วันนี้ไปศูนย์สิริกิติ์ ไปดูงาน SX Sustainability Expo ที่ปกติเน้นไปเดินกินข้าวที่ชั้นล่าง 😆

แต่ปีนี้มีส่วนจัดแสดงบอร์ดโครงการ The Ten ของ วปอ. 66 เลยไปเดินดูงานด้านบนก่อน แล้วไปเจอ ส่วนจัดแสดงของโรงเรียนมีชัยพัฒนา (Meechai Bamboo School) ซึ่งมีเด็กนักเรียนยืนอยู่ 4-5 คน กับบอร์ดภาพเกี่ยวกับการเษตร และ ชุมชน

ผมถามเด็กๆว่า ที่ร.ร.ทำอะไรกัน เพราะใจสงสัยว่าทำไมถึงมีร.ร.นี้แห่งเดียวที่มาออกงาน แถมชื่อก็แปลกๆ เกี่ยวอะไรกับไม้ไผ่

น้อง ๆ เล่าว่า ร.ร.ของเขาตั้งอยู่ที่จ.บุรีรัมย์เป็นโรงเรียนประจำของเอกชน มีสอนทำเกษตร กับ มีกิจกรรมช่วยเหลือชุมชน นอกจากสอนวิชาทั่วไป

ผมก็คิดว่า อ๋อ คงเป็นร.ร.เอกชนนานาชาติ เหมือนในกรุงเทพฯกระมัง เลยถามต่อว่าค่าเทอมเท่าไหร่?

เด็กๆตอบว่าเรียนฟรีค่ะ! ผมก็งง ว่าทำไมถึงเรียนฟรี?

น้องบอกว่า ร.ร.นี้ เปิดมา 15 ปีแล้ว ทั้งร.ร.สร้างด้วยไม้ไผ่ นักเรียนทุกคนต้องจ่ายค่าเทอมเป็นการทำดีให้กับชุมชน รวมถึงทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนตามความรับผิดชอบของตัวเอง มีนักเรียน ม.1-ม.6 ระดับชั้นละ 20 กว่าคน มีครู 10 กว่าคน โดยให้นักเรียนกินนอนที่ร.ร. ไม่ให้กลับบ้านจนกว่าจะปิดเทอม และห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์

ผมก็ถามว่า แล้วอยู่กันยังไง ไม่เหงาเหรอ?

น้องตอบกลับว่า หนูมีหนังสือต่างๆให้อ่านเยอะแยะ และ แต่ละวันมีกิจกรรมให้ทำมากมาย และที่ร.ร.ก็กำหนดให้นักเรียนร่วมกันจัดการบริหารดูแลร.ร.กันเอง โดยมีคุณครูช่วยให้คำแนะนำ เรียกว่าทั้งฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายตรวจรับ และฝ่ายต่าง ๆ ของร.ร.ถูกดูแลโดยนักเรียนเอง มีแค่งานครัวที่มีแม่ครัวเป็นคนปรุงอาหารให้กิน

น้อง ๆ เขาคิดว่า ชีวิตของเขามีกิจกรรมอื่นให้ทำมากกว่าจะมานั่งเล่นโทรศัพท์เลยไม่ติดเกม ติดซีรี่ส์แบบเด็กวัยเดียวกัน

ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา พี่ ๆ ที่จบไปมักจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ทุกคน และมักจะติดตั้งแต่รอบ Portfolio และส่วนใหญ่จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน ทั้งด้านเกษตร หรือด้านบริหารก็มี เพราะนักเรียนจะมีทั้งเด็กในจังหวัดบุรีรัมย์ และ ใกล้เคียง แต่ก็มีบางคนที่มาจาก เวียดนาม หรือ เป็นเด็กชาติพันธุ์จากกาญจนบุรี / แม่ฮ่องสอน

ฟังน้อง ๆ เล่าแล้วผมถึงกับอึ้งกับแนวคิดของ ผ.อ. ซึ่งก็คือ อ.มีชัย วีระไวทยะ แถมยังอยากเขกหัวตัวเองว่า ไม่รู้จักโรงเรียนนี้ได้ยังไง แต่ก็ได้คำตอบว่า ทำไม ผู้จัดงานถึงได้เลือกโรงเรียนนี้มาจัดนิทรรศการในงานนี้

งานนี้น่าจะจัดถึงวันอาทิตย์ที่ 6 ต.ค. หากมีเวลาอยากชวนให้ไปดูงานนี้ แล้วไปฟังน้อง ๆ เล่าถึงโรงเรียนของเขากันนะครับ ❤️
วันนี้ไปศูนย์สิริกิติ์ ไปดูงาน SX Sustainability Expo ที่ปกติเน้นไปเดินกินข้าวที่ชั้นล่าง 😆 แต่ปีนี้มีส่วนจัดแสดงบอร์ดโครงการ The Ten ของ วปอ. 66 เลยไปเดินดูงานด้านบนก่อน แล้วไปเจอ ส่วนจัดแสดงของโรงเรียนมีชัยพัฒนา (Meechai Bamboo School) ซึ่งมีเด็กนักเรียนยืนอยู่ 4-5 คน กับบอร์ดภาพเกี่ยวกับการเษตร และ ชุมชน ผมถามเด็กๆว่า ที่ร.ร.ทำอะไรกัน เพราะใจสงสัยว่าทำไมถึงมีร.ร.นี้แห่งเดียวที่มาออกงาน แถมชื่อก็แปลกๆ เกี่ยวอะไรกับไม้ไผ่ น้อง ๆ เล่าว่า ร.ร.ของเขาตั้งอยู่ที่จ.บุรีรัมย์เป็นโรงเรียนประจำของเอกชน มีสอนทำเกษตร กับ มีกิจกรรมช่วยเหลือชุมชน นอกจากสอนวิชาทั่วไป ผมก็คิดว่า อ๋อ คงเป็นร.ร.เอกชนนานาชาติ เหมือนในกรุงเทพฯกระมัง เลยถามต่อว่าค่าเทอมเท่าไหร่? เด็กๆตอบว่าเรียนฟรีค่ะ! ผมก็งง ว่าทำไมถึงเรียนฟรี? น้องบอกว่า ร.ร.นี้ เปิดมา 15 ปีแล้ว ทั้งร.ร.สร้างด้วยไม้ไผ่ นักเรียนทุกคนต้องจ่ายค่าเทอมเป็นการทำดีให้กับชุมชน รวมถึงทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนตามความรับผิดชอบของตัวเอง มีนักเรียน ม.1-ม.6 ระดับชั้นละ 20 กว่าคน มีครู 10 กว่าคน โดยให้นักเรียนกินนอนที่ร.ร. ไม่ให้กลับบ้านจนกว่าจะปิดเทอม และห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์ ผมก็ถามว่า แล้วอยู่กันยังไง ไม่เหงาเหรอ? น้องตอบกลับว่า หนูมีหนังสือต่างๆให้อ่านเยอะแยะ และ แต่ละวันมีกิจกรรมให้ทำมากมาย และที่ร.ร.ก็กำหนดให้นักเรียนร่วมกันจัดการบริหารดูแลร.ร.กันเอง โดยมีคุณครูช่วยให้คำแนะนำ เรียกว่าทั้งฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายตรวจรับ และฝ่ายต่าง ๆ ของร.ร.ถูกดูแลโดยนักเรียนเอง มีแค่งานครัวที่มีแม่ครัวเป็นคนปรุงอาหารให้กิน น้อง ๆ เขาคิดว่า ชีวิตของเขามีกิจกรรมอื่นให้ทำมากกว่าจะมานั่งเล่นโทรศัพท์เลยไม่ติดเกม ติดซีรี่ส์แบบเด็กวัยเดียวกัน ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา พี่ ๆ ที่จบไปมักจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ทุกคน และมักจะติดตั้งแต่รอบ Portfolio และส่วนใหญ่จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน ทั้งด้านเกษตร หรือด้านบริหารก็มี เพราะนักเรียนจะมีทั้งเด็กในจังหวัดบุรีรัมย์ และ ใกล้เคียง แต่ก็มีบางคนที่มาจาก เวียดนาม หรือ เป็นเด็กชาติพันธุ์จากกาญจนบุรี / แม่ฮ่องสอน ฟังน้อง ๆ เล่าแล้วผมถึงกับอึ้งกับแนวคิดของ ผ.อ. ซึ่งก็คือ อ.มีชัย วีระไวทยะ แถมยังอยากเขกหัวตัวเองว่า ไม่รู้จักโรงเรียนนี้ได้ยังไง แต่ก็ได้คำตอบว่า ทำไม ผู้จัดงานถึงได้เลือกโรงเรียนนี้มาจัดนิทรรศการในงานนี้ งานนี้น่าจะจัดถึงวันอาทิตย์ที่ 6 ต.ค. หากมีเวลาอยากชวนให้ไปดูงานนี้ แล้วไปฟังน้อง ๆ เล่าถึงโรงเรียนของเขากันนะครับ ❤️
Love
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว