• มุ่งมั่นพัฒนาจิตใจตัวเองให้ดี..ทำให้ดีงาม ให้มีศิลมีธรรม มีเมตตา มีกรุณา ฯ
    มุ่งมั่นพัฒนาจิตใจตัวเองให้ดี..ทำให้ดีงาม ให้มีศิลมีธรรม มีเมตตา มีกรุณา ฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 43 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7/11/67

    “ปริศนาจากพระพุทธรูป"

    คงไม่มีใครไม่เคยเห็นพระพุทธรูป แต่คงจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ลักษณะของพระพุทธรูปที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งนั้น แฝงข้อคิดอันประเสริฐสุดในชีวิตเอาไว้ ถึง 5 ประการ
    คือ

    1. พระเศียรแหลม

    มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม

    พระเศียรแหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต สอนให้เราใช้ชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์

    ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แล้วความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย หรือแม้มันเกิดขึ้น เราก็จะเรียนรู้จากมันได้อย่างรวดเร็ว

    ปัญญาคือ ที่สุดแห่งธรรม หากมีปัญญา ชีวิตจะไม่มีปัญหา เพราะทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจิตใจได้เสมอ

    2. พระกรรณยาน

    หูยานเป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย แล้วจึงเชื่อในหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ตัวเองได้นำไปทดสอบแล้ว

    เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าสุดท้าย คน ๆเดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือ ตัวเราเอง และ ชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด คำพูด และการกระทำของเราเองฉะนั้น ในการใช้ชีวิต ให้มีความสุขุมเยือกเย็น มีสติ และ มีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจไปยึดตามสิ่งที่ได้ยิน เชื่อตามคนอื่น หรือตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นจนเกินไป ลองพิสูจน์สิ่งต่าง ๆด้วยตัวเองเสียก่อนจะเชื่อ ตามหลัก “กาลามสูตร” เพื่อฝึกฝนการเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ดั่งองค์พระพุทธฯ

    3. พระเนตรมองต่ำ

    พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ ไม่ได้มองดูหน้าต่าง หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี่เป็นปริศนาธรรม

    สอนให้มองตนเองและพิจารณาตนเองเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อนจะไปคอยจับผิดผู้อื่น ตามปกติคนเรามักจะมองเห็นแต่ความผิดพลาดของบุคคลอื่น โดยลืมมองข้อบกพร่องของตนเอง มัวแต่เอาเวลาไปนินทาว่าร้ายและจ้องแต่จะคอยวิจารณ์หรือเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างอย่างเดียว ทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า

    “อตฺตนา โจทยตฺตาน”

    ซึ่งแปลเป็นกลอนได้ว่า...

    “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
    ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
    ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน
    ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย”

    นอกจากนั้น พระเนตรที่มองต่ำคือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อมองฟ้าจนฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือ มัวหลงล่องลอยอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมา ตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด... กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก... เพราะนั่นคือ ดินแดนแห่งสวรรค์ที่แท้จริง”

    4. พระพักตร์อันสงบนิ่ง

    ไม่ว่าใครจะด่าว่าพระพุทธรูปอย่างไร ท่านก็ยังสงบนิ่ง ไม่ว่าน้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว หรือใครจะเตะ ต่อย นินทา หรือทำร้ายพระพุทธรูปมากแค่ไหน ท่านก็นิ่งสงบรับแรงกระทบต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างมั่นคง เบิกบาน และไม่หวั่นไหวไปกับปัญหาทั้งเล็กและใหญ่

    ให้ความรู้สึกเย็นสบายต่อผู้พบเห็นอยู่เสมอ ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมคนอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถฝึกรับแรงกระแทกทุกรูปแบบด้วยความนิ่งสงบได้ เราก็จะสามารถตอบโต้อย่างสร้างสรรค์และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม เพราะคนบ้าจะโต้ตอบแบบหน้ามืด และคนโง่จะตอบโต้ตอนที่ตัวเองกำลังโกรธ ส่งผลให้ตัวเองและคนอื่นตกตายไปตามกัน

    หากเรารู้จักนิ่งสงบรับแรงกระแทกต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนพระพุทธรูป ขั้นตอนต่อไปของการตอบโต้จะเกิดจากสติ เกิดจากปัญญา และเกิดจากพลังอันยิ่งใหญ่ที่มาจากใจที่สงบนิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นหรือตัวเอง

    5. รอยยิ้มของผู้ที่เข้าใจโลก

    สุดท้าย คือปริศนาจากพระโอษฐ์ที่แย้มยิ้มอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รักสรรพสิ่ง รักโลก และเข้าใจความจริงของโลก...

    ความจริงที่ว่า... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรแน่นอน
    ความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรคงทนถาวรความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง

    ความสุขและความทุกข์ เป็นของคู่กันเสมอ ฉะนั้น

    “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง

    นอกจากนั้นรอยยิ้มของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้มของผู้ที่ถ่อมตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจความยิ่งใหญ่และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ รู้ว่าแม้ตัวเองจะเป็นเพียงเศษผงธุลีหนึ่งในจักรวาล แต่ก็เป็นเศษผงธุลีที่สามารถเข้าใจความจริงของจักรวาลได้ จึงทั้งเป็นสิ่งที่พิเศษและไม่พิเศษ ในเวลาเดียวกัน...

    อย่าลืมนะ ว่า ในจิตใจของพวกเราทุกคน มีความเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ซ่อนอยู่ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงคำว่า “พระพุทธเจ้า” (ผู้ตื่นรู้) ไม่ใช่ “ชื่อ” แต่เป็น “คำนำหน้าชื่อ”

    และในอดีตก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ โดยองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดีมีพระนามว่า

    “โคตมะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขับไล่ความมืด (อวิชชา) ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา”

    ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
    ไม่ว่าใครก็สามารถไปถึงจุดของความเป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น หากคนคนนั้นหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญาอยู่เสมอ

    # ฉะนั้น เมื่อใดที่เราก้มลงกราบพระพุทธรูป นอกจากจะระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าลืมระลึกถึงปรัชญาที่แฝงไว้ด้วย
    7/11/67 “ปริศนาจากพระพุทธรูป" คงไม่มีใครไม่เคยเห็นพระพุทธรูป แต่คงจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ลักษณะของพระพุทธรูปที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งนั้น แฝงข้อคิดอันประเสริฐสุดในชีวิตเอาไว้ ถึง 5 ประการ คือ 1. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม พระเศียรแหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต สอนให้เราใช้ชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แล้วความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย หรือแม้มันเกิดขึ้น เราก็จะเรียนรู้จากมันได้อย่างรวดเร็ว ปัญญาคือ ที่สุดแห่งธรรม หากมีปัญญา ชีวิตจะไม่มีปัญหา เพราะทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจิตใจได้เสมอ 2. พระกรรณยาน หูยานเป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย แล้วจึงเชื่อในหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ตัวเองได้นำไปทดสอบแล้ว เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าสุดท้าย คน ๆเดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือ ตัวเราเอง และ ชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด คำพูด และการกระทำของเราเองฉะนั้น ในการใช้ชีวิต ให้มีความสุขุมเยือกเย็น มีสติ และ มีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจไปยึดตามสิ่งที่ได้ยิน เชื่อตามคนอื่น หรือตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นจนเกินไป ลองพิสูจน์สิ่งต่าง ๆด้วยตัวเองเสียก่อนจะเชื่อ ตามหลัก “กาลามสูตร” เพื่อฝึกฝนการเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ดั่งองค์พระพุทธฯ 3. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ ไม่ได้มองดูหน้าต่าง หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี่เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองและพิจารณาตนเองเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อนจะไปคอยจับผิดผู้อื่น ตามปกติคนเรามักจะมองเห็นแต่ความผิดพลาดของบุคคลอื่น โดยลืมมองข้อบกพร่องของตนเอง มัวแต่เอาเวลาไปนินทาว่าร้ายและจ้องแต่จะคอยวิจารณ์หรือเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างอย่างเดียว ทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า “อตฺตนา โจทยตฺตาน” ซึ่งแปลเป็นกลอนได้ว่า... “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย” นอกจากนั้น พระเนตรที่มองต่ำคือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อมองฟ้าจนฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือ มัวหลงล่องลอยอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมา ตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด... กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก... เพราะนั่นคือ ดินแดนแห่งสวรรค์ที่แท้จริง” 4. พระพักตร์อันสงบนิ่ง ไม่ว่าใครจะด่าว่าพระพุทธรูปอย่างไร ท่านก็ยังสงบนิ่ง ไม่ว่าน้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว หรือใครจะเตะ ต่อย นินทา หรือทำร้ายพระพุทธรูปมากแค่ไหน ท่านก็นิ่งสงบรับแรงกระทบต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างมั่นคง เบิกบาน และไม่หวั่นไหวไปกับปัญหาทั้งเล็กและใหญ่ ให้ความรู้สึกเย็นสบายต่อผู้พบเห็นอยู่เสมอ ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมคนอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถฝึกรับแรงกระแทกทุกรูปแบบด้วยความนิ่งสงบได้ เราก็จะสามารถตอบโต้อย่างสร้างสรรค์และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม เพราะคนบ้าจะโต้ตอบแบบหน้ามืด และคนโง่จะตอบโต้ตอนที่ตัวเองกำลังโกรธ ส่งผลให้ตัวเองและคนอื่นตกตายไปตามกัน หากเรารู้จักนิ่งสงบรับแรงกระแทกต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนพระพุทธรูป ขั้นตอนต่อไปของการตอบโต้จะเกิดจากสติ เกิดจากปัญญา และเกิดจากพลังอันยิ่งใหญ่ที่มาจากใจที่สงบนิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นหรือตัวเอง 5. รอยยิ้มของผู้ที่เข้าใจโลก สุดท้าย คือปริศนาจากพระโอษฐ์ที่แย้มยิ้มอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รักสรรพสิ่ง รักโลก และเข้าใจความจริงของโลก... ความจริงที่ว่า... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรแน่นอน ความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรคงทนถาวรความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง ความสุขและความทุกข์ เป็นของคู่กันเสมอ ฉะนั้น “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง นอกจากนั้นรอยยิ้มของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้มของผู้ที่ถ่อมตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจความยิ่งใหญ่และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ รู้ว่าแม้ตัวเองจะเป็นเพียงเศษผงธุลีหนึ่งในจักรวาล แต่ก็เป็นเศษผงธุลีที่สามารถเข้าใจความจริงของจักรวาลได้ จึงทั้งเป็นสิ่งที่พิเศษและไม่พิเศษ ในเวลาเดียวกัน... อย่าลืมนะ ว่า ในจิตใจของพวกเราทุกคน มีความเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ซ่อนอยู่ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงคำว่า “พระพุทธเจ้า” (ผู้ตื่นรู้) ไม่ใช่ “ชื่อ” แต่เป็น “คำนำหน้าชื่อ” และในอดีตก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ โดยองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดีมีพระนามว่า “โคตมะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขับไล่ความมืด (อวิชชา) ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา” ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถไปถึงจุดของความเป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น หากคนคนนั้นหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญาอยู่เสมอ # ฉะนั้น เมื่อใดที่เราก้มลงกราบพระพุทธรูป นอกจากจะระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าลืมระลึกถึงปรัชญาที่แฝงไว้ด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 383 มุมมอง 0 รีวิว
  • Higher Self คืออะไร
    Higher Self หรือ "ตัวตนสูงสุด" เป็นแนวคิดที่อยู่ในศาสนาและปรัชญาหลายแขนง มักหมายถึงสภาวะที่สูงกว่าของจิตวิญญาณหรือจิตใจ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับความจริงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของตัวเราเอง เป็นสภาวะที่เราสามารถเข้าถึงสติปัญญา ความรัก และความสงบภายในได้มากขึ้น

    การทำงานของ Higher Self
    การเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณ: Higher Self มีบทบาทสำคัญในการช่วยเราค้นพบและเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นการรับรู้ถึงเป้าหมายชีวิตที่แท้จริง หรือความหมายของการดำรงอยู่

    การแนะนำและนำทาง: Higher Self สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำทางหรือที่ปรึกษาที่มีความรู้และปัญญา ซึ่งช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์หรือความกลัว

    การพัฒนาและเติบโตส่วนบุคคล: การทำงานกับ Higher Self ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การควบคุมอารมณ์ การเพิ่มความมั่นใจในตนเอง และการฝึกฝนความเมตตาและการให้อภัย

    การสร้างความสมดุลและความสงบภายใน: Higher Self ช่วยสร้างความสมดุลในชีวิตประจำวัน โดยทำให้เรามีความสงบสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ที่ท้าทาย

    การเชื่อมต่อกับผู้อื่น: เมื่อเราเชื่อมต่อกับ Higher Self เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและมีความหมายกับผู้อื่นได้ดีขึ้น โดยสามารถเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้มากขึ้น

    วิธีการเชื่อมต่อกับ Higher Self
    การทำสมาธิ: การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบและเปิดรับการเชื่อมต่อกับ Higher Self ได้ง่ายขึ้น

    การฝึกจิตวิญญาณ: การฝึกฝนจิตวิญญาณ เช่น การสวดมนต์ การฝึกโยคะ หรือการปฏิบัติธรรม สามารถช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อ

    การเขียนบันทึก: การเขียนบันทึกเป็นวิธีการสะท้อนความคิดและอารมณ์ ซึ่งช่วยให้เราค้นพบและเข้าใจตัวเองในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

    การทำงานกับ Higher Self เป็นการเดินทางที่ไม่สิ้นสุดของการค้นพบและพัฒนาตนเอง ซึ่งสามารถนำไปสู่ชีวิตที่มีความหมายและสมดุลมากขึ้น
    #ใช้ใจนำทาง #higherself #พัฒนาจิต
    #การเดินทางภายใน
    Higher Self คืออะไร Higher Self หรือ "ตัวตนสูงสุด" เป็นแนวคิดที่อยู่ในศาสนาและปรัชญาหลายแขนง มักหมายถึงสภาวะที่สูงกว่าของจิตวิญญาณหรือจิตใจ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับความจริงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของตัวเราเอง เป็นสภาวะที่เราสามารถเข้าถึงสติปัญญา ความรัก และความสงบภายในได้มากขึ้น การทำงานของ Higher Self การเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณ: Higher Self มีบทบาทสำคัญในการช่วยเราค้นพบและเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นการรับรู้ถึงเป้าหมายชีวิตที่แท้จริง หรือความหมายของการดำรงอยู่ การแนะนำและนำทาง: Higher Self สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำทางหรือที่ปรึกษาที่มีความรู้และปัญญา ซึ่งช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์หรือความกลัว การพัฒนาและเติบโตส่วนบุคคล: การทำงานกับ Higher Self ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การควบคุมอารมณ์ การเพิ่มความมั่นใจในตนเอง และการฝึกฝนความเมตตาและการให้อภัย การสร้างความสมดุลและความสงบภายใน: Higher Self ช่วยสร้างความสมดุลในชีวิตประจำวัน โดยทำให้เรามีความสงบสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ที่ท้าทาย การเชื่อมต่อกับผู้อื่น: เมื่อเราเชื่อมต่อกับ Higher Self เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและมีความหมายกับผู้อื่นได้ดีขึ้น โดยสามารถเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้มากขึ้น วิธีการเชื่อมต่อกับ Higher Self การทำสมาธิ: การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบและเปิดรับการเชื่อมต่อกับ Higher Self ได้ง่ายขึ้น การฝึกจิตวิญญาณ: การฝึกฝนจิตวิญญาณ เช่น การสวดมนต์ การฝึกโยคะ หรือการปฏิบัติธรรม สามารถช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อ การเขียนบันทึก: การเขียนบันทึกเป็นวิธีการสะท้อนความคิดและอารมณ์ ซึ่งช่วยให้เราค้นพบและเข้าใจตัวเองในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การทำงานกับ Higher Self เป็นการเดินทางที่ไม่สิ้นสุดของการค้นพบและพัฒนาตนเอง ซึ่งสามารถนำไปสู่ชีวิตที่มีความหมายและสมดุลมากขึ้น #ใช้ใจนำทาง #higherself #พัฒนาจิต #การเดินทางภายใน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 177 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย: บุคคลผู้พร้อมเห็นธรรม

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงบุคคลประเภทหนึ่งว่าเป็น 'ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย' ซึ่งพร้อมที่จะเห็นธรรมะตามความเป็นจริง คำสอนนี้ให้ข้อคิดอันลึกซึ้งเกี่ยวกับการพัฒนาจิตวิญญาณและการเตรียมพร้อมสู่การรู้แจ้ง

    1. ความพร้อมทางจิตวิญญาณ
    'ธุลีในดวงตา' เปรียบเสมือนสิ่งที่บดบังปัญญาไม่ให้เห็นความจริง ผู้ที่มีธุลีน้อยจึงพร้อมที่จะเข้าถึงสัจธรรมได้ง่ายกว่า

    2. การสั่งสมบุญและปัญญา
    การที่บุคคลจะมีธุลีในดวงตาน้อยได้นั้น เกิดจากการสั่งสมบุญและปัญญามาอย่างยาวนาน ผ่านการศึกษาธรรม ละเว้นความชั่ว และทำความดี

    3. การเจริญสติและวิปัสสนา
    การฝึกสติและพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร ช่วยขัดเกลาจิตใจให้ปราศจากความเห็นผิด พร้อมที่จะเห็นความจริง

    4. การละทิฏฐิและอวิชชา
    ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย คือผู้ที่ละความเห็นผิดและอวิชชาได้มาก เหลือเพียงเล็กน้อยที่ยังต้องขัดเกลา

    5. ความพร้อมในการรับธรรม
    บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะเข้าใจธรรมะลึกซึ้งได้ง่าย เมื่อได้ฟังธรรมหรือพิจารณาสภาวธรรม

    6. การพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง
    แม้จะเป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ก็ยังต้องพัฒนาตนต่อไป เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

    7. โอกาสในการบรรลุธรรม
    ผู้มีธุลีในดวงตาน้อยมีโอกาสสูงที่จะบรรลุธรรมในชาตินี้ หากได้พบกับกัลยาณมิตรและได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง

    8. การเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
    บุคคลเหล่านี้สามารถเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมและพัฒนาจิตใจ

    คำสอนนี้ของพระพุทธเจ้าให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมว่า ความพยายามในการละชั่ว ทำดี และชำระจิตใจนั้นไม่สูญเปล่า แต่เป็นการสั่งสมความพร้อมที่จะเห็นธรรม แม้เราอาจไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในระดับใด แต่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องย่อมนำเราเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นทุกขณะ

    ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตใจ และสั่งสมบุญปัญญา เพื่อให้เป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อยลง พร้อมที่จะเห็นธรรมและเข้าถึงความจริงอันประเสริฐ"
    "ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย: บุคคลผู้พร้อมเห็นธรรม พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงบุคคลประเภทหนึ่งว่าเป็น 'ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย' ซึ่งพร้อมที่จะเห็นธรรมะตามความเป็นจริง คำสอนนี้ให้ข้อคิดอันลึกซึ้งเกี่ยวกับการพัฒนาจิตวิญญาณและการเตรียมพร้อมสู่การรู้แจ้ง 1. ความพร้อมทางจิตวิญญาณ 'ธุลีในดวงตา' เปรียบเสมือนสิ่งที่บดบังปัญญาไม่ให้เห็นความจริง ผู้ที่มีธุลีน้อยจึงพร้อมที่จะเข้าถึงสัจธรรมได้ง่ายกว่า 2. การสั่งสมบุญและปัญญา การที่บุคคลจะมีธุลีในดวงตาน้อยได้นั้น เกิดจากการสั่งสมบุญและปัญญามาอย่างยาวนาน ผ่านการศึกษาธรรม ละเว้นความชั่ว และทำความดี 3. การเจริญสติและวิปัสสนา การฝึกสติและพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร ช่วยขัดเกลาจิตใจให้ปราศจากความเห็นผิด พร้อมที่จะเห็นความจริง 4. การละทิฏฐิและอวิชชา ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย คือผู้ที่ละความเห็นผิดและอวิชชาได้มาก เหลือเพียงเล็กน้อยที่ยังต้องขัดเกลา 5. ความพร้อมในการรับธรรม บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะเข้าใจธรรมะลึกซึ้งได้ง่าย เมื่อได้ฟังธรรมหรือพิจารณาสภาวธรรม 6. การพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ก็ยังต้องพัฒนาตนต่อไป เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น 7. โอกาสในการบรรลุธรรม ผู้มีธุลีในดวงตาน้อยมีโอกาสสูงที่จะบรรลุธรรมในชาตินี้ หากได้พบกับกัลยาณมิตรและได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง 8. การเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น บุคคลเหล่านี้สามารถเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมและพัฒนาจิตใจ คำสอนนี้ของพระพุทธเจ้าให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมว่า ความพยายามในการละชั่ว ทำดี และชำระจิตใจนั้นไม่สูญเปล่า แต่เป็นการสั่งสมความพร้อมที่จะเห็นธรรม แม้เราอาจไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในระดับใด แต่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องย่อมนำเราเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นทุกขณะ ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตใจ และสั่งสมบุญปัญญา เพื่อให้เป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อยลง พร้อมที่จะเห็นธรรมและเข้าถึงความจริงอันประเสริฐ"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 153 มุมมอง 0 รีวิว