสู่ทางเดินอาหารเชื้อโรคอาจอาศัยอยู่ในน้ำลาย ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ผ่านการจูบ ออรัลเซ็กซ์ การพูดคุยขณะรับประทานอาหารร่วมกัน การพูดคุยกับแม่ค้าขณะตักอาหารให้ หรือแม้แต่การพูดคุยกับพนักงานเสิร์ฟถ้าพนักงานคนนั้นมีเชื้อนอกจากนี้ คุณสามารถติดเชื้อได้จากการปนเปื้อนอุจจาระในอาหารหรือน้ำดื่มแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการติดเชื้อ H. pylori จะไม่เป็นอันตราย แต่พวกมันมีส่วนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ แผลเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหารH. Pylori พบได้บ่อยแค่ไหนเชื้อ H. pylori มีอยู่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลก การศึกษาในปี 2014 ในวารสาร Central European Journal of Urology แนะนำว่าผู้ที่ติดเชื้อ H. pylori มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์อาจมีแบคทีเรียอยู่ในปากและน้ำลาย และอาจเป็นสาเหตุของโรคท่อปัสสาวะอักเสบ การวิจัยยังพบว่า เชื้อ H. pylori อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารและแผลในกระเพาะอาหารบางชนิด ในปี 2018 นักวิจัยรายงานว่า H. pylori อาจมีบทบาทในการพัฒนาโรคพาร์กินสันรายงานปี 2018 ในวารสาร Gastroenterology ระบุข้อกังวลอื่น: การดื้อต่อยาปฏิชีวนะของ H. pylori ทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นอย่างมากป้องกันการติดเชื้อ H. pyloriสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีคือวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ การล้างมืออย่างทั่วถึงและบ่อยครั้งเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่ายิ่ง การรับประทานอาหารสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารค้างคืนหรือแม้แต่อาหารที่ปรุงตั้งไว้เกิน 3 ชั่วโมง ไม่ดื่มน้ำที่ไม่มั่นใจว่าสะอาดเพียงพออาการของผู้ติดเชื้อ H.Pyloriโดยปกติแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อ H.Pylori มักจะไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องบริเวณเหนือสะดือปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหารคลื่นไส้ อาเจียนจุกเสียดลิ้นปี่ท้องอืด เรอบ่อยเบื่ออาหารน้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ในรายที่มีอาการอักเสบรุนแรง ควรรีบพบแพทย์เร่งด่วนซึ่งจะมีอาการ ดังนี้ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย หรือมีเลือดและกลิ่นรุนแรงปวดท้องรุนแรง เรื้อรังอาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลคล้ำ H.Pylori สามารถแฝงอยู่ในร่างกายนานเป็น 10 ปี โดยแทบไม่แสดงอาการ เสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมากถึง 2-6 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งกระเพาะอาหารดังนั้นการกำจัดเชื้อ Helicobacter Pylori จึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจหาเชื้อ H.Pylori เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ทราบต้นตอก่อนเกิดอาการรุนแรง ซึ่งปัจจุบันสามารถทำการตรวจได้หลายวิธี การตรวจวินิจฉัยเชื้อทางลมหายใจที่เรียกว่า “Urea Breath Test หรือ การเป่าลมหายใจและวัดหาระดับยูเรีย” เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ความแม่นยำสูง ( ความไว 88-95% ) และไม่ก่อให้เกิดการเจ็บตัว ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารซ้ำ และการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะจากเชื้อเอชไพโลไร (H.Pylori) นับเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของใครหลายคน ในบางรายรักษาเท่าไหร่ก็ยังไม่หาย หรือบางรายก็ไม่ทราบว่าตัวเองได้รับเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งความน่ากลัวของเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) สามารถเกาะเกี่ยวตัวเองไว้กับเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร และสามารถอยู่ในกระเพาะอาหารนานนับ 10 ปี โดยไม่แสดงอาการใดๆสิ่งที่จะเสริมการรักษาโรคแผลในกระเพาะจากเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารแนะนำ คือการเสริมโปรไบโอติกส์ (Probiotic) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotic) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารแนะนำว่า การใช้พรีไบโอติกส์และโปรไบโอติกส์ร่วมกัน สามารถให้ผลทั้งในแง่ของการป้องกันและรักษาโรคในทางเดินอาหารได้ ทั้งยังมีความความปลอดภัยสูง และรับประทานได้ในระยะยาวโดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ในข้อมูลทางการแพทย์จุลินทรีย์สายพันธุ์เฉพาะอย่างโปรไบโอติกส์ ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ แบบเจาะจง โดยเฉพาะโรคแผลในกระเพาะอาหารจากแบคทีเรียโดยเฉพาะโปรไบโอติกส์สายพันธุ์เฉพาะอย่าง Lactobacillus acidophilus LA-5 และ Bifidobacterium lactis BB-12 สามารถช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.Pyroli) ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคในกระเพาะอาหารที่เป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และยังช่วยลดการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ รวมทั้งช่วยปรับความถี่และความรุนแรงของการบีบตัวของลำไส้เล็ก ส่งผลดีต่อผู้ที่มีอาการปวดท้อง นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของโรคแผลในกระเพาะอาหารจากแบคทีเรียได้อีกด้วยอาหารที่ดีในการบำบัดแผลในกระเพาะอาหารกล้วยดิบว่านหางจระเข้ทั้งสดและสกัดผักบุ้งสดมะละกอดิบ หรืออะไรก็ได้ที่มีความเป็นเมือกสูง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแนะนำPaa villSynbcPaa easeเกลือหิมาลัยด้วยรักและห่วงใยจากใจจริง Cr.Santi Manadee
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 321 มุมมอง 0 รีวิว