#เกริ่นนำ#
ต้องเข้าใจก่อนว่า เดิมทีแต่ละอารยธรรมโบราณ ทั้งเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก โรมัน และจีน ในยุคย้อนไปสัก3000 ปี (โดยประมาณ)ต่างประดิษฐ์ตัวเลขหรือระบบสัญลักษณ์ขึ้นมาใช้แทนการนับจำนวนเป็นของตัวเอง โดยแต่่ละวัฒนธรรมล้วนแตกต่างกัน แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้ ตัวเลขฮินดูอารบิก (Hindu-Arabic numerals) แพร่หลายไปทั่วโลกจนกลายเป็นระบบกลางหรือระบบสากลของมนุษยชาติอย่างทุกวันนี้ ที่เราทุกคนอ่านออกเขียนได้ และเข้าใจความหมายตรงกัน คือ ชาวยุโรป

คนยุโรปไม่ได้คิดค้นเลขฮินดูอารบิก แต่ใช้วิธีหยิบยืมระบบตัวเลขมาจากวัฒนธรรมฮินดูและอาหรับอีกทอดหนึ่ง สังเกตได้ง่ายๆ จากชื่อเรียกระบบเลขชุดนี้ว่า ฮินดู และ อารบิก
ตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นที่รู้จักทั่วโลกเพราะชาวยุโรป ผ่านการขยายอิทธิพลของอารยธรรม ในยุคล่าอณานิคม หรือส่งผ่านสู่การค้าการขาย

รูปแบบการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกในยุโรปเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ เลโอนาร์โด ฟิโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ตีพิมพ์หนังสือ Liber Abaci หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Book of the Abacus หรือ Book of Calculation ในปี 1202 โดยมีเนื้อหาหลัก คือ เน้นอธิบายการแก้โจทย์ปัญหาและวิธีการคำนวณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก เวลาต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมทั่วยุโรป ทำให้ผู้คนจดจำวิธีการเขียนตัวเลขในแบบฉบับของฟิโบนัชชีไปโดยปริยาย
#เกริ่นนำ# ต้องเข้าใจก่อนว่า เดิมทีแต่ละอารยธรรมโบราณ ทั้งเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก โรมัน และจีน ในยุคย้อนไปสัก3000 ปี (โดยประมาณ)ต่างประดิษฐ์ตัวเลขหรือระบบสัญลักษณ์ขึ้นมาใช้แทนการนับจำนวนเป็นของตัวเอง โดยแต่่ละวัฒนธรรมล้วนแตกต่างกัน แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้ ตัวเลขฮินดูอารบิก (Hindu-Arabic numerals) แพร่หลายไปทั่วโลกจนกลายเป็นระบบกลางหรือระบบสากลของมนุษยชาติอย่างทุกวันนี้ ที่เราทุกคนอ่านออกเขียนได้ และเข้าใจความหมายตรงกัน คือ ชาวยุโรป คนยุโรปไม่ได้คิดค้นเลขฮินดูอารบิก แต่ใช้วิธีหยิบยืมระบบตัวเลขมาจากวัฒนธรรมฮินดูและอาหรับอีกทอดหนึ่ง สังเกตได้ง่ายๆ จากชื่อเรียกระบบเลขชุดนี้ว่า ฮินดู และ อารบิก ตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นที่รู้จักทั่วโลกเพราะชาวยุโรป ผ่านการขยายอิทธิพลของอารยธรรม ในยุคล่าอณานิคม หรือส่งผ่านสู่การค้าการขาย รูปแบบการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกในยุโรปเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ เลโอนาร์โด ฟิโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ตีพิมพ์หนังสือ Liber Abaci หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Book of the Abacus หรือ Book of Calculation ในปี 1202 โดยมีเนื้อหาหลัก คือ เน้นอธิบายการแก้โจทย์ปัญหาและวิธีการคำนวณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก เวลาต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมทั่วยุโรป ทำให้ผู้คนจดจำวิธีการเขียนตัวเลขในแบบฉบับของฟิโบนัชชีไปโดยปริยาย
Like
1
0 Comments 0 Shares 243 Views 0 Reviews