พูดถึงการเสริมอาวุธต่อสู้อากาศยานให้รถถังเพิ่มเติมจากปืนกลหนัก 12.7 มิลลิเมตรด้านบนป้อมปืน มีกรณีศึกษาน่าสนใจคือกรณีของเกาหลีเหนือที่มีการติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานประทับบ่าหรือ MANPADS บนป้อมปืนรถถังมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ก่อนจะมีการใช้โดรนแพร่หลายเสียอีก เหตุผลไม่ใช่เพราะเกาหลีเหนือมองการณ์ไกล แต่มาจากดุลทางทหารที่เกาหลีเหนือมีกำลังทางอากาศด้อยกว่าเกาหลีใต้และสหรัฐฯ มาก กองทัพอากาศเกาหลีเหนือมีเครื่องบินขับไล่ที่พอไปวัดไปวาได้คือ MiG-29 ประมาณ 35 ลำเท่านั้น เครื่องบินรบนอกเหนือจากนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็น MiG-21 และ MiG-23 เทียบไม่ได้เลยกับกองทัพอากาศเกาหลีใต้และสหรัฐฯ กองทัพบกเกาหลีเหนือจึงต้องเสริมอาวุธต่อสู้อากาศยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวทั้งติด MANPADS ให้ยานเกราะทั่วไปด้วย เนื่องจากไม่สามารถหวังพึ่งการคุ้มกันทางอากาศจากเครื่องบินขับไล่ได้

ทีนี้การติด MANPADS บนป้อมปืนรถถัง ข้อดีก็คือช่วยเพิ่มระยะยิงอาวุธต่อสู้อากาศยานของรถถัง จากที่ปกติปืนกลขนาด 12.7 มิลลิเมตรมีระยะยิงหวังผลประมาณ 1 - 2 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็นระยะยิงของ MANPADS ประมาณ 5 กิโลเมตร นำวิถีด้วย อย่างไรก็ตามข้อเสียของ MANPADS คือพลยิงหรือในกรณีนี้คือพลประจำรถถัง ต้องค้นหาเป้าหมายด้วยสายตา และทัศนวิสัยด้านในของรถถังค่อนข้างจำกัด ยิ่งถ้าอยู่ในช่วงที่การรบชุลมุน ผบ. รถถังไม่สามารถเปิดฝาป้อมออกมาได้ ก็ยิ่งมีข้อจำกัดมาก ดังนั้นต่อให้รถถังมีอาวุธต่อสู้อากาศยานเพิ่มคือ MANPADS แต่ถ้ามองไม่เห็นเป้าหมาย ก็ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพครับ

ในกรณีของโดรน FPV ความจริงโดรนประเภทนี้โดยตัวมันเองไม่ได้แข็งแกร่งทนทานอะไร ใช้แค่ปืนลูกซองก็สามารถสอยลงมาได้ จุดที่ยากคือการหาโดรนให้พบต่างหาก ต้องไม่ลืมว่าภัยคุกคามในสนามรบไม่ได้มีแค่โดรน มีทั้งทหารราบและยานเกราะฝ่ายตรงข้าม ปืนใหญ่ เป็นต้น ส่งผลให้ไม่สามารถแหงนหน้ามองหาโดรนอย่างเดียวได้ ดังนั้นถ้าในอนาคตจะมีการปรับปรุงความสามารถในการต่อต้านโดรนของยานเกราะ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ระบบอาวุธคือระบบตรวจจับครับ จะทำอย่างไรจึงจะให้พลประจำรถที่มีทัศนวิสัยจำกัด สามารถมองเห็นโดรนก่อนที่โดรนจะเข้าโจมตีได้ อย่างที่ผมบอกไปว่าการสอยโดรน FPV ทำได้ไม่ยาก แค่ปืนลูกซองก็สอยลงมาได้แล้ว แต่สิ่งสำคัญเลยคือต้องเห็นโดรนก่อน

สวัสดี

การทูตและการทหาร
Military and Diplomacy

14.09.2024
พูดถึงการเสริมอาวุธต่อสู้อากาศยานให้รถถังเพิ่มเติมจากปืนกลหนัก 12.7 มิลลิเมตรด้านบนป้อมปืน มีกรณีศึกษาน่าสนใจคือกรณีของเกาหลีเหนือที่มีการติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานประทับบ่าหรือ MANPADS บนป้อมปืนรถถังมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ก่อนจะมีการใช้โดรนแพร่หลายเสียอีก เหตุผลไม่ใช่เพราะเกาหลีเหนือมองการณ์ไกล แต่มาจากดุลทางทหารที่เกาหลีเหนือมีกำลังทางอากาศด้อยกว่าเกาหลีใต้และสหรัฐฯ มาก กองทัพอากาศเกาหลีเหนือมีเครื่องบินขับไล่ที่พอไปวัดไปวาได้คือ MiG-29 ประมาณ 35 ลำเท่านั้น เครื่องบินรบนอกเหนือจากนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็น MiG-21 และ MiG-23 เทียบไม่ได้เลยกับกองทัพอากาศเกาหลีใต้และสหรัฐฯ กองทัพบกเกาหลีเหนือจึงต้องเสริมอาวุธต่อสู้อากาศยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวทั้งติด MANPADS ให้ยานเกราะทั่วไปด้วย เนื่องจากไม่สามารถหวังพึ่งการคุ้มกันทางอากาศจากเครื่องบินขับไล่ได้ ทีนี้การติด MANPADS บนป้อมปืนรถถัง ข้อดีก็คือช่วยเพิ่มระยะยิงอาวุธต่อสู้อากาศยานของรถถัง จากที่ปกติปืนกลขนาด 12.7 มิลลิเมตรมีระยะยิงหวังผลประมาณ 1 - 2 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็นระยะยิงของ MANPADS ประมาณ 5 กิโลเมตร นำวิถีด้วย อย่างไรก็ตามข้อเสียของ MANPADS คือพลยิงหรือในกรณีนี้คือพลประจำรถถัง ต้องค้นหาเป้าหมายด้วยสายตา และทัศนวิสัยด้านในของรถถังค่อนข้างจำกัด ยิ่งถ้าอยู่ในช่วงที่การรบชุลมุน ผบ. รถถังไม่สามารถเปิดฝาป้อมออกมาได้ ก็ยิ่งมีข้อจำกัดมาก ดังนั้นต่อให้รถถังมีอาวุธต่อสู้อากาศยานเพิ่มคือ MANPADS แต่ถ้ามองไม่เห็นเป้าหมาย ก็ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพครับ ในกรณีของโดรน FPV ความจริงโดรนประเภทนี้โดยตัวมันเองไม่ได้แข็งแกร่งทนทานอะไร ใช้แค่ปืนลูกซองก็สามารถสอยลงมาได้ จุดที่ยากคือการหาโดรนให้พบต่างหาก ต้องไม่ลืมว่าภัยคุกคามในสนามรบไม่ได้มีแค่โดรน มีทั้งทหารราบและยานเกราะฝ่ายตรงข้าม ปืนใหญ่ เป็นต้น ส่งผลให้ไม่สามารถแหงนหน้ามองหาโดรนอย่างเดียวได้ ดังนั้นถ้าในอนาคตจะมีการปรับปรุงความสามารถในการต่อต้านโดรนของยานเกราะ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ระบบอาวุธคือระบบตรวจจับครับ จะทำอย่างไรจึงจะให้พลประจำรถที่มีทัศนวิสัยจำกัด สามารถมองเห็นโดรนก่อนที่โดรนจะเข้าโจมตีได้ อย่างที่ผมบอกไปว่าการสอยโดรน FPV ทำได้ไม่ยาก แค่ปืนลูกซองก็สอยลงมาได้แล้ว แต่สิ่งสำคัญเลยคือต้องเห็นโดรนก่อน สวัสดี การทูตและการทหาร Military and Diplomacy 14.09.2024
0 Comments 0 Shares 181 Views 0 Reviews