สิ่งที่ขัดขวางพระนิพพาน ไม่ใช่เดรัจฉานวิชา ดังที่ครูนัทอธิบายไปแล้วเมื่อวาน ท่านใดยังไม่ได้ฟัง ลองฟังดูนะคะ จะกระจ่าง หายติดข้องสงสัยในเรื่องเดรัจฉานวิชาที่เราเข้าใจผิดกันมานานทั้งชีวิต เหตุขัดขวางพระนิพพาน คือ อันตรายิกธรรม (ศัพท์ใหม่มาแว้ววว) โดยอรรถกถาอลคัททูปมสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อธิบายว่า “อันตรายิกธรรม” มี 5 อย่าง ได้แก่ กรรม กิเลส วิบาก อริยุปวาท และอาณาวีติกกมะอันตรายิกธรรมในส่วนของ “กรรม” คือ “อนันตริยกรรม” ซึ่งหมายถึงกรรมที่เป็นบาปหนักที่สุดได้แก่ 1. “มาตุฆาต” คือฆ่ามารดา2. “ปิตุฆาต” คือฆ่าบิดา3. “อรหันตฆาต” คือฆ่าพระอรหันต์4. “โลหิตุปบาท” คือทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป5. “สังฆเภท” คือทำสงฆ์ให้แตกกัน (สงฆ์เท่านั้นที่ทำสงฆ์ให้แตกกันได้ ชาวบ้านไม่เกี่ยว ดังนั้นข้อนี้ขาวบ้านอย่างเรารอด)อันตรายิกธรรมในส่วนของ “กิเลส” คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิซึ่งหมายถึง ความเห็นผิดที่มีโทษมาก แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. “อเหตุกทิฏฐิ” คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ เห็นว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นเองเป็นเองไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น (ความเชื่อที่เลื่อนลอย) 2. “อกิริยทิฏฐิ” คือ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำ หรือเห็นว่าการกระทำไม่มีผล.3 “นัตถิกทิฏฐิ” คือ ความเห็นว่าไม่มี เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น เช่น เห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี ตายแล้วสูญ เป็นต้นอันตรายิกธรรมในส่วนของ “วิบาก” คือเช่น เกิดเป็นบัณเฑาะก์ หรือ สัตว์เดรัจฉาน หรืออุภโตพยัญชนก (คนที่มีสองเพศ) เหล่านี้จักบวชหรือบำเพ็ญภาวนาจนถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้ อันตรายิกธรรมในส่วนของ “ธรรม” ชื่อว่า อุปวาทันตรายิกธรรมคือการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า เช่น ไปด่าว่าพระเทวทัต จิกหัวด่าด้วยอารมณ์ โดยลืมไปว่า ท่านได้รับการพยากรณ์แล้วว่าจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือไปด่าว่า พระโปฐิลเถระ (พระใบลานเปล่า) นั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ด่าว่าท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งท่านเป็นพระโสดาบัน ด่าว่าพระอรรถกถาจารย์ ซึ่งท่านเป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ (วันนี้เราจะเรียนเรื่องอรรถกถาค่ะ) โดยอุปวาทันตรายิกธรรมนี้ ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้ยกโทษให้ต่อมาหากพระอริยเจ้าได้ยกโทษให้แล้ว ย่อมไม่กระทำอันตราย ดังนั้น ถ้าเราเคยว่าท่าน ตั้งจิตขอขมากรรมท่านเสียอันตรายิกธรรมในส่วนของ “อาณาวีติกกมะ” ชื่อว่า อาณาวีติกกมันตรายิกธรรม คือ อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านี้ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี (ภิกษุพวกไม่สวดปาฎิโมกข์ สวดไม่ครบ ไม่แสดงอาบัติ เปิดเผยอาบัติ ปลงอาบัติ) ต่อมาหากได้อยู่ปริวาสกรรมแล้ว หรือแสดงอาบัติแล้วก็ดี ย่อมไม่กระทำอันตรายดังนั้น การเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต ด้วยวิชาชีพ (เดรัจฉานวิชา) จึงไม่ใช่การขัดขวาง ขวางกั้น พระนิพพานแต่อย่างใด เดรัจฉานวิชา คือวิชาเลี้ยงชีพธรรมดา ไม่ใช่ความชั่วร้าย ที่ชั่วร้ายคือคนที่ประกอบอาชีพด้วยมิจฉา (มิจฉาชีพ) ต่างหาก และชั่วร้ายได้ทุกอาชีพ เหตุเพราะคนมีกิเลสที่ประกอบอาชีพนั้นอาชีพต้องห้าม วิณิชชา อาชีพมิจฉา ไว้ค่อยว่ากันสัปดาห์หน้าค่ะ
สิ่งที่ขัดขวางพระนิพพาน ไม่ใช่เดรัจฉานวิชา ดังที่ครูนัทอธิบายไปแล้วเมื่อวาน ท่านใดยังไม่ได้ฟัง ลองฟังดูนะคะ จะกระจ่าง หายติดข้องสงสัยในเรื่องเดรัจฉานวิชาที่เราเข้าใจผิดกันมานานทั้งชีวิต เหตุขัดขวางพระนิพพาน คือ อันตรายิกธรรม (ศัพท์ใหม่มาแว้ววว) โดยอรรถกถาอลคัททูปมสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อธิบายว่า “อันตรายิกธรรม” มี 5 อย่าง ได้แก่ กรรม กิเลส วิบาก อริยุปวาท และอาณาวีติกกมะอันตรายิกธรรมในส่วนของ “กรรม” คือ “อนันตริยกรรม” ซึ่งหมายถึงกรรมที่เป็นบาปหนักที่สุดได้แก่ 1. “มาตุฆาต” คือฆ่ามารดา2. “ปิตุฆาต” คือฆ่าบิดา3. “อรหันตฆาต” คือฆ่าพระอรหันต์4. “โลหิตุปบาท” คือทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป5. “สังฆเภท” คือทำสงฆ์ให้แตกกัน (สงฆ์เท่านั้นที่ทำสงฆ์ให้แตกกันได้ ชาวบ้านไม่เกี่ยว ดังนั้นข้อนี้ขาวบ้านอย่างเรารอด)อันตรายิกธรรมในส่วนของ “กิเลส” คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิซึ่งหมายถึง ความเห็นผิดที่มีโทษมาก แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. “อเหตุกทิฏฐิ” คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ เห็นว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นเองเป็นเองไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น (ความเชื่อที่เลื่อนลอย) 2. “อกิริยทิฏฐิ” คือ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำ หรือเห็นว่าการกระทำไม่มีผล.3 “นัตถิกทิฏฐิ” คือ ความเห็นว่าไม่มี เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น เช่น เห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี ตายแล้วสูญ เป็นต้นอันตรายิกธรรมในส่วนของ “วิบาก” คือเช่น เกิดเป็นบัณเฑาะก์ หรือ สัตว์เดรัจฉาน หรืออุภโตพยัญชนก (คนที่มีสองเพศ) เหล่านี้จักบวชหรือบำเพ็ญภาวนาจนถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้ อันตรายิกธรรมในส่วนของ “ธรรม” ชื่อว่า อุปวาทันตรายิกธรรมคือการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า เช่น ไปด่าว่าพระเทวทัต จิกหัวด่าด้วยอารมณ์ โดยลืมไปว่า ท่านได้รับการพยากรณ์แล้วว่าจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือไปด่าว่า พระโปฐิลเถระ (พระใบลานเปล่า) นั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ด่าว่าท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งท่านเป็นพระโสดาบัน ด่าว่าพระอรรถกถาจารย์ ซึ่งท่านเป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ (วันนี้เราจะเรียนเรื่องอรรถกถาค่ะ) โดยอุปวาทันตรายิกธรรมนี้ ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้ยกโทษให้ต่อมาหากพระอริยเจ้าได้ยกโทษให้แล้ว ย่อมไม่กระทำอันตราย ดังนั้น ถ้าเราเคยว่าท่าน ตั้งจิตขอขมากรรมท่านเสียอันตรายิกธรรมในส่วนของ “อาณาวีติกกมะ” ชื่อว่า อาณาวีติกกมันตรายิกธรรม คือ อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านี้ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี (ภิกษุพวกไม่สวดปาฎิโมกข์ สวดไม่ครบ ไม่แสดงอาบัติ เปิดเผยอาบัติ ปลงอาบัติ) ต่อมาหากได้อยู่ปริวาสกรรมแล้ว หรือแสดงอาบัติแล้วก็ดี ย่อมไม่กระทำอันตรายดังนั้น การเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต ด้วยวิชาชีพ (เดรัจฉานวิชา) จึงไม่ใช่การขัดขวาง ขวางกั้น พระนิพพานแต่อย่างใด เดรัจฉานวิชา คือวิชาเลี้ยงชีพธรรมดา ไม่ใช่ความชั่วร้าย ที่ชั่วร้ายคือคนที่ประกอบอาชีพด้วยมิจฉา (มิจฉาชีพ) ต่างหาก และชั่วร้ายได้ทุกอาชีพ เหตุเพราะคนมีกิเลสที่ประกอบอาชีพนั้นอาชีพต้องห้าม วิณิชชา อาชีพมิจฉา ไว้ค่อยว่ากันสัปดาห์หน้าค่ะ
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
339 มุมมอง
0 รีวิว