ในวงการเซียนพระทราบกันดีว่า จะไม่มี “พระเบญจภาคี” ได้เลย หากปราศจากบุคคลที่ชื่อ “ตรียัมปวาย” อันเป็นนามปากกาของปรมาจารย์ด้านพระเครื่องผู้มีชื่อเสียงโด่งดังระหว่างช่วงทศวรรษ 2490-2520 และเป็นแบบแผน และหลักยึดของเซียนพระต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากเขาผู้นี้เอง เป็นผู้รวบรวมพระพิมพ์รุ่นเด่นๆ 5 สกุลมาบัญญัตินามเฉพาะขึ้นว่า “พระเบญจภาคี”
นามจริงของตรียัมปวายคือ พันเอกพิเศษผจญ กิตติประวัติ
ท่านเป็นคนเขียนบทความในหนังสือชุด “ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง” โดยใช้นามปากกาว่า ตรียัมปวาย อันมาจากพิธีโล้ชิงช้า ที่สิ้นสุดไปในปี พศ 2478
พุทธคุณพระเครื่อง
ความนิยมของพระเครื่องเริ่มต้นขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พศ.2485) อันเป็นยุคที่ทั่วทุกหัวระแหงผู้คนอดอยากยากแค้น และหวาดระแวง เรื่องความปลอดภัยในชีวิต ผู้คนจึงต่างเสาะแสวงหาของดีมาคุ้มครองป้องกัน และเมื่อมีความนิยม มีราคาซื้อขาย อาชีพใหม่ก็เกิดขึ้น การลักลอบขุดกรุขโมยพระเครื่องมาขายผู้ดีบางกอกเพื่อประทังชีพ ความกลัวของผู้คน รวมถึงชายชาติทหารที่ต้องถูกเกณฑ์ไปออกรบ ก็จำเป็นต้องหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
ความหมายแห่งเบญจภาคี
ตอนแรกตรียัมปวายเคยกำหนดว่าบรรดาพระเครื่องที่โดดเด่นในสยามนั้น ที่สุดของที่สุดมีแค่ 3 พิมพ์ทรง ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง พระนางพญาพิษณุโลก และพระรอดลำพูน รวมเรียกว่า “ไตรภาค” หรือ “ไตรภาคี”
แต่แล้วจากนั้นไม่นานก็เพิ่มมาอีก 2 สกุลคือ พระซุ้มกอกำแพงเพชร กับพระผงสุพรรณ บัญญัตินามใหม่ว่า “เบญจภาคี” ราวต้นทศวรรษ 2490
สำหรับการเลือกพระพิมพ์ 5 สกุลนี้มาเป็น “เพชรในเรือนมงกุฎ” นั้น ตรียัมปวายให้เหตุผลว่า เพราะมีความโดดเด่นด้านพุทธคุณ ด้านพุทธศิลป์ มีประวัติการสร้างหรือจารึกที่สืบค้นได้
เนื่องจากในยุคนั้น ยังไม่เคยมีหลักยึดในการเล่นหาสะสมซื้อขขายอย่างหนึ่งอย่างใดเลย หลักการนี้ จึงเป็นหลักการแรก ในแง่ความนิยม ซึ่งยึดถือ และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ในวงการเซียนพระทราบกันดีว่า จะไม่มี “พระเบญจภาคี” ได้เลย หากปราศจากบุคคลที่ชื่อ “ตรียัมปวาย” อันเป็นนามปากกาของปรมาจารย์ด้านพระเครื่องผู้มีชื่อเสียงโด่งดังระหว่างช่วงทศวรรษ 2490-2520 และเป็นแบบแผน และหลักยึดของเซียนพระต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากเขาผู้นี้เอง เป็นผู้รวบรวมพระพิมพ์รุ่นเด่นๆ 5 สกุลมาบัญญัตินามเฉพาะขึ้นว่า “พระเบญจภาคี”
นามจริงของตรียัมปวายคือ พันเอกพิเศษผจญ กิตติประวัติ
ท่านเป็นคนเขียนบทความในหนังสือชุด “ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง” โดยใช้นามปากกาว่า ตรียัมปวาย อันมาจากพิธีโล้ชิงช้า ที่สิ้นสุดไปในปี พศ 2478
พุทธคุณพระเครื่อง
ความนิยมของพระเครื่องเริ่มต้นขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พศ.2485) อันเป็นยุคที่ทั่วทุกหัวระแหงผู้คนอดอยากยากแค้น และหวาดระแวง เรื่องความปลอดภัยในชีวิต ผู้คนจึงต่างเสาะแสวงหาของดีมาคุ้มครองป้องกัน และเมื่อมีความนิยม มีราคาซื้อขาย อาชีพใหม่ก็เกิดขึ้น การลักลอบขุดกรุขโมยพระเครื่องมาขายผู้ดีบางกอกเพื่อประทังชีพ ความกลัวของผู้คน รวมถึงชายชาติทหารที่ต้องถูกเกณฑ์ไปออกรบ ก็จำเป็นต้องหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
ความหมายแห่งเบญจภาคี
ตอนแรกตรียัมปวายเคยกำหนดว่าบรรดาพระเครื่องที่โดดเด่นในสยามนั้น ที่สุดของที่สุดมีแค่ 3 พิมพ์ทรง ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง พระนางพญาพิษณุโลก และพระรอดลำพูน รวมเรียกว่า “ไตรภาค” หรือ “ไตรภาคี”
แต่แล้วจากนั้นไม่นานก็เพิ่มมาอีก 2 สกุลคือ พระซุ้มกอกำแพงเพชร กับพระผงสุพรรณ บัญญัตินามใหม่ว่า “เบญจภาคี” ราวต้นทศวรรษ 2490
สำหรับการเลือกพระพิมพ์ 5 สกุลนี้มาเป็น “เพชรในเรือนมงกุฎ” นั้น ตรียัมปวายให้เหตุผลว่า เพราะมีความโดดเด่นด้านพุทธคุณ ด้านพุทธศิลป์ มีประวัติการสร้างหรือจารึกที่สืบค้นได้
เนื่องจากในยุคนั้น ยังไม่เคยมีหลักยึดในการเล่นหาสะสมซื้อขขายอย่างหนึ่งอย่างใดเลย หลักการนี้ จึงเป็นหลักการแรก ในแง่ความนิยม ซึ่งยึดถือ และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
321 มุมมอง
0 รีวิว