อภิญญา ๖
ผู้มีความสามารถในด้านต่างๆ
1. เป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถใน อิทธิวิธี (มีฤทธิ์)
บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้
ปรากฏก็ได้ ทำให้ หายไป ทะลุฝากำแพงภูเขา เดินบนน้ำก็ได้

2. เป็นผู้สามารถใน ทิพยโสตธาตุ (ได้ยินเสียงทิพย์)
เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุของมนุษย์ดังนี้.

3. เป็นผู้สามารถใน เจโตปริยญาณ (รู้ใจสัตว์)
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ รู้ว่าจิตหลุด หรือไม่หลุดพ้น

4. เป็นผู้สามารถใน บุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้)
เราพึงระลึกชาติก่อนได้หนึ่งบ้าง สอง.. สิบชาติ.... ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก บ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

5. เป็นผู้สามารถใน ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ รู้ชัดว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม

6. เป็นผู้สามารถใน อาสวักขยญาณ (ญาณแห่งการหลุดพ้น)
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้


อภิญญา ๖ ผู้มีความสามารถในด้านต่างๆ 1. เป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถใน อิทธิวิธี (มีฤทธิ์) บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ ปรากฏก็ได้ ทำให้ หายไป ทะลุฝากำแพงภูเขา เดินบนน้ำก็ได้ 2. เป็นผู้สามารถใน ทิพยโสตธาตุ (ได้ยินเสียงทิพย์) เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุของมนุษย์ดังนี้. 3. เป็นผู้สามารถใน เจโตปริยญาณ (รู้ใจสัตว์) เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ รู้ว่าจิตหลุด หรือไม่หลุดพ้น 4. เป็นผู้สามารถใน บุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้) เราพึงระลึกชาติก่อนได้หนึ่งบ้าง สอง.. สิบชาติ.... ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก บ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น 5. เป็นผู้สามารถใน ทิพยจักษุ (ตาทิพย์) เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ รู้ชัดว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม 6. เป็นผู้สามารถใน อาสวักขยญาณ (ญาณแห่งการหลุดพ้น) เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้
Love
1
0 Comments 1 Shares 97 Views 0 Reviews