EP5 นี้ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นด้านความปลอดภัยทางการบินที่ขอมุ่งเน้นไปทางด้านความปลอดภัยของเครื่องบินขณะทำการวิ่งขึ้นหรือกำลังวิ่งลงบนทางวิ่งที่สนามบินนะครับ

จากข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัย (Safety Report) ปี 2024 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ได้จำแนกเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องจัดการอย่างเร่งด่วนอยู่ 5 เหตุการณ์ คือ 1 การควบคุมอากาศยานเข้าสู่สภาพภูมิประเทศ (Controlled Flight Into Terrain: CFIT) 2 การสูญเสียการควบคุมขณะทำการบิน (Loss Of Control In-Flight: LOC-I) 3 การชนกันกลางอากาศ (Mid-Air Collision: MAC) 4 การเกิดอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway Excursion: RE) และ 5 การล่วงล้ำบนทางวิ่ง (Runway Incursion: RI)

ที่จะขอพูดถึงในครั้งนี้ขอกล่าวถึงอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่งเป็นหลักเพื่อที่จะนำเข้าสู่หัวข้อและเนื้อหาการประชุมของ ICAO ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ( ICAO APAC) เมื่อต้นป 67 ที่ผ่านมา

การไถลออกนอกทางวิ่ง ICAO ได้ให้นิยามไว้คือการที่เครื่องบินเบี่ยงเบนออกจากทางวิ่งหรือการวิ่งเลยออกปลายทางวิ่งในขณะที่ทำการบินลงหรือวิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันเรามักจะได้ยินข่าวจากต่างประเทศตามสื่อต่างๆเกี่ยวกับเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวนหรือมีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยเราก็มีกรณีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งเช่นเดียวกันที่จังหวัดเชียงรายซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการสอบสวนอากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงฉบับสุดท้าย (Final Aircraft Serious Incident Investigation Report) ที่จะแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์นั้นว่าคืออะไร (โดยตามมาตรฐาน ICAO นั้น รายงานฉบับสุดท้ายควรออกมาภายใน 12 เดือนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์)

การไถลออกนอกทางวิ่งบนพื้นที่ของสนามบินที่ออกแบบและสร้างได้ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานจะลดโอกาสการเกิดความเสียหายต่อตัวอากาศยานและการบาดเจ็บของผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องได้อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้ายๆกับการที่เราบังเอิญขับรถพุ่งออกจากถนนจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ แต่พอดีพื้นที่ด้านข้างหรือไหล่ถนนนั้นเป็นพื้นที่โล่งๆที่มีความยาวและความกว้างเพียงพอให้เราควบคุมรถยนต์ให้ค่อยๆหยุดลงได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ได้ปะทะหรือชนเข้ากับสิ่งใดเราก็ปลอดภัย แต่ถ้าหากพื้นที่ด้านข้างถนนแคบหรือมีน้อยแถมมีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า เกาะกลางถนนหรือเป็นคลองส่งน้ำชลประทานหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด เราก็ยิ่งมีโอกาสได้รับอันตรายมากเท่านั้น แต่สำหรับสิ่งที่เราพูดถึงอยู่นี้เป็นอากาศยานหรือวัตถุที่มีขนาด มวล น้ำหนัก และความเร็วที่แตกต่างกันกับรถยนต์มาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงแตกต่างจากกรณีของรถยนต์อย่างสิ้นเชิง

ในส่วนของพื้นที่ที่รองรับการออกนอกทางวิ่งของเครื่องบินเราเรียกว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันตามประเภทของทางวิ่งที่รองรับอากาศยานรวมทั้งทางหยุด (Stop Way) (ถ้ามี) ทั้งนี้ยังรวมถึงอีกพื้นที่หนึ่งก็คือพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Runway End Safety Area: RESA) ที่เอาไว้สำหรับรองรับการวิ่งเลยปลายทางวิ่งออกไปและในกรณีที่เครื่องบินลงก่อนถึงจุดเริ่มต้นของหัวทางวิ่ง (Runway Threshold) ด้วยเช่นกัน (สามารถดาวน์โหลดข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) ฉบับที่ 37 ในเว็ปไซต์ กพท.หรือ ICAO Annex 14 Vol.1 ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อดูในรายละเอียดได้) พื้นที่เหล่านี้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยในกรณีเกิด Runway excursion ขึ้น

เราลองมาดูนิยามและมาตรฐานในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ก่อนดีกว่า ความหมายของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 (อ้างอิงจากมาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations) กำหนดไว้ว่า “พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) หมายความว่า พื้นที่ที่กําหนดไว้ซึ่งรวมถึงทางวิ่งและทางหยุด (ถ้ามี) ที่กําหนดไว้เพื่อ (1) ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่อากาศยานที่วิ่งออกนอกทางวิ่ง และ (2) ป้องกันอากาศยานที่บินอยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวระหว่างการปฏิบัติการวิ่งขึ้นหรือการบินลงของอากาศยาน
2. ขนาดของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง
ข้อ 145 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งต้องขยายต่อออกไปจากหัวทางวิ่งและยาวเลยปลายทางวิ่งหรือทางหยุดไม่น้อยกว่าระยะทาง ดังต่อไปนี้
(1) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 2, 3 หรือ 4
(2) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน
(3) สามสิบ (30) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน
ข้อ 146 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบพรีซิชั่น (Precision) และทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น (Non-Precision) ต้องขยายไปทางด้านข้างแต่ละด้านของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ต่อขยายออกไปตลอดความยาวของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนั้นเป็นระยะทางอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) หนึ่งร้อยสี่สิบ (140) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4
(2) เจ็ดสิบ (70) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 หรือ 2
4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง
ข้อ 152 เพื่อประโยชน์ในการรองรับเครื่องบินที่จะใช้ทางวิ่ง ในกรณีที่เครื่องบินวิ่งออกนอกทางวิ่ง สนามบินต้องปรับระดับ (Graded portion) ส่วนของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัด

ประกอบการบิน อย่างน้อยภายในระยะจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ขยายออกไปดังต่อไปนี้
(1) หนึ่งร้อยห้า (105) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 ตามรูปที่ 9
(2) เจ็ดสิบห้า (75) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4
(3) สี่สิบ (40) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นและทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1หรือ 2
ข้อ 161 หากมีความจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่เหมาะสม สนามบินอาจจัดให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ที่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งได้ แต่ต้องวางตําแหน่งของรางระบายน้ำให้อยู่ห่างจากทางวิ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้” อันนี้คือข้อมูลที่อยู่ในข้อกำหนด กพท.ฉบับ37

สนามบินสุวรรณภูมิมีรหัสอ้างอิงของสนามบิน 4E (ตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 ส่วนที่ 4 รหัสอ้างอิงสนามบิน ข้อ 23, 24 และ25) คือมีความยาวของทางวิ่งเกิน 1800 เมตร และรองรับเครื่องบินที่มีระยะห่างระหว่างปลายปีก 65 เมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึง 80 เมตร ดังนั้นพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งด้านข้างที่วัดออกจากจุดเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจึงต้องมีขนาดอย่างน้อย 140 เมตรตลอดแนวความยาวของทางวิ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่ามีการใช้คำว่า “อย่างน้อย” นั้น ถ้ามากกว่าก็จะยิ่งดี

สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินหลักของบ้านเราที่มีภาพประกอบวาระการประชุมของ ICAO Asia and Pacific (ICAO APAC) ที่จะได้กล่าวต่อไป ได้มีการติดตั้งรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งตามความยาวของทางวิ่งฝั่งตะวันออกห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ระยะ 120 เมตร (ข้อมูลจาก AIP Thailand) เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำสำหรับกรณีมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากอยู่บนทางวิ่งหรือพื้นที่โดยรอบ ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion of Runway Strip) หรือตั้งแต่ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นต้นไป (ตามข้อกำหนด กพท. 4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 152 วงเล็บ 1)

ขณะที่มาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition July 2022 หน้า 3-13 ข้อ 3.4.16 บันทึก (Note) 1 ได้ระบุว่า รางระบายน้ำแบบเปิดโล่งสามารถที่จะติดตั้งได้ในกรณีที่มีความจำเป็นต่อการระบายน้ำฝนจำนวนมากแต่จะต้องพิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับหรือพื้นที่ “Non-graded portion” ของทางวิ่ง (Note 1. - Where deemed necessary for proper drainage, an open-air storm water conveyance may be allowed in the non-graded portion of a runway strip and would be placed as far as practicable from the runway.) ดังนั้นการมีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งของสนามบินนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการติดตั้งที่ไม่สอดคล้องหรือผิดจากมาตรฐานการก่อสร้างแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม จากรายงานการประชุมครั้งที่ 5 ของ ICAO APAC ของคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force เมื่อวันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 67 ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศภาคีสมาชิก 14 ประเทศและองค์กรทางการบินระหว่างประเทศอีก 3 หน่วยงานรวม 62 คน ( The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force: AP-ADO/TF/5: Chiang Rai) ในหัวข้อวาระประชุมที่ 4 เรื่อง “การวางแผน การออกแบบ และการก่อสร้างสนามบิน” (Planning, Design and Construction of Aerodromes) นั้น มีการหยิบยกประเด็นของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งที่อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (OPEN-AIR STORM WATER CONVEYANCE IN RUNWAY STRIP) ขึ้นมาใหม่ซึ่งนำเสนอโดย ICAO-The Cooperative Development of Operational Safety and Continuing Airworthiness Programme – South East Asia (COSCAP-SEA) โดยระบุว่าการมีอยู่ของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) อาจนำมาซึ่งอันตรายต่างๆโดยเฉพาะกับเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่ง ยิ่งในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกและทางวิ่งเปียกลื่น การมีอยู่ของรางระบายน้ำนั้นอาจจะทำให้เหตุการณ์ลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง(ที่ไปถึงบริเวณที่ติดตั้งรางระบายน้ำฯ) รุนแรงยิ่งขึ้น อันนี้เองอาจจะถือได้ว่าเป็นการเริ่มทบทวนมาตรฐานด้านกายภาพสนามบินของ ICAO ก็เป็นได้ และจากการนำเสนอข้อมูลในวาระนี้ก่อนที่จะสรุปอยู่ในรายงานในภาพรวมนั้นได้มีการนำรูปภาพตัวอย่างของกรณีการไถลออกนอกทางวิ่งในประเทศต่างๆ รวมทั้งตัวอย่างภาพของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งและหยุดอยู่ตรงหน้ารางระบายน้ำคอนกรีตเพียงไม่กี่เมตรมาแสดงด้วย

มีข้อที่น่าสนใจและน่าสังเกตก็คือจากภาพที่มีการนำเสนอที่มีการไถลออกนอกทางวิ่งจากวาระการประชุมนี้รูปหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่สนามบินฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นมีการไถลออกจากทางวิ่งไปจนเกือบถึงขอบของ Runway Strip ซึ่งไม่โครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างใดหรือแม้แต่รางระบายน้ำคอนกรีตอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) นี้เลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมีรางระบายน้ำอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้ซึ่งตามมาตรฐานของ ICAO สามารถอยู่ได้เราคงพอจะนึกภาพออก และเมื่อไปดูข้อมูลด้านกายภาพของสนามบินฮิโรชิมานี้ใน AIP Japan (Aeronautical Information Publication, Japan) พบว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ของสนามบินนี้อยู่ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งซึ่งสูงกว่ามาตรฐานปัจจุบันซึ่งมีการก่อสร้างมานานแล้วนั่นหมายความว่าถ้าหากมีรางระบายน้ำหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนี้แม้มาตรฐานสากลจะยอมให้อยู่ได้ อากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงก็สามารถจะคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับสนามบินสมุยที่มีอาคาร Tower เก่าอยู่บน Runway Strip แล้วเครื่องไถลออกไปก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาแล้วเมื่อ 4 สิงหาคม 2552 หรือกรณีของสายการบิน One to Go ที่สนามบินภูเก็ตที่ผ่านมาหลายปีมาแล้วเช่นกันที่พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรองรับอากาศยาน

ในที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force - ICAO APAC ยังได้มีการกล่าวถึงข้อมูลสถิติการศึกษาการออกนอกทางวิ่งของอากาศยานในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ได้ทำไว้ โดยแสดงให้เห็นว่าในจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์ออกนอกทางวิ่ง 90 เปอร์เซ็นต์เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) บนขอบเขตของพื้นที่ปรับระดับ (Graded portion) คืออยู่ในระยะ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์จะเลย 105 เมตรออกไปถึงพื้นที่ที่ไม่ปรับระดับ (Non-graded portion) คือตั้งแต่ 105 เมตรขึ้นไปจนถึงขอบของ Runway strip ซึ่งจากสถิติข้อมูลการศึกษาอันนี้ในจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นี้ในบางครั้งมีการไถลออกไปไกลถึง 152 เมตร และบางครั้งถึง 210 เมตรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างหนึ่งที่เครื่องบินไถลออกไปจากทางวิ่งไปถึง 219 เมตรที่ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2019 ก็มีมาแล้ว (มีภาพประกอบ)

เนื้อหาข้อมูลใน Final Report ของที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force นี้ (ในหน้า 4-5) นี้ มีการระบุให้ข้อมูลว่ามีตัวอย่างของเอกสารคำแนะนำ (Advisory circular) AC150/5300-13B ของหน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) ว่าตำแหน่งของร่องน้ำหรือรางระบายน้ำหรือกำแพงป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่บริเวณนั้นแต่ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามจะไม่มีการตั้งอยู่บนขอบเขตของพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งเลย โดยความกว้างของพื้นที่ปลอดภัยทางวิ่งของเขาจะอยู่ที่ 500 ฟุต หรือ152 เมตร
“4.28 The WP/20 provided an example of the FAA advisory circular: AC150/5300-13B where it reads, “location of ditch, swale, or headwall depends on the site condition but in no case within the limits of runway safety area (RSA).” The width of the RSA, as specified in Appendix G of the AC is 500 feet (152m).”
นอกจากนี้ผู้แทนของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ออกมาให้การสนับสนุนประเด็นหัวข้อนี้และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากฎระเบียบด้านการบินของเกาหลีใต้ในหัวข้อที่เกี่ยวกับมาตรฐานพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของสนามบินนั้นออกข้อกำหนดไว้ว่าการก่อสร้างรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งจะต้องก่อสร้างให้เลยจากพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ออกไปเท่านั้นและยังเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ พัฒนาคู่มือนโนบายและวิธีปฏิบัติในการที่จะยอมรับกายภาพที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานของตนบนพื้นฐานจากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
“4.31 The Republic of Korea supported the Working Paper and shared that their regulations required open air drains to be constructed beyond the non-graded portion of the runway strips and expressed the need for States to develop Policy and Procedures for accepting non-compliances based on safety risk assessment”.

สำหรับสนามบินหลักของบ้านเราที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ในส่วนที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) นี้นั้น ถ้าดูจากสถิติตามรายงานของที่ประชุมนี้แล้ว 90 เปอร์เซ็นของเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่งจะออกไปไม่ถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ หรือบริเวณที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตฯนี้ ยกเว้นเพียง 10 เปอร์เซ็นเท่านั้น อย่างไรก็ดีจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่รัฐหรือผู้ดำเนินการสนามบินจะนำเรื่องดังกล่าวมาทบทวนข้อมูลสถิติ จำนวนและชนิดของอากาศยานที่มาใช้บริการ โอกาสความเป็นไปได้ต่าง ๆ รวมทั้งทบทวนกฎระเบียบหรือทำการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอีกครั้งตามที่หน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ได้นำเสนอมาในรายงาน เพื่อลดโอกาสความรุนแรงจากการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ถ้าตัวเลขในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น จำนวนการไถลออกนอกทางวิ่งของทั้ง 90 เปอร์เซ็นและของ 10 เปอร์เซ็นก็น่าจะมากตาม คงไม่น่าจะมีใครอยากคิดว่าตนเองจะเป็นผู้ที่อยู่ใน 10 เปอร์เซ็นนั้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้หากดูข้อมูลเหตุการณ์ของสายการบิน Asiana airlines ที่ออกนอกทางวิ่งสนามบินฮิโรชิมาของญี่ปุ่นที่มี Runway strip ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งโดยไถลไปไกลจนเกือบถึงขอบ Runway strip โดยไม่มีรางระบายน้ำฯหรือสิ่งปลูกสร้างใดบนพื้นที่บริเวณนี้แม้แต่น้อยตามที่กล่าวไว้ข้างต้นกับในขณะที่เหตุการณ์ของสุวรรณภูมิที่เครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งจนไปเกือบถึงรางระบายน้ำแบบเปิดโล่ง แต่โชคดีที่คานยึดของฐานล้อเครื่องบินมีการครูดเป็นร่องลึกและเป็นทางยาวไปกับทางวิ่งประมาณเกือบ 400 เมตร (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน) ก่อนหยุดลง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้ก่อให้เกิดอากาศยานอุบัติเหตุแต่อย่างใด แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามันจะเป็นแบบนี้ไปได้ทุกครั้ง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นเราต้องสูญเสียอะไรบ้างกับการไม่ได้ป้องกันกันแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาทบทวนดูหรือไม่

โดยรวมแล้วการที่สนามบินมีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่ง (Open-Air Storm Water Conveyance) อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ(Non-Graded Portion) สามารถทำได้หรือจัดให้มีอยู่ได้โดยไม่ได้ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดจากมาตรฐานแต่อย่างใดเพราะ ICAO Annex 14 Vol. 1 เปิดไว้ให้ทำได้เพียงแต่ขอให้พิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดจากทางวิ่งซึ่งไม่ได้กำหนดว่าระยะเท่าไร ดังนั้นจึงอยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินหรือการดำเนินการของสนามบินในแต่ละประเทศที่จะพิจารณากันในมิติต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ซึ่งรวมถึงเนื้อหาในรายงานการประชุมของ ICAO ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า
1. ประเทศบางประเทศอย่างเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีการพัฒนาให้มีกฎระเบียบหรือกฎหมายด้านความปลอดภัยทางการบินของตนเองที่สูงกว่ามาตรฐานของ ICAO โดยไม่ต้องมีข้อกำหนดด้านมาตรฐานที่ชัดเจนของ ICAO Annex ออกมาแต่อย่างใด
2. มาตรฐานที่ ICAO ออกมาในรูปแบบ Annex ต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อให้แต่ละประเทศนำไปออกเป็นกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับของตนเองนั้นยังมีช่องว่าง (Gap) ส่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้นหรือปลอดภัยมากขึ้นอยู่เสมอ
3. กรณีที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอีก โอกาสของ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เครื่องบินจะวิ่งเลยไปถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ยังมีอยู่หากยังไม่ได้ทำการประเมินความเสี่ยงและมีการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะสนามบินที่รองรับแบบอากาศยาน (Aircraft Code) ชนิดใหญ่ ๆ ได้
4. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321ที่ไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อ 8 กันยายน 2556 มีการระบุถึงการครูดของคานยึดฐานล้อหลักด้านขวาประมาณ 365 เมตร และวิ่งพ้นขอบทางวิ่งไปบนพื้นดินที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งระยะทางประมาณ ๑๐๐ เมตรจึงหยุดนิ่ง กรณีเช่นนี้ถ้าหากไม่มีการครูดกับทางวิ่งด้วยระยะทางและความลึกตามรายงานดังกล่าว โอกาสที่อากาศยานอาจจะไปถึงรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งก็เป็นได้เมื่อลองเปรียบเทียบกับกรณีของสายการบิน Asiana Airlines ที่สนามบินฮิโรชิมา อย่างไรก็ตามรายงานผลการสอบสวนฯควรมีข้อแนะนำโดยตรงไปยัง ICAO (Safety recommendations to ICAO) ด้วยหรือไม่ถึงความเป็นไปได้ของสภาวะอันตรายนี้เพื่อให้ ICAO มีการพิจารณาหรืออาจจะทบทวนมาตรฐานกายภาพของทางวิ่งที่ยอมให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้

ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่จะนำสรุปได้ว่าแต่ละประเทศที่มีลักษณะทางกายภาพทางวิ่งของสนามบินแบบนี้โดยเฉพาะประเทศเรานั้นจะดำเนินการไปในในทิศทางใด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเสนออีกครั้งการจะทำให้สมดุลกันระหว่างการลงทุนรายจ่ายการป้องกันด้านความปลอดภัย (Protection) กับการสร้างรายได้การดำเนินงาน (Production) เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องจะเลือกวิธีแบบใด และแบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถมีส่วนร่วมได้หรือไม่

ข้อมูลทั้งหมดเป็นทัศนคติส่วนบุคคลที่อ้างอิงจากเอกสารและรายงานที่เปิดเผยในเวปไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถค้นหาและสืบค้นได้โดยทั่วไป อาจมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึงและข้อมูลบางอย่างปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ผู้อ่านโปรดใช้ดุลยพินิจและพิจารณาอีกครั้ง

เอกสารอ้างอิง(สามารสืบค้นได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต):
1. ICAO Safety Report 2024Edition
2. ICAO Annex 14 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition, July 2022
3. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนฉบับที่ 37
4. Aircraft Accident Investigation Report, Asiana Airlines INC. HL-7762, November 24,2016 - JTSB
5. www.telegraph.co.uk/travel/news/asiana-plane-skids-off-runway-in-japan-leaving-20-injured/
6. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321 เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน HS-TEFฯ โดยคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักรปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานประเทศไทย
7. Agenda Item 4: Planning, Design and Construction of Aerodromes/ “Open-Air Strom Water Conveyance in Runway Strip” - The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024
8. Final Report: The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024
9. AIP Japan HIROSHIMA, RJOA AD2-6 (13/9/18)
10. AIP Thailand, AD 2-VTBS-1-16, 28 NOV 24, VTBS AD2.12 RUNWAY PHYSICAL CHARACTERISTICS
11. https://en.wikipedia.org/wiki/Bangkok_Airways_Flight_266
12. https://www.theguardian.com/world/2009/aug/04/thailand-plane-crash
13. https://en.wikipedia.org/wiki/One-Two-Go_Airlines_Flight_269
14. https://www.aviation-accidents.net/jet-airways-boeing-b737-800-vt-jbg-flight-9w2374/



EP5 นี้ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นด้านความปลอดภัยทางการบินที่ขอมุ่งเน้นไปทางด้านความปลอดภัยของเครื่องบินขณะทำการวิ่งขึ้นหรือกำลังวิ่งลงบนทางวิ่งที่สนามบินนะครับ จากข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัย (Safety Report) ปี 2024 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ได้จำแนกเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องจัดการอย่างเร่งด่วนอยู่ 5 เหตุการณ์ คือ 1 การควบคุมอากาศยานเข้าสู่สภาพภูมิประเทศ (Controlled Flight Into Terrain: CFIT) 2 การสูญเสียการควบคุมขณะทำการบิน (Loss Of Control In-Flight: LOC-I) 3 การชนกันกลางอากาศ (Mid-Air Collision: MAC) 4 การเกิดอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway Excursion: RE) และ 5 การล่วงล้ำบนทางวิ่ง (Runway Incursion: RI) ที่จะขอพูดถึงในครั้งนี้ขอกล่าวถึงอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่งเป็นหลักเพื่อที่จะนำเข้าสู่หัวข้อและเนื้อหาการประชุมของ ICAO ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ( ICAO APAC) เมื่อต้นป 67 ที่ผ่านมา การไถลออกนอกทางวิ่ง ICAO ได้ให้นิยามไว้คือการที่เครื่องบินเบี่ยงเบนออกจากทางวิ่งหรือการวิ่งเลยออกปลายทางวิ่งในขณะที่ทำการบินลงหรือวิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันเรามักจะได้ยินข่าวจากต่างประเทศตามสื่อต่างๆเกี่ยวกับเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวนหรือมีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยเราก็มีกรณีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งเช่นเดียวกันที่จังหวัดเชียงรายซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการสอบสวนอากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงฉบับสุดท้าย (Final Aircraft Serious Incident Investigation Report) ที่จะแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์นั้นว่าคืออะไร (โดยตามมาตรฐาน ICAO นั้น รายงานฉบับสุดท้ายควรออกมาภายใน 12 เดือนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์) การไถลออกนอกทางวิ่งบนพื้นที่ของสนามบินที่ออกแบบและสร้างได้ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานจะลดโอกาสการเกิดความเสียหายต่อตัวอากาศยานและการบาดเจ็บของผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องได้อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้ายๆกับการที่เราบังเอิญขับรถพุ่งออกจากถนนจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ แต่พอดีพื้นที่ด้านข้างหรือไหล่ถนนนั้นเป็นพื้นที่โล่งๆที่มีความยาวและความกว้างเพียงพอให้เราควบคุมรถยนต์ให้ค่อยๆหยุดลงได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ได้ปะทะหรือชนเข้ากับสิ่งใดเราก็ปลอดภัย แต่ถ้าหากพื้นที่ด้านข้างถนนแคบหรือมีน้อยแถมมีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า เกาะกลางถนนหรือเป็นคลองส่งน้ำชลประทานหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด เราก็ยิ่งมีโอกาสได้รับอันตรายมากเท่านั้น แต่สำหรับสิ่งที่เราพูดถึงอยู่นี้เป็นอากาศยานหรือวัตถุที่มีขนาด มวล น้ำหนัก และความเร็วที่แตกต่างกันกับรถยนต์มาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงแตกต่างจากกรณีของรถยนต์อย่างสิ้นเชิง ในส่วนของพื้นที่ที่รองรับการออกนอกทางวิ่งของเครื่องบินเราเรียกว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันตามประเภทของทางวิ่งที่รองรับอากาศยานรวมทั้งทางหยุด (Stop Way) (ถ้ามี) ทั้งนี้ยังรวมถึงอีกพื้นที่หนึ่งก็คือพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Runway End Safety Area: RESA) ที่เอาไว้สำหรับรองรับการวิ่งเลยปลายทางวิ่งออกไปและในกรณีที่เครื่องบินลงก่อนถึงจุดเริ่มต้นของหัวทางวิ่ง (Runway Threshold) ด้วยเช่นกัน (สามารถดาวน์โหลดข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) ฉบับที่ 37 ในเว็ปไซต์ กพท.หรือ ICAO Annex 14 Vol.1 ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อดูในรายละเอียดได้) พื้นที่เหล่านี้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยในกรณีเกิด Runway excursion ขึ้น เราลองมาดูนิยามและมาตรฐานในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ก่อนดีกว่า ความหมายของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 (อ้างอิงจากมาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations) กำหนดไว้ว่า “พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) หมายความว่า พื้นที่ที่กําหนดไว้ซึ่งรวมถึงทางวิ่งและทางหยุด (ถ้ามี) ที่กําหนดไว้เพื่อ (1) ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่อากาศยานที่วิ่งออกนอกทางวิ่ง และ (2) ป้องกันอากาศยานที่บินอยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวระหว่างการปฏิบัติการวิ่งขึ้นหรือการบินลงของอากาศยาน 2. ขนาดของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 145 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งต้องขยายต่อออกไปจากหัวทางวิ่งและยาวเลยปลายทางวิ่งหรือทางหยุดไม่น้อยกว่าระยะทาง ดังต่อไปนี้ (1) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 2, 3 หรือ 4 (2) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (3) สามสิบ (30) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน ข้อ 146 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบพรีซิชั่น (Precision) และทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น (Non-Precision) ต้องขยายไปทางด้านข้างแต่ละด้านของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ต่อขยายออกไปตลอดความยาวของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนั้นเป็นระยะทางอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งร้อยสี่สิบ (140) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 (2) เจ็ดสิบ (70) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 หรือ 2 4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 152 เพื่อประโยชน์ในการรองรับเครื่องบินที่จะใช้ทางวิ่ง ในกรณีที่เครื่องบินวิ่งออกนอกทางวิ่ง สนามบินต้องปรับระดับ (Graded portion) ส่วนของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัด ประกอบการบิน อย่างน้อยภายในระยะจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ขยายออกไปดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งร้อยห้า (105) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 ตามรูปที่ 9 (2) เจ็ดสิบห้า (75) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 (3) สี่สิบ (40) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นและทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1หรือ 2 ข้อ 161 หากมีความจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่เหมาะสม สนามบินอาจจัดให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ที่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งได้ แต่ต้องวางตําแหน่งของรางระบายน้ำให้อยู่ห่างจากทางวิ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้” อันนี้คือข้อมูลที่อยู่ในข้อกำหนด กพท.ฉบับ37 สนามบินสุวรรณภูมิมีรหัสอ้างอิงของสนามบิน 4E (ตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 ส่วนที่ 4 รหัสอ้างอิงสนามบิน ข้อ 23, 24 และ25) คือมีความยาวของทางวิ่งเกิน 1800 เมตร และรองรับเครื่องบินที่มีระยะห่างระหว่างปลายปีก 65 เมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึง 80 เมตร ดังนั้นพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งด้านข้างที่วัดออกจากจุดเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจึงต้องมีขนาดอย่างน้อย 140 เมตรตลอดแนวความยาวของทางวิ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่ามีการใช้คำว่า “อย่างน้อย” นั้น ถ้ามากกว่าก็จะยิ่งดี สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินหลักของบ้านเราที่มีภาพประกอบวาระการประชุมของ ICAO Asia and Pacific (ICAO APAC) ที่จะได้กล่าวต่อไป ได้มีการติดตั้งรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งตามความยาวของทางวิ่งฝั่งตะวันออกห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ระยะ 120 เมตร (ข้อมูลจาก AIP Thailand) เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำสำหรับกรณีมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากอยู่บนทางวิ่งหรือพื้นที่โดยรอบ ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion of Runway Strip) หรือตั้งแต่ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นต้นไป (ตามข้อกำหนด กพท. 4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 152 วงเล็บ 1) ขณะที่มาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition July 2022 หน้า 3-13 ข้อ 3.4.16 บันทึก (Note) 1 ได้ระบุว่า รางระบายน้ำแบบเปิดโล่งสามารถที่จะติดตั้งได้ในกรณีที่มีความจำเป็นต่อการระบายน้ำฝนจำนวนมากแต่จะต้องพิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับหรือพื้นที่ “Non-graded portion” ของทางวิ่ง (Note 1. - Where deemed necessary for proper drainage, an open-air storm water conveyance may be allowed in the non-graded portion of a runway strip and would be placed as far as practicable from the runway.) ดังนั้นการมีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งของสนามบินนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการติดตั้งที่ไม่สอดคล้องหรือผิดจากมาตรฐานการก่อสร้างแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จากรายงานการประชุมครั้งที่ 5 ของ ICAO APAC ของคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force เมื่อวันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 67 ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศภาคีสมาชิก 14 ประเทศและองค์กรทางการบินระหว่างประเทศอีก 3 หน่วยงานรวม 62 คน ( The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force: AP-ADO/TF/5: Chiang Rai) ในหัวข้อวาระประชุมที่ 4 เรื่อง “การวางแผน การออกแบบ และการก่อสร้างสนามบิน” (Planning, Design and Construction of Aerodromes) นั้น มีการหยิบยกประเด็นของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งที่อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (OPEN-AIR STORM WATER CONVEYANCE IN RUNWAY STRIP) ขึ้นมาใหม่ซึ่งนำเสนอโดย ICAO-The Cooperative Development of Operational Safety and Continuing Airworthiness Programme – South East Asia (COSCAP-SEA) โดยระบุว่าการมีอยู่ของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) อาจนำมาซึ่งอันตรายต่างๆโดยเฉพาะกับเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่ง ยิ่งในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกและทางวิ่งเปียกลื่น การมีอยู่ของรางระบายน้ำนั้นอาจจะทำให้เหตุการณ์ลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง(ที่ไปถึงบริเวณที่ติดตั้งรางระบายน้ำฯ) รุนแรงยิ่งขึ้น อันนี้เองอาจจะถือได้ว่าเป็นการเริ่มทบทวนมาตรฐานด้านกายภาพสนามบินของ ICAO ก็เป็นได้ และจากการนำเสนอข้อมูลในวาระนี้ก่อนที่จะสรุปอยู่ในรายงานในภาพรวมนั้นได้มีการนำรูปภาพตัวอย่างของกรณีการไถลออกนอกทางวิ่งในประเทศต่างๆ รวมทั้งตัวอย่างภาพของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งและหยุดอยู่ตรงหน้ารางระบายน้ำคอนกรีตเพียงไม่กี่เมตรมาแสดงด้วย มีข้อที่น่าสนใจและน่าสังเกตก็คือจากภาพที่มีการนำเสนอที่มีการไถลออกนอกทางวิ่งจากวาระการประชุมนี้รูปหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่สนามบินฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นมีการไถลออกจากทางวิ่งไปจนเกือบถึงขอบของ Runway Strip ซึ่งไม่โครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างใดหรือแม้แต่รางระบายน้ำคอนกรีตอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) นี้เลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมีรางระบายน้ำอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้ซึ่งตามมาตรฐานของ ICAO สามารถอยู่ได้เราคงพอจะนึกภาพออก และเมื่อไปดูข้อมูลด้านกายภาพของสนามบินฮิโรชิมานี้ใน AIP Japan (Aeronautical Information Publication, Japan) พบว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ของสนามบินนี้อยู่ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งซึ่งสูงกว่ามาตรฐานปัจจุบันซึ่งมีการก่อสร้างมานานแล้วนั่นหมายความว่าถ้าหากมีรางระบายน้ำหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนี้แม้มาตรฐานสากลจะยอมให้อยู่ได้ อากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงก็สามารถจะคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับสนามบินสมุยที่มีอาคาร Tower เก่าอยู่บน Runway Strip แล้วเครื่องไถลออกไปก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาแล้วเมื่อ 4 สิงหาคม 2552 หรือกรณีของสายการบิน One to Go ที่สนามบินภูเก็ตที่ผ่านมาหลายปีมาแล้วเช่นกันที่พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรองรับอากาศยาน ในที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force - ICAO APAC ยังได้มีการกล่าวถึงข้อมูลสถิติการศึกษาการออกนอกทางวิ่งของอากาศยานในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ได้ทำไว้ โดยแสดงให้เห็นว่าในจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์ออกนอกทางวิ่ง 90 เปอร์เซ็นต์เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) บนขอบเขตของพื้นที่ปรับระดับ (Graded portion) คืออยู่ในระยะ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์จะเลย 105 เมตรออกไปถึงพื้นที่ที่ไม่ปรับระดับ (Non-graded portion) คือตั้งแต่ 105 เมตรขึ้นไปจนถึงขอบของ Runway strip ซึ่งจากสถิติข้อมูลการศึกษาอันนี้ในจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นี้ในบางครั้งมีการไถลออกไปไกลถึง 152 เมตร และบางครั้งถึง 210 เมตรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างหนึ่งที่เครื่องบินไถลออกไปจากทางวิ่งไปถึง 219 เมตรที่ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2019 ก็มีมาแล้ว (มีภาพประกอบ) เนื้อหาข้อมูลใน Final Report ของที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force นี้ (ในหน้า 4-5) นี้ มีการระบุให้ข้อมูลว่ามีตัวอย่างของเอกสารคำแนะนำ (Advisory circular) AC150/5300-13B ของหน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) ว่าตำแหน่งของร่องน้ำหรือรางระบายน้ำหรือกำแพงป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่บริเวณนั้นแต่ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามจะไม่มีการตั้งอยู่บนขอบเขตของพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งเลย โดยความกว้างของพื้นที่ปลอดภัยทางวิ่งของเขาจะอยู่ที่ 500 ฟุต หรือ152 เมตร “4.28 The WP/20 provided an example of the FAA advisory circular: AC150/5300-13B where it reads, “location of ditch, swale, or headwall depends on the site condition but in no case within the limits of runway safety area (RSA).” The width of the RSA, as specified in Appendix G of the AC is 500 feet (152m).” นอกจากนี้ผู้แทนของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ออกมาให้การสนับสนุนประเด็นหัวข้อนี้และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากฎระเบียบด้านการบินของเกาหลีใต้ในหัวข้อที่เกี่ยวกับมาตรฐานพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของสนามบินนั้นออกข้อกำหนดไว้ว่าการก่อสร้างรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งจะต้องก่อสร้างให้เลยจากพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ออกไปเท่านั้นและยังเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ พัฒนาคู่มือนโนบายและวิธีปฏิบัติในการที่จะยอมรับกายภาพที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานของตนบนพื้นฐานจากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย “4.31 The Republic of Korea supported the Working Paper and shared that their regulations required open air drains to be constructed beyond the non-graded portion of the runway strips and expressed the need for States to develop Policy and Procedures for accepting non-compliances based on safety risk assessment”. สำหรับสนามบินหลักของบ้านเราที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ในส่วนที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) นี้นั้น ถ้าดูจากสถิติตามรายงานของที่ประชุมนี้แล้ว 90 เปอร์เซ็นของเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่งจะออกไปไม่ถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ หรือบริเวณที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตฯนี้ ยกเว้นเพียง 10 เปอร์เซ็นเท่านั้น อย่างไรก็ดีจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่รัฐหรือผู้ดำเนินการสนามบินจะนำเรื่องดังกล่าวมาทบทวนข้อมูลสถิติ จำนวนและชนิดของอากาศยานที่มาใช้บริการ โอกาสความเป็นไปได้ต่าง ๆ รวมทั้งทบทวนกฎระเบียบหรือทำการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอีกครั้งตามที่หน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ได้นำเสนอมาในรายงาน เพื่อลดโอกาสความรุนแรงจากการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ถ้าตัวเลขในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น จำนวนการไถลออกนอกทางวิ่งของทั้ง 90 เปอร์เซ็นและของ 10 เปอร์เซ็นก็น่าจะมากตาม คงไม่น่าจะมีใครอยากคิดว่าตนเองจะเป็นผู้ที่อยู่ใน 10 เปอร์เซ็นนั้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้หากดูข้อมูลเหตุการณ์ของสายการบิน Asiana airlines ที่ออกนอกทางวิ่งสนามบินฮิโรชิมาของญี่ปุ่นที่มี Runway strip ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งโดยไถลไปไกลจนเกือบถึงขอบ Runway strip โดยไม่มีรางระบายน้ำฯหรือสิ่งปลูกสร้างใดบนพื้นที่บริเวณนี้แม้แต่น้อยตามที่กล่าวไว้ข้างต้นกับในขณะที่เหตุการณ์ของสุวรรณภูมิที่เครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งจนไปเกือบถึงรางระบายน้ำแบบเปิดโล่ง แต่โชคดีที่คานยึดของฐานล้อเครื่องบินมีการครูดเป็นร่องลึกและเป็นทางยาวไปกับทางวิ่งประมาณเกือบ 400 เมตร (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน) ก่อนหยุดลง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้ก่อให้เกิดอากาศยานอุบัติเหตุแต่อย่างใด แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามันจะเป็นแบบนี้ไปได้ทุกครั้ง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นเราต้องสูญเสียอะไรบ้างกับการไม่ได้ป้องกันกันแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาทบทวนดูหรือไม่ โดยรวมแล้วการที่สนามบินมีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่ง (Open-Air Storm Water Conveyance) อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ(Non-Graded Portion) สามารถทำได้หรือจัดให้มีอยู่ได้โดยไม่ได้ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดจากมาตรฐานแต่อย่างใดเพราะ ICAO Annex 14 Vol. 1 เปิดไว้ให้ทำได้เพียงแต่ขอให้พิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดจากทางวิ่งซึ่งไม่ได้กำหนดว่าระยะเท่าไร ดังนั้นจึงอยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินหรือการดำเนินการของสนามบินในแต่ละประเทศที่จะพิจารณากันในมิติต่าง ๆ อย่างรอบคอบ จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ซึ่งรวมถึงเนื้อหาในรายงานการประชุมของ ICAO ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า 1. ประเทศบางประเทศอย่างเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีการพัฒนาให้มีกฎระเบียบหรือกฎหมายด้านความปลอดภัยทางการบินของตนเองที่สูงกว่ามาตรฐานของ ICAO โดยไม่ต้องมีข้อกำหนดด้านมาตรฐานที่ชัดเจนของ ICAO Annex ออกมาแต่อย่างใด 2. มาตรฐานที่ ICAO ออกมาในรูปแบบ Annex ต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อให้แต่ละประเทศนำไปออกเป็นกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับของตนเองนั้นยังมีช่องว่าง (Gap) ส่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้นหรือปลอดภัยมากขึ้นอยู่เสมอ 3. กรณีที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอีก โอกาสของ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เครื่องบินจะวิ่งเลยไปถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ยังมีอยู่หากยังไม่ได้ทำการประเมินความเสี่ยงและมีการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะสนามบินที่รองรับแบบอากาศยาน (Aircraft Code) ชนิดใหญ่ ๆ ได้ 4. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321ที่ไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อ 8 กันยายน 2556 มีการระบุถึงการครูดของคานยึดฐานล้อหลักด้านขวาประมาณ 365 เมตร และวิ่งพ้นขอบทางวิ่งไปบนพื้นดินที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งระยะทางประมาณ ๑๐๐ เมตรจึงหยุดนิ่ง กรณีเช่นนี้ถ้าหากไม่มีการครูดกับทางวิ่งด้วยระยะทางและความลึกตามรายงานดังกล่าว โอกาสที่อากาศยานอาจจะไปถึงรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งก็เป็นได้เมื่อลองเปรียบเทียบกับกรณีของสายการบิน Asiana Airlines ที่สนามบินฮิโรชิมา อย่างไรก็ตามรายงานผลการสอบสวนฯควรมีข้อแนะนำโดยตรงไปยัง ICAO (Safety recommendations to ICAO) ด้วยหรือไม่ถึงความเป็นไปได้ของสภาวะอันตรายนี้เพื่อให้ ICAO มีการพิจารณาหรืออาจจะทบทวนมาตรฐานกายภาพของทางวิ่งที่ยอมให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่จะนำสรุปได้ว่าแต่ละประเทศที่มีลักษณะทางกายภาพทางวิ่งของสนามบินแบบนี้โดยเฉพาะประเทศเรานั้นจะดำเนินการไปในในทิศทางใด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเสนออีกครั้งการจะทำให้สมดุลกันระหว่างการลงทุนรายจ่ายการป้องกันด้านความปลอดภัย (Protection) กับการสร้างรายได้การดำเนินงาน (Production) เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องจะเลือกวิธีแบบใด และแบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถมีส่วนร่วมได้หรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดเป็นทัศนคติส่วนบุคคลที่อ้างอิงจากเอกสารและรายงานที่เปิดเผยในเวปไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถค้นหาและสืบค้นได้โดยทั่วไป อาจมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึงและข้อมูลบางอย่างปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ผู้อ่านโปรดใช้ดุลยพินิจและพิจารณาอีกครั้ง เอกสารอ้างอิง(สามารสืบค้นได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต): 1. ICAO Safety Report 2024Edition 2. ICAO Annex 14 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition, July 2022 3. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนฉบับที่ 37 4. Aircraft Accident Investigation Report, Asiana Airlines INC. HL-7762, November 24,2016 - JTSB 5. www.telegraph.co.uk/travel/news/asiana-plane-skids-off-runway-in-japan-leaving-20-injured/ 6. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321 เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน HS-TEFฯ โดยคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักรปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานประเทศไทย 7. Agenda Item 4: Planning, Design and Construction of Aerodromes/ “Open-Air Strom Water Conveyance in Runway Strip” - The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024 8. Final Report: The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024 9. AIP Japan HIROSHIMA, RJOA AD2-6 (13/9/18) 10. AIP Thailand, AD 2-VTBS-1-16, 28 NOV 24, VTBS AD2.12 RUNWAY PHYSICAL CHARACTERISTICS 11. https://en.wikipedia.org/wiki/Bangkok_Airways_Flight_266 12. https://www.theguardian.com/world/2009/aug/04/thailand-plane-crash 13. https://en.wikipedia.org/wiki/One-Two-Go_Airlines_Flight_269 14. https://www.aviation-accidents.net/jet-airways-boeing-b737-800-vt-jbg-flight-9w2374/
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 134 มุมมอง 0 รีวิว