รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 14 เคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อย่างยั่งยืน
.
เคล็ดลับของความร่ำรวยมีเงินทองมากมายเป็นสิ่งที่ผู้คนพยายามค้นหากันมาช้านาน มีผู้เขียนไว้ในหนังสือต่างๆ หลากหลายเนื้อหา แต่ไม่มีฉันทามติว่าทำอย่างไรจึงจะร่ำรวยเช่นนั้นได้ ซึ่งสูตรสำเร็จนี้แตกต่างไปจากเคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อีกลักษณะหนึ่งซึ่งผู้เขียนจำนวนหนึ่งดูจะเห็นพ้องต้องกัน
.
ความร่ำรวยที่กล่าวถึงนี้คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สม่ำเสมอตลอดชีวิต ทั้งในวัยทำงานและวัยพ้นทำงาน ซึ่งมิได้หมายถึงการมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ หากหมายถึงการมีอิสระทางการเงิน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความมั่นคงในด้านการเงิน มีชีวิตที่มีความสุขตามอัตภาพไปหตลอดชีวิต และเหนืออื่นใด มีความสุขและความสงบทางใจอันเกิดจากมีความมั่นคงทางการเงิน
.
เคล้ดลับดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
- จงทำงานหาเงินอย่างสุจริต ขยันหมั่นเพียร
- จงอยู่กินต่ำกว่าฐานะเสมอ กล่าวคือ มีความมัธยัสถ์ ไม่ใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายไร้เหตุผล และกินอยู่อย่างพอเหมาะพอควรจนมีรายจ่าย ต่ำกว่ารายได้ ซึ่งหมายถึง การมีเงินเหลือจ่ายในครอบครัวหรือมีเงินออม
- จงออมเงินโดยกันส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาก่อนใช้จ่ายเสมอ ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ โดยถือว่าเป็นรางวัลสำหรับตนเอง และเริ่มกระทำตั้งแต่บัดนี้อย่างสม่ำเสมอ อย่างมีความมุ่งมั่นในเป้าหมายของการนำเงินเหลือเก็บเหล่านี้ไปลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตในอนาคต
.
ในความพยายามที่จะออม อย่ามุ่งสนใจด้านรายได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจเรื่องการใช้จ่ายด้วย สมดังคำกล่าวที่ว่า “รายได้สำคัญ แต่การใช้จ่ายนั้นสำคัญกว่า”
.
- ทำให้เงินออมอยู่ในสภาพ “เงินทำงานรับใช้” นั่นคือนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เสริมเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้จากการทำงานปกติ โดยมุ่งให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมจากการลงทุนนี้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพทั้งตอนอยู่ในวัยทำงานและเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว
ในการนำเงินออมไปลงทุน จงไตร่ตรองและศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และปรึกษาหารือผู้รู้ในเรื่องการลงทุน เพื่ออุดช่องโหว่ของความรู้เพื่อไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาด
.
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดความ “ร่ำรวย” ขึ้นมาได้ในเบื้องแรกก็คือการออม และสิ่งที่จะทำให้เกิดการออมขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใดก็คือความสามารถในการข่มใจตนเองที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อการบริโภค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้องมี “อำนาจเหนือเงิน”
.
ดำรงชีวิตตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” กล่าวคือ ดำเนินชีวิตด้วยความพอดีอย่างอยู่บนพื้นฐานของความพอเหมาะพอควร ไม่เสี่ยงหรือประมาทอย่างขาดสติ
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 14 เคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อย่างยั่งยืน . เคล็ดลับของความร่ำรวยมีเงินทองมากมายเป็นสิ่งที่ผู้คนพยายามค้นหากันมาช้านาน มีผู้เขียนไว้ในหนังสือต่างๆ หลากหลายเนื้อหา แต่ไม่มีฉันทามติว่าทำอย่างไรจึงจะร่ำรวยเช่นนั้นได้ ซึ่งสูตรสำเร็จนี้แตกต่างไปจากเคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อีกลักษณะหนึ่งซึ่งผู้เขียนจำนวนหนึ่งดูจะเห็นพ้องต้องกัน . ความร่ำรวยที่กล่าวถึงนี้คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สม่ำเสมอตลอดชีวิต ทั้งในวัยทำงานและวัยพ้นทำงาน ซึ่งมิได้หมายถึงการมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ หากหมายถึงการมีอิสระทางการเงิน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความมั่นคงในด้านการเงิน มีชีวิตที่มีความสุขตามอัตภาพไปหตลอดชีวิต และเหนืออื่นใด มีความสุขและความสงบทางใจอันเกิดจากมีความมั่นคงทางการเงิน . เคล้ดลับดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ - จงทำงานหาเงินอย่างสุจริต ขยันหมั่นเพียร - จงอยู่กินต่ำกว่าฐานะเสมอ กล่าวคือ มีความมัธยัสถ์ ไม่ใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายไร้เหตุผล และกินอยู่อย่างพอเหมาะพอควรจนมีรายจ่าย ต่ำกว่ารายได้ ซึ่งหมายถึง การมีเงินเหลือจ่ายในครอบครัวหรือมีเงินออม - จงออมเงินโดยกันส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาก่อนใช้จ่ายเสมอ ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ โดยถือว่าเป็นรางวัลสำหรับตนเอง และเริ่มกระทำตั้งแต่บัดนี้อย่างสม่ำเสมอ อย่างมีความมุ่งมั่นในเป้าหมายของการนำเงินเหลือเก็บเหล่านี้ไปลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตในอนาคต . ในความพยายามที่จะออม อย่ามุ่งสนใจด้านรายได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจเรื่องการใช้จ่ายด้วย สมดังคำกล่าวที่ว่า “รายได้สำคัญ แต่การใช้จ่ายนั้นสำคัญกว่า” . - ทำให้เงินออมอยู่ในสภาพ “เงินทำงานรับใช้” นั่นคือนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เสริมเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้จากการทำงานปกติ โดยมุ่งให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมจากการลงทุนนี้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพทั้งตอนอยู่ในวัยทำงานและเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว ในการนำเงินออมไปลงทุน จงไตร่ตรองและศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และปรึกษาหารือผู้รู้ในเรื่องการลงทุน เพื่ออุดช่องโหว่ของความรู้เพื่อไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาด . สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดความ “ร่ำรวย” ขึ้นมาได้ในเบื้องแรกก็คือการออม และสิ่งที่จะทำให้เกิดการออมขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใดก็คือความสามารถในการข่มใจตนเองที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อการบริโภค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้องมี “อำนาจเหนือเงิน” . ดำรงชีวิตตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” กล่าวคือ ดำเนินชีวิตด้วยความพอดีอย่างอยู่บนพื้นฐานของความพอเหมาะพอควร ไม่เสี่ยงหรือประมาทอย่างขาดสติ
0 Comments 0 Shares 33 Views 0 Reviews