15/1/67
ไข่ผำ Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน
ไข่ผำ (Wolffia) เป็น Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน และเป็น 1 ในพืชน้ำ อาหารแห่งอนาคต เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่มาแรงและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ
ไข่ผำเป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง เป็นพืชลอยน้ำตระกูลแหน รูปร่างเป็นเม็ดสีเขียววงกลมหรือเกือบกลมขนาดเล็ก ไม่มีราก เป็นพืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลกและขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ ไข่ผำเป็นพืชที่มีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารพฤษเคมี(Phytochemical) ที่มีประโยชน์ ไข่ผำมีกรดอะมิโนจำเป็นที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ ไลซีน ฟีนิลอะลานีน ลิวซีน (ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบประสาท)
และเมื่อมีการวิเคราะห์กรดไขมันของไข่ผำแห้งพบว่า มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 2 เท่า และยังพบกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการอีก 2 ชนิด คือ กรดไขมันโอเมกา 3 และ 6 ในปริมาณที่สูง ไข่ผำ เป็นอาหารแห่งอนาคต เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำ มีโปรตีนสูง 20-40% มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ระยะเวลาเพาะเลี้ยงสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว และศัตรูพืชน้อย จึงทำให้ไข่ผำมีแนวโน้มเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
คนพระแท่นสร้างการมีส่วนร่วมจากไข่ผำ
พี่แอ๋ว หรือ สิริวรรณ โอภากุลวงษ์ เลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพระแท่น ได้เล่าให้ฟังว่า ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีกลุ่มชาติพรรณไทยทรงดำ ซึ่งได้บริโภคไข่ผำเป็นอาหารพื้นถิ่นมายาวนาน
แต่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปยังไม่เป็นที่รู้จักนัก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพระแท่นได้หาข้อมูลคุณประโยชน์ของไข่ผำและดำเนินการขับเคลื่อนการเพาะเลี้ยงไข่ผำในชุมชน โดยใช้งบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สนับสนุนการเลี้ยงไข่ผำในครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 30 ครัวเรือน โดยเลี้ยงในลองคอนกรีต และทดลองเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนระบบปิด โดยทั้งสองรูปแบบใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะเลี้ยง ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในรูปแบบดังกล่าว เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน แต่ไม่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงเชิงพานิชย์ เนื่องจากปัจจุบันไข่ผำเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
“ตำบลพระแท่นมีจุดเด่นทั้งในเรื่องของการสร้างตลาดสีเขียวคีย์โฮลฟาร์มเมอร์มาร์เก็ตเพื่อเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยและสร้างรายได้ให้ครัวเรือนต่างๆ การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จาก “ไข่ผำ” ที่นับว่าเป็น Superfood มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก และอาศัยความร่วมมือจากคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และทักษะเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงคนทุกกลุ่มในชุมชนให้มีรายได้ รวมถึงระบบการจัดการขยะของคนในตำบลพระแท่นที่ให้คนทุกวัยได้เข้ามาร่วมดำเนินการจนเกิดเป็นรูปธรรมให้พื้นที่อื่นได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้”
นวัตกรรมการจัดการระบบการเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์แบบครบวงจร
พี่แอ๋ว เล่าต่อไปอีกว่า การนำไข่ผำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ยังประสบปัญหาหลายประการโดยเฉพาะการที่ไม่สามารถควบคุมผลผลิตและคุณภาพของไข่ผำโดยเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการได้ ดังนั้นการเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ
นวัตกรรมการจัดการระบบการเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์แบบครบวงจร เป็นการเพาะเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์ในโรงเรือนระบบปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงไข่ผำทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้มีความสามารถในการบริโภคในครัวเรือนรวมถึงการแข่งขันเชิงพานิชย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ตำบลพระแท่น โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนานวัตกรรมจากกระบวนการเพาะเลี้ยงไข่ผำ เพื่อเป็นต้นแบบการเลี้ยงในครัวเรือนและเชิงพานิชย์ และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้มีความยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นโดยตลอดกระบวนการพัฒนาการผลิตจะเน้นการใช้วัตถุดิบ อย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียตั้งแต่ต้นทาง ลดต้นทุนการผลิต และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะของคนในชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อ ยกระดับทรัพยากรท้องถิ่น และช่วยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนแห่งอื่นได้
พอช.หนุนให้ชุมชนจัดทำแผนธุรกิจชุมชน
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. ได้เข้ามาสนับสนุนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนธุรกิจชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชนตำบลพระแท่นได้ต่อยอดนำความรู้เรื่องแผนธุกิจปรับประยุกต์ใช้กับโครงการอาหารปลอดภัย สร้างโอกาสในกิจกรรมคีโฮลการ์เด้นท์ การผลิตผักปลอดภัย คนในชุมชนได้แบ่งปันและทดลองจำหน่าย เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อยอดเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ จนในที่สุดมีศูนย์บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันธนาคารมีเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ปี 2562 เกิดเป็นตลาดสีเขียว สถานที่ซื้อขายต้นแบบการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเป็นเรื่องการจัดการขยะชุมชน เรื่องอาหารปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการสังคมในชุมชน มีการเลี้ยงไข่ผำ อาหารที่สำคัญในชุมชน ผู้ด้อยโอกาส 30 ครัวเรือน ได้เลี้ยงและบริโภคในครัวเรือน
ประโยชน์ของ “ไข่ผำ” พืชจิ๋วมหัศจรรย์
พี่แอ๋ว เล่าต่ออีกว่า องค์ประกอบทางโภชนาการของไข่น้ำพบว่า มีโปรตีน เบต้า – คาโรทีน และคลอโรฟิลล์จากการสังเคราะห์แสง ไข่น้ำมีปริมาณโปรตีนในระดับเดี่ยวกับเมล็ดถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดธัญพืช มีเส้นใยสูง มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ต่างกับไข่ไก่ สาหร่ายเกลียวทอง และคลอเรลล่า นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ในไข่น้ำสารต้านอนุมูล อิสระ (antioxidant) มากกว่าในสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งใช้รักษาอาการท้องผูก รักษาสภาวะซีดในคนที่เป็น โรคโลหิตจางได้ ประโยชน์ของไข่น้ำสามารนำมาใช้ปรุงอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น แกงอ่อม แกงคั่ว ไข่ตุ๋น ไข่เจียว เป็นต้น รับประทานได้
วิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำ
ประพิมพ์ ศรีนวล หรือ พี่โป้ สมาชิกกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ เล่าให้ฟังถึงวิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำว่า การเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ หรือ บ่อพลาสติก ให้นำมาล้างทำความสะอาดก่อนปล่อยไข่ผำลงไปเพาะเลี้ยง เมื่อล้างบ่อจนสะอาดแล้ว เติมน้ำใส่บ่อในอัตรา 3/4 ของบ่อ หากใช้น้ำประปาหรือน้ำบาดาล แนะนำให้พักน้ำไว้สัก 2-3 วัน ก่อนที่จะปล่อยพันธุ์ผำลงไป ผำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร หากจำเป็นต้องเพาะเลี้ยงกลางแจ้งแนะนำให้ใช้ซาแรนพรางแสงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือจะเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดก็สามารถทำได้เช่นกัน
ส่วนการบำรุงธาตุอาหาร อัตราการเติมธาตุอาหารต่อบ่อ ของที่ไร่จะใช้น้ำหมักปลาในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อ 1 บ่อ เสร็จแล้วจึงค่อยใส่พันธุ์ผำลงไปปริมาณ 1/2 กิโลกรัมต่อบ่อ หรือในกรณีที่ไม่มีในส่วนของน้ำหมักปลา ก็สามารถเลือกใช้น้ำหมักชนิดอื่นๆ ได้ เช่น น้ำหมักมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลหมู น้ำหมักมูลวัว หรือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถนำมาใช้ได้หมด แล้วแต่ความสะดวกของแต่พื้นที่
การดูแลหลังจากที่ปล่อยพันธุ์ผำลงไปเพาะเลี้ยงได้ครบ 1 สัปดาห์ ให้ช้อนไข่ผำที่อยู่ในบ่อขึ้นมา เพื่อปล่อยน้ำทิ้งล้างทำความสะอาดบ่อ เสร็จแล้วให้เติมน้ำใส่บ่อเข้าไปใหม่ เติมธาตุอาหารลงไป ทำเหมือนเดิมกับครั้งแรกทุกอย่าง แล้วปล่อยพันธุ์ผำลงไปเลี้ยงอีก 1 สัปดาห์ ช้อนผำที่เลี้ยงทั้งหมดมาล้างน้ำทำความสะอาด 4 ครั้ง สำหรับนำไปจำหน่ายแบบสด เท่ากับว่าการเพาะเลี้ยงไข่ผำใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ แต่ถ้าในกรณีนำไปเพาะพันธุ์ต่อ ใช้เวลาเลี้ยง 1 สัปดาห์ ก็สามารถเอาไปเพาะพันธุ์ต่อได้แล้ว ซึ่งการเพาะเลี้ยงไม่ยุ่งยาก แต่ปัจจัยสำคัญหรืออุปสรรคที่ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงผำไม่ประสบความสำเร็จ คือปัจจัยอุปสรรคในด้านสภาพอากาศและสารเคมี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัญหาและอุปสรรคของการเพาะเลี้ยง “ไข่ผำ”
พี่โป้ เล่าให้ฟังอีกว่า อุปสรรคทางด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนจะส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตลดน้อยลง “ผำ” จะชอบอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20-26 องศา ซึ่งถ้าอากาศร้อนไปกว่านี้จะส่งผลให้ปริมาณและอัตราการขยายตัวลดน้อยลง
สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีชนิดอื่นๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผำไม่เจริญเติบโต ผำถือเป็นพืชที่เซนซิทีฟต่อสารเคมี หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผำถือเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าพื้นที่ตรงนั้นไม่มีการใช้สารเคมีจริงๆ ที่ถึงแม้ว่าต่อให้ในพื้นที่สวนของเราไม่ใช้ แต่สวนรอบข้างเราใช้ หรือมีคนอื่นมาฉีดพ่นสารเคมีในบริเวณใกล้เคียง ก็ส่งผลทำให้ผำไม่เจริญเติบโตและตายได้เช่นกัน
วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตไข่ผำ เมื่อเพาะเลี้ยงผำจนครบ 2 สัปดาห์ แล้ววิธีการเก็บไปขาย ให้เตรียมซึ้งนึ่งอาหารมาแล้วใช้ผ้าขาวบางรอง จากนั้นนำตาข่ายสีฟ้ามาวางทับผ้าขาวบางอีกชั้น แล้วช้อนผำขึ้นมาใส่ไว้ในตาข่ายสีฟ้า ใช้น้ำประปาล้างแล้วผำจะหล่นลงไปที่ผ้าขาวบางที่รองไว้ข้างล่าง พอได้ผำมาทั้งหมดให้นำไปล้างน้ำทำความสะอาดอีก 4 ครั้ง คือล้างแล้วบิด จนครบ 4 ครั้ง ถึงจะนำไปจำหน่ายได้
ความน่าสนใจของการเพาะเลี้ยงไข่ผำคือ ไข่ผำเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้การดูแลมาก สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้สบายๆ เพาะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเพียง 2 สัปดาห์ สามารถเก็บผลผลิตขายได้ และยังเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส ด้วยคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน
สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มได้หลากหลาย สำหรับไข่ผำที่ได้ทั้งสะอาดปลอดภัยจากสารเคมี พร้อมนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ และจำหน่ายไข่ผำอินทรีย์แบบสดๆ กิโลกรัมละ 100 บาท หากแห้ง กิโลกรัมละ 2,500-3,000 บาท สามารถสร้างรายได้ทั้งขายสด และแปรรูป ให้กับชุมชนบ้านพระแท่นได้อย่างงาม เป็นหนึ่งในอาชีพที่จะสร้างการมีส่วนร่วมและความมั่นคงให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
cr:web.codi.co.th
ไข่ผำ Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน
ไข่ผำ (Wolffia) เป็น Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน และเป็น 1 ในพืชน้ำ อาหารแห่งอนาคต เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่มาแรงและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ
ไข่ผำเป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง เป็นพืชลอยน้ำตระกูลแหน รูปร่างเป็นเม็ดสีเขียววงกลมหรือเกือบกลมขนาดเล็ก ไม่มีราก เป็นพืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลกและขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ ไข่ผำเป็นพืชที่มีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารพฤษเคมี(Phytochemical) ที่มีประโยชน์ ไข่ผำมีกรดอะมิโนจำเป็นที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ ไลซีน ฟีนิลอะลานีน ลิวซีน (ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบประสาท)
และเมื่อมีการวิเคราะห์กรดไขมันของไข่ผำแห้งพบว่า มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 2 เท่า และยังพบกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการอีก 2 ชนิด คือ กรดไขมันโอเมกา 3 และ 6 ในปริมาณที่สูง ไข่ผำ เป็นอาหารแห่งอนาคต เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำ มีโปรตีนสูง 20-40% มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ระยะเวลาเพาะเลี้ยงสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว และศัตรูพืชน้อย จึงทำให้ไข่ผำมีแนวโน้มเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
คนพระแท่นสร้างการมีส่วนร่วมจากไข่ผำ
พี่แอ๋ว หรือ สิริวรรณ โอภากุลวงษ์ เลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพระแท่น ได้เล่าให้ฟังว่า ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีกลุ่มชาติพรรณไทยทรงดำ ซึ่งได้บริโภคไข่ผำเป็นอาหารพื้นถิ่นมายาวนาน
แต่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปยังไม่เป็นที่รู้จักนัก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพระแท่นได้หาข้อมูลคุณประโยชน์ของไข่ผำและดำเนินการขับเคลื่อนการเพาะเลี้ยงไข่ผำในชุมชน โดยใช้งบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สนับสนุนการเลี้ยงไข่ผำในครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 30 ครัวเรือน โดยเลี้ยงในลองคอนกรีต และทดลองเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนระบบปิด โดยทั้งสองรูปแบบใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะเลี้ยง ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในรูปแบบดังกล่าว เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน แต่ไม่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงเชิงพานิชย์ เนื่องจากปัจจุบันไข่ผำเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
“ตำบลพระแท่นมีจุดเด่นทั้งในเรื่องของการสร้างตลาดสีเขียวคีย์โฮลฟาร์มเมอร์มาร์เก็ตเพื่อเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยและสร้างรายได้ให้ครัวเรือนต่างๆ การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จาก “ไข่ผำ” ที่นับว่าเป็น Superfood มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก และอาศัยความร่วมมือจากคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และทักษะเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงคนทุกกลุ่มในชุมชนให้มีรายได้ รวมถึงระบบการจัดการขยะของคนในตำบลพระแท่นที่ให้คนทุกวัยได้เข้ามาร่วมดำเนินการจนเกิดเป็นรูปธรรมให้พื้นที่อื่นได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้”
นวัตกรรมการจัดการระบบการเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์แบบครบวงจร
พี่แอ๋ว เล่าต่อไปอีกว่า การนำไข่ผำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ยังประสบปัญหาหลายประการโดยเฉพาะการที่ไม่สามารถควบคุมผลผลิตและคุณภาพของไข่ผำโดยเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการได้ ดังนั้นการเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ
นวัตกรรมการจัดการระบบการเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์แบบครบวงจร เป็นการเพาะเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์ในโรงเรือนระบบปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงไข่ผำทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้มีความสามารถในการบริโภคในครัวเรือนรวมถึงการแข่งขันเชิงพานิชย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ตำบลพระแท่น โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนานวัตกรรมจากกระบวนการเพาะเลี้ยงไข่ผำ เพื่อเป็นต้นแบบการเลี้ยงในครัวเรือนและเชิงพานิชย์ และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้มีความยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นโดยตลอดกระบวนการพัฒนาการผลิตจะเน้นการใช้วัตถุดิบ อย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียตั้งแต่ต้นทาง ลดต้นทุนการผลิต และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะของคนในชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อ ยกระดับทรัพยากรท้องถิ่น และช่วยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนแห่งอื่นได้
พอช.หนุนให้ชุมชนจัดทำแผนธุรกิจชุมชน
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. ได้เข้ามาสนับสนุนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนธุรกิจชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชนตำบลพระแท่นได้ต่อยอดนำความรู้เรื่องแผนธุกิจปรับประยุกต์ใช้กับโครงการอาหารปลอดภัย สร้างโอกาสในกิจกรรมคีโฮลการ์เด้นท์ การผลิตผักปลอดภัย คนในชุมชนได้แบ่งปันและทดลองจำหน่าย เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อยอดเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ จนในที่สุดมีศูนย์บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันธนาคารมีเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ปี 2562 เกิดเป็นตลาดสีเขียว สถานที่ซื้อขายต้นแบบการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเป็นเรื่องการจัดการขยะชุมชน เรื่องอาหารปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการสังคมในชุมชน มีการเลี้ยงไข่ผำ อาหารที่สำคัญในชุมชน ผู้ด้อยโอกาส 30 ครัวเรือน ได้เลี้ยงและบริโภคในครัวเรือน
ประโยชน์ของ “ไข่ผำ” พืชจิ๋วมหัศจรรย์
พี่แอ๋ว เล่าต่ออีกว่า องค์ประกอบทางโภชนาการของไข่น้ำพบว่า มีโปรตีน เบต้า – คาโรทีน และคลอโรฟิลล์จากการสังเคราะห์แสง ไข่น้ำมีปริมาณโปรตีนในระดับเดี่ยวกับเมล็ดถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดธัญพืช มีเส้นใยสูง มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ต่างกับไข่ไก่ สาหร่ายเกลียวทอง และคลอเรลล่า นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ในไข่น้ำสารต้านอนุมูล อิสระ (antioxidant) มากกว่าในสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งใช้รักษาอาการท้องผูก รักษาสภาวะซีดในคนที่เป็น โรคโลหิตจางได้ ประโยชน์ของไข่น้ำสามารนำมาใช้ปรุงอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น แกงอ่อม แกงคั่ว ไข่ตุ๋น ไข่เจียว เป็นต้น รับประทานได้
วิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำ
ประพิมพ์ ศรีนวล หรือ พี่โป้ สมาชิกกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ เล่าให้ฟังถึงวิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำว่า การเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ หรือ บ่อพลาสติก ให้นำมาล้างทำความสะอาดก่อนปล่อยไข่ผำลงไปเพาะเลี้ยง เมื่อล้างบ่อจนสะอาดแล้ว เติมน้ำใส่บ่อในอัตรา 3/4 ของบ่อ หากใช้น้ำประปาหรือน้ำบาดาล แนะนำให้พักน้ำไว้สัก 2-3 วัน ก่อนที่จะปล่อยพันธุ์ผำลงไป ผำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร หากจำเป็นต้องเพาะเลี้ยงกลางแจ้งแนะนำให้ใช้ซาแรนพรางแสงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือจะเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดก็สามารถทำได้เช่นกัน
ส่วนการบำรุงธาตุอาหาร อัตราการเติมธาตุอาหารต่อบ่อ ของที่ไร่จะใช้น้ำหมักปลาในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อ 1 บ่อ เสร็จแล้วจึงค่อยใส่พันธุ์ผำลงไปปริมาณ 1/2 กิโลกรัมต่อบ่อ หรือในกรณีที่ไม่มีในส่วนของน้ำหมักปลา ก็สามารถเลือกใช้น้ำหมักชนิดอื่นๆ ได้ เช่น น้ำหมักมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลหมู น้ำหมักมูลวัว หรือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถนำมาใช้ได้หมด แล้วแต่ความสะดวกของแต่พื้นที่
การดูแลหลังจากที่ปล่อยพันธุ์ผำลงไปเพาะเลี้ยงได้ครบ 1 สัปดาห์ ให้ช้อนไข่ผำที่อยู่ในบ่อขึ้นมา เพื่อปล่อยน้ำทิ้งล้างทำความสะอาดบ่อ เสร็จแล้วให้เติมน้ำใส่บ่อเข้าไปใหม่ เติมธาตุอาหารลงไป ทำเหมือนเดิมกับครั้งแรกทุกอย่าง แล้วปล่อยพันธุ์ผำลงไปเลี้ยงอีก 1 สัปดาห์ ช้อนผำที่เลี้ยงทั้งหมดมาล้างน้ำทำความสะอาด 4 ครั้ง สำหรับนำไปจำหน่ายแบบสด เท่ากับว่าการเพาะเลี้ยงไข่ผำใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ แต่ถ้าในกรณีนำไปเพาะพันธุ์ต่อ ใช้เวลาเลี้ยง 1 สัปดาห์ ก็สามารถเอาไปเพาะพันธุ์ต่อได้แล้ว ซึ่งการเพาะเลี้ยงไม่ยุ่งยาก แต่ปัจจัยสำคัญหรืออุปสรรคที่ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงผำไม่ประสบความสำเร็จ คือปัจจัยอุปสรรคในด้านสภาพอากาศและสารเคมี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัญหาและอุปสรรคของการเพาะเลี้ยง “ไข่ผำ”
พี่โป้ เล่าให้ฟังอีกว่า อุปสรรคทางด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนจะส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตลดน้อยลง “ผำ” จะชอบอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20-26 องศา ซึ่งถ้าอากาศร้อนไปกว่านี้จะส่งผลให้ปริมาณและอัตราการขยายตัวลดน้อยลง
สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีชนิดอื่นๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผำไม่เจริญเติบโต ผำถือเป็นพืชที่เซนซิทีฟต่อสารเคมี หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผำถือเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าพื้นที่ตรงนั้นไม่มีการใช้สารเคมีจริงๆ ที่ถึงแม้ว่าต่อให้ในพื้นที่สวนของเราไม่ใช้ แต่สวนรอบข้างเราใช้ หรือมีคนอื่นมาฉีดพ่นสารเคมีในบริเวณใกล้เคียง ก็ส่งผลทำให้ผำไม่เจริญเติบโตและตายได้เช่นกัน
วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตไข่ผำ เมื่อเพาะเลี้ยงผำจนครบ 2 สัปดาห์ แล้ววิธีการเก็บไปขาย ให้เตรียมซึ้งนึ่งอาหารมาแล้วใช้ผ้าขาวบางรอง จากนั้นนำตาข่ายสีฟ้ามาวางทับผ้าขาวบางอีกชั้น แล้วช้อนผำขึ้นมาใส่ไว้ในตาข่ายสีฟ้า ใช้น้ำประปาล้างแล้วผำจะหล่นลงไปที่ผ้าขาวบางที่รองไว้ข้างล่าง พอได้ผำมาทั้งหมดให้นำไปล้างน้ำทำความสะอาดอีก 4 ครั้ง คือล้างแล้วบิด จนครบ 4 ครั้ง ถึงจะนำไปจำหน่ายได้
ความน่าสนใจของการเพาะเลี้ยงไข่ผำคือ ไข่ผำเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้การดูแลมาก สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้สบายๆ เพาะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเพียง 2 สัปดาห์ สามารถเก็บผลผลิตขายได้ และยังเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส ด้วยคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน
สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มได้หลากหลาย สำหรับไข่ผำที่ได้ทั้งสะอาดปลอดภัยจากสารเคมี พร้อมนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ และจำหน่ายไข่ผำอินทรีย์แบบสดๆ กิโลกรัมละ 100 บาท หากแห้ง กิโลกรัมละ 2,500-3,000 บาท สามารถสร้างรายได้ทั้งขายสด และแปรรูป ให้กับชุมชนบ้านพระแท่นได้อย่างงาม เป็นหนึ่งในอาชีพที่จะสร้างการมีส่วนร่วมและความมั่นคงให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
cr:web.codi.co.th
15/1/67
ไข่ผำ Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน
ไข่ผำ (Wolffia) เป็น Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน และเป็น 1 ในพืชน้ำ อาหารแห่งอนาคต เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่มาแรงและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ
ไข่ผำเป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง เป็นพืชลอยน้ำตระกูลแหน รูปร่างเป็นเม็ดสีเขียววงกลมหรือเกือบกลมขนาดเล็ก ไม่มีราก เป็นพืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลกและขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ ไข่ผำเป็นพืชที่มีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารพฤษเคมี(Phytochemical) ที่มีประโยชน์ ไข่ผำมีกรดอะมิโนจำเป็นที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ ไลซีน ฟีนิลอะลานีน ลิวซีน (ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบประสาท)
และเมื่อมีการวิเคราะห์กรดไขมันของไข่ผำแห้งพบว่า มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 2 เท่า และยังพบกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการอีก 2 ชนิด คือ กรดไขมันโอเมกา 3 และ 6 ในปริมาณที่สูง ไข่ผำ เป็นอาหารแห่งอนาคต เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำ มีโปรตีนสูง 20-40% มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ระยะเวลาเพาะเลี้ยงสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว และศัตรูพืชน้อย จึงทำให้ไข่ผำมีแนวโน้มเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
คนพระแท่นสร้างการมีส่วนร่วมจากไข่ผำ
พี่แอ๋ว หรือ สิริวรรณ โอภากุลวงษ์ เลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพระแท่น ได้เล่าให้ฟังว่า ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีกลุ่มชาติพรรณไทยทรงดำ ซึ่งได้บริโภคไข่ผำเป็นอาหารพื้นถิ่นมายาวนาน
แต่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปยังไม่เป็นที่รู้จักนัก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีพระแท่นได้หาข้อมูลคุณประโยชน์ของไข่ผำและดำเนินการขับเคลื่อนการเพาะเลี้ยงไข่ผำในชุมชน โดยใช้งบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สนับสนุนการเลี้ยงไข่ผำในครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 30 ครัวเรือน โดยเลี้ยงในลองคอนกรีต และทดลองเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนระบบปิด โดยทั้งสองรูปแบบใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะเลี้ยง ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในรูปแบบดังกล่าว เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน แต่ไม่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงเชิงพานิชย์ เนื่องจากปัจจุบันไข่ผำเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
“ตำบลพระแท่นมีจุดเด่นทั้งในเรื่องของการสร้างตลาดสีเขียวคีย์โฮลฟาร์มเมอร์มาร์เก็ตเพื่อเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยและสร้างรายได้ให้ครัวเรือนต่างๆ การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จาก “ไข่ผำ” ที่นับว่าเป็น Superfood มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก และอาศัยความร่วมมือจากคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และทักษะเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงคนทุกกลุ่มในชุมชนให้มีรายได้ รวมถึงระบบการจัดการขยะของคนในตำบลพระแท่นที่ให้คนทุกวัยได้เข้ามาร่วมดำเนินการจนเกิดเป็นรูปธรรมให้พื้นที่อื่นได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้”
นวัตกรรมการจัดการระบบการเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์แบบครบวงจร
พี่แอ๋ว เล่าต่อไปอีกว่า การนำไข่ผำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ยังประสบปัญหาหลายประการโดยเฉพาะการที่ไม่สามารถควบคุมผลผลิตและคุณภาพของไข่ผำโดยเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการได้ ดังนั้นการเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ
นวัตกรรมการจัดการระบบการเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์แบบครบวงจร เป็นการเพาะเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์ในโรงเรือนระบบปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงไข่ผำทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้มีความสามารถในการบริโภคในครัวเรือนรวมถึงการแข่งขันเชิงพานิชย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ตำบลพระแท่น โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนานวัตกรรมจากกระบวนการเพาะเลี้ยงไข่ผำ เพื่อเป็นต้นแบบการเลี้ยงในครัวเรือนและเชิงพานิชย์ และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้มีความยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นโดยตลอดกระบวนการพัฒนาการผลิตจะเน้นการใช้วัตถุดิบ อย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียตั้งแต่ต้นทาง ลดต้นทุนการผลิต และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะของคนในชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อ ยกระดับทรัพยากรท้องถิ่น และช่วยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนแห่งอื่นได้
พอช.หนุนให้ชุมชนจัดทำแผนธุรกิจชุมชน
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. ได้เข้ามาสนับสนุนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนธุรกิจชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชนตำบลพระแท่นได้ต่อยอดนำความรู้เรื่องแผนธุกิจปรับประยุกต์ใช้กับโครงการอาหารปลอดภัย สร้างโอกาสในกิจกรรมคีโฮลการ์เด้นท์ การผลิตผักปลอดภัย คนในชุมชนได้แบ่งปันและทดลองจำหน่าย เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อยอดเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ จนในที่สุดมีศูนย์บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันธนาคารมีเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ปี 2562 เกิดเป็นตลาดสีเขียว สถานที่ซื้อขายต้นแบบการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเป็นเรื่องการจัดการขยะชุมชน เรื่องอาหารปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการสังคมในชุมชน มีการเลี้ยงไข่ผำ อาหารที่สำคัญในชุมชน ผู้ด้อยโอกาส 30 ครัวเรือน ได้เลี้ยงและบริโภคในครัวเรือน
ประโยชน์ของ “ไข่ผำ” พืชจิ๋วมหัศจรรย์
พี่แอ๋ว เล่าต่ออีกว่า องค์ประกอบทางโภชนาการของไข่น้ำพบว่า มีโปรตีน เบต้า – คาโรทีน และคลอโรฟิลล์จากการสังเคราะห์แสง ไข่น้ำมีปริมาณโปรตีนในระดับเดี่ยวกับเมล็ดถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดธัญพืช มีเส้นใยสูง มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ต่างกับไข่ไก่ สาหร่ายเกลียวทอง และคลอเรลล่า นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ในไข่น้ำสารต้านอนุมูล อิสระ (antioxidant) มากกว่าในสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งใช้รักษาอาการท้องผูก รักษาสภาวะซีดในคนที่เป็น โรคโลหิตจางได้ ประโยชน์ของไข่น้ำสามารนำมาใช้ปรุงอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น แกงอ่อม แกงคั่ว ไข่ตุ๋น ไข่เจียว เป็นต้น รับประทานได้
วิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำ
ประพิมพ์ ศรีนวล หรือ พี่โป้ สมาชิกกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ เล่าให้ฟังถึงวิธีการเพาะเลี้ยงไข่ผำว่า การเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ หรือ บ่อพลาสติก ให้นำมาล้างทำความสะอาดก่อนปล่อยไข่ผำลงไปเพาะเลี้ยง เมื่อล้างบ่อจนสะอาดแล้ว เติมน้ำใส่บ่อในอัตรา 3/4 ของบ่อ หากใช้น้ำประปาหรือน้ำบาดาล แนะนำให้พักน้ำไว้สัก 2-3 วัน ก่อนที่จะปล่อยพันธุ์ผำลงไป ผำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร หากจำเป็นต้องเพาะเลี้ยงกลางแจ้งแนะนำให้ใช้ซาแรนพรางแสงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือจะเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดก็สามารถทำได้เช่นกัน
ส่วนการบำรุงธาตุอาหาร อัตราการเติมธาตุอาหารต่อบ่อ ของที่ไร่จะใช้น้ำหมักปลาในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อ 1 บ่อ เสร็จแล้วจึงค่อยใส่พันธุ์ผำลงไปปริมาณ 1/2 กิโลกรัมต่อบ่อ หรือในกรณีที่ไม่มีในส่วนของน้ำหมักปลา ก็สามารถเลือกใช้น้ำหมักชนิดอื่นๆ ได้ เช่น น้ำหมักมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลหมู น้ำหมักมูลวัว หรือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถนำมาใช้ได้หมด แล้วแต่ความสะดวกของแต่พื้นที่
การดูแลหลังจากที่ปล่อยพันธุ์ผำลงไปเพาะเลี้ยงได้ครบ 1 สัปดาห์ ให้ช้อนไข่ผำที่อยู่ในบ่อขึ้นมา เพื่อปล่อยน้ำทิ้งล้างทำความสะอาดบ่อ เสร็จแล้วให้เติมน้ำใส่บ่อเข้าไปใหม่ เติมธาตุอาหารลงไป ทำเหมือนเดิมกับครั้งแรกทุกอย่าง แล้วปล่อยพันธุ์ผำลงไปเลี้ยงอีก 1 สัปดาห์ ช้อนผำที่เลี้ยงทั้งหมดมาล้างน้ำทำความสะอาด 4 ครั้ง สำหรับนำไปจำหน่ายแบบสด เท่ากับว่าการเพาะเลี้ยงไข่ผำใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ แต่ถ้าในกรณีนำไปเพาะพันธุ์ต่อ ใช้เวลาเลี้ยง 1 สัปดาห์ ก็สามารถเอาไปเพาะพันธุ์ต่อได้แล้ว ซึ่งการเพาะเลี้ยงไม่ยุ่งยาก แต่ปัจจัยสำคัญหรืออุปสรรคที่ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงผำไม่ประสบความสำเร็จ คือปัจจัยอุปสรรคในด้านสภาพอากาศและสารเคมี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัญหาและอุปสรรคของการเพาะเลี้ยง “ไข่ผำ”
พี่โป้ เล่าให้ฟังอีกว่า อุปสรรคทางด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนจะส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตลดน้อยลง “ผำ” จะชอบอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20-26 องศา ซึ่งถ้าอากาศร้อนไปกว่านี้จะส่งผลให้ปริมาณและอัตราการขยายตัวลดน้อยลง
สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีชนิดอื่นๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผำไม่เจริญเติบโต ผำถือเป็นพืชที่เซนซิทีฟต่อสารเคมี หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผำถือเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าพื้นที่ตรงนั้นไม่มีการใช้สารเคมีจริงๆ ที่ถึงแม้ว่าต่อให้ในพื้นที่สวนของเราไม่ใช้ แต่สวนรอบข้างเราใช้ หรือมีคนอื่นมาฉีดพ่นสารเคมีในบริเวณใกล้เคียง ก็ส่งผลทำให้ผำไม่เจริญเติบโตและตายได้เช่นกัน
วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตไข่ผำ เมื่อเพาะเลี้ยงผำจนครบ 2 สัปดาห์ แล้ววิธีการเก็บไปขาย ให้เตรียมซึ้งนึ่งอาหารมาแล้วใช้ผ้าขาวบางรอง จากนั้นนำตาข่ายสีฟ้ามาวางทับผ้าขาวบางอีกชั้น แล้วช้อนผำขึ้นมาใส่ไว้ในตาข่ายสีฟ้า ใช้น้ำประปาล้างแล้วผำจะหล่นลงไปที่ผ้าขาวบางที่รองไว้ข้างล่าง พอได้ผำมาทั้งหมดให้นำไปล้างน้ำทำความสะอาดอีก 4 ครั้ง คือล้างแล้วบิด จนครบ 4 ครั้ง ถึงจะนำไปจำหน่ายได้
ความน่าสนใจของการเพาะเลี้ยงไข่ผำคือ ไข่ผำเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้การดูแลมาก สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้สบายๆ เพาะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเพียง 2 สัปดาห์ สามารถเก็บผลผลิตขายได้ และยังเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส ด้วยคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน
สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มได้หลากหลาย สำหรับไข่ผำที่ได้ทั้งสะอาดปลอดภัยจากสารเคมี พร้อมนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ และจำหน่ายไข่ผำอินทรีย์แบบสดๆ กิโลกรัมละ 100 บาท หากแห้ง กิโลกรัมละ 2,500-3,000 บาท สามารถสร้างรายได้ทั้งขายสด และแปรรูป ให้กับชุมชนบ้านพระแท่นได้อย่างงาม เป็นหนึ่งในอาชีพที่จะสร้างการมีส่วนร่วมและความมั่นคงให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
cr:web.codi.co.th
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
290 มุมมอง
0 รีวิว