แถลงการณ์วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
ฉบับที่ 001/2567
เรื่อง ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง

​จากสถานการณ์โรคระบาดฝีดาษลิงในต่างประเทศซึ่งมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งในเวลาต่อมาอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่าได้พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกในประเทศไทยแล้ว โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวได้เดินทางมาจากประเทศแถบทวีปแอฟริกา ข่าวดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนคนไทยโดยทั่วไป เกิดความสับสนในข่าวสารและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเห็นสมควรให้ชี้แจงกับประชาชน ให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง ดังต่อไปนี้

​​ประการแรก ตามรายงานในต่างประเทศซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ฉบับเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พบว่ามีผู้ป่วยส่วนใหญ่กักตัวที่บ้าน มีเพียงไม่เกินร้อยละ 13 ที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพราะต้องการแยกตัว หรือมีอาการรุนแรง โดยมีอัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1 แต่สำหรับประเทศไทย ปรากฏเป็นข้อมูลที่เคยแถลงข่าวโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 รายงานว่า ประเทศไทยเคยมีผู้ป่วยฝีดาษลิงอยู่แล้วตั้งแต่กรกฏาคม 2565 ถึง 2 มิถุนายน 2567 จำนวน 794 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิง 11 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทยอยู่เพียงร้อยละ 1.38 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตในระดับต่ำ

ประการที่สอง สำหรับกรณีการกลายพันธุ์เป็นชนิด เคลด วันบี (Clade Ib ) เกิดขึ้นประมาณ กันยายน 2566 ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายและความรุนแรงมากขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเท่าที่มีข้อมูลในประเทศแถบแอฟริกาพบว่า ผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่มีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 4 ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่ามีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงชนิด เคลด วันบี แล้ว 1 ราย ซึ่งเดินทางมาจากประเทศหนึ่งในแถบแอฟริกา ดังนั้นกรมควบคุมโรคควรมีมาตรการในการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด
​​
ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีระยะเวลาฟักตัวภายใน 21 วัน และสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการก่อนจะมีผื่นขึ้น กล่าวคือ มีไข้พบได้ร้อยละ 62 ปวดกล้ามเนื้อพบได้ร้อยละ 31 ปวดหัวพบได้ร้อยละ 27 ต่อมน้ำเหลืองโตพบได้ร้อยละ 56 เซื่องซึมพบได้ร้อยละ 41 หลังจากนั้นจะมีโอกาสผื่นขึ้นต่อมาร้อยละ 95 ทั้งนี้อาจเกิดตุ่มในปาก อวัยวะเพศชายและหญิง ช่องคลอด หรือรูทวารหนักได้ด้วย ผู้ป่วยจะถูกแยกกักกันนานประมาณ 21 วัน หรือจนพ้นระยะเวลาแพร่เชื้อคือ ทุกรอยโรคหายไป ตกสะเก็ดและสะเก็ดหลุดจนมีผิวหนังปกติ โดยหลังจากหายป่วยแล้วควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ก็ตามเป็นเวลาหนึ่งเดือน
​​
อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงส่วนใหญ่สามารถหายเองได้โดยรักษาตามอาการ เพราะยังไม่พบยาต้านไวรัสชนิดนี้ โดยแม้แต่ยา Tecovirimat ที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้รักษาฝีดาษลิงชนิดเคลด วันบี ก็ยังไม่ได้ผลในการรักษาแต่ประการใด เพราะตามประกาศของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 พบรายงานการวิจัยในมนุษย์ว่ายา Tecovirimat ไม่ได้ลดระยะผื่นของฝีดาษลิงในผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ประเทศคองโก รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ไม่ว่าจะใช้ยา Tecovirimat หรือไม่ใช้ก็ตาม
​​
ประการที่สาม กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี สตรีมีครรภ์ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) ตุ่มพุพอง ตกสะเก็ด คัน แสบ สะเก็ดเงิน โดยจากข้อมูลในทวีปแอฟริกา พบว่ากลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 10 กลุ่มเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง เลือด หนอง สิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อฝีดาษลิง รวมถึงควรล้างมือเป็นประจำและไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

ประการที่สี่ สำหรับผู้มีอาชีพหรือผู้รับบริการที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ควรต้องสอบถามผู้ที่จะมาสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ว่ามีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่ เช่น ปวดตามร่างกายแบบลักษณะมีไข้ หรือมีไข้ ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโต เซื่องซึม มีตุ่มหรือผื่นตามร่างกาย หากมีอาการดังกล่าวควรแนะนำให้ไปพบแพทย์

ประการที่ห้า อาการที่เสี่ยงเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อแล้ว ได้แก่ มีตุ่มแผลบริเวณเยื่อบุตา ผื่นตุ่มที่แพร่กระจายทั่วตัว หรือผื่นขึ้นแบบกระจุกตัว (Cluster) มีตกเลือดในบริเวณผื่นตุ่ม อาการไข้และอาการทางร่างกายที่หนักขึ้น รวมทั้งหายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
​​
ประการที่หก ที่ผ่านมายังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามวันที่ 24 กรกฏาคม 2565 สหภาพยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (JYNNEOS) เพื่อประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง

ทั้งนี้ผลสำรวจงานวิจัยในวารสาร New England ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 รายงานว่าทหารอเมริกันผู้เคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษชนิดเดียวกันกับที่ประเทศไทยเคยใช้ในอดีต หรือวัคซีน ACAM2000 หรือวัคซีน JYNNEOS ในปัจจุบัน ในระหว่างปี 2545 ถึง 2560 จำนวน 2.6 ล้านคนพบว่ามีโอกาสติดเชื้อฝีดาษทุกชนิดลดลง
​​
สำหรับประเทศไทยผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุตั้งแต่ 44 ปีขึ้นไป น่าจะได้รับการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยทั่วไปแล้ว โดยสามารถสังเกตแผลเป็นที่บริเวณหัวไหล่ของผู้ที่เคยได้รับการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งทำให้ช่วยลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิงได้ และกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนแล้ว

สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปี หรือไม่เคยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ยังไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนในขณะนี้ เพราะยังสามารถใช้มาตราการป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อฝีดาษลิง

​​เพราะตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน JYNNEOS รายงานว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 8 ต่อ10,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าการฉีดวัควัคซีนจริงปรากฏตามรายงานในวารสาร Vaccine ฉบับเผยแพร่ออนไลน์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ซึ่งรายงานว่าการฉีดวัคซีน JYNNEOS อย่างน้อย 1 เข็ม มีโอกาสได้รับผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 3.1 ต่อ 1,000 โดส อีกทั้งยังไม่เคยมีการวิจัยผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนชนิดนี้สำหรับประชากรไทยมาก่อนด้วย

ดังนั้นผู้ที่สมควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง จึงควรเป็นกลุ่มประชากรที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงและบุคลากรสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมากที่สุด รวมทั้งผู้มีอาชีพที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนังกับผู้อื่น

ประการที่เจ็ด สำหรับผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว ให้กักตัวเองและรักษาตามอาการ ทั้งนี้ในกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทยในการรักษาโรคระบาดที่มีผื่นหรือตุ่มตามผิวหนังนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดเจนและได้ถูกรับรองตามกฏหมายในฐานะเป็นตำรับยาและตำรายาแผนไทยของชาติในการรับมือกับโรคระบาด ได้แก่
​​
พระคัมภีร์ตักกะศิลาตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีขั้นตอนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการกระทุ้งพิษไข้ด้วยยาห้าราก ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก และตำรับยาเพื่อขั้นตอนการครอบไข้ ซึ่งมีตำรับยาใน 3 ขั้นตอนนี้ รวม 7 ขนาน
​​
นอกจากนี้ยังมีตำรับยาขาว ซึ่งเป็นยาขนานเดียวตามตำรายาของศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่ามีสรรพคุณรักษาโรคระบาดได้หลายชนิด อีกทั้งยังมีตำรับยาหลายขนานสำหรับรักษาโรคฝีดาษโดยเฉพาะ ตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณ เล่ม 3 ของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร)

สำหรับการแพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาโรคตามภาวะร่างกายโดยมีพื้นฐานการขับพิษ-ขับร้อน การปรับความร้อนระดับเลือด การขับความชื้น การปรับสมดุลของม้าม กระเพาะอาหาร การบำรุงเลือดและพลัง เพื่อขับพิษและเสริมพลังพื้นฐานในการต่อสู้กับโรคฝีดาษลิง
​​
สำหรับงานวิจัยเภสัชสมุนไพรปรากฏในวารสาร Frontiers in cellular and infection Microbiology เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ซึ่งวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางโมเลกุล พบว่า ขมิ้นชันมีปฏิกริยาต่อต้านไวรัสฝีดาษลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกลไกการขัดขวางยับยั้งไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรนำมาศึกษาและวิจัยการใช้ขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคฝีดาษของมนุษย์ต่อไป เพราะเป็นสมุนไพรที่มีราคาถูก เข้าถึงได้ทั่วไป คนไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งกลไกในหลายขั้นตอนของไวรัสอีกหลายชนิด
​​
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรเดี่ยวที่มีศักยภาพในการต้านไวรัสหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม เสลดพังพอนตัวเมีย กัญชา กัญชง ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงว่าจะมีศักยภาพและสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงต่อไปได้หรือไม่
​​
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยฝีดาษลิงที่เลือกกักตัวเองอยู่ที่บ้าน สามารถขอรับคำปรึกษาและรับตำรับยากับคลินิกการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีน ทั่วประเทศ รวมถึงสหคลินิการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-6000 ต่อ 4406 หรือ 089-770-5862 อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเก็บข้อมูลติดตามผลและทำการศึกษาวิจัยผลการรักษาภายหลังต่อไป
​​
จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก แต่ให้มีความตระหนักในการป้องกันและระวังตัว และเตรียมความพร้อมในการวางแผนและกำหนดมาตรการอย่างรอบด้าน รวมทั้งประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้และภูมิปัญญาที่จะสามารถรับมือกับโรคฝีดาษลิงได้อย่างแน่นอน

ด้วยความปรารถนาดี
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
23 สิงหาคม 2567

https://www.facebook.com/100044511276276/posts/pfbid0v8ELDqDcnAZ2MgmuoGJU9Faxw4irDyQS7guRbaDmfwTqhy4QJCrTF8j4YHLVjGexl/?
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ออกแถลงการณ์แนะคนไทยตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกฝีดาษวานร
https://mgronline.com/qol/detail/9670000078027
แถลงการณ์วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับที่ 001/2567 เรื่อง ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง ​จากสถานการณ์โรคระบาดฝีดาษลิงในต่างประเทศซึ่งมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งในเวลาต่อมาอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่าได้พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกในประเทศไทยแล้ว โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวได้เดินทางมาจากประเทศแถบทวีปแอฟริกา ข่าวดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนคนไทยโดยทั่วไป เกิดความสับสนในข่าวสารและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเห็นสมควรให้ชี้แจงกับประชาชน ให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง ดังต่อไปนี้ ​​ประการแรก ตามรายงานในต่างประเทศซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ฉบับเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พบว่ามีผู้ป่วยส่วนใหญ่กักตัวที่บ้าน มีเพียงไม่เกินร้อยละ 13 ที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพราะต้องการแยกตัว หรือมีอาการรุนแรง โดยมีอัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1 แต่สำหรับประเทศไทย ปรากฏเป็นข้อมูลที่เคยแถลงข่าวโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 รายงานว่า ประเทศไทยเคยมีผู้ป่วยฝีดาษลิงอยู่แล้วตั้งแต่กรกฏาคม 2565 ถึง 2 มิถุนายน 2567 จำนวน 794 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิง 11 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทยอยู่เพียงร้อยละ 1.38 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตในระดับต่ำ ประการที่สอง สำหรับกรณีการกลายพันธุ์เป็นชนิด เคลด วันบี (Clade Ib ) เกิดขึ้นประมาณ กันยายน 2566 ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายและความรุนแรงมากขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเท่าที่มีข้อมูลในประเทศแถบแอฟริกาพบว่า ผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่มีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 4 ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่ามีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงชนิด เคลด วันบี แล้ว 1 ราย ซึ่งเดินทางมาจากประเทศหนึ่งในแถบแอฟริกา ดังนั้นกรมควบคุมโรคควรมีมาตรการในการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ​​ ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีระยะเวลาฟักตัวภายใน 21 วัน และสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการก่อนจะมีผื่นขึ้น กล่าวคือ มีไข้พบได้ร้อยละ 62 ปวดกล้ามเนื้อพบได้ร้อยละ 31 ปวดหัวพบได้ร้อยละ 27 ต่อมน้ำเหลืองโตพบได้ร้อยละ 56 เซื่องซึมพบได้ร้อยละ 41 หลังจากนั้นจะมีโอกาสผื่นขึ้นต่อมาร้อยละ 95 ทั้งนี้อาจเกิดตุ่มในปาก อวัยวะเพศชายและหญิง ช่องคลอด หรือรูทวารหนักได้ด้วย ผู้ป่วยจะถูกแยกกักกันนานประมาณ 21 วัน หรือจนพ้นระยะเวลาแพร่เชื้อคือ ทุกรอยโรคหายไป ตกสะเก็ดและสะเก็ดหลุดจนมีผิวหนังปกติ โดยหลังจากหายป่วยแล้วควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ก็ตามเป็นเวลาหนึ่งเดือน ​​ อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงส่วนใหญ่สามารถหายเองได้โดยรักษาตามอาการ เพราะยังไม่พบยาต้านไวรัสชนิดนี้ โดยแม้แต่ยา Tecovirimat ที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้รักษาฝีดาษลิงชนิดเคลด วันบี ก็ยังไม่ได้ผลในการรักษาแต่ประการใด เพราะตามประกาศของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 พบรายงานการวิจัยในมนุษย์ว่ายา Tecovirimat ไม่ได้ลดระยะผื่นของฝีดาษลิงในผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ประเทศคองโก รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ไม่ว่าจะใช้ยา Tecovirimat หรือไม่ใช้ก็ตาม ​​ ประการที่สาม กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี สตรีมีครรภ์ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) ตุ่มพุพอง ตกสะเก็ด คัน แสบ สะเก็ดเงิน โดยจากข้อมูลในทวีปแอฟริกา พบว่ากลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 10 กลุ่มเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง เลือด หนอง สิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อฝีดาษลิง รวมถึงควรล้างมือเป็นประจำและไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ประการที่สี่ สำหรับผู้มีอาชีพหรือผู้รับบริการที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ควรต้องสอบถามผู้ที่จะมาสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ว่ามีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่ เช่น ปวดตามร่างกายแบบลักษณะมีไข้ หรือมีไข้ ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโต เซื่องซึม มีตุ่มหรือผื่นตามร่างกาย หากมีอาการดังกล่าวควรแนะนำให้ไปพบแพทย์ ประการที่ห้า อาการที่เสี่ยงเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อแล้ว ได้แก่ มีตุ่มแผลบริเวณเยื่อบุตา ผื่นตุ่มที่แพร่กระจายทั่วตัว หรือผื่นขึ้นแบบกระจุกตัว (Cluster) มีตกเลือดในบริเวณผื่นตุ่ม อาการไข้และอาการทางร่างกายที่หนักขึ้น รวมทั้งหายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ​​ ประการที่หก ที่ผ่านมายังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามวันที่ 24 กรกฏาคม 2565 สหภาพยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (JYNNEOS) เพื่อประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง ทั้งนี้ผลสำรวจงานวิจัยในวารสาร New England ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 รายงานว่าทหารอเมริกันผู้เคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษชนิดเดียวกันกับที่ประเทศไทยเคยใช้ในอดีต หรือวัคซีน ACAM2000 หรือวัคซีน JYNNEOS ในปัจจุบัน ในระหว่างปี 2545 ถึง 2560 จำนวน 2.6 ล้านคนพบว่ามีโอกาสติดเชื้อฝีดาษทุกชนิดลดลง ​​ สำหรับประเทศไทยผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุตั้งแต่ 44 ปีขึ้นไป น่าจะได้รับการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยทั่วไปแล้ว โดยสามารถสังเกตแผลเป็นที่บริเวณหัวไหล่ของผู้ที่เคยได้รับการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งทำให้ช่วยลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิงได้ และกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนแล้ว สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปี หรือไม่เคยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ยังไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนในขณะนี้ เพราะยังสามารถใช้มาตราการป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อฝีดาษลิง ​​เพราะตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน JYNNEOS รายงานว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 8 ต่อ10,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าการฉีดวัควัคซีนจริงปรากฏตามรายงานในวารสาร Vaccine ฉบับเผยแพร่ออนไลน์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ซึ่งรายงานว่าการฉีดวัคซีน JYNNEOS อย่างน้อย 1 เข็ม มีโอกาสได้รับผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 3.1 ต่อ 1,000 โดส อีกทั้งยังไม่เคยมีการวิจัยผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนชนิดนี้สำหรับประชากรไทยมาก่อนด้วย ดังนั้นผู้ที่สมควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง จึงควรเป็นกลุ่มประชากรที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงและบุคลากรสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมากที่สุด รวมทั้งผู้มีอาชีพที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนังกับผู้อื่น ประการที่เจ็ด สำหรับผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว ให้กักตัวเองและรักษาตามอาการ ทั้งนี้ในกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทยในการรักษาโรคระบาดที่มีผื่นหรือตุ่มตามผิวหนังนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดเจนและได้ถูกรับรองตามกฏหมายในฐานะเป็นตำรับยาและตำรายาแผนไทยของชาติในการรับมือกับโรคระบาด ได้แก่ ​​ พระคัมภีร์ตักกะศิลาตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีขั้นตอนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการกระทุ้งพิษไข้ด้วยยาห้าราก ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก และตำรับยาเพื่อขั้นตอนการครอบไข้ ซึ่งมีตำรับยาใน 3 ขั้นตอนนี้ รวม 7 ขนาน ​​ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาขาว ซึ่งเป็นยาขนานเดียวตามตำรายาของศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่ามีสรรพคุณรักษาโรคระบาดได้หลายชนิด อีกทั้งยังมีตำรับยาหลายขนานสำหรับรักษาโรคฝีดาษโดยเฉพาะ ตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณ เล่ม 3 ของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) สำหรับการแพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาโรคตามภาวะร่างกายโดยมีพื้นฐานการขับพิษ-ขับร้อน การปรับความร้อนระดับเลือด การขับความชื้น การปรับสมดุลของม้าม กระเพาะอาหาร การบำรุงเลือดและพลัง เพื่อขับพิษและเสริมพลังพื้นฐานในการต่อสู้กับโรคฝีดาษลิง ​​ สำหรับงานวิจัยเภสัชสมุนไพรปรากฏในวารสาร Frontiers in cellular and infection Microbiology เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ซึ่งวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางโมเลกุล พบว่า ขมิ้นชันมีปฏิกริยาต่อต้านไวรัสฝีดาษลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกลไกการขัดขวางยับยั้งไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรนำมาศึกษาและวิจัยการใช้ขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคฝีดาษของมนุษย์ต่อไป เพราะเป็นสมุนไพรที่มีราคาถูก เข้าถึงได้ทั่วไป คนไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งกลไกในหลายขั้นตอนของไวรัสอีกหลายชนิด ​​ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรเดี่ยวที่มีศักยภาพในการต้านไวรัสหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม เสลดพังพอนตัวเมีย กัญชา กัญชง ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงว่าจะมีศักยภาพและสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงต่อไปได้หรือไม่ ​​ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยฝีดาษลิงที่เลือกกักตัวเองอยู่ที่บ้าน สามารถขอรับคำปรึกษาและรับตำรับยากับคลินิกการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีน ทั่วประเทศ รวมถึงสหคลินิการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-6000 ต่อ 4406 หรือ 089-770-5862 อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเก็บข้อมูลติดตามผลและทำการศึกษาวิจัยผลการรักษาภายหลังต่อไป ​​ จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก แต่ให้มีความตระหนักในการป้องกันและระวังตัว และเตรียมความพร้อมในการวางแผนและกำหนดมาตรการอย่างรอบด้าน รวมทั้งประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้และภูมิปัญญาที่จะสามารถรับมือกับโรคฝีดาษลิงได้อย่างแน่นอน ด้วยความปรารถนาดี วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 สิงหาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/pfbid0v8ELDqDcnAZ2MgmuoGJU9Faxw4irDyQS7guRbaDmfwTqhy4QJCrTF8j4YHLVjGexl/? วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ออกแถลงการณ์แนะคนไทยตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกฝีดาษวานร https://mgronline.com/qol/detail/9670000078027
0 Comments 0 Shares 15 Views 0 Reviews