ทำดีแบบแม่นํ้า
โดย นิลฉงน นลเฉลย
(อาจารย์หมออรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง)
“ทำดีแบบแม่น้ำ” ทำอย่างไร ทำไมต้องเป็นแม่น้ำ จริงๆผมเขียนบทความชิ้นนี้ เพราะต้องการให้กำลังใจ
กับ คนที่ทำความดี คนที่ชอบทำความดี คนที่อยากทำความดี เนื่องจาก ผมมักจะประสบ พบเจอ คนที่ทำ
เรื่องดีๆ ที่มักประสบปัญหาว่า เรื่องดีเรื่องแรกมักจะชักนำเรื่องดีเรื่องอื่นๆเข้ามา ทำให้มีเรื่องดีๆที่อยากทำมากขึ้นเรื่อยๆ จนคิดว่ามีเวลาไม่พอที่จะทำทุกเรื่อง จะต้องเลือกว่าจะทำเรื่องไหนก่อน ปัญหาคือ พอจะลงมือเลือกก็เห็นว่า เรื่องดีๆแต่ละเรื่อง มีดีไปคนละแบบ เลือกยาก ตัดสินใจลำบาก เลยก่อให้ความกังวล ไม่สบายใจ ทั้งๆที่ตั้งต้นด้วยเรื่องที่ควรสร้างความสบายใจ คือเรื่องการทำความดี ผมคิดว่าพอจะมีทางออก
สำหรับปัญหาแบบนี้ คือการที่ต้อง “ทำดีแบบแม่น้ำ” เอาละครับทีนี้ ทำดีแบบแม่น้ำคือ อะไร ก่อนจะตอบตรงนี้ ผมขออธิบายเรื่องการทำดี ๒ แบบ คือ แบบ แอ่งน้ำ และแบบลำธาร ก่อน
การทำดีแบบ แอ่งน้ำ คือการทำดีที่อยู่กับที่ ทำของเราให้ดีที่อาจจะมีการขยาย แต่เป็นการขยายให้แอ่งน้ำนั้น ใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น ไม่คิดจะขับเคลื่อนอะไร ไม่มีเป้ าหมายที่จะผลักดันเรื่องดีๆนี้ไปที่อื่น ทำอยู่เฉพาะตัว
เฉพาะที่ที่เรา ควบคุมได้ ไม่ยุ่งไม่เชื่อมต่อกับใคร มุ่งแต่ทำให้แอ่งน้ำนั้นใสสะอาด และหวังว่าจะมี น้ำดีไหล มารวมกันมากขึ้น
การทำดีแบบถัดไปคือการทำดีแบบ ลำธาร คือ การทำดีที่เริ่ม มีเป้าหมาย มีแรงผลักดัน อยากจะให้เรื่องดีที่ได้ทำแล้วนั้น ถ่ายทอดไปยังที่อื่น พอเริ่มเคลื่อนไหว ก็เป็นธรรมดาที่ลำธารจะไหล ผ่านแอ่งน้ำ แล้วก็จะเริ่ม
มีแอ่งน้ำใหม่ๆ ที่อยากเข้ามาร่วมอยู่ในลำธารสายนี้ ถึงตอนนี้ ลำธารก็จะเริ่มกังวล แค่เรื่องที่ลำธารอยากจะผลักดัน ยังทำไม่ไหว ลำธารเล็กๆ อย่างเรา จะรับเรื่องอื่นๆได้หรือ จะมีแรงพอที่จะฝ่าฟันอุปสรรคที่ขวางทางอยู่หรือ
ทั้งการทำดีแบบแอ่งน้ำ และการทำดีแบบ ลำธาร ผู้ที่ทำจะรู้สึกว่าเราเป็น “เจ้าของ” เรื่องนั้น เป็น ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในชะตากรรม ของ แอ่งน้ำ และ ลำธาร ที่สร้างขึ้น ความกังวลนี้เอง ที่บางครั้งก่อให้เกิดความท้อ
เราจะทำได้ไหม เราจะทำไหวไหม ถ้ามีน้ำเสียเข้ามาปนเปื้อนมากๆ ลำธาร หรือแอ่งน้ำของเรา จะยังคงเป็นน้ำดี อยู่ไหม กังวลกลัวคนไม่ดีจะมาทำให้เรื่องดีๆที่เราทำเอาไว้ “เสียหาย” พลอยทำให้ท้อ ไม่อยากทำต่อ ไม่อยากขยาย เพราะกลัวควบคุมไม่ได้ กลัวว่ากำลังจะไม่พอ
การทำดีแบบสุดท้ายคือการทำดีแบบ แม่น้ำ ถ้าท่านนึกถึงแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่สักสายหนึ่ง ท่านจะพบว่า แม่น้ำสายนั้น มีก่อกำเนิดมาจาก แอ่งน้ำและ ลำธาร หลายร้อยสาย เมื่อมารวมกันเป็ นสายน้ำแล้ว จะมีพลังขับเคลื่อนที่มากมาย กลายเป็นสายน้ำที่เชี่ยวกราก ไหลไปสู่เป้าหมาย ถึงแม้กระแสน้ำจะเจอ อุปสรรค โขดหิน หรือ ภูเขาตั้งขวาง กระแสน้ำนั้นก็ยังคงพุ่งทะยาน ผ่านอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ หลายครั้งหลายคราที่แม่น้ำจะมีสิ่งปฏิกูล ของโสโครกไหลมาปนเปื้อน แต่ด้วยความยิ่งใหญ่ของสายน้ำ แม่น้ำก็สามารถพัดพาสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นทิ้งไปได้ การทำดีแบบสายน้ำก็เช่นกัน ที่สำคัญคือถ้าเราจะทำดีแบบนั้น
เราต้องเอาตัวเราเข้าเป็น “ส่วนหนึ่ง” ของกระแสน้ำ เราไม่สามารถเป็น “เจ้าของ” เหมือนตอนที่เราทำแบบ แอ่งน้ำ หรือ ลำธารได้ เราเพียงทำได้แค่ เลือก กระแสน้ำ “ที่มีเป้าหมายร่วม” เหมือนกันกับเรา การที่เรายอมเข้าร่วมในกระแสแห่งการทำดี กระแสธรรม ที่มีเป้ าหมายที่ดีร่วมกันนี้เอง จะช่วยให้เรารับรู้ถึงพลังอันยิ่งใหญ่ไพศาลของกระแสน้ำ ลดความกังวลว่าเราจะทำเรื่องนั้นไหวไหม ได้ไหม เพราะเราไม่ใช่ผู้ที่กุมชะตาของกระแสน้ำอีก
ต่อไป เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่มีพลังขับเคลื่อนไปสู่เป้ าหมายใหญ่ ในขณะเดียวกัน เราก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ไม่ต้องกังวลว่าจะรับผิดชอบเป้ าหมายที่ใหญ่นั้นได้หรือไม่
นี่ละครับคือการทำดี แบบ แม่น้ำ การทำดีที่ยอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระแสแห่งความดี ถ้าทำได้แบบนี้ เรื่องดีต่างๆ ที่เราเคยคิดว่า จะทำได้ไหมหนอ จะทำไหวไหมหนอ ก็จะกลายเป็นเรื่อง ที่ทำได้ ทำไหว แต่ไม่ใช่เราคนเดียวทำ แต่เป็นพวกเราที่ร่วมอยู่ในกระแสน้ำแห่งธรรมนี้ ร่วมกันทำ หัวใจสำคัญของการทำดีแบบแม่น้ำ คือ ต้องตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน เป้าหมายนั้นต้องเป็นเรื่องที่ดี ต้องเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ จะเป็นเป้าหมายแคบๆ เฉพาะตนไม่ได้ แม่น้ำต้องใจกว้างยอมรับการเข้าร่วมของลำธารทุกสายที่มีเป้าหมาย
ร่วมกันได้ หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้ามีลำธารน้ำเสียไหลมารวม จะไม่พลอยทำให้น้ำในแม่น้ำเสียหรือ ไม่ครับ เพราะแม่น้ำมุ่งไปที่เป้า ไม่ได้สนใจที่ความบริสุทธิ์ของสายน้ำ ตราบใดที่เป้าหมายนั้นดี เป็นธรรมดาที่จะมี
น้ำดีไหลเข้ามารวมมากกว่าน้ำเสีย (ถ้ามีน้ำเสียไหลมารวมมากต้องสงสัยว่าเป้าหมายนั้นดีจริงหรือ) น้ำเสียส่วนน้อยที่ไหลมารวมในแม่น้ำก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันแม่น้ำให้ไปถึงเป้ าหมายได้เช่นกัน การทำดีแบบแม่น้ำจะทำโดยไม่กังวลว่า คนที่ทำกับเราเขาดีจริงหรือ ตราบใดที่เป้ าหมายที่เขามีตรงกันกับเรา ที่สำคัญ คือ แม่น้ำแห่งความดีนี้มีหลายสาย คนบางคนที่ทำตัวเป็นโขดหินขวางทางน้ำในบางเรื่อง อาจกลายเป็นสายน้ำที่ร่วมขับเคลื่อนเรื่องดีๆเรื่องอื่น ครับ หวังว่าท่านผู้อ่าน จะพอมองเห็นภาพ การทำดีแบบแม่น้ำได้ชัดขึ้น และมีแรงใจที่จะทำความดีต่อไปครับ
บุญกุศลอันใด ที่เกิดจากบทความชิ้นนี้ ขอมอบอุทิศถวายแด่ ล้นเกล้ารัชกาลที่สาม พร้อมทั้งพระประยูรวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร ทุกท่าน ทุกพระองค์ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆทั้งสิ้น สามารถนำไปแจกจ่าย คัดลอก ทำซ้ำ ได้ตามต้องการ
หากมีข้อซักถาม ข้อแนะนำหรืออยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดจากการอ่านบทความชิ้นนี้ กรุณาส่ง อีเมลมาที่
นิลฉงน นลเฉลย <nilchangonnolchaloey@gmail.com>
ทำดีแบบแม่นํ้า โดย นิลฉงน นลเฉลย (อาจารย์หมออรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง) “ทำดีแบบแม่น้ำ” ทำอย่างไร ทำไมต้องเป็นแม่น้ำ จริงๆผมเขียนบทความชิ้นนี้ เพราะต้องการให้กำลังใจ กับ คนที่ทำความดี คนที่ชอบทำความดี คนที่อยากทำความดี เนื่องจาก ผมมักจะประสบ พบเจอ คนที่ทำ เรื่องดีๆ ที่มักประสบปัญหาว่า เรื่องดีเรื่องแรกมักจะชักนำเรื่องดีเรื่องอื่นๆเข้ามา ทำให้มีเรื่องดีๆที่อยากทำมากขึ้นเรื่อยๆ จนคิดว่ามีเวลาไม่พอที่จะทำทุกเรื่อง จะต้องเลือกว่าจะทำเรื่องไหนก่อน ปัญหาคือ พอจะลงมือเลือกก็เห็นว่า เรื่องดีๆแต่ละเรื่อง มีดีไปคนละแบบ เลือกยาก ตัดสินใจลำบาก เลยก่อให้ความกังวล ไม่สบายใจ ทั้งๆที่ตั้งต้นด้วยเรื่องที่ควรสร้างความสบายใจ คือเรื่องการทำความดี ผมคิดว่าพอจะมีทางออก สำหรับปัญหาแบบนี้ คือการที่ต้อง “ทำดีแบบแม่น้ำ” เอาละครับทีนี้ ทำดีแบบแม่น้ำคือ อะไร ก่อนจะตอบตรงนี้ ผมขออธิบายเรื่องการทำดี ๒ แบบ คือ แบบ แอ่งน้ำ และแบบลำธาร ก่อน การทำดีแบบ แอ่งน้ำ คือการทำดีที่อยู่กับที่ ทำของเราให้ดีที่อาจจะมีการขยาย แต่เป็นการขยายให้แอ่งน้ำนั้น ใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น ไม่คิดจะขับเคลื่อนอะไร ไม่มีเป้ าหมายที่จะผลักดันเรื่องดีๆนี้ไปที่อื่น ทำอยู่เฉพาะตัว เฉพาะที่ที่เรา ควบคุมได้ ไม่ยุ่งไม่เชื่อมต่อกับใคร มุ่งแต่ทำให้แอ่งน้ำนั้นใสสะอาด และหวังว่าจะมี น้ำดีไหล มารวมกันมากขึ้น การทำดีแบบถัดไปคือการทำดีแบบ ลำธาร คือ การทำดีที่เริ่ม มีเป้าหมาย มีแรงผลักดัน อยากจะให้เรื่องดีที่ได้ทำแล้วนั้น ถ่ายทอดไปยังที่อื่น พอเริ่มเคลื่อนไหว ก็เป็นธรรมดาที่ลำธารจะไหล ผ่านแอ่งน้ำ แล้วก็จะเริ่ม มีแอ่งน้ำใหม่ๆ ที่อยากเข้ามาร่วมอยู่ในลำธารสายนี้ ถึงตอนนี้ ลำธารก็จะเริ่มกังวล แค่เรื่องที่ลำธารอยากจะผลักดัน ยังทำไม่ไหว ลำธารเล็กๆ อย่างเรา จะรับเรื่องอื่นๆได้หรือ จะมีแรงพอที่จะฝ่าฟันอุปสรรคที่ขวางทางอยู่หรือ ทั้งการทำดีแบบแอ่งน้ำ และการทำดีแบบ ลำธาร ผู้ที่ทำจะรู้สึกว่าเราเป็น “เจ้าของ” เรื่องนั้น เป็น ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในชะตากรรม ของ แอ่งน้ำ และ ลำธาร ที่สร้างขึ้น ความกังวลนี้เอง ที่บางครั้งก่อให้เกิดความท้อ เราจะทำได้ไหม เราจะทำไหวไหม ถ้ามีน้ำเสียเข้ามาปนเปื้อนมากๆ ลำธาร หรือแอ่งน้ำของเรา จะยังคงเป็นน้ำดี อยู่ไหม กังวลกลัวคนไม่ดีจะมาทำให้เรื่องดีๆที่เราทำเอาไว้ “เสียหาย” พลอยทำให้ท้อ ไม่อยากทำต่อ ไม่อยากขยาย เพราะกลัวควบคุมไม่ได้ กลัวว่ากำลังจะไม่พอ การทำดีแบบสุดท้ายคือการทำดีแบบ แม่น้ำ ถ้าท่านนึกถึงแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่สักสายหนึ่ง ท่านจะพบว่า แม่น้ำสายนั้น มีก่อกำเนิดมาจาก แอ่งน้ำและ ลำธาร หลายร้อยสาย เมื่อมารวมกันเป็ นสายน้ำแล้ว จะมีพลังขับเคลื่อนที่มากมาย กลายเป็นสายน้ำที่เชี่ยวกราก ไหลไปสู่เป้าหมาย ถึงแม้กระแสน้ำจะเจอ อุปสรรค โขดหิน หรือ ภูเขาตั้งขวาง กระแสน้ำนั้นก็ยังคงพุ่งทะยาน ผ่านอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ หลายครั้งหลายคราที่แม่น้ำจะมีสิ่งปฏิกูล ของโสโครกไหลมาปนเปื้อน แต่ด้วยความยิ่งใหญ่ของสายน้ำ แม่น้ำก็สามารถพัดพาสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นทิ้งไปได้ การทำดีแบบสายน้ำก็เช่นกัน ที่สำคัญคือถ้าเราจะทำดีแบบนั้น เราต้องเอาตัวเราเข้าเป็น “ส่วนหนึ่ง” ของกระแสน้ำ เราไม่สามารถเป็น “เจ้าของ” เหมือนตอนที่เราทำแบบ แอ่งน้ำ หรือ ลำธารได้ เราเพียงทำได้แค่ เลือก กระแสน้ำ “ที่มีเป้าหมายร่วม” เหมือนกันกับเรา การที่เรายอมเข้าร่วมในกระแสแห่งการทำดี กระแสธรรม ที่มีเป้ าหมายที่ดีร่วมกันนี้เอง จะช่วยให้เรารับรู้ถึงพลังอันยิ่งใหญ่ไพศาลของกระแสน้ำ ลดความกังวลว่าเราจะทำเรื่องนั้นไหวไหม ได้ไหม เพราะเราไม่ใช่ผู้ที่กุมชะตาของกระแสน้ำอีก ต่อไป เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่มีพลังขับเคลื่อนไปสู่เป้ าหมายใหญ่ ในขณะเดียวกัน เราก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ไม่ต้องกังวลว่าจะรับผิดชอบเป้ าหมายที่ใหญ่นั้นได้หรือไม่ นี่ละครับคือการทำดี แบบ แม่น้ำ การทำดีที่ยอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระแสแห่งความดี ถ้าทำได้แบบนี้ เรื่องดีต่างๆ ที่เราเคยคิดว่า จะทำได้ไหมหนอ จะทำไหวไหมหนอ ก็จะกลายเป็นเรื่อง ที่ทำได้ ทำไหว แต่ไม่ใช่เราคนเดียวทำ แต่เป็นพวกเราที่ร่วมอยู่ในกระแสน้ำแห่งธรรมนี้ ร่วมกันทำ หัวใจสำคัญของการทำดีแบบแม่น้ำ คือ ต้องตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน เป้าหมายนั้นต้องเป็นเรื่องที่ดี ต้องเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ จะเป็นเป้าหมายแคบๆ เฉพาะตนไม่ได้ แม่น้ำต้องใจกว้างยอมรับการเข้าร่วมของลำธารทุกสายที่มีเป้าหมาย ร่วมกันได้ หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้ามีลำธารน้ำเสียไหลมารวม จะไม่พลอยทำให้น้ำในแม่น้ำเสียหรือ ไม่ครับ เพราะแม่น้ำมุ่งไปที่เป้า ไม่ได้สนใจที่ความบริสุทธิ์ของสายน้ำ ตราบใดที่เป้าหมายนั้นดี เป็นธรรมดาที่จะมี น้ำดีไหลเข้ามารวมมากกว่าน้ำเสีย (ถ้ามีน้ำเสียไหลมารวมมากต้องสงสัยว่าเป้าหมายนั้นดีจริงหรือ) น้ำเสียส่วนน้อยที่ไหลมารวมในแม่น้ำก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันแม่น้ำให้ไปถึงเป้ าหมายได้เช่นกัน การทำดีแบบแม่น้ำจะทำโดยไม่กังวลว่า คนที่ทำกับเราเขาดีจริงหรือ ตราบใดที่เป้ าหมายที่เขามีตรงกันกับเรา ที่สำคัญ คือ แม่น้ำแห่งความดีนี้มีหลายสาย คนบางคนที่ทำตัวเป็นโขดหินขวางทางน้ำในบางเรื่อง อาจกลายเป็นสายน้ำที่ร่วมขับเคลื่อนเรื่องดีๆเรื่องอื่น ครับ หวังว่าท่านผู้อ่าน จะพอมองเห็นภาพ การทำดีแบบแม่น้ำได้ชัดขึ้น และมีแรงใจที่จะทำความดีต่อไปครับ บุญกุศลอันใด ที่เกิดจากบทความชิ้นนี้ ขอมอบอุทิศถวายแด่ ล้นเกล้ารัชกาลที่สาม พร้อมทั้งพระประยูรวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร ทุกท่าน ทุกพระองค์ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆทั้งสิ้น สามารถนำไปแจกจ่าย คัดลอก ทำซ้ำ ได้ตามต้องการ หากมีข้อซักถาม ข้อแนะนำหรืออยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดจากการอ่านบทความชิ้นนี้ กรุณาส่ง อีเมลมาที่ นิลฉงน นลเฉลย <nilchangonnolchaloey@gmail.com>
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 39 มุมมอง 0 รีวิว