อ่านดีๆ ดูดีๆ

ทำความรู้จัก G-Token เครื่องมือกู้เงินใหม่ของรัฐบาลไทย คล้าย ‘พันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคน’ หวังเข้าถึง ‘คนรุ่นใหม่’ เพิ่มการออมของประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงการเงินให้ทั่วถึงและเท่าเทียม (Financial Inclusion) มากขึ้น โดยเล็งออก G-Token ในราคาเริ่มต้น หน่วยละ 1 บาทเท่านั้น ยืนยันผลตอบแทนดี สามารถซื้อได้ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เร็วสุดในกรกฎาคมปีนี้



เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. นับเป็นการเปิดทางให้ กระทรวงการคลังสามารถออกและเสนอขาย ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (Government Token: G-Token) เป็นประเทศแรกของโลก



ความเคลื่อนไหวครั้งนี้นับว่ามีขึ้นหลัง เมื่อปลายปีที่แล้ว ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำเสนอแนวคิดการออกสเตเบิลคอยน์ที่ค้ำประกันด้วยพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า มีแผนการ Bond Tokenization หรือการออกโทเคนโดยมีพันธบัตรรัฐบาลหนุน (Backed)



‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (G-Token) คืออะไร?


ไม่ใช่เงินตรา เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือชำระเงินได้
ไม่ใช่คริปโตเคอร์เรนซี
เป็น ‘เครื่องมือการระดมทุน’ โดยเทียบเคียงได้กับ ‘พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง’
เป็นการกู้เงินโดยตรงจากประชาชนของรัฐบาล


G-Token ไม่กระทบหนี้สาธารณะ ไม่เกี่ยวกับดิจิทัลวอลเล็ต


พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อธิบายเพิ่มเติมว่า การออก G-Token นี้เป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ คล้ายคลึงกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนตามปกติของ สบน.



โดยการออก G-Token รอบแรก คาดว่า จะออกในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการระดมเงิน ภายใต้กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2568 ตามปกติ และเป็นไปตามกรอบวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ประจำปีงบประมาณ 2568 ที่ สบน. วางแผนไว้ว่าในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท



ดังนั้นการออก G-Token ในรอบแรกนี้จึงจะไม่เพิ่ม หรือไม่กระทบต่อ ‘หนี้สาธารณะ’ และไม่ใช่การระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด



ยืนยันการออกเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ


พชรยังยืนยันว่า การออก G-Token นี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2567 ของ ก.ล.ต.



“มติ ครม. วันนี้ เป็นการเปิดทางให้กระทรวงการคลัง ออก G-Token ตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ” พชร กล่าว



นอกจากนี้พชรยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้ขอความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ได้ยืนยันว่า ธปท.ไม่ได้ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ G-Token นี้
อ่านดีๆ ดูดีๆ ทำความรู้จัก G-Token เครื่องมือกู้เงินใหม่ของรัฐบาลไทย คล้าย ‘พันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคน’ หวังเข้าถึง ‘คนรุ่นใหม่’ เพิ่มการออมของประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงการเงินให้ทั่วถึงและเท่าเทียม (Financial Inclusion) มากขึ้น โดยเล็งออก G-Token ในราคาเริ่มต้น หน่วยละ 1 บาทเท่านั้น ยืนยันผลตอบแทนดี สามารถซื้อได้ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เร็วสุดในกรกฎาคมปีนี้ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. นับเป็นการเปิดทางให้ กระทรวงการคลังสามารถออกและเสนอขาย ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (Government Token: G-Token) เป็นประเทศแรกของโลก ความเคลื่อนไหวครั้งนี้นับว่ามีขึ้นหลัง เมื่อปลายปีที่แล้ว ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำเสนอแนวคิดการออกสเตเบิลคอยน์ที่ค้ำประกันด้วยพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า มีแผนการ Bond Tokenization หรือการออกโทเคนโดยมีพันธบัตรรัฐบาลหนุน (Backed) ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (G-Token) คืออะไร? ไม่ใช่เงินตรา เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือชำระเงินได้ ไม่ใช่คริปโตเคอร์เรนซี เป็น ‘เครื่องมือการระดมทุน’ โดยเทียบเคียงได้กับ ‘พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง’ เป็นการกู้เงินโดยตรงจากประชาชนของรัฐบาล G-Token ไม่กระทบหนี้สาธารณะ ไม่เกี่ยวกับดิจิทัลวอลเล็ต พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อธิบายเพิ่มเติมว่า การออก G-Token นี้เป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ คล้ายคลึงกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนตามปกติของ สบน. โดยการออก G-Token รอบแรก คาดว่า จะออกในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการระดมเงิน ภายใต้กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2568 ตามปกติ และเป็นไปตามกรอบวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ประจำปีงบประมาณ 2568 ที่ สบน. วางแผนไว้ว่าในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ดังนั้นการออก G-Token ในรอบแรกนี้จึงจะไม่เพิ่ม หรือไม่กระทบต่อ ‘หนี้สาธารณะ’ และไม่ใช่การระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด ยืนยันการออกเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ พชรยังยืนยันว่า การออก G-Token นี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2567 ของ ก.ล.ต. “มติ ครม. วันนี้ เป็นการเปิดทางให้กระทรวงการคลัง ออก G-Token ตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ” พชร กล่าว นอกจากนี้พชรยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้ขอความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ได้ยืนยันว่า ธปท.ไม่ได้ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ G-Token นี้
0 Comments 0 Shares 33 Views 0 Reviews