สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge
.............................................
หนึ่งในงานสำคัญที่ "กองแบบแผน" กรมรถไฟหลวง มีส่วนออกแบบ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ทรงมีรับสั่งให้ "กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง" เป็นผู้ออกแบบโครงการแสดงทางขึ้น ๒ ข้างและตัวสะพานที่จะสร้าง พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเรียกประมูลราคาจากบริษัทต่างประเทศ และทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบและราคาที่บริษัทต่างๆยื่นประมูลที่กรุงลอนดอนคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
๑. นายเอช. กิตตินส์ (H. Gitting) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟหลวง
๒. นายยี, คาโนวา (G. Canova) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นหัวหน้ากองแบบแผน กรมรถไฟหลวง
๓. นายซี.พี. แซนด์เบอร์ก (C.P. Sandberg) นายช่างชาวอังกฤษ มีหน้าที่ตรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่กรมรถไฟหลวงสั่งจากยุโรปและอเมริกา
๔ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) ผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้นกำลังดูงานอยู่ในยุโรป
๕. นายยี.ซี. สมัยท์ (G.C. Smythe) นายช่างอำนวยการ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ขณะนั้นลาไปพักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ
๖.อำมาตย์ตรี เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายช่างภาค กรมรถไฟหลวง ซึ่งกำลังศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในยุโรป
................................................
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงส่งโทรเลขรายการประมูลจากกรุงลอนดอน มากราบบังคมทูลในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ทรงส่งโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง กราบบังคมทูลถวายความเห็นของคณะกรรมการประมูลราคาว่า บริษัทที่ดีที่สุดมี ๒ บริษัท คือ บริษัทดอร์แมน ลอง แห่งประเทศอังกฤษ และ บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งประเทศอิตาลี บริษัทอังกฤษรับว่าจะสร้างสะพานเสร็จภายในเวลา ๒๗ เดือน บริษัทอิตาลีรับว่าจะสร้างเสร็จภายในเวลา ๓๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำคำกราบบังคมทูลนี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า การเลือกจ้างบริษัทใดควรเลือกเอาบริษัทที่มีหลักฐานมั่นคงและราคาถูก มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้บริษัทอื่นเกิดขัดข้องใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ควรทำสัญญาจ้างบริษัทดอร์แมน ลอง โปรดเกล้าฯ ให้โทรเลขตอบไปยังกรุงลอนดอน ว่าตกลงทำสัญญากับบริษัทดอร์แมน ลอง
.................................................
รัฐบาลได้มอบสถานที่การก่อสร้างให้แก่บริษัทดอร์แมน ลอง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ บริษัทเริ่มลงมือทำงานที่ตอม่อฝั่งพระนคร วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ผู้ทรงเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างทั้งหมด
.................................................
กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง(ต่อมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย)ได้ดำเนินงานมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงถูกยุบ
ที่มาของภาพ Public Relations Department / Thailand Illustrated - Thailand Illustrated (April 1954 Issue) retrieved from National Library of Thailand
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge ............................................. หนึ่งในงานสำคัญที่ "กองแบบแผน" กรมรถไฟหลวง มีส่วนออกแบบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ทรงมีรับสั่งให้ "กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง" เป็นผู้ออกแบบโครงการแสดงทางขึ้น ๒ ข้างและตัวสะพานที่จะสร้าง พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเรียกประมูลราคาจากบริษัทต่างประเทศ และทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบและราคาที่บริษัทต่างๆยื่นประมูลที่กรุงลอนดอนคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ๑. นายเอช. กิตตินส์ (H. Gitting) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟหลวง ๒. นายยี, คาโนวา (G. Canova) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นหัวหน้ากองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ๓. นายซี.พี. แซนด์เบอร์ก (C.P. Sandberg) นายช่างชาวอังกฤษ มีหน้าที่ตรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่กรมรถไฟหลวงสั่งจากยุโรปและอเมริกา ๔ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) ผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้นกำลังดูงานอยู่ในยุโรป ๕. นายยี.ซี. สมัยท์ (G.C. Smythe) นายช่างอำนวยการ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ขณะนั้นลาไปพักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ๖.อำมาตย์ตรี เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายช่างภาค กรมรถไฟหลวง ซึ่งกำลังศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในยุโรป ................................................ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงส่งโทรเลขรายการประมูลจากกรุงลอนดอน มากราบบังคมทูลในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ทรงส่งโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง กราบบังคมทูลถวายความเห็นของคณะกรรมการประมูลราคาว่า บริษัทที่ดีที่สุดมี ๒ บริษัท คือ บริษัทดอร์แมน ลอง แห่งประเทศอังกฤษ และ บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งประเทศอิตาลี บริษัทอังกฤษรับว่าจะสร้างสะพานเสร็จภายในเวลา ๒๗ เดือน บริษัทอิตาลีรับว่าจะสร้างเสร็จภายในเวลา ๓๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำคำกราบบังคมทูลนี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า การเลือกจ้างบริษัทใดควรเลือกเอาบริษัทที่มีหลักฐานมั่นคงและราคาถูก มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้บริษัทอื่นเกิดขัดข้องใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ควรทำสัญญาจ้างบริษัทดอร์แมน ลอง โปรดเกล้าฯ ให้โทรเลขตอบไปยังกรุงลอนดอน ว่าตกลงทำสัญญากับบริษัทดอร์แมน ลอง ................................................. รัฐบาลได้มอบสถานที่การก่อสร้างให้แก่บริษัทดอร์แมน ลอง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ บริษัทเริ่มลงมือทำงานที่ตอม่อฝั่งพระนคร วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ผู้ทรงเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างทั้งหมด ................................................. กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง(ต่อมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย)ได้ดำเนินงานมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงถูกยุบ ที่มาของภาพ Public Relations Department / Thailand Illustrated - Thailand Illustrated (April 1954 Issue) retrieved from National Library of Thailand
0 Comments 0 Shares 85 Views 0 Reviews