สวัสดีครับวันนี้ นายTechTips จะมาเล่าเรื่องหูฟังให้ฟังกันครับผม
เชื่อว่าในยุคสมัยนี้หูฟังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเรามากเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะใช้ทำงาน พักผ่อน ดูหนัง เล่นเกม หรืออะไรต่างๆ แต่รู้มั้ยครับว่า ห๔ฟังมีกี่ประเภทเเละมีข้อควรใช้อย่างไร
วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังสนุกๆครับ

หูฟังที่เรา เคยเห็นส่วนมา ก็จะเเยกออกเป็น 7 ประเภท ใหญ่ๆดังนี้

1.หูฟังแบบคาดศรีษะ (Headphones)
1.1 Around-Ears Headphones หูฟังครอบหู
เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะที่มีขนาดใหญ่ โดยตัวหูฟังจะสามารถครอบหูทั้งหมด กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีระดับหนึ่ง แต่หูฟังประเภทนี้ ก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้การพกพาในบางรุ่นบางยี่ห้ออาจไม่สะดวก แต่ก็มีบางรุ่นที่ทำออกมาให้มีน้ำหนักเบาและพับเก็บได้ ทำให้พกพาได้ง่ายขึ้น
1.2 On-Ears Headphones หูฟังออนเอียร์
ป็นหูฟังแบบคาดศรีษะที่มีขนาดเล็กรองลงมา จากหูฟังแบบครอบหู โดยลักษณะจะมีขนาดเล็ก ลักษณะที่เห็นชัดคือ หูฟังแบบนี้จะแปะข้างหูแทนการครอบที่ใบหูของเรา หูฟังประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปทั้งอยู่กับที่ และพกพาไปใช้งานในสถานที่ต่างๆ เพราะมีขนาดที่เล็กนั่นเองครับ

2.หูฟังเอียร์บัด (Earbuds)
หูฟังขนาดเล็กที่มีใช้งานมาอย่างยาวนาน ด้วยความเล็กและสะดวกในการพกพามาถึงยุคปัจจุบันนี้ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ผมขอหยิบยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ของหูฟังประเภทนี้ เช่น หูฟังของไอโฟน หรือ เอียร์พอด หรือหูฟังที่ให้มาพร้อมกับโทรศัพท์ มือถือเรา ก็นับว่าเป็น หูฟังแบบเอียร์บัด เช่นกันครับ ซึ่งหูฟังประเภทนี้เป็นหูฟังที่มีขนาดเล็ก การใช้งานง่าย น้ำหนักเบามาก

3.หูฟังแบบมีจุกยางเสียบเข้าหู (In Ear)
หูฟังแบบ In-ear จัดได้ว่าเป็นประเภทของหูฟังที่ค่อนข้างนิยมมากในปัจจุบัน เพราะให้ความสะดวกในการพกพาไปใช้งาน หูฟังแบบ In-Ear สามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี ด้วยความที่จุกยางหรือจุกโฟมที่สามารถใส่เข้าไปในรูหูจนปิดสนิท จุดเด่นของหูฟังชนิดนี้ คือ ให้รายละเอียดคุณภาพเสียงที่ชัดเจน
เนื่องด้วยหูฟังอยู่ใกล้รูหูของเรานั่นเองครับ ข้อควรระมัดระวังของหูฟังประเภทนี้ก็คือเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากหูฟังประเภทนี้สามารถกันเสียงได้ดีมากๆ ทำให้เราไม่ค่อยได้ยินเสียงจากภายนอก บางครั้งอาจเกิดอันตรายได้ และสำหรับคนที่ชอบเปิดเสียงดังมากๆก็จะเป็นอันตรายต่อหูได้เช่นกัน

4.หูฟังแบบเกี่ยวหู (Ear Clips)
เป็นหูฟังที่มีขนาดพอๆ กับหูฟังออนเอียร์ แต่ไม่ได้เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะ แบบออนเอียร์ การสวมใส่หูฟังประเภทนี้ จะเป็นการเกี่ยวกับใบหูของเราแทน การสวมใส่แบบเกี่ยวหู มีจุดเด่นคือทำให้แน่น กระชับ และหลุดยาก ปัจจุบันพบเห็นค่อนข้างยาก เหมาะสำหรับใส่ไปออกกำลังกายเป็นต้น

5.อินเอียร์ (In-Ear Monitors) IEM
เราจะมาพูดถึงอินเอียร์มอนิเตอร์ที่ใช้บนเวทีโดยทั่วไป จะเป็นหูฟังขนาด เล็กหรือหูฟังชนิดอินเอียร์ ซึ่งก็มีทั้งแบบ Universal In Ear และ Custom In Ear พูดกันรวมๆ Universal In Ear และ Custom In Ear ข้อดีของหูฟังแบบนี้
ก็คือ ดีไซน์มาเพื่อลดปัญหาเรื่องเสียง ambiance (แอมเบี๊ยน) เสียงบรรยากาศรายรอบ ต่างๆบนเวที หรือในห้องสตูดิโอ ที่มันมีเยอะเกินไป จนก่อเกิดการรบกวนเยอะไปหมด หูฟังแบบนี้เหมาะกับการใช้งานของใครบ้าง เช่น นักดนตรี ศิลปินนักร้อง ทั้งในสตูดิโอ หรืองานประเภท คอนเสิร์ตกลางแจ้ง
หูฟังแบบนี้ให้รายละเอียดเสียงที่ค่อนข้างเที่ยงตรง แม่นยำ คัลเลอร์หรือความผิดเพี้ยนต่ำมากครับ ข้อดีข้อถัดมา ก็คือเราจะได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากขึ้นเนื่องจาก การป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกทำได้ดีนั่นเองครับ ส่วนการเพิ่มหรือลดเสียงก็สามารถทำได้อิสระ ทำให้ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้อย่างชัดเจนครบถ้วน
ส่วนข้อจำกัด ใส่นานๆอาจปวดหูได้หากไซส์หรือขนาดที่ไม่พอดีกับสรีระหูของเรา หากจะถามว่า การนำไปฟังเพลงเพราะใหม ตอบได้เลยว่า อาจไม่ค่อยเพราะพริ้งโดนใจ เพราะแนวเสียงของหูฟังประเภทนี้ ค่อนข้างแฟลตราบเรียบ นั่นเองครับ

6.หูฟังแบบคัสตอม (Custom In-Ear Monitors)
หูฟังคัสตอม เป็นหูฟังอินเอียร์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคล้ายๆกันกับแบบ Universal In Ear แต่เป็นหูฟังที่สั่งทำโดยเฉพาะ เพื่อให้เข้ากับสรีระของหูผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานโดยเฉพาะ ทำให้การสวมใส่พอดี ลดปัญหาเจ็บหรือปวดหูได้ ส่วนการป้องกันเสียงจากภายนอก หูฟังประเภทนี้ ก็ทำได้ดีมากครับ
หูฟังประเภทนี้มีขั้นตอนการผลิต ที่ค่อนข้างละเอียด โดยเริ่มจากการฉีดซิลิโคนเพื่อหล่อพิมพ์จากใบหูของผู้ใช้งาน จากนั้นก็ส่งต้นแบบไปผลิตที่แล็บ ประเทศที่ทำการผลิต ทำให้ใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างใช้ระยะเวลาพอสมควรครับ

7.หูฟังแบบสั่นกระดูก (Bone Conduction Headphones)
ะบบการฟังเพลงผ่านกระดูกหรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “ BONE CONDUCTION “ หลายท่านอาจจะได้เคยเห็นกันมาบ้างแล้วว่าหูฟังประเภทนี้คืออะไร หลักการทำงานของหูฟังจะเป็นการใช้แรงสั่นสะเทือนส่งไปที่กระดูกแก้มทำให้เราได้ยินเสียงโดยที่ต้องไม่ต้องผ่านไปที่แก้วหู ซึ่งประโยนชน์ของ BONE CONDUCTION ทำให้เรา ได้ยินเสียงรายรอบ หรือบรรยากาศรอบข้างได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าไดร์เวอร์อาจจะต่างชนิดกับหูฟัง IN-EAR ทั่วไป แต่ก็ให้รายละเอียดเสียงในแบบเฉพาะของ BONE CONDUCTION

ก็น่าจะเต็มอิ่มกันไปนะครับสำหรับข้อมูล เเต่นายTechTips อยากจะเตือนไว้ว่าเนื่องจากหูฟังเราใช้งานกับอวัยวะที่ต้องการความใส่ใจเเละความสะอาดเป็นอย่างมาก ขอให้หมั่นดูแลรักษาความสะอาดและไม่เปิดดังจนเกินไปนะครับ หูของเราจะได้อยู่กับเราไปนานๆ ครับผม

เจอกันใหม่คราวหน้าครับ #TechTips
สวัสดีครับวันนี้ นายTechTips จะมาเล่าเรื่องหูฟังให้ฟังกันครับผม เชื่อว่าในยุคสมัยนี้หูฟังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเรามากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะใช้ทำงาน พักผ่อน ดูหนัง เล่นเกม หรืออะไรต่างๆ แต่รู้มั้ยครับว่า ห๔ฟังมีกี่ประเภทเเละมีข้อควรใช้อย่างไร วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังสนุกๆครับ หูฟังที่เรา เคยเห็นส่วนมา ก็จะเเยกออกเป็น 7 ประเภท ใหญ่ๆดังนี้ 1.หูฟังแบบคาดศรีษะ (Headphones) 1.1 Around-Ears Headphones หูฟังครอบหู เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะที่มีขนาดใหญ่ โดยตัวหูฟังจะสามารถครอบหูทั้งหมด กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีระดับหนึ่ง แต่หูฟังประเภทนี้ ก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้การพกพาในบางรุ่นบางยี่ห้ออาจไม่สะดวก แต่ก็มีบางรุ่นที่ทำออกมาให้มีน้ำหนักเบาและพับเก็บได้ ทำให้พกพาได้ง่ายขึ้น 1.2 On-Ears Headphones หูฟังออนเอียร์ ป็นหูฟังแบบคาดศรีษะที่มีขนาดเล็กรองลงมา จากหูฟังแบบครอบหู โดยลักษณะจะมีขนาดเล็ก ลักษณะที่เห็นชัดคือ หูฟังแบบนี้จะแปะข้างหูแทนการครอบที่ใบหูของเรา หูฟังประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปทั้งอยู่กับที่ และพกพาไปใช้งานในสถานที่ต่างๆ เพราะมีขนาดที่เล็กนั่นเองครับ 2.หูฟังเอียร์บัด (Earbuds) หูฟังขนาดเล็กที่มีใช้งานมาอย่างยาวนาน ด้วยความเล็กและสะดวกในการพกพามาถึงยุคปัจจุบันนี้ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ผมขอหยิบยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ของหูฟังประเภทนี้ เช่น หูฟังของไอโฟน หรือ เอียร์พอด หรือหูฟังที่ให้มาพร้อมกับโทรศัพท์ มือถือเรา ก็นับว่าเป็น หูฟังแบบเอียร์บัด เช่นกันครับ ซึ่งหูฟังประเภทนี้เป็นหูฟังที่มีขนาดเล็ก การใช้งานง่าย น้ำหนักเบามาก 3.หูฟังแบบมีจุกยางเสียบเข้าหู (In Ear) หูฟังแบบ In-ear จัดได้ว่าเป็นประเภทของหูฟังที่ค่อนข้างนิยมมากในปัจจุบัน เพราะให้ความสะดวกในการพกพาไปใช้งาน หูฟังแบบ In-Ear สามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี ด้วยความที่จุกยางหรือจุกโฟมที่สามารถใส่เข้าไปในรูหูจนปิดสนิท จุดเด่นของหูฟังชนิดนี้ คือ ให้รายละเอียดคุณภาพเสียงที่ชัดเจน เนื่องด้วยหูฟังอยู่ใกล้รูหูของเรานั่นเองครับ ข้อควรระมัดระวังของหูฟังประเภทนี้ก็คือเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากหูฟังประเภทนี้สามารถกันเสียงได้ดีมากๆ ทำให้เราไม่ค่อยได้ยินเสียงจากภายนอก บางครั้งอาจเกิดอันตรายได้ และสำหรับคนที่ชอบเปิดเสียงดังมากๆก็จะเป็นอันตรายต่อหูได้เช่นกัน 4.หูฟังแบบเกี่ยวหู (Ear Clips) เป็นหูฟังที่มีขนาดพอๆ กับหูฟังออนเอียร์ แต่ไม่ได้เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะ แบบออนเอียร์ การสวมใส่หูฟังประเภทนี้ จะเป็นการเกี่ยวกับใบหูของเราแทน การสวมใส่แบบเกี่ยวหู มีจุดเด่นคือทำให้แน่น กระชับ และหลุดยาก ปัจจุบันพบเห็นค่อนข้างยาก เหมาะสำหรับใส่ไปออกกำลังกายเป็นต้น 5.อินเอียร์ (In-Ear Monitors) IEM เราจะมาพูดถึงอินเอียร์มอนิเตอร์ที่ใช้บนเวทีโดยทั่วไป จะเป็นหูฟังขนาด เล็กหรือหูฟังชนิดอินเอียร์ ซึ่งก็มีทั้งแบบ Universal In Ear และ Custom In Ear พูดกันรวมๆ Universal In Ear และ Custom In Ear ข้อดีของหูฟังแบบนี้ ก็คือ ดีไซน์มาเพื่อลดปัญหาเรื่องเสียง ambiance (แอมเบี๊ยน) เสียงบรรยากาศรายรอบ ต่างๆบนเวที หรือในห้องสตูดิโอ ที่มันมีเยอะเกินไป จนก่อเกิดการรบกวนเยอะไปหมด หูฟังแบบนี้เหมาะกับการใช้งานของใครบ้าง เช่น นักดนตรี ศิลปินนักร้อง ทั้งในสตูดิโอ หรืองานประเภท คอนเสิร์ตกลางแจ้ง หูฟังแบบนี้ให้รายละเอียดเสียงที่ค่อนข้างเที่ยงตรง แม่นยำ คัลเลอร์หรือความผิดเพี้ยนต่ำมากครับ ข้อดีข้อถัดมา ก็คือเราจะได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากขึ้นเนื่องจาก การป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกทำได้ดีนั่นเองครับ ส่วนการเพิ่มหรือลดเสียงก็สามารถทำได้อิสระ ทำให้ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้อย่างชัดเจนครบถ้วน ส่วนข้อจำกัด ใส่นานๆอาจปวดหูได้หากไซส์หรือขนาดที่ไม่พอดีกับสรีระหูของเรา หากจะถามว่า การนำไปฟังเพลงเพราะใหม ตอบได้เลยว่า อาจไม่ค่อยเพราะพริ้งโดนใจ เพราะแนวเสียงของหูฟังประเภทนี้ ค่อนข้างแฟลตราบเรียบ นั่นเองครับ 6.หูฟังแบบคัสตอม (Custom In-Ear Monitors) หูฟังคัสตอม เป็นหูฟังอินเอียร์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคล้ายๆกันกับแบบ Universal In Ear แต่เป็นหูฟังที่สั่งทำโดยเฉพาะ เพื่อให้เข้ากับสรีระของหูผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานโดยเฉพาะ ทำให้การสวมใส่พอดี ลดปัญหาเจ็บหรือปวดหูได้ ส่วนการป้องกันเสียงจากภายนอก หูฟังประเภทนี้ ก็ทำได้ดีมากครับ หูฟังประเภทนี้มีขั้นตอนการผลิต ที่ค่อนข้างละเอียด โดยเริ่มจากการฉีดซิลิโคนเพื่อหล่อพิมพ์จากใบหูของผู้ใช้งาน จากนั้นก็ส่งต้นแบบไปผลิตที่แล็บ ประเทศที่ทำการผลิต ทำให้ใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างใช้ระยะเวลาพอสมควรครับ 7.หูฟังแบบสั่นกระดูก (Bone Conduction Headphones) ะบบการฟังเพลงผ่านกระดูกหรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “ BONE CONDUCTION “ หลายท่านอาจจะได้เคยเห็นกันมาบ้างแล้วว่าหูฟังประเภทนี้คืออะไร หลักการทำงานของหูฟังจะเป็นการใช้แรงสั่นสะเทือนส่งไปที่กระดูกแก้มทำให้เราได้ยินเสียงโดยที่ต้องไม่ต้องผ่านไปที่แก้วหู ซึ่งประโยนชน์ของ BONE CONDUCTION ทำให้เรา ได้ยินเสียงรายรอบ หรือบรรยากาศรอบข้างได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าไดร์เวอร์อาจจะต่างชนิดกับหูฟัง IN-EAR ทั่วไป แต่ก็ให้รายละเอียดเสียงในแบบเฉพาะของ BONE CONDUCTION ก็น่าจะเต็มอิ่มกันไปนะครับสำหรับข้อมูล เเต่นายTechTips อยากจะเตือนไว้ว่าเนื่องจากหูฟังเราใช้งานกับอวัยวะที่ต้องการความใส่ใจเเละความสะอาดเป็นอย่างมาก ขอให้หมั่นดูแลรักษาความสะอาดและไม่เปิดดังจนเกินไปนะครับ หูของเราจะได้อยู่กับเราไปนานๆ ครับผม เจอกันใหม่คราวหน้าครับ #TechTips
0 Comments 0 Shares 462 Views 0 Reviews