• ถ้ำกระแซ ทางรถไฟสายมรณะ ที่เที่ยวกาญจนบุรี สุดหวาดเสียวว
    ถ้ำกระแซ
    ต.วังโพธิ์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

    สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของกาญจนบุรี ที่ห้ามพลาด คือ ถ้ำกระแซ เพราะตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตก เป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา

    หลังจากรถไฟเทียบชานชาลาที่ สถานี ถ้ำกระแซ กาญจนบุรี ความตื่นเต้นที่หายไปนานด้วยความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ได้กลับมาให้หัวใจได้เต้นตูมตามอีกครั้ง กลิ่นใบไม้ ใบหญ้า กลิ่นดินจากความสดชื่นของป่าใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทยช่วยดีท็อกซ์ความเหนื่อยล้าให้หายเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว

    ลังจากรถไฟทิ้งสถานีมุ่งหน้าเดินทางต่อไป ความคึกครื้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติก็เริ่มกลับมา เราเดินมุ่งหน้าไปที่ ถ้ำกระแซ ค่ะ ซึ่งถ้ำนี้เคยเป็น ที่พักของเชลยศึก เมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า และภายในถ้ำยังมี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ด้วย ความรู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเมื่อได้ไปเหยียบสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก

    หลังจากเดินชมถ้ำกระแซเรียบร้อย ขอไปถ่ายรูปสวยๆ ที่รางรถไฟดูบ้าง ตรงจุดนี้คือจุดที่เรียกว่า ทางรถไฟสายมรณะ ค่ะ ถือว่าเป็นจุดที่สวยที่สุด และอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟ ด้วยความสูงมากๆ และติดเลียบหน้าผาทำให้เสียวสันหลังเล็กๆ มองลงไปด้านล่างทำเอาเข่าเกือบทรุด เพราะเป็นแม่น้ำแควที่ไหลเอื่อยๆ อย่างสงบ แต่ก็ต้องใจกล้าค่ะ เพราะอยากได้ภาพสวยๆ กลับมาเป็นที่ระลึกอีกด้วย
    ถ้ำกระแซ ทางรถไฟสายมรณะ ที่เที่ยวกาญจนบุรี สุดหวาดเสียวว ถ้ำกระแซ ต.วังโพธิ์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของกาญจนบุรี ที่ห้ามพลาด คือ ถ้ำกระแซ เพราะตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตก เป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา หลังจากรถไฟเทียบชานชาลาที่ สถานี ถ้ำกระแซ กาญจนบุรี ความตื่นเต้นที่หายไปนานด้วยความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ได้กลับมาให้หัวใจได้เต้นตูมตามอีกครั้ง กลิ่นใบไม้ ใบหญ้า กลิ่นดินจากความสดชื่นของป่าใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทยช่วยดีท็อกซ์ความเหนื่อยล้าให้หายเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว ลังจากรถไฟทิ้งสถานีมุ่งหน้าเดินทางต่อไป ความคึกครื้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติก็เริ่มกลับมา เราเดินมุ่งหน้าไปที่ ถ้ำกระแซ ค่ะ ซึ่งถ้ำนี้เคยเป็น ที่พักของเชลยศึก เมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า และภายในถ้ำยังมี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ด้วย ความรู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเมื่อได้ไปเหยียบสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก หลังจากเดินชมถ้ำกระแซเรียบร้อย ขอไปถ่ายรูปสวยๆ ที่รางรถไฟดูบ้าง ตรงจุดนี้คือจุดที่เรียกว่า ทางรถไฟสายมรณะ ค่ะ ถือว่าเป็นจุดที่สวยที่สุด และอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟ ด้วยความสูงมากๆ และติดเลียบหน้าผาทำให้เสียวสันหลังเล็กๆ มองลงไปด้านล่างทำเอาเข่าเกือบทรุด เพราะเป็นแม่น้ำแควที่ไหลเอื่อยๆ อย่างสงบ แต่ก็ต้องใจกล้าค่ะ เพราะอยากได้ภาพสวยๆ กลับมาเป็นที่ระลึกอีกด้วย
    0 Comments 0 Shares 168 Views 0 Reviews
  • ฮวงจุ้ยห้องนอนที่ดี
    มืด,เงียบ,สะอาด,เย็น
    ไม่เอาสิ่งของ ตู้เสื้อผ้าไปเก็บไว้ในห้องนอน
    ห้องนอนให้มีแค่เตียงนอน พัดลม แอร์ เครื่องฟอกอากาศ เพลงกล่อมนอนเท่านั้น
    ประตูห้องนอนไม่ตรงกับบันไดลงชั้นล่าง จะเก็บเงินทองไม่อยู่
    เปิดประตูเข้าห้องนอน ไม่ตรงประตูห้องนำ้,ประตูระเบียง เงินทองจะไม่เหลือเก็บ
    ห้ามมีกระจกเงาส่องตรงไปถูกเตียงนอน จะเจ็บป่วยตรงที่กระจกส่องถูก
    เตียงนอนไม่วางขวางทิศทางประตู
    เตียงนอนไม่อยู่ใต้คาน ใต้โคมระย้า
    ไม่ตั้งชุดรับแขกไว้ในห้องนอน
    ไม่ทำห้องนำ้แบบเปิดโล่งในห้องนอน
    ไม่ทำห้องนำ้ใหญ่กว่าในห้องนอน
    ไม่นำโต๊ะหมู่บูชา หรือพระพุทธรูปไว้ในห้องนอน
    ฮวงจุ้ยห้องนอนที่ดี มืด,เงียบ,สะอาด,เย็น ไม่เอาสิ่งของ ตู้เสื้อผ้าไปเก็บไว้ในห้องนอน ห้องนอนให้มีแค่เตียงนอน พัดลม แอร์ เครื่องฟอกอากาศ เพลงกล่อมนอนเท่านั้น ประตูห้องนอนไม่ตรงกับบันไดลงชั้นล่าง จะเก็บเงินทองไม่อยู่ เปิดประตูเข้าห้องนอน ไม่ตรงประตูห้องนำ้,ประตูระเบียง เงินทองจะไม่เหลือเก็บ ห้ามมีกระจกเงาส่องตรงไปถูกเตียงนอน จะเจ็บป่วยตรงที่กระจกส่องถูก เตียงนอนไม่วางขวางทิศทางประตู เตียงนอนไม่อยู่ใต้คาน ใต้โคมระย้า ไม่ตั้งชุดรับแขกไว้ในห้องนอน ไม่ทำห้องนำ้แบบเปิดโล่งในห้องนอน ไม่ทำห้องนำ้ใหญ่กว่าในห้องนอน ไม่นำโต๊ะหมู่บูชา หรือพระพุทธรูปไว้ในห้องนอน
    0 Comments 0 Shares 160 Views 0 Reviews
  • #บาลีวันละคำ (4,534)

    สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร

    อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม

    (๑) “สีสะ”

    เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก -

    (1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย

    : สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร)

    (2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี)

    : สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย”

    “สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -

    (1) ศีรษะ (the head [of the body])
    (2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front)
    (3) ข้อสำคัญ (chief point)
    (4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops])
    (5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject])

    บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ”
    สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
    (สะกดตามต้นฉบับ)

    “ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.”

    ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ -

    (1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ).

    (2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส)

    โปรดสังเกตว่า -

    “สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส
    “ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร
    ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ

    (๒) “สิระ”

    เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย

    : สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่”

    “สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง -

    (1) ศีรษะหรือหัว (head)
    (2) ยอดไม้, ปลาย (tip)

    บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ”
    สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ -
    (สะกดตามต้นฉบับ)

    “ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.”

    “สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร”

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ -

    (1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).

    (2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).

    (3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.

    อภิปราย :

    บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า -

    “สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ”
    “สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร”

    ..............

    ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า -

    ..............

    อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง

    ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ

    ..............

    ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง

    ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้

    ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย

    ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

    ..............

    ดูก่อนภราดา!

    เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม

    : ของยิ่งสูงมาก
    : ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก
    พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
    #บาลีวันละคำ (4,534) สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร อย่าเอาของสูงมาทำให้ใจเสื่อม (๑) “สีสะ” เขียนแบบบาลีเป็น “สีส” อ่านว่า สี-สะ รากศัพท์มาจาก - (1) สี (ธาตุ = อยู่, นอน) + ส ปัจจัย : สี + ส = สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่อยู่ของเหาเป็นต้น” (คำแปลนี้เป็นอันแสดงความจริงว่า คนโบราณบนหัวต้องมีเหา คนสมัยใหม่ที่มีวิธีรักษาความสะอาดของหัวเป็นอย่างดีย่อมนึกไม่เห็นว่า “ศีรษะ” จะแปลอย่างนี้ได้อย่างไร) (2) สิ (ธาตุ = ผูก) + ส ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี) : สิ + ส = สิส > สีส แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ผูกผมโดยเกล้าเป็นมวย” “สีส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ - (1) ศีรษะ (the head [of the body]) (2) ส่วนสูงที่สุด, ยอด, ข้างหน้า (highest part, top, front) (3) ข้อสำคัญ (chief point) (4) ดอก, รวง (ของข้าวหรือพืช) (panicle, ear [of rice or crops]) (5) หัว, หัวข้อ (เป็นข้อย่อยของเรื่อง) (head, heading [as subdivision of a subject]) บาลี “สีส” สันสกฤตเป็น “ศีรฺษ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า - (สะกดตามต้นฉบับ) “ศีรฺษ : (คำนาม) ‘ศีร์ษะ,’ ศิรัส, เศียร, หัว; the head.” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สีสะ” ตามบาลี และ “ศีรษะ” ตามสันสกฤต บอกไว้ดังนี้ - (1) สีสะ ๒ : (คำนาม) ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ). (2) ศีรษะ : (คำนาม) หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส) โปรดสังเกตว่า - “สีส” บาลี สระ อี อยู่บน ส “ศีรฺษ” สันสกฤต สระ อี ก็อยู่บน ศ ไม่ได้อยู่บน ร ดังนั้น เมื่อเขียนในภาษาไทย จึงเป็น “ศีรษะ” - สระ อี อยู่บน ศ (๒) “สิระ” เขียนแบบบาลีเป็น “สิร” อ่านว่า สิ-ระ รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา, ผูก) + ร ปัจจัย : สิ + ร = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” คือใช้ก้มยอมรับกัน (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” (3) “ส่วนอันดอกไม้ติดอยู่” “สิร” (ปุงลิงค์) หมายถึง - (1) ศีรษะหรือหัว (head) (2) ยอดไม้, ปลาย (tip) บาลี “สิร” สันสกฤตเป็น “ศิรสฺ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอไว้ดังนี้ - (สะกดตามต้นฉบับ) “ศิรสฺ : (คำนาม) 'ศิรัส,' เศียร, ศิร์ษะ; ยอตไม้; อัครภาคหรือเสนามุข; อธิบดีหรือนายก; the head; the top of a tree; the van of an army; a chief.” “สิร” บาลี “ศิรสฺ” สันสกฤต ไทยเอามาใช้เป็น “เศียร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิระ” ตามบาลี “ศิระ” อิงสันสกฤต และ “เศียร” แบบไทย บอกไว้ดังนี้ - (1) สิร-, สิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา). (2) ศิร-, ศิระ : (คำนาม) หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร). (3) เศียร : (คำนาม) หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร. อภิปราย : บาลีวันละคำวันนี้ยกคำขึ้นตั้งว่า “สีสะ ศีรษะ สิระ เศียร” มีเจตนาจะบอกว่า - “สีสะ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศีรษะ” “สิระ” ในบาลี เราเอามาใช้อิงสันสกฤตเป็น “เศียร” .............. ที่ยกคำนี้ขึ้นมาเขียน ได้แรงบันดาลใจจากภาพประกอบโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ข้อความในโพสต์ท่านเขียนไว้ว่า - .............. อยากให้แม่ค้าพินิจพิเคราะห์ให้ดี ก่อนที่จะนำสินค้าใด ๆ ก็ตามที่สื่อถึงพระศาสดา มาจัดจำหน่าย ไม่ว่าศาสดาของศาสนาไหนก็ตาม เช่นสินค้าชุดนี้ เป็นสินค้าที่สื่อถึงพระเศียรขององค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาห้อยกระเป๋าหรือพวงกุญแจ ไม่เหมาะโดยประการทั้งปวง กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่ง ที่ผ่านมา พศ ทำได้เพียงขอความร่วมมือ .............. ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความที่ท่านเขียนไว้นั้น ขอเป็นสื่อสารถ่ายทอดอีกทางหนึ่ง ผู้เขียนบาลีวันละคำมีข้อสังเกตว่า ในเมืองไทยของเรานี้ ศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่คนประเภทหนึ่งกล้านำมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้ ยังไม่เคยเห็นคนประเภทนี้นำศาสนบุคคลและศาสนวัตถุในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมาเหยียบย่ำ เย้ยหยัน ล้อเล่น หรือปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง .............. ดูก่อนภราดา! เอาของสูงมาทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม : ของยิ่งสูงมาก : ใจของผู้ทำก็ยิ่งต่ำมาก พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
    0 Comments 0 Shares 223 Views 0 Reviews
  • #งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี๒๕๖๗

    ขอเชิญเที่ยวงานนมัสการ
    #องค์พระปฐมเจดีย์ ประจำปี ๒๕๖๗
    ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม
    #งานประจำปี ๙ วัน ๙ คืน ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
    #งานออกร้าน ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน - ๘ ธันวาคม ๒๕๖๗

    นอกจากนี้
    เชิญชวนนมัสการและสักการะ
    ปูชนียวัตถุสถานภายในพระอาราม
    อาทิ...
    ● พระบรมสารีริกธาตุ
    ● พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์ ฉลอง ๑๐๙ ปี (๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๘-๒๕๖๗) หน้าพระเจดีย์ด้านทิศเหนือ
    ● พระพุทธรูปศิลาขาว (ศิลปะทวารวดี) พระประธานในพระอุโบสถ
    ● พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร หน้าพระวิหารทิศใต้
    ● พระพุทธสิหิงค์จำลอง บนองค์พระเจดีย์
    ● พระพุทธรูปปางโปรดปัญจวัคคีย์ ในพระวิหารทิศใต้
    ● พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก
    ● พระพุทธไสยาสน์ ในพระวิหารทิศตะวันตก
    ● พระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
    ● พระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พร้อมด้วยพระสรีรางคาร พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ และพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งประดิษฐานไว้ที่ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่พระวิหารทิศเหนือ

    และเยี่ยมชม
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
    ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ขวาพระ)
    ภายนอกตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม
    #งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี๒๕๖๗ ขอเชิญเที่ยวงานนมัสการ #องค์พระปฐมเจดีย์ ประจำปี ๒๕๖๗ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม ● #งานประจำปี ๙ วัน ๙ คืน ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ● #งานออกร้าน ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน - ๘ ธันวาคม ๒๕๖๗ นอกจากนี้ เชิญชวนนมัสการและสักการะ ปูชนียวัตถุสถานภายในพระอาราม อาทิ... ● พระบรมสารีริกธาตุ ● พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์ ฉลอง ๑๐๙ ปี (๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๘-๒๕๖๗) หน้าพระเจดีย์ด้านทิศเหนือ ● พระพุทธรูปศิลาขาว (ศิลปะทวารวดี) พระประธานในพระอุโบสถ ● พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร หน้าพระวิหารทิศใต้ ● พระพุทธสิหิงค์จำลอง บนองค์พระเจดีย์ ● พระพุทธรูปปางโปรดปัญจวัคคีย์ ในพระวิหารทิศใต้ ● พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก ● พระพุทธไสยาสน์ ในพระวิหารทิศตะวันตก ● พระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ ● พระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พร้อมด้วยพระสรีรางคาร พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ และพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งประดิษฐานไว้ที่ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่พระวิหารทิศเหนือ และเยี่ยมชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ขวาพระ) ภายนอกตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม
    0 Comments 0 Shares 225 Views 0 Reviews
  • 7/11/67

    “ปริศนาจากพระพุทธรูป"

    คงไม่มีใครไม่เคยเห็นพระพุทธรูป แต่คงจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ลักษณะของพระพุทธรูปที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งนั้น แฝงข้อคิดอันประเสริฐสุดในชีวิตเอาไว้ ถึง 5 ประการ
    คือ

    1. พระเศียรแหลม

    มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม

    พระเศียรแหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต สอนให้เราใช้ชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์

    ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แล้วความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย หรือแม้มันเกิดขึ้น เราก็จะเรียนรู้จากมันได้อย่างรวดเร็ว

    ปัญญาคือ ที่สุดแห่งธรรม หากมีปัญญา ชีวิตจะไม่มีปัญหา เพราะทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจิตใจได้เสมอ

    2. พระกรรณยาน

    หูยานเป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย แล้วจึงเชื่อในหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ตัวเองได้นำไปทดสอบแล้ว

    เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าสุดท้าย คน ๆเดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือ ตัวเราเอง และ ชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด คำพูด และการกระทำของเราเองฉะนั้น ในการใช้ชีวิต ให้มีความสุขุมเยือกเย็น มีสติ และ มีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจไปยึดตามสิ่งที่ได้ยิน เชื่อตามคนอื่น หรือตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นจนเกินไป ลองพิสูจน์สิ่งต่าง ๆด้วยตัวเองเสียก่อนจะเชื่อ ตามหลัก “กาลามสูตร” เพื่อฝึกฝนการเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ดั่งองค์พระพุทธฯ

    3. พระเนตรมองต่ำ

    พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ ไม่ได้มองดูหน้าต่าง หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี่เป็นปริศนาธรรม

    สอนให้มองตนเองและพิจารณาตนเองเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อนจะไปคอยจับผิดผู้อื่น ตามปกติคนเรามักจะมองเห็นแต่ความผิดพลาดของบุคคลอื่น โดยลืมมองข้อบกพร่องของตนเอง มัวแต่เอาเวลาไปนินทาว่าร้ายและจ้องแต่จะคอยวิจารณ์หรือเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างอย่างเดียว ทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า

    “อตฺตนา โจทยตฺตาน”

    ซึ่งแปลเป็นกลอนได้ว่า...

    “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
    ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
    ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน
    ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย”

    นอกจากนั้น พระเนตรที่มองต่ำคือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อมองฟ้าจนฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือ มัวหลงล่องลอยอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมา ตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด... กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก... เพราะนั่นคือ ดินแดนแห่งสวรรค์ที่แท้จริง”

    4. พระพักตร์อันสงบนิ่ง

    ไม่ว่าใครจะด่าว่าพระพุทธรูปอย่างไร ท่านก็ยังสงบนิ่ง ไม่ว่าน้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว หรือใครจะเตะ ต่อย นินทา หรือทำร้ายพระพุทธรูปมากแค่ไหน ท่านก็นิ่งสงบรับแรงกระทบต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างมั่นคง เบิกบาน และไม่หวั่นไหวไปกับปัญหาทั้งเล็กและใหญ่

    ให้ความรู้สึกเย็นสบายต่อผู้พบเห็นอยู่เสมอ ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมคนอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถฝึกรับแรงกระแทกทุกรูปแบบด้วยความนิ่งสงบได้ เราก็จะสามารถตอบโต้อย่างสร้างสรรค์และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม เพราะคนบ้าจะโต้ตอบแบบหน้ามืด และคนโง่จะตอบโต้ตอนที่ตัวเองกำลังโกรธ ส่งผลให้ตัวเองและคนอื่นตกตายไปตามกัน

    หากเรารู้จักนิ่งสงบรับแรงกระแทกต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนพระพุทธรูป ขั้นตอนต่อไปของการตอบโต้จะเกิดจากสติ เกิดจากปัญญา และเกิดจากพลังอันยิ่งใหญ่ที่มาจากใจที่สงบนิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นหรือตัวเอง

    5. รอยยิ้มของผู้ที่เข้าใจโลก

    สุดท้าย คือปริศนาจากพระโอษฐ์ที่แย้มยิ้มอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รักสรรพสิ่ง รักโลก และเข้าใจความจริงของโลก...

    ความจริงที่ว่า... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรแน่นอน
    ความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรคงทนถาวรความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง

    ความสุขและความทุกข์ เป็นของคู่กันเสมอ ฉะนั้น

    “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง

    นอกจากนั้นรอยยิ้มของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้มของผู้ที่ถ่อมตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจความยิ่งใหญ่และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ รู้ว่าแม้ตัวเองจะเป็นเพียงเศษผงธุลีหนึ่งในจักรวาล แต่ก็เป็นเศษผงธุลีที่สามารถเข้าใจความจริงของจักรวาลได้ จึงทั้งเป็นสิ่งที่พิเศษและไม่พิเศษ ในเวลาเดียวกัน...

    อย่าลืมนะ ว่า ในจิตใจของพวกเราทุกคน มีความเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ซ่อนอยู่ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงคำว่า “พระพุทธเจ้า” (ผู้ตื่นรู้) ไม่ใช่ “ชื่อ” แต่เป็น “คำนำหน้าชื่อ”

    และในอดีตก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ โดยองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดีมีพระนามว่า

    “โคตมะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขับไล่ความมืด (อวิชชา) ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา”

    ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
    ไม่ว่าใครก็สามารถไปถึงจุดของความเป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น หากคนคนนั้นหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญาอยู่เสมอ

    # ฉะนั้น เมื่อใดที่เราก้มลงกราบพระพุทธรูป นอกจากจะระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าลืมระลึกถึงปรัชญาที่แฝงไว้ด้วย
    7/11/67 “ปริศนาจากพระพุทธรูป" คงไม่มีใครไม่เคยเห็นพระพุทธรูป แต่คงจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ลักษณะของพระพุทธรูปที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งนั้น แฝงข้อคิดอันประเสริฐสุดในชีวิตเอาไว้ ถึง 5 ประการ คือ 1. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม พระเศียรแหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต สอนให้เราใช้ชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แล้วความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย หรือแม้มันเกิดขึ้น เราก็จะเรียนรู้จากมันได้อย่างรวดเร็ว ปัญญาคือ ที่สุดแห่งธรรม หากมีปัญญา ชีวิตจะไม่มีปัญหา เพราะทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจิตใจได้เสมอ 2. พระกรรณยาน หูยานเป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย แล้วจึงเชื่อในหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ตัวเองได้นำไปทดสอบแล้ว เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าสุดท้าย คน ๆเดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือ ตัวเราเอง และ ชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด คำพูด และการกระทำของเราเองฉะนั้น ในการใช้ชีวิต ให้มีความสุขุมเยือกเย็น มีสติ และ มีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจไปยึดตามสิ่งที่ได้ยิน เชื่อตามคนอื่น หรือตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นจนเกินไป ลองพิสูจน์สิ่งต่าง ๆด้วยตัวเองเสียก่อนจะเชื่อ ตามหลัก “กาลามสูตร” เพื่อฝึกฝนการเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ดั่งองค์พระพุทธฯ 3. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ ไม่ได้มองดูหน้าต่าง หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี่เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองและพิจารณาตนเองเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อนจะไปคอยจับผิดผู้อื่น ตามปกติคนเรามักจะมองเห็นแต่ความผิดพลาดของบุคคลอื่น โดยลืมมองข้อบกพร่องของตนเอง มัวแต่เอาเวลาไปนินทาว่าร้ายและจ้องแต่จะคอยวิจารณ์หรือเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างอย่างเดียว ทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า “อตฺตนา โจทยตฺตาน” ซึ่งแปลเป็นกลอนได้ว่า... “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย” นอกจากนั้น พระเนตรที่มองต่ำคือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อมองฟ้าจนฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือ มัวหลงล่องลอยอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมา ตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด... กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก... เพราะนั่นคือ ดินแดนแห่งสวรรค์ที่แท้จริง” 4. พระพักตร์อันสงบนิ่ง ไม่ว่าใครจะด่าว่าพระพุทธรูปอย่างไร ท่านก็ยังสงบนิ่ง ไม่ว่าน้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว หรือใครจะเตะ ต่อย นินทา หรือทำร้ายพระพุทธรูปมากแค่ไหน ท่านก็นิ่งสงบรับแรงกระทบต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างมั่นคง เบิกบาน และไม่หวั่นไหวไปกับปัญหาทั้งเล็กและใหญ่ ให้ความรู้สึกเย็นสบายต่อผู้พบเห็นอยู่เสมอ ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมคนอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถฝึกรับแรงกระแทกทุกรูปแบบด้วยความนิ่งสงบได้ เราก็จะสามารถตอบโต้อย่างสร้างสรรค์และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม เพราะคนบ้าจะโต้ตอบแบบหน้ามืด และคนโง่จะตอบโต้ตอนที่ตัวเองกำลังโกรธ ส่งผลให้ตัวเองและคนอื่นตกตายไปตามกัน หากเรารู้จักนิ่งสงบรับแรงกระแทกต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนพระพุทธรูป ขั้นตอนต่อไปของการตอบโต้จะเกิดจากสติ เกิดจากปัญญา และเกิดจากพลังอันยิ่งใหญ่ที่มาจากใจที่สงบนิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นหรือตัวเอง 5. รอยยิ้มของผู้ที่เข้าใจโลก สุดท้าย คือปริศนาจากพระโอษฐ์ที่แย้มยิ้มอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รักสรรพสิ่ง รักโลก และเข้าใจความจริงของโลก... ความจริงที่ว่า... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรแน่นอน ความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรคงทนถาวรความจริงที่ว่า... ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง ความสุขและความทุกข์ เป็นของคู่กันเสมอ ฉะนั้น “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง นอกจากนั้นรอยยิ้มของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้มของผู้ที่ถ่อมตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจความยิ่งใหญ่และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ รู้ว่าแม้ตัวเองจะเป็นเพียงเศษผงธุลีหนึ่งในจักรวาล แต่ก็เป็นเศษผงธุลีที่สามารถเข้าใจความจริงของจักรวาลได้ จึงทั้งเป็นสิ่งที่พิเศษและไม่พิเศษ ในเวลาเดียวกัน... อย่าลืมนะ ว่า ในจิตใจของพวกเราทุกคน มีความเป็นพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ซ่อนอยู่ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงคำว่า “พระพุทธเจ้า” (ผู้ตื่นรู้) ไม่ใช่ “ชื่อ” แต่เป็น “คำนำหน้าชื่อ” และในอดีตก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ โดยองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดีมีพระนามว่า “โคตมะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขับไล่ความมืด (อวิชชา) ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา” ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถไปถึงจุดของความเป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น หากคนคนนั้นหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญาอยู่เสมอ # ฉะนั้น เมื่อใดที่เราก้มลงกราบพระพุทธรูป นอกจากจะระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าลืมระลึกถึงปรัชญาที่แฝงไว้ด้วย
    0 Comments 0 Shares 394 Views 0 Reviews
  • ทอดถวายกฐินสามัคคี ประจำปี 2567
    เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่
    พร้อมอาคารพิพิธภัณฑ์
    ในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567
    ณ วัดป่าภูแปก ญาณสมฺปนฺโน บ้านกกบก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    ทอดถวายกฐินสามัคคี ประจำปี 2567 เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่ พร้อมอาคารพิพิธภัณฑ์ ในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 ณ วัดป่าภูแปก ญาณสมฺปนฺโน บ้านกกบก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    Like
    Love
    14
    2 Comments 0 Shares 302 Views 1 Reviews
  • ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก
    .
    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
    .
    ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก
    .
    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562
    .
    พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้
    .
    "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค"
    .
    สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
    .
    โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา
    .
    นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535
    .
    ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
    ..............
    Sondhi X
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก . เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 . ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก . สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562 . พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้ . "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" . สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร . โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา . นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535 . ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ .............. Sondhi X
    Like
    Love
    7
    0 Comments 0 Shares 903 Views 0 Reviews
  • **มี 70 เหรียญ**
    #เหรียญดี ปีลึก
    #ในหลวงร.9 ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง
    พระปางลีลา"พระพุทธอภัยมงคลสมังคี " เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะตามพระราชวินิจฉัยของในหลวง ร๙.และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พร้อมพระบรมราชวงศ์จักรี
    เสด็จพระราชดำเนินพิธี วางศิลาฤกษ์ พิธีพุทธาภิเษกวัดญาณสังวรารามฯจ.ชลบุรีปี 2525
    เนื้อทองแดง สภาพไม่ผ่านการใช้ ผิวเดิมๆ อยู่ในซีลเดิมคู่ตัวสมบูรณ์ ทุกเหรียญ รับประกันแท้ 100% ครับเปิดบูชาเพียง
    **เหรียญละ 119บ.**
    **ส่งems 50.**
    **โทร 085-5494951**
    **id : pookui*
    **มี 70 เหรียญ** #เหรียญดี ปีลึก #ในหลวงร.9 ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง พระปางลีลา"พระพุทธอภัยมงคลสมังคี " เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะตามพระราชวินิจฉัยของในหลวง ร๙.และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พร้อมพระบรมราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชดำเนินพิธี วางศิลาฤกษ์ พิธีพุทธาภิเษกวัดญาณสังวรารามฯจ.ชลบุรีปี 2525 เนื้อทองแดง สภาพไม่ผ่านการใช้ ผิวเดิมๆ อยู่ในซีลเดิมคู่ตัวสมบูรณ์ ทุกเหรียญ รับประกันแท้ 100% ครับเปิดบูชาเพียง **เหรียญละ 119บ.** **ส่งems 50.** **โทร 085-5494951** **id : pookui*
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 67 Views 0 Reviews
  • บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม
    กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง

    1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘)
    มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘

    2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์
    ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ

    3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ
    ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง

    4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ
    1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล
    2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
    3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต
    พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน
    ดังข้อความว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
    ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
    คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า

    5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ
    “ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ;
    เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
    "พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม
    ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ
    การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์

    6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้
    ๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี
    เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
    "อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ."
    วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙.
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8

    ๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
    สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
    (วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.)

    วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ
    (๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช)

    7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร
    เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
    (ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.)

    8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน
    โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น
    จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ

    9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า
    “อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์
    วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20
    หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด

    10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า
    “ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
    คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก .
    ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง
    ๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
    ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ
    ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
    ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
    อธิบายความ
    1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
    2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา
    3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ
    4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)

    11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม

    12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ
    ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า
    “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
    “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
    (ที.มหา.10/134/78.)
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
    คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน
    ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้

    13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ
    ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต
    ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น.

    14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา
    ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย

    15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด
    การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่
    (มี ต่อ 16-18)

    อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
    บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง 1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘) มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘ 2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์ ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ 3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง 4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ 1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล 2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล 3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า 5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ “ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ; เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ. "พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์ 6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้ ๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด "อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ." วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8 ๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล” (วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.) วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ (๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช) 7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” (ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.) 8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ 9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า “อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์ วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20 หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด 10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า “ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม; คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก . ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง ๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม อธิบายความ 1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓) 2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา 3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ 4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓) 11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม 12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” (ที.มหา.10/134/78.) https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3 คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้ 13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น. 14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย 15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่ (มี ต่อ 16-18) อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
    0 Comments 0 Shares 513 Views 0 Reviews
  • ⭐️อานิสงส์ถวายข้าวเพื่อบูชาพระ

    ผู้ถาม : “ถวายข้าวพระพุทธรูป กับ ถวายข้าวพระสงฆ์ อย่างไหนมีอานิสงส์มากกว่ากันคะ.?”

    หลวงพ่อ : “การถวายข้าวพระพุทธรูป ถ้าเป็นเจตนาเพื่อเป็นพุทธบูชาจริง ก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจถวายพระสงฆ์และตั้งใจถวายจริงๆ เป็นวัตถุทานด้วย เป็นสังฆานุสสติกรรมฐานด้วย

    แต่อย่าลืมนะว่า ถวายแก่พระพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากกว่าถวายพระสงฆ์เยอะ แต่ว่าเวลานี้ถ้าไม่ถวายพระสงฆ์ เกิดไปชาติหน้าอดข้าว เดี๋ยวหนูเกิดไปชาติหน้า ถ้าพูดเขาไม่ให้กิน ต้องนั่งเฉยๆ เดี๋ยวเขาก็ให้กิน”

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ : “ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชาเฉยๆ ยังไม่ถือเป็นทาน เราจะมีทรัพย์สิน มีเสื้อสวม มีผ้านุ่ง มีบ้านอยู่ นั่นเป็นอานิสงส์ของทาน การให้ ถ้าเราบูชาพระพุทธเจ้า จัดเป็นพุทธบูชาเฉยๆ นึกถึงความดีท่าน ไม่ถือว่าเป็นทาน อานิสงส์ได้คนละอย่าง

    “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต” การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชมีอำนาจมาก นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม มีรัศมีกายสว่างไสวมาก เทวดาหรือพรหมนี่เขาไม่ดูเครื่องแต่งตัว เขาดูแสงสว่างออกจากกาย

    “ธัมมบูชา มหาปัญโญ” การบูชาพระธรรม มีปัญญามาก คือใคร่ครวญในพระธรรมจนเกิดปัญญา จิตเป็นสมาธิ

    “สังฆบูชา มหาโภคะวะโห” สงเคราะห์พระสงฆ์ เกิดไปรวยมาก เพราะเราใช้วัตถุเป็นเครื่องหมาย

    อานิสงส์ต่านกัน แต่ต้องทำ 3 อย่าง ไม่งั้นหลวงพ่ออด”

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    📚จาก : หนังสือ หลวงพ่อ ตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๔ หน้า ๓๘ โดย ⭐️หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) วัดจันทาราม(ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
    ✨เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    🖊️พิมพ์ธรรมทาน นภา อิน
    ⭐️อานิสงส์ถวายข้าวเพื่อบูชาพระ ผู้ถาม : “ถวายข้าวพระพุทธรูป กับ ถวายข้าวพระสงฆ์ อย่างไหนมีอานิสงส์มากกว่ากันคะ.?” หลวงพ่อ : “การถวายข้าวพระพุทธรูป ถ้าเป็นเจตนาเพื่อเป็นพุทธบูชาจริง ก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจถวายพระสงฆ์และตั้งใจถวายจริงๆ เป็นวัตถุทานด้วย เป็นสังฆานุสสติกรรมฐานด้วย แต่อย่าลืมนะว่า ถวายแก่พระพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากกว่าถวายพระสงฆ์เยอะ แต่ว่าเวลานี้ถ้าไม่ถวายพระสงฆ์ เกิดไปชาติหน้าอดข้าว เดี๋ยวหนูเกิดไปชาติหน้า ถ้าพูดเขาไม่ให้กิน ต้องนั่งเฉยๆ เดี๋ยวเขาก็ให้กิน” ผู้ถาม : (หัวเราะ) หลวงพ่อ : “ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชาเฉยๆ ยังไม่ถือเป็นทาน เราจะมีทรัพย์สิน มีเสื้อสวม มีผ้านุ่ง มีบ้านอยู่ นั่นเป็นอานิสงส์ของทาน การให้ ถ้าเราบูชาพระพุทธเจ้า จัดเป็นพุทธบูชาเฉยๆ นึกถึงความดีท่าน ไม่ถือว่าเป็นทาน อานิสงส์ได้คนละอย่าง “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต” การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชมีอำนาจมาก นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม มีรัศมีกายสว่างไสวมาก เทวดาหรือพรหมนี่เขาไม่ดูเครื่องแต่งตัว เขาดูแสงสว่างออกจากกาย “ธัมมบูชา มหาปัญโญ” การบูชาพระธรรม มีปัญญามาก คือใคร่ครวญในพระธรรมจนเกิดปัญญา จิตเป็นสมาธิ “สังฆบูชา มหาโภคะวะโห” สงเคราะห์พระสงฆ์ เกิดไปรวยมาก เพราะเราใช้วัตถุเป็นเครื่องหมาย อานิสงส์ต่านกัน แต่ต้องทำ 3 อย่าง ไม่งั้นหลวงพ่ออด” ผู้ถาม : (หัวเราะ) 📚จาก : หนังสือ หลวงพ่อ ตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๔ หน้า ๓๘ โดย ⭐️หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) วัดจันทาราม(ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ✨เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน 🖊️พิมพ์ธรรมทาน นภา อิน
    0 Comments 1 Shares 307 Views 0 Reviews
  • โบราณสถาน ในวัดใหญ่โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี ภายในวัดจะปรากฎให้เห็นถึงวิหารอุดหลังเก่า ที่แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดใหญ่โพหัก ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดง ลงรัก ปิดทอง เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันไม่ได้เปิดให้เข้าเนื่องจากประตูชำรุดเก่ามาก และรอการบูรณะจากกรมศิลปากร (กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543)#วัดใหญ่โพหัก #วัดเก่าแก่ #วัดสวย #โบราณสถาน #โบราณ #อนุรักษ์ของเก่า#ราชบุรีไม่ได้มีดีแค่โอ่ง #เที่ยวราชบุรี#tixtoxพาเที่ยว#ทริปนี้ที่รอคอย#ให้ภาพเล่าเรื่อง @ให้ภาพเล่าเรื่อง @ให้ภาพเล่าเรื่อง @ให้ภาพเล่าเรื่อง
    โบราณสถาน ในวัดใหญ่โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี ภายในวัดจะปรากฎให้เห็นถึงวิหารอุดหลังเก่า ที่แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดใหญ่โพหัก ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดง ลงรัก ปิดทอง เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันไม่ได้เปิดให้เข้าเนื่องจากประตูชำรุดเก่ามาก และรอการบูรณะจากกรมศิลปากร (กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543)#วัดใหญ่โพหัก #วัดเก่าแก่ #วัดสวย #โบราณสถาน #โบราณ #อนุรักษ์ของเก่า#ราชบุรีไม่ได้มีดีแค่โอ่ง #เที่ยวราชบุรี#tixtoxพาเที่ยว#ทริปนี้ที่รอคอย#ให้ภาพเล่าเรื่อง @ให้ภาพเล่าเรื่อง @ให้ภาพเล่าเรื่อง @ให้ภาพเล่าเรื่อง
    0 Comments 0 Shares 192 Views 9 0 Reviews

  • “..ถ้าป่วยใหม่ๆ อาตมาแนะนำให้ทำดังนี้คือ
    ๑) ให้นำพระพุทธรูป ผ้าไตรจีวร พร้อมอาหารและของใช้ที่จำเป็นนำไปให้ผู้ป่วยเห็นและให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ของ ทั้งหมดนี้ขอถวายเป็นสังฆทานแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญทั้งหมดนี้ให้เจ้ากรรมนายเวรของผู้ป่วยได้โมทนาและ อโหสิกรรมให้ผู้ป่วยด้วย” แล้วญาติก็นำของทั้งหมดไปถวายพระเป็นสังฆทาน จิตใจของผู้ป่วยจะได้สบายเพราะได้เห็นพระพุทธรูปและได้ทำบุญ
    ๒) ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีก ก็ควรนำเงินจะมากหรือน้อยตามแต่ศรัทธาให้ผู้ป่วยถือเงินไว้และให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “เงินจำนวนนี้ขอถวายชำระหนี้สงฆ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าเคยไปหยิบหรือนำของสงฆ์มาโดยเจตนาหรือไม่ได้เจตนาก็ตาม”
    ๓) ในระหว่างที่นอนป่วยอยู่ ควรนำพระพุทธรูปมาตั้งไว้ให้ผู้ป่วยได้มองเห็น อย่าไปตั้งไว้ในที่ผู้ป่วยเห็นไม่ถนัด ผู้ป่วยลืมตาขึ้นมาเมื่อใดก็จะเห็นพระทันที จิตของผู้ป่วยจะได้จับอยู่ที่พระ ใจจะสบายช่วยให้คลายจากทุกขเวทนาได้บ้าง และถ้าตายเมื่อใดก็จะไม่ลงนรก
    ๔) ถ้าป่วยมากมีทุกขเวทนามาก ควรแนะนำสั้นๆ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้า หรือบุญอย่างใดอย่างหนึ่งดีกว่า ถ้าไปแนะนำยาวๆ จะเกิดอาการกลุ้ม
    ๕) ถ้าต้องการให้ผู้ป่วยตายแล้วไปพระนิพพาน ให้นึกภาวนาว่า “นิพพานัง สุขัง” ถ้าคิดว่าป้องกันไม่ให้ลงนรกก็ให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ให้บอกสั้นๆ อย่าบอกยาว
    ๖) ถ้าผู้ป่วยภาวนาไม่ไหว ก็ให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ให้นึกถึงพระไว้หรือจะนึกถึงพระสงฆ์ก็ได้ อย่าไปแนะนำยาวๆ เพราะเวลานั้นทุกขเวทนามากจะทำให้กลุ้ม ดีไม่ดีจิตใจเขาดีอยู่แล้ว ถ้าแนะนำไม่ดี พูดมากไปเขาจะกลุ้มจะทำให้ลงนรกไปให้ดูตาคนป่วย ถ้าตาลอยๆ ตาปรือๆ อย่าไปพูดมาก

    ฉะนั้น การแนะนำคนป่วยก่อนตาย ต้องระมัดระวังให้ดี..”

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    “..ถ้าป่วยใหม่ๆ อาตมาแนะนำให้ทำดังนี้คือ ๑) ให้นำพระพุทธรูป ผ้าไตรจีวร พร้อมอาหารและของใช้ที่จำเป็นนำไปให้ผู้ป่วยเห็นและให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ของ ทั้งหมดนี้ขอถวายเป็นสังฆทานแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญทั้งหมดนี้ให้เจ้ากรรมนายเวรของผู้ป่วยได้โมทนาและ อโหสิกรรมให้ผู้ป่วยด้วย” แล้วญาติก็นำของทั้งหมดไปถวายพระเป็นสังฆทาน จิตใจของผู้ป่วยจะได้สบายเพราะได้เห็นพระพุทธรูปและได้ทำบุญ ๒) ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีก ก็ควรนำเงินจะมากหรือน้อยตามแต่ศรัทธาให้ผู้ป่วยถือเงินไว้และให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “เงินจำนวนนี้ขอถวายชำระหนี้สงฆ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าเคยไปหยิบหรือนำของสงฆ์มาโดยเจตนาหรือไม่ได้เจตนาก็ตาม” ๓) ในระหว่างที่นอนป่วยอยู่ ควรนำพระพุทธรูปมาตั้งไว้ให้ผู้ป่วยได้มองเห็น อย่าไปตั้งไว้ในที่ผู้ป่วยเห็นไม่ถนัด ผู้ป่วยลืมตาขึ้นมาเมื่อใดก็จะเห็นพระทันที จิตของผู้ป่วยจะได้จับอยู่ที่พระ ใจจะสบายช่วยให้คลายจากทุกขเวทนาได้บ้าง และถ้าตายเมื่อใดก็จะไม่ลงนรก ๔) ถ้าป่วยมากมีทุกขเวทนามาก ควรแนะนำสั้นๆ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้า หรือบุญอย่างใดอย่างหนึ่งดีกว่า ถ้าไปแนะนำยาวๆ จะเกิดอาการกลุ้ม ๕) ถ้าต้องการให้ผู้ป่วยตายแล้วไปพระนิพพาน ให้นึกภาวนาว่า “นิพพานัง สุขัง” ถ้าคิดว่าป้องกันไม่ให้ลงนรกก็ให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ให้บอกสั้นๆ อย่าบอกยาว ๖) ถ้าผู้ป่วยภาวนาไม่ไหว ก็ให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ให้นึกถึงพระไว้หรือจะนึกถึงพระสงฆ์ก็ได้ อย่าไปแนะนำยาวๆ เพราะเวลานั้นทุกขเวทนามากจะทำให้กลุ้ม ดีไม่ดีจิตใจเขาดีอยู่แล้ว ถ้าแนะนำไม่ดี พูดมากไปเขาจะกลุ้มจะทำให้ลงนรกไปให้ดูตาคนป่วย ถ้าตาลอยๆ ตาปรือๆ อย่าไปพูดมาก ฉะนั้น การแนะนำคนป่วยก่อนตาย ต้องระมัดระวังให้ดี..” หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    Love
    1
    0 Comments 2 Shares 176 Views 0 Reviews
  • พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ พระพุทธชินราชได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งและยังเป็นพระพุทธรูปที่นิยมจำลองกันมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวไทยศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งด้วย #พระพุทธชินราช #พิษณุโลก #ประเทศไทย #ประวัติศาสตร์ #ไหว้พระ #ขอพร #สายมู #สายมูห้ามพลาด #ทําบุญ #พระพุทธรูป #สิ่งศักดิ์สิทธิ์ #thailand #travel #traveltiktok #travelthailand #วิจิตรศิลป์ #สุโขทัย @เอก เอกรินทร์9559 @เอก เอกรินทร์9559 @เอก เอกรินทร์9559
    พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ พระพุทธชินราชได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งและยังเป็นพระพุทธรูปที่นิยมจำลองกันมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวไทยศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งด้วย #พระพุทธชินราช #พิษณุโลก #ประเทศไทย #ประวัติศาสตร์ #ไหว้พระ #ขอพร #สายมู #สายมูห้ามพลาด #ทําบุญ #พระพุทธรูป #สิ่งศักดิ์สิทธิ์ #thailand #travel #traveltiktok #travelthailand #วิจิตรศิลป์ #สุโขทัย @เอก เอกรินทร์9559 @เอก เอกรินทร์9559 @เอก เอกรินทร์9559
    0 Comments 0 Shares 250 Views 24 0 Reviews
  • พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปทองคำแท้ทั้งองค์ หนักถึง 5.5 ตัน เฉพาะมูลค่าทองคำตามที่บันทึกในกินเนสบุ๊คนั้น อยู่ที่ประมาณ 28.5 ล้านปอนด์ ประวัติว่าสร้างเมื่อใดยังไม่แน่ชัด เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็นพระพุทธรูปทององค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติ ---------------- #หลวงพ่อทองคำ #พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร #วัดไตรมิตร #วัดไตรมิตรวิทยาราม #พระสุโขทัยไตรมิตร #กรุงเทพมหานคร #สุโขทัย #พระพุทธรูปสุโขทัย #พระพุทธรูปทองคำ #goldenbuddha #thegoldenbuddha #phraphutthamahasuwannapatimakon #wattraimit #bangkok #thailand #siampiya
    พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปทองคำแท้ทั้งองค์ หนักถึง 5.5 ตัน เฉพาะมูลค่าทองคำตามที่บันทึกในกินเนสบุ๊คนั้น อยู่ที่ประมาณ 28.5 ล้านปอนด์ ประวัติว่าสร้างเมื่อใดยังไม่แน่ชัด เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็นพระพุทธรูปทององค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติ ---------------- #หลวงพ่อทองคำ #พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร #วัดไตรมิตร #วัดไตรมิตรวิทยาราม #พระสุโขทัยไตรมิตร #กรุงเทพมหานคร #สุโขทัย #พระพุทธรูปสุโขทัย #พระพุทธรูปทองคำ #goldenbuddha #thegoldenbuddha #phraphutthamahasuwannapatimakon #wattraimit #bangkok #thailand #siampiya
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 204 Views 38 0 Reviews
  • พระพุทธรูปสำริด ศิลปหริภุญชัย
    พระพุทธรูปสำริด ศิลปหริภุญชัย
    0 Comments 0 Shares 35 Views 0 Reviews
  • พระพุทธรูป ศิลปทิเบต
    พระพุทธรูป ศิลปทิเบต
    0 Comments 0 Shares 34 Views 0 Reviews
  • “พระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร ประดับขัตติยะภูษิตาภรณ์” ประดิษฐานด้านมุมซ้ายขวา บทแท่น เวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลาย ที่ซึ่งประดิษฐาน “พระพุทธเทววิลาส” โดยพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปิดทองประดับกระจกเกรียบ ลายประณีตบรรจ เรียกกันว่าพระทอง ดุจเดียวกันกับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เบื้องบนพระทองสององค์ กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน 5 ชั้น 2 ดั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเดิมทั้งสิ้น #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #พระทอง #พระยืน #พระพุทธรูปทรงเครื่อง #ปางห้ามสมุทร #พระพุทธเทววิลาศ #bangkok #thailand
    “พระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร ประดับขัตติยะภูษิตาภรณ์” ประดิษฐานด้านมุมซ้ายขวา บทแท่น เวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลาย ที่ซึ่งประดิษฐาน “พระพุทธเทววิลาส” โดยพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปิดทองประดับกระจกเกรียบ ลายประณีตบรรจ เรียกกันว่าพระทอง ดุจเดียวกันกับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เบื้องบนพระทองสององค์ กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน 5 ชั้น 2 ดั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเดิมทั้งสิ้น #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #พระทอง #พระยืน #พระพุทธรูปทรงเครื่อง #ปางห้ามสมุทร #พระพุทธเทววิลาศ #bangkok #thailand
    0 Comments 0 Shares 166 Views 31 0 Reviews
  • “พระพุทธมหาชนก” พระพุทธปฏิมาประธานทรงเครื่องอย่างพระจักรพรรดิราช ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปสำคัญฉลองพระองค์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชชนกในรัชกาลที ๑ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๒ เซนติเมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่๔ ยกแท่นฐานสูงขึ้นและแปลงองค์พระเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิทรงเครื่องกษัตริย์ มีลักษณะที่น่าสนใจ คือ การครองจีวรลายดอก ซึ่งเป็นการสร้างให้มีลักษณะเหมือนจริงแบบสัจนิยม การครองจีวรลายดอกนี้คงเนื่องมาจากการนำผ้าเนื้อดีที่นำเข้ามาคือ ผ้าแพรจากประเทศจีน นำไปย้อมเป็นผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อถวายพระพุทธรูป ที่มา : จากหนังสือ ๑๐๘ องค์พระปฏิมาพระพุทธรูปคู่แผ่นดิน โดย กรมการศาสนา #วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร #วัด #พระพุทธมหาชนก #ทรงเครื่องจักรพรรดิ์ #พระปางมารวิชัย #bangkok #thailand
    “พระพุทธมหาชนก” พระพุทธปฏิมาประธานทรงเครื่องอย่างพระจักรพรรดิราช ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปสำคัญฉลองพระองค์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชชนกในรัชกาลที ๑ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๒ เซนติเมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่๔ ยกแท่นฐานสูงขึ้นและแปลงองค์พระเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิทรงเครื่องกษัตริย์ มีลักษณะที่น่าสนใจ คือ การครองจีวรลายดอก ซึ่งเป็นการสร้างให้มีลักษณะเหมือนจริงแบบสัจนิยม การครองจีวรลายดอกนี้คงเนื่องมาจากการนำผ้าเนื้อดีที่นำเข้ามาคือ ผ้าแพรจากประเทศจีน นำไปย้อมเป็นผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อถวายพระพุทธรูป ที่มา : จากหนังสือ ๑๐๘ องค์พระปฏิมาพระพุทธรูปคู่แผ่นดิน โดย กรมการศาสนา #วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร #วัด #พระพุทธมหาชนก #ทรงเครื่องจักรพรรดิ์ #พระปางมารวิชัย #bangkok #thailand
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 178 Views 30 0 Reviews
  • อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


    อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานชัดเจนในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ.1781 - 1822) ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีความมั่นคงจาก ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือ สุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ อาณาจักรอยุธยา

    ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวัง และวัดมากถึง 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ได้รับการบูรรปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้า นั่งรถราง หรือ ขี่จักรยาน เที่ยวชมได้อย่างสะดวกปลอดภัย

    ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นนับเป็น ตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศไทย


    นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ ๓ วิธี คือ เดินเท้า ปั่นจักรยาน และ การนั่งรถรางไฟฟ้า โดยทางอุทยานฯ มีรถจักรยานให้เช่าด้วย นอกจากนี้ หน้าโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแต่ละแห่งยังมีป้าย OR Code สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน สามารถสแกนเข้าไปอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ มีให้เลือก ๔ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

    เมืองสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าสุโขทัยในยุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบขอมจากละโว้หรือลพบุรี ต่อมายกฐานะเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นอาณาจักรแห่งแรกของไทย ราวปี ๑๗๙๒ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ บันทึกในศิลาจารึกบอกถึงเขตอาณาจักรอันกว้างขวาง ทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจดเมืองเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี การปกครองเป็นระบบ พ่อปกครองลูก เอื้อสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน

    จุดเด่นของผังเมืองสุโขทัยคือระบบชลประทาน เป็นระบบที่กระจายน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคให้ชาวเมืองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถช่วยระบายน้ำเอ่อล้นช่วงหน้าน้ำหลากได้ดีเช่นกัน ในช่วงการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงชาวเมืองสุโขทัยมีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น ด้วยพระองค์ทรงมีความเอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ สังเกตจากลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะมีพระโอษฐ์ยิ้ม สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัย และจำนวนวัดวาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมากมาย เมื่อปี ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอีก ๒ แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”
    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานชัดเจนในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ.1781 - 1822) ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีความมั่นคงจาก ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือ สุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ อาณาจักรอยุธยา ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวัง และวัดมากถึง 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ได้รับการบูรรปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้า นั่งรถราง หรือ ขี่จักรยาน เที่ยวชมได้อย่างสะดวกปลอดภัย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นนับเป็น ตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ ๓ วิธี คือ เดินเท้า ปั่นจักรยาน และ การนั่งรถรางไฟฟ้า โดยทางอุทยานฯ มีรถจักรยานให้เช่าด้วย นอกจากนี้ หน้าโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแต่ละแห่งยังมีป้าย OR Code สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน สามารถสแกนเข้าไปอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ มีให้เลือก ๔ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เมืองสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าสุโขทัยในยุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบขอมจากละโว้หรือลพบุรี ต่อมายกฐานะเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นอาณาจักรแห่งแรกของไทย ราวปี ๑๗๙๒ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ บันทึกในศิลาจารึกบอกถึงเขตอาณาจักรอันกว้างขวาง ทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจดเมืองเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี การปกครองเป็นระบบ พ่อปกครองลูก เอื้อสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน จุดเด่นของผังเมืองสุโขทัยคือระบบชลประทาน เป็นระบบที่กระจายน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคให้ชาวเมืองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถช่วยระบายน้ำเอ่อล้นช่วงหน้าน้ำหลากได้ดีเช่นกัน ในช่วงการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงชาวเมืองสุโขทัยมีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น ด้วยพระองค์ทรงมีความเอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ สังเกตจากลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะมีพระโอษฐ์ยิ้ม สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัย และจำนวนวัดวาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมากมาย เมื่อปี ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอีก ๒ แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 195 Views 0 Reviews
  • พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ใช้กล้องโทรศัพท์ซูมจากภายนอกพระอุโบสถ) เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสมภังค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง ๖ ศอกหล่อด้วยสัมฤทธิ์เป็นแกนในแล้วหุ้มทองคำหนัก ๖๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ทรงเครื่องต้นจักรพรรดิราชาธิราช พระพุทธรูปมีพระพักตร์เป็นรูปวงรี พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว แย้มสรวล และพระกรรณค่อนข้างยาว มีอุณาโลมบนพระนลาฏ ทรงชฎามงกุฎ ประกอบด้วยกรรเจียกจร พระพุทธรูปแสดงปางห้ามสมุทร หรืออภัย มุทราด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปช้างหน้า นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้ว องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์ห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา มีชายอุตราสงค์ซ้อนทบพาดเหนือพระอังสาช้ายปลายจรดพระนาภี เครื่องแต่งพระองค์ ประกอบด้วยกรองศอ อีกทั้งช่อดอกไม้ประดับ ด้านหน้าพระศอ สังวาลเฉวียง พระอังสาทั้งสองข้างประดับด้วยทับทรวงบริเวณ กึ่งกลางพระอุระ ทรงพาหุรัด ทองกร พระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ ทรงสายรัดพระองค์ซึ่งมีปั้นเหน่งรูปดอกไม้แปดเหลี่ยมประดับเบื้องหน้า ด้านล่างของปั่นเหน่งมีสุวรรณกระถอบห้อยอยู่เบื้องหน้าของเจียระบาด และอันตรวาสก กับทั้ง มีชายไหว ชายแครงเป็นลายกนกใบเทศซ้อนกันสามชั้น ทรงทองพระบาทและฉลองพระบาทเชิงงอน พระพุทธรูปประทับยืนบนปัทมาสน์ประดับด้วยกลีบบัว และเกสรเหนือฐานแข้งสิงห์จำหลักลายมีสิงห์แบก ครุฑแบกและเทวดาแบก ลดหลั่นกันตามลำดับ พระพุทธปฏิมาองค์นี้สูงจากฐานถึงยอดมงกกุฎ ๓ เมตร กางกั้นด้วยสัปตปฎล สุวรรณฉัตรคันดาน ที่มา : หอสมุดพิกุลศิลปาคาร #พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ #พระพุทธเลิศหล้านภาไลย #พระยืน #ทอง #วัดพระแก้ว #พระบรมมหาราชวัง #grandpalacebangkok #thailand #bangkok
    พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ใช้กล้องโทรศัพท์ซูมจากภายนอกพระอุโบสถ) เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสมภังค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง ๖ ศอกหล่อด้วยสัมฤทธิ์เป็นแกนในแล้วหุ้มทองคำหนัก ๖๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ทรงเครื่องต้นจักรพรรดิราชาธิราช พระพุทธรูปมีพระพักตร์เป็นรูปวงรี พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว แย้มสรวล และพระกรรณค่อนข้างยาว มีอุณาโลมบนพระนลาฏ ทรงชฎามงกุฎ ประกอบด้วยกรรเจียกจร พระพุทธรูปแสดงปางห้ามสมุทร หรืออภัย มุทราด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปช้างหน้า นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้ว องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์ห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา มีชายอุตราสงค์ซ้อนทบพาดเหนือพระอังสาช้ายปลายจรดพระนาภี เครื่องแต่งพระองค์ ประกอบด้วยกรองศอ อีกทั้งช่อดอกไม้ประดับ ด้านหน้าพระศอ สังวาลเฉวียง พระอังสาทั้งสองข้างประดับด้วยทับทรวงบริเวณ กึ่งกลางพระอุระ ทรงพาหุรัด ทองกร พระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ ทรงสายรัดพระองค์ซึ่งมีปั้นเหน่งรูปดอกไม้แปดเหลี่ยมประดับเบื้องหน้า ด้านล่างของปั่นเหน่งมีสุวรรณกระถอบห้อยอยู่เบื้องหน้าของเจียระบาด และอันตรวาสก กับทั้ง มีชายไหว ชายแครงเป็นลายกนกใบเทศซ้อนกันสามชั้น ทรงทองพระบาทและฉลองพระบาทเชิงงอน พระพุทธรูปประทับยืนบนปัทมาสน์ประดับด้วยกลีบบัว และเกสรเหนือฐานแข้งสิงห์จำหลักลายมีสิงห์แบก ครุฑแบกและเทวดาแบก ลดหลั่นกันตามลำดับ พระพุทธปฏิมาองค์นี้สูงจากฐานถึงยอดมงกกุฎ ๓ เมตร กางกั้นด้วยสัปตปฎล สุวรรณฉัตรคันดาน ที่มา : หอสมุดพิกุลศิลปาคาร #พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ #พระพุทธเลิศหล้านภาไลย #พระยืน #ทอง #วัดพระแก้ว #พระบรมมหาราชวัง #grandpalacebangkok #thailand #bangkok
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 215 Views 31 0 Reviews
  • EP.7 วิถีสุพรรณ สร้างสรรค์มั่งคง - สุขนิยาม สยามโสภา (สุพรรณบุรี)
    》》
    https://youtu.be/7ejG-2nRzmo?si=v2auD9FcYL_rSDdi
    《《
    ■ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน
    》》มีพระพุทธรูปบนผนังหน้าผา ที่สูงใหญ่เป็นหนึ่ง ในที่สุดของโลก
    》》เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ในวิถีของเกษตรกรชาวนา ที่จัดทำได้อย่างน่าสนใจ
    》》สนันสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเลี้ยงควายไทย
    》》ได้รับพระราชทานโครงการบรรเทาปัญหาน้ำท่วม พื้นที่การเกษตร
    》》และยังมีแหล่งเพาะปลูกแห้ว ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
    ■■■■■■■■■■■■
    #TV5HDONLINE#สยามโสภา#วิถีสุพรรณ#เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของไทย#ศูนย์อนุรักษ์ควายไทย#เที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี#thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    EP.7 วิถีสุพรรณ สร้างสรรค์มั่งคง - สุขนิยาม สยามโสภา (สุพรรณบุรี) 》》 https://youtu.be/7ejG-2nRzmo?si=v2auD9FcYL_rSDdi 《《 ■ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน 》》มีพระพุทธรูปบนผนังหน้าผา ที่สูงใหญ่เป็นหนึ่ง ในที่สุดของโลก 》》เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ในวิถีของเกษตรกรชาวนา ที่จัดทำได้อย่างน่าสนใจ 》》สนันสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเลี้ยงควายไทย 》》ได้รับพระราชทานโครงการบรรเทาปัญหาน้ำท่วม พื้นที่การเกษตร 》》และยังมีแหล่งเพาะปลูกแห้ว ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ■■■■■■■■■■■■ #TV5HDONLINE​ #สยามโสภา​ #วิถีสุพรรณ​ #เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของไทย​ #ศูนย์อนุรักษ์ควายไทย​ #เที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี​ #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    Love
    Wow
    8
    0 Comments 0 Shares 1719 Views 0 Reviews
  • ☆รีวิวการเดินทางด้วยรถสาธารณะ
    เมืองเก่าสุโขทัย
    จังหวัดสุโขทัย
    》》
    https://manowjourney.wixsite.com/manowjourney/post/manowjourney44
    《《
    ■■■■■■■■■■■
    ☆แนะนำที่พัก
    Le Charme Sukhothai Resort เลอ ชาร์ม สุโขทัย รีสอร์ท
    ■ติดต่อที่พัก
    https://bit.ly/36D687N
    ■เพจที่พัก
    https://web.facebook.com/LeCharmeSukhothai/
    ■เบอร์โทร
    02 642 5497
    ☆รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า
    ที่จะพาเราไปเที่ยวชมรอบๆเมืองเก่าสุโขทัย ราคา ชั่วโมงละ 200 บาท นั่งได้ถึง 3-4ท่าน ความไว 40 ก.ม ต่อชั่วโมง
    ☆วัดศรีชุม
    เป็นศาสนโบราณสถานแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ"
    ☆อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญอย่างพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
    ☆รถทัวร์ของ บขส.999
    อุทยานฯ - กรุงเทพฯ
    มี 2 รอบ
    รอบ 07:35 ราคา 344 บาท
    รอบ 21:00 ราคา 337 บาท
    ☆วินทัวร์
    มีรอบ 3 รอบ
    08:20 , 12:20 , 21,50
    ราคา 395 บาท
    》》》》》》》》》》
    ค่าใช้จ่าย( 2 ท่าน1คืน)
    ●ค่ารถทัวร์ขาไป 337x2=674 บาท
    ●ค่ารถทัวร์ขากลับ 395x2=790 บาท
    ●ค่าห้องพัก พร้อมอาหารเช้า 1,200 บาท
    ●ค่ารถสกายแลปเข้าไปห้องพัก 50 บาท
    ●ค่ารถซาเล้งออกมาจากที่พัก 60 บาท
    ●ค่ารถโดยสารคอกหมูเล่น ไป+กลับ 30x4=120 บาท
    ●ค่ารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 2 ช.ม 200x2=400 บาท
    ●ค่าเข้าวัดศรีชุมคนละ 20x2=40 บาท
    ●ค่าเข้า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย คนละ20x2=40
    ●ค่านำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเข้าอุทยานฯ 40 บาท
    》》รวม 3,414 บาท 《《
    》》หารสอง 1,707 บาท
    ■■■■■■■
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney #thaitimesรีวิวท่องเที่ยวด้วยรถสาธารณะ
    ☆รีวิวการเดินทางด้วยรถสาธารณะ เมืองเก่าสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 》》 https://manowjourney.wixsite.com/manowjourney/post/manowjourney44 《《 ■■■■■■■■■■■ ☆แนะนำที่พัก Le Charme Sukhothai Resort เลอ ชาร์ม สุโขทัย รีสอร์ท ■ติดต่อที่พัก https://bit.ly/36D687N ■เพจที่พัก https://web.facebook.com/LeCharmeSukhothai/ ■เบอร์โทร 02 642 5497 ☆รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ที่จะพาเราไปเที่ยวชมรอบๆเมืองเก่าสุโขทัย ราคา ชั่วโมงละ 200 บาท นั่งได้ถึง 3-4ท่าน ความไว 40 ก.ม ต่อชั่วโมง ☆วัดศรีชุม เป็นศาสนโบราณสถานแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" ☆อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญอย่างพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ☆รถทัวร์ของ บขส.999 อุทยานฯ - กรุงเทพฯ มี 2 รอบ รอบ 07:35 ราคา 344 บาท รอบ 21:00 ราคา 337 บาท ☆วินทัวร์ มีรอบ 3 รอบ 08:20 , 12:20 , 21,50 ราคา 395 บาท 》》》》》》》》》》 ค่าใช้จ่าย( 2 ท่าน1คืน) ●ค่ารถทัวร์ขาไป 337x2=674 บาท ●ค่ารถทัวร์ขากลับ 395x2=790 บาท ●ค่าห้องพัก พร้อมอาหารเช้า 1,200 บาท ●ค่ารถสกายแลปเข้าไปห้องพัก 50 บาท ●ค่ารถซาเล้งออกมาจากที่พัก 60 บาท ●ค่ารถโดยสารคอกหมูเล่น ไป+กลับ 30x4=120 บาท ●ค่ารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 2 ช.ม 200x2=400 บาท ●ค่าเข้าวัดศรีชุมคนละ 20x2=40 บาท ●ค่าเข้า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย คนละ20x2=40 ●ค่านำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเข้าอุทยานฯ 40 บาท 》》รวม 3,414 บาท 《《 》》หารสอง 1,707 บาท ■■■■■■■ #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney #thaitimesรีวิวท่องเที่ยวด้วยรถสาธารณะ
    MANOWJOURNEY.WIXSITE.COM
    เมืองเก่าสุโขทัย
    จังหวัดสุโขทัย • เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว คำว่า "สุโขทัย" มาจากสองคำ คือ "สุข+อุทัย" หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" รอยอดีตแห่งความรุ่งเรืองเห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ • แนะนำที่พัก Le Charme Sukhothai Resort เลอ ชาร์ม สุโขทัย รีสอร์ท • ราคาแค่พันกว่าๆพร้อมอาหารเช้า บรรยากาศเงียบสงบ • ออกเดินทางจาก สถานีขนส่งหมอชิต2 • กรุงเทพฯ-อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย บขส.999 • เวลา 22:00 น. ราคา 337 บาท • เวล
    Like
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 1425 Views 0 Reviews
  • ธรรมชาติ ดูดียามเย็นเห็นต้นไม้เป็นพระพุทธรูป
    ธรรมชาติ ดูดียามเย็นเห็นต้นไม้เป็นพระพุทธรูป
    0 Comments 0 Shares 62 Views 0 Reviews
  • #ความเชื่อ#
    #การรับรู้#
    #ความคิด#
    🪷🪷
    _ความเชื่อ (ย่อ)
    ลอยน้ำมาจากทางเหนือ กับพระพี่น้อง บางตำนานว่า 3 บางตำนานว่า 5 ถูกอัญเชิญขึ้น ณ วัดโสธรในปัจจุบัน
    _ การรับรู้ ผู้มิมิตรท่านนึง กล่าวว่า หล่อขึ้นที่เชียงใหม่ (จำตรงตรงนี้ไว้) และเมื่อเกิดสงคราม เข้าประชิดเมือง จึงผูกแพลอยน้ำไป เพื่อรอดจากการเผาทำลาย และมาขึ้นที่วัดโสธรในปัจจุบัน
    _ ความคิด จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ชุมชนนี้เกิดขึ้นเพราะเป็นย่านการค้าขาย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นปากอ่าวติดทะเล เมื่อมีชุมชน ก็มีศาสนสถาน (เป็นทุกอารยะธรรม) ในที่นี้ก็คือ วัด และศิลปะในองค์พระ คือ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย และถูกแกะขึ้นจากหินทราย แบบหลายชิ้นมาประกอบกัน (ไม่ใช่การหล่อโลหะ) และยังพบพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ อีกหลายวัด ในบริเวณใกล้เคียงกันนี้ ....จากข้อมูลประกอบ จึงมีข้อสรุปที่ว่า ไม่ได้มาจากที่อื่น คงสร้างและอยู่ที่นี่มาตั้งแต่แรก
    🙂😊🙏 ท่านผู้อ่านจะเชื่อแบบใด แล้วแต่ท่านเลย เพราะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล.
    #ความเชื่อ# #การรับรู้# #ความคิด# 🪷🪷 _ความเชื่อ (ย่อ) ลอยน้ำมาจากทางเหนือ กับพระพี่น้อง บางตำนานว่า 3 บางตำนานว่า 5 ถูกอัญเชิญขึ้น ณ วัดโสธรในปัจจุบัน _ การรับรู้ ผู้มิมิตรท่านนึง กล่าวว่า หล่อขึ้นที่เชียงใหม่ (จำตรงตรงนี้ไว้) และเมื่อเกิดสงคราม เข้าประชิดเมือง จึงผูกแพลอยน้ำไป เพื่อรอดจากการเผาทำลาย และมาขึ้นที่วัดโสธรในปัจจุบัน _ ความคิด จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ชุมชนนี้เกิดขึ้นเพราะเป็นย่านการค้าขาย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นปากอ่าวติดทะเล เมื่อมีชุมชน ก็มีศาสนสถาน (เป็นทุกอารยะธรรม) ในที่นี้ก็คือ วัด และศิลปะในองค์พระ คือ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย และถูกแกะขึ้นจากหินทราย แบบหลายชิ้นมาประกอบกัน (ไม่ใช่การหล่อโลหะ) และยังพบพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ อีกหลายวัด ในบริเวณใกล้เคียงกันนี้ ....จากข้อมูลประกอบ จึงมีข้อสรุปที่ว่า ไม่ได้มาจากที่อื่น คงสร้างและอยู่ที่นี่มาตั้งแต่แรก 🙂😊🙏 ท่านผู้อ่านจะเชื่อแบบใด แล้วแต่ท่านเลย เพราะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล.
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 339 Views 0 Reviews
  • ☆เศียรพระพุทธรูปในรากไม้
    》》เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่แตกหักจากองค์พระ แล้ว ถูกรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างแบน และกว้าง พระขนงูและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ พระโอษฐ์กว้างเป็นแนวตรง ขอบพระโอษฐ์ยกเป็นสันขึ้น เล็กน้อย เป็นรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21
    》》คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา จนเลื่องลือกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของวัดมหาธาตุ โด่งดังไปทั่วโลก《《
    ☆ค่าเข้าชม
    ชาวไทย 10 บาท
    ชาวต่างชาติ 50 บาท
    ■■■■■■■■■■■
    #วัดมหาธาตุ#อยุธยา#เศียร พระพุทธรูปในรากไม้​ #มะนาวก้าวเดิน
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    ☆เศียรพระพุทธรูปในรากไม้ 》》เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่แตกหักจากองค์พระ แล้ว ถูกรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างแบน และกว้าง พระขนงูและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ พระโอษฐ์กว้างเป็นแนวตรง ขอบพระโอษฐ์ยกเป็นสันขึ้น เล็กน้อย เป็นรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 》》คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา จนเลื่องลือกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของวัดมหาธาตุ โด่งดังไปทั่วโลก《《 ☆ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ■■■■■■■■■■■ #วัดมหาธาตุ​ #อยุธยา​ #เศียร พระพุทธรูปในรากไม้​ #มะนาวก้าวเดิน​ #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    Love
    7
    0 Comments 0 Shares 1594 Views 695 0 Reviews
More Results