• เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 54 มุมมอง 0 รีวิว