MGR Online - รมว.ยธ. เผย การประตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาทำได้ช่วยลดแออัดในเรือนจำ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจศาล ส่วนกรณี "ดีเจแมน" ศาลยกฟ้อง พร้อมเยียวยา หากคดีถึงที่สุด
•
วันนี้ (27 ธ.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีสิทธิประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดี หลัง นายพัฒนพล กุญชร หรือ "ดีเจแมน" ที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ส่งผลกระทบต่อประวัติ ชื่อเสียงและหน้าที่การงาน ว่า กระทรวงยุติธรรมมีการส่งเสริมให้ได้รับการประกันตัวอยู่แล้วเพราะผู้ต้องขังในเรือนจำ มึมากกว่า 3 แสนราย และคดีระหว่างพิจารณามีประมาณ 6 หมื่นคดี ซึ่งสิทธิการได้รับการประกันตัวเป็นตามสิทธิรัฐธรรมนูญ แต่ทางศาลอาจมีดุลยพินิจในการให้ประกันตัว ทราบว่าขณะนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องและอยู่ระหว่างพิจารณาอุทธรณ์คดีของพนักงานอัยการ ทั้งนี้ หากอัยการไม่อุทธรณ์จะส่งหนังสือมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หากเห็นด้วยก็จบ แต่มีความเห็นแย้งต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
•
เมื่อถามกรณี "ดีเจแมน" ศาลชั้นต้นยกฟ้องอาจจะกระทบถึงคดี "ดิไอคอน" หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี เผยว่า กระทรวงยุติธรรม มีกฎหมาย พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559) กรณีศาลยกฟ้องเพื่อเยียวยาผู้เสียหาย ติดคุกฟรี แม้เงินอาจไม่มากนักแต่ก็แสดงว่าหน่วยงานรัฐต้องการขอโทษหากคดีเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีอื่นๆ หลังจากนี้จะมีการพิจารณาให้ประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดีเพื่อเป็นบรรทัดฐานนำคนเข้าคุกแล้วศาลมีการยกฟ้อง ต้องชี้แจงว่าในส่วนของพนักงานสอบสวนเรื่องการประกันตัวอยู่ในดุลยพินิจของศาล ส่วนศาลไม่ให้ประกันน่าจะมีเหตุผล
•
#MGROnline #ดีเจแมน
•
วันนี้ (27 ธ.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีสิทธิประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดี หลัง นายพัฒนพล กุญชร หรือ "ดีเจแมน" ที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ส่งผลกระทบต่อประวัติ ชื่อเสียงและหน้าที่การงาน ว่า กระทรวงยุติธรรมมีการส่งเสริมให้ได้รับการประกันตัวอยู่แล้วเพราะผู้ต้องขังในเรือนจำ มึมากกว่า 3 แสนราย และคดีระหว่างพิจารณามีประมาณ 6 หมื่นคดี ซึ่งสิทธิการได้รับการประกันตัวเป็นตามสิทธิรัฐธรรมนูญ แต่ทางศาลอาจมีดุลยพินิจในการให้ประกันตัว ทราบว่าขณะนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องและอยู่ระหว่างพิจารณาอุทธรณ์คดีของพนักงานอัยการ ทั้งนี้ หากอัยการไม่อุทธรณ์จะส่งหนังสือมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หากเห็นด้วยก็จบ แต่มีความเห็นแย้งต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
•
เมื่อถามกรณี "ดีเจแมน" ศาลชั้นต้นยกฟ้องอาจจะกระทบถึงคดี "ดิไอคอน" หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี เผยว่า กระทรวงยุติธรรม มีกฎหมาย พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559) กรณีศาลยกฟ้องเพื่อเยียวยาผู้เสียหาย ติดคุกฟรี แม้เงินอาจไม่มากนักแต่ก็แสดงว่าหน่วยงานรัฐต้องการขอโทษหากคดีเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีอื่นๆ หลังจากนี้จะมีการพิจารณาให้ประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดีเพื่อเป็นบรรทัดฐานนำคนเข้าคุกแล้วศาลมีการยกฟ้อง ต้องชี้แจงว่าในส่วนของพนักงานสอบสวนเรื่องการประกันตัวอยู่ในดุลยพินิจของศาล ส่วนศาลไม่ให้ประกันน่าจะมีเหตุผล
•
#MGROnline #ดีเจแมน
MGR Online - รมว.ยธ. เผย การประตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาทำได้ช่วยลดแออัดในเรือนจำ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจศาล ส่วนกรณี "ดีเจแมน" ศาลยกฟ้อง พร้อมเยียวยา หากคดีถึงที่สุด
•
วันนี้ (27 ธ.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีสิทธิประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดี หลัง นายพัฒนพล กุญชร หรือ "ดีเจแมน" ที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ส่งผลกระทบต่อประวัติ ชื่อเสียงและหน้าที่การงาน ว่า กระทรวงยุติธรรมมีการส่งเสริมให้ได้รับการประกันตัวอยู่แล้วเพราะผู้ต้องขังในเรือนจำ มึมากกว่า 3 แสนราย และคดีระหว่างพิจารณามีประมาณ 6 หมื่นคดี ซึ่งสิทธิการได้รับการประกันตัวเป็นตามสิทธิรัฐธรรมนูญ แต่ทางศาลอาจมีดุลยพินิจในการให้ประกันตัว ทราบว่าขณะนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องและอยู่ระหว่างพิจารณาอุทธรณ์คดีของพนักงานอัยการ ทั้งนี้ หากอัยการไม่อุทธรณ์จะส่งหนังสือมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หากเห็นด้วยก็จบ แต่มีความเห็นแย้งต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
•
เมื่อถามกรณี "ดีเจแมน" ศาลชั้นต้นยกฟ้องอาจจะกระทบถึงคดี "ดิไอคอน" หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี เผยว่า กระทรวงยุติธรรม มีกฎหมาย พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559) กรณีศาลยกฟ้องเพื่อเยียวยาผู้เสียหาย ติดคุกฟรี แม้เงินอาจไม่มากนักแต่ก็แสดงว่าหน่วยงานรัฐต้องการขอโทษหากคดีเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีอื่นๆ หลังจากนี้จะมีการพิจารณาให้ประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดีเพื่อเป็นบรรทัดฐานนำคนเข้าคุกแล้วศาลมีการยกฟ้อง ต้องชี้แจงว่าในส่วนของพนักงานสอบสวนเรื่องการประกันตัวอยู่ในดุลยพินิจของศาล ส่วนศาลไม่ให้ประกันน่าจะมีเหตุผล
•
#MGROnline #ดีเจแมน
0 Comments
0 Shares
224 Views
0 Reviews