โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้ประกันตน 2567 เริ่ม 1 พ.ย. 2567 กู้ได้ 2 ล้าน
.
วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เร่งผลักดันนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จับมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง จัดโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 เพื่อเป้าหมาย “ทำให้คนไทยมีบ้าน” โดยจะช่วยให้ผู้ประกันตนทุกคนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นั้น
.
สำนักงานประกันสังคม จึงได้นำโครงการดังกล่าว เสนอคณะกรรมการประกันสังคม และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ให้ดำเนิน "โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567” สามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ภายในวงเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ให้กับผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องส่งเงินสมทบต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนเดือนที่ขอใช้สิทธิ
.
โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
- เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
- เพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีภาระผ่อนที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ผู้ประกันตนสามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 1.59 ต่อปี คงที่เป็นระยะเวลา 5 ปี และในปีที่ 6 – 8 อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 2 ต่อปี (MRR–2%) และตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 0.5 ต่อปี (MRR–0.5%) โดยผู้ประกันตนจะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท
.
ผู้ประกันตนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ ดาวน์โหลด Application SSO Plus เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นประกอบการขอสินเชื่อฯ
.
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม
.
- https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/e1fb643574d4535064f0e92a999729f9.pdf
.
#PlanWise
โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้ประกันตน 2567 เริ่ม 1 พ.ย. 2567 กู้ได้ 2 ล้าน . วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เร่งผลักดันนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จับมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง จัดโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 เพื่อเป้าหมาย “ทำให้คนไทยมีบ้าน” โดยจะช่วยให้ผู้ประกันตนทุกคนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นั้น . สำนักงานประกันสังคม จึงได้นำโครงการดังกล่าว เสนอคณะกรรมการประกันสังคม และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ให้ดำเนิน "โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567” สามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ภายในวงเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ให้กับผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องส่งเงินสมทบต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนเดือนที่ขอใช้สิทธิ . โดยมีวัตถุประสงค์ - เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย - เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย - เพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีภาระผ่อนที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ผู้ประกันตนสามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 1.59 ต่อปี คงที่เป็นระยะเวลา 5 ปี และในปีที่ 6 – 8 อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 2 ต่อปี (MRR–2%) และตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 0.5 ต่อปี (MRR–0.5%) โดยผู้ประกันตนจะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท . ผู้ประกันตนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ ดาวน์โหลด Application SSO Plus เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นประกอบการขอสินเชื่อฯ . ที่มา: สำนักงานประกันสังคม . - https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/e1fb643574d4535064f0e92a999729f9.pdf . #PlanWise
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 133 มุมมอง 0 รีวิว