"รัฐบาลเยอรมันส่อล่ม หลังโชลซ์ปลดรัฐมนตรีคลังออกจากตำแหน่ง!"

นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ประกาศปลดคริสเตียน ลินด์เนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกจากตำแหน่ง ด้านลินด์เนอร์ ตอบโต้ด้วยการพาพรรคเอฟดีพีถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาลทันที

ทั้งชอลซ์และลินด์เนอร์ขัดแย้งกันมานานในเรื่องของการบริหารจัดการงบประมาณ ในที่สุดชอลซ์ต้องประกาศปลดลินด์เนอร์ออก โดยให้เหตุผลว่า "ขาดความไว้วางใจ" และ ลินด์เนอร์ไม่สนใจประโยชน์ส่วนรวมของชาติ “ใครก็ตามที่เข้าร่วมรัฐบาลต้องทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบและเชื่อถือได้ ไม่ใช่หาที่หลบภัยเมื่อสถานการณ์เลวร้าย” ชอลซ์กล่าวในการแถลงข่าว

หลังการประกาศถอนตัวของพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ของลินด์เนอร์ ทำให้ขณะนี้รัฐบาลของชอลซ์เหลือเพียงสองพรรค คือ พรรคสังคมประชาธิปไตย (SPD) ของชอลซ์ และพรรคกรีน ทำให้ชอลซ์ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาอีกต่อไป

ชอลซ์ยังเผยด้วยว่า เขาจะขอให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และลงมติเกี่ยวกับสถานภาพของรัฐบาล ภายในวันที่ 15 ม.ค. 2568 ซึ่งอาจทำให้เยอรมนีจะต้องมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดภายในปลายเดือน มี.ค. 68 จากกำหนดการตามวาระของรัฐบาล ในเดือน ก.ย. 68

"รัฐบาลเยอรมันส่อล่ม หลังโชลซ์ปลดรัฐมนตรีคลังออกจากตำแหน่ง!" นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ประกาศปลดคริสเตียน ลินด์เนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกจากตำแหน่ง ด้านลินด์เนอร์ ตอบโต้ด้วยการพาพรรคเอฟดีพีถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาลทันที ทั้งชอลซ์และลินด์เนอร์ขัดแย้งกันมานานในเรื่องของการบริหารจัดการงบประมาณ ในที่สุดชอลซ์ต้องประกาศปลดลินด์เนอร์ออก โดยให้เหตุผลว่า "ขาดความไว้วางใจ" และ ลินด์เนอร์ไม่สนใจประโยชน์ส่วนรวมของชาติ “ใครก็ตามที่เข้าร่วมรัฐบาลต้องทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบและเชื่อถือได้ ไม่ใช่หาที่หลบภัยเมื่อสถานการณ์เลวร้าย” ชอลซ์กล่าวในการแถลงข่าว หลังการประกาศถอนตัวของพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ของลินด์เนอร์ ทำให้ขณะนี้รัฐบาลของชอลซ์เหลือเพียงสองพรรค คือ พรรคสังคมประชาธิปไตย (SPD) ของชอลซ์ และพรรคกรีน ทำให้ชอลซ์ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาอีกต่อไป ชอลซ์ยังเผยด้วยว่า เขาจะขอให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และลงมติเกี่ยวกับสถานภาพของรัฐบาล ภายในวันที่ 15 ม.ค. 2568 ซึ่งอาจทำให้เยอรมนีจะต้องมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดภายในปลายเดือน มี.ค. 68 จากกำหนดการตามวาระของรัฐบาล ในเดือน ก.ย. 68
0 Comments 0 Shares 24 Views 21 0 Reviews