ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2
สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ
Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้
สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้:
1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl)
2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ
2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป
2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า:
- สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา
- ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ)
- ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่
2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2)
- สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี
- ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน
- พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่);
- หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3)
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก
- อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน
2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า:
- เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน)
- ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้)
สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ
3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
- พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3)
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน
สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ
4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว
- บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง)
5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา
- บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา)
- บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน)
การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้
การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว
ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3
ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม
แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝
https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791
https://baike.baidu.com/item/齐衰
https://www.sohu.com/a/124382586_555629
https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html
#หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ
Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้
สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้:
1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl)
2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ
2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป
2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า:
- สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา
- ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ)
- ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่
2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2)
- สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี
- ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน
- พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่);
- หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3)
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก
- อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน
2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า:
- เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน)
- ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้)
สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ
3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
- พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3)
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน
สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ
4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว
- บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง)
5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา
- บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา)
- บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน)
การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้
การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว
ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3
ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม
แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝
https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791
https://baike.baidu.com/item/齐衰
https://www.sohu.com/a/124382586_555629
https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html
#หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2
สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ
Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้
สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้:
1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl)
2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ
2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป
2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า:
- สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา
- ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ)
- ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่
2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2)
- สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี
- ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน
- พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่);
- หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3)
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก
- อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน
2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า:
- เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน)
- ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้)
สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ
3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
- พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3)
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน
สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ
4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว
- ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว
- บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง)
5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
- บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา
- บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา)
- บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน
- สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน)
การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้
การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว
ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3
ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม
แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝
https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791
https://baike.baidu.com/item/齐衰
https://www.sohu.com/a/124382586_555629
https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html
#หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน