อ่านเอาเรื่อง Ep.72 : ชอล์ควิเศษ “ฮาโกโรโม”
ความในตอนนี้เกิดจากที่ผมไปดูคอร์สสอนหนังสือของ MIT ที่เขาเปิดให้ชมฟรีบนยูทูบครับ ซึ่งอันที่ผมดูเป็นวิชาแคลคูลัส ดูไปดูมาผมกลับไปสังเกตว่า “เออแฮะ ขนาดโปรเฟสเซอร์ในมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งอย่าง MIT เขายังใช้ชอล์คเขียนบนกระดานเหมือนสมัยเราเด็กๆเลย”
แล้วก็คิดต่อไปว่า “ทำไมชอล์คที่โปรเฟสเซอร์ใช้มันดูเขียนลื่น คุณภาพดีจังแฮะ”
ว่าแล้วผมก็ไปหาข้อมูลต่อว่า ชอล์คที่อาจารย์ MIT ใช้น่ะ “มันเป็นชอล์คยี่ห้ออะไร?”
คำตอบคือ “เป็นชอล์คแบรนด์ญี่ปุ่น ยี่ห้อฮาโกโรโม (Hagoromo)“ ครับ
และเรื่องต่อไปนี้คือ เรื่องของความวิเศษของชอล์คยี่ห้อฮาโกโรโมครับ
.
.
.
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ บรรดาศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชื่อดังไม่ว่าจะเป็นไอวี่ลีกอย่าง บราวน์, โคลัมเบีย, คอร์แนล หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆในอเมริกานั้น ยังคงลุ่มหลงกับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำอยู่ครับ
เหตุผลก็คือ มันได้อารมณ์สุนทรีที่ต่างจากการเขียนบนไวท์บอร์ด
และชอล์คยี่ห้อที่บรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ใช้ ก็ล้วนแต่ระบุมาว่า ต้องใช้ยี่ห้อฮาโกโรโมเท่านั้น เพราะเขียนลื่น ไม่สะดุด ฝุ่นน้อยมาก มีสีให้ใช้หลายสี
และให้สัมผัสการเขียนที่ละมุนสุดๆ ศาสตราจารย์ที่คอร์แนลถึงกับบรรยายว่า “มันคือโรลส์รอยซ์ของชอล์คเลยนะคุณ”
เมื่อตอนปี 2015 ที่มีข่าวว่าบริษัทในญี่ปุ่นจะเลิกผลิตชอล์คฮาโกโรโมนั้น บรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ก็เร่งซื้อตุนเก็บกันไว้เป็นคลังส่วนตัวเลยเชียว
และราคาของชอล์คยี่ห้อนี้ถือว่าไม่ถูกเลย เพราะบนเว็บแอมะซอนนั้นขายเฉลี่ยอยู่ที่แท่งละ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ (35 บาท) ในขณะที่ยี่ห้ออเมริกันที่ถูกกว่าคือเครโยลา (Crayola) ขายแท่งละประมาณ 10 บาท
ศาสตราจารย์เหล่านี้แกบอกว่า เฉลี่ยแล้วสอนคาบหนึ่ง ใช้ชอล์คไป 4-5 แท่ง แพงหน่อยแต่คุ้มค่าความฟินในการเขียนกระดาน
ความพิเศษของชอล์คฮาโกโรโมนั้น ต้องบอกว่าอยู่ที่ความพิถีพิถันทุกรายละเอียดของเจ้าของแบรนด์ชาวญี่ปุ่นชื่อว่า คุณวาตานาเบ้ ทากายาสุ (Watanabe Takayasu) ครับ
ส่วนผสมที่พอจะเปิดเผยได้ก็คือ ชอล์คฮาโกโรโมนั้นผลิตขึ้นจากแคลเซียม คาร์บอเนต ซึ่งต่างจากชอล์คราคาถูกทั่วๆไปที่ทำจากผงยิปซัมล้วนๆ
นอกจากนั้นแล้วฮาโกโรโมยังผสมผงเปลือกหอยนางรมและดินเหนียวที่ใช้ปั้นถ้วยชามพอร์ชเลนลงไปด้วย ทำให้ชอล์คนี้เนื้อแน่น เขียนติดกระดาน
สีที่นำมาผสมในชอล์คนั้นก็เป็นสูตรที่ไม่มีฟอร์มาลดีไฮด์ และยังมีส่วนผสมลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้อีกหลายรายการ
นอกจากจะต้นทุนสูงแล้ว การผลิตชอล์คฮาโกโรโมนั้นเกือบจะเรียกได้ว่าต้องมีคนลงมือทำทุกกระบวนการครับ ตั้งแต่ผสมส่วนผสมต่างๆนวดจนออกมาเป็นแป้งเหนียวๆ แล้วตัดออกมาเป็นแท่ง อบร้อนจนแห้ง แล้วเคลือบชอล์คด้วยขี้ผึ้งอีกทีก่อนจะประทับตราแพคส่งขาย
ชอล์คแต่ละเซ็ทใช้เวลาผลิต 3 วัน ใช้เครื่องจักรที่คุณวาตานาเบ้แกผลิตเองตั้งแต่ต้น กว่าจะออกมาเป็นชอล์คไฮเอนด์ที่ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ชั้นนำทั่วโลกชอบใช้กัน
.
.
.
ในปี 2015 คุณวาตานาเบ้ชราภาพมากแล้ว และหาคนมาสืบทอดกิจการ 3 ชั่วอายุคนนี้ไม่ได้ มีบริษัทเครื่องเขียนญี่ปุ่นหลายแบรนด์พยายามติดต่อขอซื้อสูตรแต่คุณวาตานาเบ้ไม่ยอมขาย เพราะสังเกตเห็นว่าบริษัทพวกนั้นสนใจแต่จะเอาสูตรลับ ไม่ได้คิดจากผลิตชอล์กตามวิธีดั้งเดิมที่แกทำอยู่
จนกระทั่งมีคุณครูคณิตศาสตร์เกาหลีใต้คนหนึ่งชื่อ “ชิน ยง ซุก“ ซึ่งก็ชอบใช้ชอล์คยี่ห้อนี้ไปเขียนกระดานสอนนักเรียนมาก มากจนถึงขนาดตั้งบริษัทมาเป็นตัวแทนจำหน่ายชอล์คฮาโกโรโมในเกาหลีใต้ในปี 2009
เมื่อคุณครูชินแกทราบข่าวว่าคุณวาตานาเบ้แกจะเลิกกิจการ ครูชินก็บินมาหาคุณวาตานาเบ้ แล้วพูดคุยกันถูกคอยังไงก็ไม่รู้ ทำให้คุณวาตานาเบ้แกมองเห็นว่าครูชินนี่แหละที่จะสามารถสืบทอดการทำชอล์คได้
ก็เลยขายกิจการพร้อมทั้งเครื่องจักรให้ครูชินในราคาถูกเหมือนได้เปล่า ครูชินเพียงแต่ลงทุนขนเครื่องจักรทั้งหมดย้ายจากญี่ปุ่นมาเกาหลีใต้เท่านั้นเอง
ตอนแรกครูชินแกก็กลัวว่าทำออกมาไม่ดีแล้วจะเสียแบรนด์ แต่คุณวาตานาเบ้ก็สอนเคล็ดลับทุกสิ่งอย่าง กระทั่งว่าเปลือกหอยนางรมที่เอามาบดใส่ชอล์คยังขนมาจากญี่ปุ่นเลย วันเปิดโรงงานที่เกาหลีใต้ คุณวาตานาเบ้ก็บินมาเปิดให้
จนกระทั่งชอล์คฮาโกโรโมออกขายได้คุณภาพดีและคงชื่อแบรนด์ไว้เหมือนเดิมทุกประการ และคุณวาตานาเบ้ก็เสียชีวิตลาโลกนี้ไปด้วยโควิดในปี 2020
ทิ้งไว้แต่ชอล์คฮาโกโมโรให้โลกนี้จดจำ
และกิจการของครูชินในชื่อบริษัท “เซจงมอลล์” ก็ขายดิบขายดี ตอนนี้มีปัญหาเดียวคือผลิตไม่พอขายครับ และครูชินไม่กล้าจะขยายการผลิตให้ใหญ่เกินไปนัก เพราะกลัวคุณภาพไม่ดี
…เอามาเล่าสู่กันฟังครับ…
ใครอยากดูสารคดีที่เขาลงทุนเล่าเรื่องของชอล์คฮาโกโรโม เชิญชมข้างล่างนี้เลยครับ
https://youtu.be/PhNUjg9X4g8?si=MlJXTN-hcr3NpJ26
https://youtu.be/BORVxbsdkCM?si=xSquSXFFAxCRAWL2
นัทแนะ
ความในตอนนี้เกิดจากที่ผมไปดูคอร์สสอนหนังสือของ MIT ที่เขาเปิดให้ชมฟรีบนยูทูบครับ ซึ่งอันที่ผมดูเป็นวิชาแคลคูลัส ดูไปดูมาผมกลับไปสังเกตว่า “เออแฮะ ขนาดโปรเฟสเซอร์ในมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งอย่าง MIT เขายังใช้ชอล์คเขียนบนกระดานเหมือนสมัยเราเด็กๆเลย”
แล้วก็คิดต่อไปว่า “ทำไมชอล์คที่โปรเฟสเซอร์ใช้มันดูเขียนลื่น คุณภาพดีจังแฮะ”
ว่าแล้วผมก็ไปหาข้อมูลต่อว่า ชอล์คที่อาจารย์ MIT ใช้น่ะ “มันเป็นชอล์คยี่ห้ออะไร?”
คำตอบคือ “เป็นชอล์คแบรนด์ญี่ปุ่น ยี่ห้อฮาโกโรโม (Hagoromo)“ ครับ
และเรื่องต่อไปนี้คือ เรื่องของความวิเศษของชอล์คยี่ห้อฮาโกโรโมครับ
.
.
.
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ บรรดาศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชื่อดังไม่ว่าจะเป็นไอวี่ลีกอย่าง บราวน์, โคลัมเบีย, คอร์แนล หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆในอเมริกานั้น ยังคงลุ่มหลงกับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำอยู่ครับ
เหตุผลก็คือ มันได้อารมณ์สุนทรีที่ต่างจากการเขียนบนไวท์บอร์ด
และชอล์คยี่ห้อที่บรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ใช้ ก็ล้วนแต่ระบุมาว่า ต้องใช้ยี่ห้อฮาโกโรโมเท่านั้น เพราะเขียนลื่น ไม่สะดุด ฝุ่นน้อยมาก มีสีให้ใช้หลายสี
และให้สัมผัสการเขียนที่ละมุนสุดๆ ศาสตราจารย์ที่คอร์แนลถึงกับบรรยายว่า “มันคือโรลส์รอยซ์ของชอล์คเลยนะคุณ”
เมื่อตอนปี 2015 ที่มีข่าวว่าบริษัทในญี่ปุ่นจะเลิกผลิตชอล์คฮาโกโรโมนั้น บรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ก็เร่งซื้อตุนเก็บกันไว้เป็นคลังส่วนตัวเลยเชียว
และราคาของชอล์คยี่ห้อนี้ถือว่าไม่ถูกเลย เพราะบนเว็บแอมะซอนนั้นขายเฉลี่ยอยู่ที่แท่งละ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ (35 บาท) ในขณะที่ยี่ห้ออเมริกันที่ถูกกว่าคือเครโยลา (Crayola) ขายแท่งละประมาณ 10 บาท
ศาสตราจารย์เหล่านี้แกบอกว่า เฉลี่ยแล้วสอนคาบหนึ่ง ใช้ชอล์คไป 4-5 แท่ง แพงหน่อยแต่คุ้มค่าความฟินในการเขียนกระดาน
ความพิเศษของชอล์คฮาโกโรโมนั้น ต้องบอกว่าอยู่ที่ความพิถีพิถันทุกรายละเอียดของเจ้าของแบรนด์ชาวญี่ปุ่นชื่อว่า คุณวาตานาเบ้ ทากายาสุ (Watanabe Takayasu) ครับ
ส่วนผสมที่พอจะเปิดเผยได้ก็คือ ชอล์คฮาโกโรโมนั้นผลิตขึ้นจากแคลเซียม คาร์บอเนต ซึ่งต่างจากชอล์คราคาถูกทั่วๆไปที่ทำจากผงยิปซัมล้วนๆ
นอกจากนั้นแล้วฮาโกโรโมยังผสมผงเปลือกหอยนางรมและดินเหนียวที่ใช้ปั้นถ้วยชามพอร์ชเลนลงไปด้วย ทำให้ชอล์คนี้เนื้อแน่น เขียนติดกระดาน
สีที่นำมาผสมในชอล์คนั้นก็เป็นสูตรที่ไม่มีฟอร์มาลดีไฮด์ และยังมีส่วนผสมลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้อีกหลายรายการ
นอกจากจะต้นทุนสูงแล้ว การผลิตชอล์คฮาโกโรโมนั้นเกือบจะเรียกได้ว่าต้องมีคนลงมือทำทุกกระบวนการครับ ตั้งแต่ผสมส่วนผสมต่างๆนวดจนออกมาเป็นแป้งเหนียวๆ แล้วตัดออกมาเป็นแท่ง อบร้อนจนแห้ง แล้วเคลือบชอล์คด้วยขี้ผึ้งอีกทีก่อนจะประทับตราแพคส่งขาย
ชอล์คแต่ละเซ็ทใช้เวลาผลิต 3 วัน ใช้เครื่องจักรที่คุณวาตานาเบ้แกผลิตเองตั้งแต่ต้น กว่าจะออกมาเป็นชอล์คไฮเอนด์ที่ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ชั้นนำทั่วโลกชอบใช้กัน
.
.
.
ในปี 2015 คุณวาตานาเบ้ชราภาพมากแล้ว และหาคนมาสืบทอดกิจการ 3 ชั่วอายุคนนี้ไม่ได้ มีบริษัทเครื่องเขียนญี่ปุ่นหลายแบรนด์พยายามติดต่อขอซื้อสูตรแต่คุณวาตานาเบ้ไม่ยอมขาย เพราะสังเกตเห็นว่าบริษัทพวกนั้นสนใจแต่จะเอาสูตรลับ ไม่ได้คิดจากผลิตชอล์กตามวิธีดั้งเดิมที่แกทำอยู่
จนกระทั่งมีคุณครูคณิตศาสตร์เกาหลีใต้คนหนึ่งชื่อ “ชิน ยง ซุก“ ซึ่งก็ชอบใช้ชอล์คยี่ห้อนี้ไปเขียนกระดานสอนนักเรียนมาก มากจนถึงขนาดตั้งบริษัทมาเป็นตัวแทนจำหน่ายชอล์คฮาโกโรโมในเกาหลีใต้ในปี 2009
เมื่อคุณครูชินแกทราบข่าวว่าคุณวาตานาเบ้แกจะเลิกกิจการ ครูชินก็บินมาหาคุณวาตานาเบ้ แล้วพูดคุยกันถูกคอยังไงก็ไม่รู้ ทำให้คุณวาตานาเบ้แกมองเห็นว่าครูชินนี่แหละที่จะสามารถสืบทอดการทำชอล์คได้
ก็เลยขายกิจการพร้อมทั้งเครื่องจักรให้ครูชินในราคาถูกเหมือนได้เปล่า ครูชินเพียงแต่ลงทุนขนเครื่องจักรทั้งหมดย้ายจากญี่ปุ่นมาเกาหลีใต้เท่านั้นเอง
ตอนแรกครูชินแกก็กลัวว่าทำออกมาไม่ดีแล้วจะเสียแบรนด์ แต่คุณวาตานาเบ้ก็สอนเคล็ดลับทุกสิ่งอย่าง กระทั่งว่าเปลือกหอยนางรมที่เอามาบดใส่ชอล์คยังขนมาจากญี่ปุ่นเลย วันเปิดโรงงานที่เกาหลีใต้ คุณวาตานาเบ้ก็บินมาเปิดให้
จนกระทั่งชอล์คฮาโกโรโมออกขายได้คุณภาพดีและคงชื่อแบรนด์ไว้เหมือนเดิมทุกประการ และคุณวาตานาเบ้ก็เสียชีวิตลาโลกนี้ไปด้วยโควิดในปี 2020
ทิ้งไว้แต่ชอล์คฮาโกโมโรให้โลกนี้จดจำ
และกิจการของครูชินในชื่อบริษัท “เซจงมอลล์” ก็ขายดิบขายดี ตอนนี้มีปัญหาเดียวคือผลิตไม่พอขายครับ และครูชินไม่กล้าจะขยายการผลิตให้ใหญ่เกินไปนัก เพราะกลัวคุณภาพไม่ดี
…เอามาเล่าสู่กันฟังครับ…
ใครอยากดูสารคดีที่เขาลงทุนเล่าเรื่องของชอล์คฮาโกโรโม เชิญชมข้างล่างนี้เลยครับ
https://youtu.be/PhNUjg9X4g8?si=MlJXTN-hcr3NpJ26
https://youtu.be/BORVxbsdkCM?si=xSquSXFFAxCRAWL2
นัทแนะ
อ่านเอาเรื่อง Ep.72 : ชอล์ควิเศษ “ฮาโกโรโม”
ความในตอนนี้เกิดจากที่ผมไปดูคอร์สสอนหนังสือของ MIT ที่เขาเปิดให้ชมฟรีบนยูทูบครับ ซึ่งอันที่ผมดูเป็นวิชาแคลคูลัส ดูไปดูมาผมกลับไปสังเกตว่า “เออแฮะ ขนาดโปรเฟสเซอร์ในมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งอย่าง MIT เขายังใช้ชอล์คเขียนบนกระดานเหมือนสมัยเราเด็กๆเลย”
แล้วก็คิดต่อไปว่า “ทำไมชอล์คที่โปรเฟสเซอร์ใช้มันดูเขียนลื่น คุณภาพดีจังแฮะ”
ว่าแล้วผมก็ไปหาข้อมูลต่อว่า ชอล์คที่อาจารย์ MIT ใช้น่ะ “มันเป็นชอล์คยี่ห้ออะไร?”
คำตอบคือ “เป็นชอล์คแบรนด์ญี่ปุ่น ยี่ห้อฮาโกโรโม (Hagoromo)“ ครับ
และเรื่องต่อไปนี้คือ เรื่องของความวิเศษของชอล์คยี่ห้อฮาโกโรโมครับ
.
.
.
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ บรรดาศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชื่อดังไม่ว่าจะเป็นไอวี่ลีกอย่าง บราวน์, โคลัมเบีย, คอร์แนล หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆในอเมริกานั้น ยังคงลุ่มหลงกับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำอยู่ครับ
เหตุผลก็คือ มันได้อารมณ์สุนทรีที่ต่างจากการเขียนบนไวท์บอร์ด
และชอล์คยี่ห้อที่บรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ใช้ ก็ล้วนแต่ระบุมาว่า ต้องใช้ยี่ห้อฮาโกโรโมเท่านั้น เพราะเขียนลื่น ไม่สะดุด ฝุ่นน้อยมาก มีสีให้ใช้หลายสี
และให้สัมผัสการเขียนที่ละมุนสุดๆ ศาสตราจารย์ที่คอร์แนลถึงกับบรรยายว่า “มันคือโรลส์รอยซ์ของชอล์คเลยนะคุณ”
เมื่อตอนปี 2015 ที่มีข่าวว่าบริษัทในญี่ปุ่นจะเลิกผลิตชอล์คฮาโกโรโมนั้น บรรดาศาสตราจารย์เหล่านี้ก็เร่งซื้อตุนเก็บกันไว้เป็นคลังส่วนตัวเลยเชียว
และราคาของชอล์คยี่ห้อนี้ถือว่าไม่ถูกเลย เพราะบนเว็บแอมะซอนนั้นขายเฉลี่ยอยู่ที่แท่งละ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ (35 บาท) ในขณะที่ยี่ห้ออเมริกันที่ถูกกว่าคือเครโยลา (Crayola) ขายแท่งละประมาณ 10 บาท
ศาสตราจารย์เหล่านี้แกบอกว่า เฉลี่ยแล้วสอนคาบหนึ่ง ใช้ชอล์คไป 4-5 แท่ง แพงหน่อยแต่คุ้มค่าความฟินในการเขียนกระดาน
ความพิเศษของชอล์คฮาโกโรโมนั้น ต้องบอกว่าอยู่ที่ความพิถีพิถันทุกรายละเอียดของเจ้าของแบรนด์ชาวญี่ปุ่นชื่อว่า คุณวาตานาเบ้ ทากายาสุ (Watanabe Takayasu) ครับ
ส่วนผสมที่พอจะเปิดเผยได้ก็คือ ชอล์คฮาโกโรโมนั้นผลิตขึ้นจากแคลเซียม คาร์บอเนต ซึ่งต่างจากชอล์คราคาถูกทั่วๆไปที่ทำจากผงยิปซัมล้วนๆ
นอกจากนั้นแล้วฮาโกโรโมยังผสมผงเปลือกหอยนางรมและดินเหนียวที่ใช้ปั้นถ้วยชามพอร์ชเลนลงไปด้วย ทำให้ชอล์คนี้เนื้อแน่น เขียนติดกระดาน
สีที่นำมาผสมในชอล์คนั้นก็เป็นสูตรที่ไม่มีฟอร์มาลดีไฮด์ และยังมีส่วนผสมลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้อีกหลายรายการ
นอกจากจะต้นทุนสูงแล้ว การผลิตชอล์คฮาโกโรโมนั้นเกือบจะเรียกได้ว่าต้องมีคนลงมือทำทุกกระบวนการครับ ตั้งแต่ผสมส่วนผสมต่างๆนวดจนออกมาเป็นแป้งเหนียวๆ แล้วตัดออกมาเป็นแท่ง อบร้อนจนแห้ง แล้วเคลือบชอล์คด้วยขี้ผึ้งอีกทีก่อนจะประทับตราแพคส่งขาย
ชอล์คแต่ละเซ็ทใช้เวลาผลิต 3 วัน ใช้เครื่องจักรที่คุณวาตานาเบ้แกผลิตเองตั้งแต่ต้น กว่าจะออกมาเป็นชอล์คไฮเอนด์ที่ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ชั้นนำทั่วโลกชอบใช้กัน
.
.
.
ในปี 2015 คุณวาตานาเบ้ชราภาพมากแล้ว และหาคนมาสืบทอดกิจการ 3 ชั่วอายุคนนี้ไม่ได้ มีบริษัทเครื่องเขียนญี่ปุ่นหลายแบรนด์พยายามติดต่อขอซื้อสูตรแต่คุณวาตานาเบ้ไม่ยอมขาย เพราะสังเกตเห็นว่าบริษัทพวกนั้นสนใจแต่จะเอาสูตรลับ ไม่ได้คิดจากผลิตชอล์กตามวิธีดั้งเดิมที่แกทำอยู่
จนกระทั่งมีคุณครูคณิตศาสตร์เกาหลีใต้คนหนึ่งชื่อ “ชิน ยง ซุก“ ซึ่งก็ชอบใช้ชอล์คยี่ห้อนี้ไปเขียนกระดานสอนนักเรียนมาก มากจนถึงขนาดตั้งบริษัทมาเป็นตัวแทนจำหน่ายชอล์คฮาโกโรโมในเกาหลีใต้ในปี 2009
เมื่อคุณครูชินแกทราบข่าวว่าคุณวาตานาเบ้แกจะเลิกกิจการ ครูชินก็บินมาหาคุณวาตานาเบ้ แล้วพูดคุยกันถูกคอยังไงก็ไม่รู้ ทำให้คุณวาตานาเบ้แกมองเห็นว่าครูชินนี่แหละที่จะสามารถสืบทอดการทำชอล์คได้
ก็เลยขายกิจการพร้อมทั้งเครื่องจักรให้ครูชินในราคาถูกเหมือนได้เปล่า ครูชินเพียงแต่ลงทุนขนเครื่องจักรทั้งหมดย้ายจากญี่ปุ่นมาเกาหลีใต้เท่านั้นเอง
ตอนแรกครูชินแกก็กลัวว่าทำออกมาไม่ดีแล้วจะเสียแบรนด์ แต่คุณวาตานาเบ้ก็สอนเคล็ดลับทุกสิ่งอย่าง กระทั่งว่าเปลือกหอยนางรมที่เอามาบดใส่ชอล์คยังขนมาจากญี่ปุ่นเลย วันเปิดโรงงานที่เกาหลีใต้ คุณวาตานาเบ้ก็บินมาเปิดให้
จนกระทั่งชอล์คฮาโกโรโมออกขายได้คุณภาพดีและคงชื่อแบรนด์ไว้เหมือนเดิมทุกประการ และคุณวาตานาเบ้ก็เสียชีวิตลาโลกนี้ไปด้วยโควิดในปี 2020
ทิ้งไว้แต่ชอล์คฮาโกโมโรให้โลกนี้จดจำ
และกิจการของครูชินในชื่อบริษัท “เซจงมอลล์” ก็ขายดิบขายดี ตอนนี้มีปัญหาเดียวคือผลิตไม่พอขายครับ และครูชินไม่กล้าจะขยายการผลิตให้ใหญ่เกินไปนัก เพราะกลัวคุณภาพไม่ดี
…เอามาเล่าสู่กันฟังครับ…
ใครอยากดูสารคดีที่เขาลงทุนเล่าเรื่องของชอล์คฮาโกโรโม เชิญชมข้างล่างนี้เลยครับ
https://youtu.be/PhNUjg9X4g8?si=MlJXTN-hcr3NpJ26
https://youtu.be/BORVxbsdkCM?si=xSquSXFFAxCRAWL2
นัทแนะ