พระเครื่องเป็นศิลปะของแผ่นดิน ความรู้และประสบการณ์ในวงการพระมากกว่า 60ปีเป็นสิ่งที่ท่านอ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ต้องการถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังสืบทอดองค์ความรู้เหล่านี้ต่อไป
  • 1 คนติดตามเรื่องนี้
  • 5 โพสต์
  • 5 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • Lifestyle
อัปเดตล่าสุด
  • พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิสั้น EP.1

    สวัสดีสมาชิกแฟนเพจทุกท่านครับ อย่างที่กล่าวไว้ในโพสที่แล้วนะครับ ทีมงานแอดมินอยากเน้นเรื่องความรู้ในการดูพระ โดยเราจะเริ่มจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่กันอย่างเน้นๆ เมื่อท่านอาจารย์ได้ทราบถึงแนวทางของทีมงานแอดมิน ท่านจึงแนะนำว่าให้นำเอาบทความที่เน้นการดูเอกลักษณ์หรือตำหนิพุทธศิลป์มาลงมากยิ่งขึ้น โดยบทความเหล่านี้ท่านอาจารย์ได้เขียนให้ดูทีละจุด และในรูปจะมีการชี้ตำแหน่งที่ท่านเขียนถึง จะทำให้สมาชิกที่สนใจศึกษาการดูพระเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

    แอดมินขออนุญาตนำบทความที่เคยลงไปแล้วในเดือนที่แล้วมา Rewrite กันอีกซักครั้งนะครับ ท่านอาจารย์ได้นำรูปพระองค์นี้มาอธิบายให้แอดมินฟังถึงตำหนิต่างๆ แอดมินเลยนำคำบรรยายของท่านอาจารย์มา Rewrite รวมเข้าไปกับบทความเดิมนะครับ

    🙏🙏พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุทฒาจารย์ โต พรหมรังสี🙏🙏

    ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า พระสมเด็จฯองค์นี้มีความสวยงาม 2 ประการใหญ่รวมอยู่ในองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก

    ประการที่ 1 ด้านความสวยงามจากสีขององค์พระ พระสมเด็จฯองค์นี้มีเนื้อเป็นสีเขียว ท่านอาจารย์บอกว่าหาได้ยากมาก ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า ส่วนประกอบหนึ่งในมวลสารที่สมเด็จโตท่านนำมาสร้างเป็นพระสมเด็จฯ คือดอกไม้ที่ญาติโยมนำมาถวายพระ สมเด็จโตท่านน่าจะเห็นว่าดอกไม้เหล่านี้เป็นของสูง ไม่ควรนำไปทิ้งในที่ที่ไม่ควร ท่านจึงนำดอกไม้เหล่านี้มาตากแห้ง และผสมรวมเข้าไปเป็นมวลสาร หนึ่งในดอกไม้ที่คนสมัยนั้นนิยมนำมาถวายพระคือดอกมะลิซ้อน ซึ่งเวลาญาติโยมนำดอกมะลิซ้อนมาถวายบูชาพระจะนำมาทั้งดอกและก้านใบ โดยมัดมาเป็นช่อเล็กๆ นำมาถวายพระ สีเขียวของพระองค์นี้มาจากสีของก้านมะลิที่เมื่อนำไปตากแห่ง ตำให้ละเอียดและผสมกับมวลสารอื่นๆ การผ่านการผสมกับน้ำมันตังอิ้วที่มีทั้งน้ำมันและความชื้นจึงทำให้สีของก้านมะลิละลายออกมา เหมือนเป็นการย้อมสีมวลสารโดยไม่ได้ตั้งใจ ท่านอาจารย์กล่าวว่าท่านเคยเห็นพระสมเด็จฯที่มีสีเขียวอยู่บ้าง บางองค์เขียวเข้ม บางองค์เขียวอ่อน ล้วนแล้วแต่เป็นพระสมเด็จฯ ที่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น

    ประการที่ 2 ด้านความสวยงามจากพุทธศิลป์ ท่านอาจารย์อธิบายว่าพระองค์นี้นอกจากจะสีสวยแล้ว การกดพิมพ์ยังกดได้ลึกและแน่นมาก ทำให้องค์พระประธานดูล่ำใหญ่ สามารถมองเห็นเอกลักษณ์จากแม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน ทำให้เป็นพระที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นท่านอาจารย์ยังกล่าวด้วยว่า ด้วยความที่เราสามารถมองเห็นเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน พระองค์นี้จึงเหมาะมากที่จะกรณีศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจในการดูพระ

    เอาละครับ เรามาเริ่มกันเลย กับเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ต่างๆที่ท่านอาจารย์ได้เคยอธิบายไว้ดังนี้ (ดูตามหมายเลขในภาพได้เลยนะครับ)

    1. กรอบแม่พิมพ์ เป็นพระที่ตัดปีกพอดีกับกรอบแม่พิมพ์ จึงเป็นกรอบแม่พิมพ์ไม่ชัดนัก

    2. กรอบแม่พิมพ์ด้านซ้าย เป็นกรอบกระจกที่เกิดจากการใช้ตอกตัดจากพิมพ์ด้านหลังมาพิมพ์ด้านหน้า ทำให้เกินเป็นสันเล็กๆที่ด้านหน้าเรียกว่ากรอบกระจก ซึ่งเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ นั้นกรอบกระจกจะเป็นเส้นตรงลงมาจรดซุ้มเรือนแก้วบริเวณแนวข้อศอกซ้ายขององค์พระ

    3. พระเกศ ปลายพระเกศจะแหลมจรดซุ้มเรือนแก้ว แต่โคนพระเกศจะอ้วนใหญ่เป็นกรวย จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 ทั้งพิมพ์สังฆาฏิสั้น และสังฆาฏิยาว

    4. พระเศียร ด้วยความที่พระองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึกมาก ทำให้พระเศียรกลมโตเป็นพิเศษ

    5. จมูก การกดพิมพ์ที่ลึกมากนั้นยังทำให้บริเวณปลายพระเศียรบริเวณจมูกนูนออกมาเล็กน้อย ซึ่งมีน้อยองค์มากๆที่จะเห็นรอยนูนนี้

    6. พระกรรณ พระกรรณข้างซ้ายจะเป็นปีกคมชัด ปลายพระกรรณยาวเกือบจรดบ่า พระกรรณข้างขวาติดรำไร เพราะเวลาถอดพระออกจากพิมพ์จะออกทางด้านซ้าย ทำให้ซึกซ้ายขององค์พระดูคมชัดกว่าซีกขวา (ในรูปมองเห็นพระกรรณไม่ชัดนัก แม้แต่ด้านซ้ายก็ตาม การถ่ายรูปถึงแม้จะถ่ายจาก Studio ที่มีประสบการณ์ก็ยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆนี้ให้เห็นเด่นชัดได้ ท่านอาจารย์บอกว่าถ้าได้ส่องจากองค์จริงจะมองเห็นชัดกว่าในรูป)

    7. รักแร้ขององค์พระ จุดนี้ท่านอาจารย์เน้นย้ำว่า เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ รักแร้ด้านซ้ายจะลึกกว่าด้านขวา

    8. ซุ้มเรือนแก้ว เป็นเส้นกลมเหมือนหวายผ่าซีก สำหรับพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 จะมีซุ้มเรือนแก้วที่อ้วนและใหญ่กว่าพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นทุกพิมพ์ และการหดตัวของซุ้มเรือนแก้วจะหดตัวในแนวตั้งฉาก (ตัวซุ้มเรือนแก้วเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นองค์พระ)

    9. แขนทั้ง 2 ข้าง กลมและใหญ่ มีการหดตัวในแนวตั้งฉากเช่นเดียวกับซุ้มเรือนแก้ว

    10. ตำหนิที่ต้นแขนซ้าย เราจะเห็นตำหนิการยุบลงเล็กน้อยบริเวณต้นแขนซ้าย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ ยกเว้นพิมพ์สังฆาฏิยาวเท่านั้นที่ต้นแขนจะเต็ม ไม่มีตำหนิแบบองค์นี้

    11. จีวรใต้ข้อศอกซ้าย เป็นเส้นเล็กๆยาวจรดที่หัวเข่า ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่าต้องมองเทียบกันระหว่างใต้ศอกซ้าย กับใต้ศอกขวา จะเห็นว่าที่ใต้ศอกซ้ายจะมีเนื้อองค์พระที่ตื้นกว่าใต้ศอกขวา เส้นนี้แหละที่เรียกว่าจีวรใต้ศอกซ้าย

    12. ขอบจีวรที่พาดผ่านอก เป็นเส้นตื้นๆ รำไรพาดจากบ่าซ้ายเฉียงลงไปที่ซอกแขนขวา ตามจุดที่ชี้ในรูปจะเห็นเป็นรอย เนื่องจากพระสมเด็จฯองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึก จึงทำให้สามารถมองเห็นเส้นขอบจีวรนี้ได้ชัดกว่าองค์อื่นๆ (บางองค์มองแทบไม่เห็น ถ้ามองจากแค่รูปอาจจะไม่เห็นเลย ต้องส่องดูที่องค์จริงอาจจะเห็นเป็นรอยรำไรเท่านั้น)

    13. เส้นสังฆาฏิ เป็นแผ่นโต และนูน พาดจากบ่าซ้ายลงมาที่ต้นช่องท้อง พระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นเส้นสังฆาฏิได้ง่ายและชัดมาก แต่บางองค์ที่กดพิมพ์ไม่ลึกมาก เส้นสังฆาฏิอาจจะมองยากซักนิดนึง โดยเฉพาะหากมองจากรูป อาจจะมองไม่เห็นเลย)

    14. พระบาทซ้าย แนบที่หน้าตัก พระบาทยาวเกือบจรดเข่าขวา

    15. ฐานชั้นที่3 เป็นทรงหมอนหนุน กลมโต และยาวตลอดหน้าตัก

    16. เส้นแซมใต้ตัก ปลายฐานชั้นที่3 ทั้งสองข้างจะมีขอบม้วนขึ้นเป็นเส้นแซมใต้ตัก จากรูปตรงจุดที่เลข 16 ชี้นั้นเราจะเห็นเป็นเส้นนูนออกมาเล็กๆ ท่านอาจารย์กล่าวว่าด้วยความที่พระสมเด็จฯ องค์นี้กดพิมพ์ลึก จึงทำให้ยังสามารถเห็นได้แม้จะดูจากรูป แต่พระสมเด็จฯองค์อื่นๆ มองจากในรูปอาจจะไม่เห็นเส้นแซมใต้ตัก ต้องส่องจากองค์จริงถึงจะเห็น

    17. ฐานชั้นที่2 เป็นโต๊ะขาสิงห์ ขอบโต๊ะจะเป็นทรงแหลม

    18. ฐานชั้นที่1 เป็นฐานเขียงใหญ่และหนา ปลายฐานด้านขวาจะตัดเฉียงเป็นทรงหัวขวาน ท่านอาจารย์บอกว่าส่วนมากปลายล่างสุดด้านขวาของฐานชั้นที่ 1 จะชี้ไปยังมุมด้านล่างของซุ้มเรือนแก้ว

    19. รอยหนอนด้น รอยหนอนด้นนั้นเราจะเห็นเป็นเส้นเล็กๆ เหมือนรอยปริแตก เกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ในมวลสารขององค์พระ ทำให้เกิดเป็นช่องว่าง เหมือนรอยแยก สำหรับพระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นรอยหนอนด้นบนซุ้มเรือนแก้ว (ตำแหน่งของรอยหนอนด้นบนองค์พระไม่แน่นอน แต่ละองค์ไม่เหมือนกัน ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า รอยหนอนด้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เอาไว้ดูว่าพระแท้หรือไม่ เพราะรอยดังกล่าวเกิดจากย่อยสลายของสารอินทรีย์ในมวลสาร ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นรอยหนอนด้น)

    20. เม็ดพระธาตุ เม็ดพระธาตุเป็นปูนอีกชนิดหนึ่งที่สมเด็จโตท่านเอามาผสมในมวลสาร ซึ่งปูนชนิดนี้ไม่ได้ผสมกลมกลืนกับปูนเปลือกหอยที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำมวลสาร เมื่อเวลาผ่านไปการหดตัวของปูน 2 ชนิดไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยแยกเห็นปูนอีกชนิดหนึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่าสันนิษฐานว่าเม็ดพระธาตุนี้คือเศษปูนที่ฉาบพระประธานในพระอุโบสถไว้ (สมัยโบราณจะมีการฉาบปูนทับองค์พระประธานไว้) เมื่อเศษปูนกระเทาะออก หรือมีการกระเทาะออกอย่างตั้งใจเพื่อที่จะทำการฉาบใหม่ สมเด็จโตท่านเห็นว่าปูนนี้เป็นของสูง ไม่ควรทิ้งในที่ที่มิควร จึงนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในมวลสาร แต่ถึงจะบดอย่างไร ปูนคงมิได้ละเอียดเป็นผง ยังคงมีเหลือที่เป็นเม็ดเล็กๆ เป็นที่มาของเม็ดพระธาตุ

    ท่านอาจารย์บอกว่าพระสมเด็จฯ องค์นี้ในสมัยที่ท่านยังโลดแล่นอยู่ในสนามพระ เรียกกันว่า "องค์เขียวมรกต" ถือเป็นหนึ่งในองค์ครูในการศึกษาการดูพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น โดยเฉพาะการดูเอกลักษณ์แม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ของพิมพ์หน้า แอดมินหวังว่าบทความที่ Rewrite ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกแฟนเพจที่ต้องการศึกษาการดูพระบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ พบกันใหม่ในโพสหน้าครับ

    #พระสมเด็จ #พระสมเด็จวัดระฆัง #เบญจภาคี #พระเครื่อง #สมเด็จโต
    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิสั้น EP.1 สวัสดีสมาชิกแฟนเพจทุกท่านครับ อย่างที่กล่าวไว้ในโพสที่แล้วนะครับ ทีมงานแอดมินอยากเน้นเรื่องความรู้ในการดูพระ โดยเราจะเริ่มจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่กันอย่างเน้นๆ เมื่อท่านอาจารย์ได้ทราบถึงแนวทางของทีมงานแอดมิน ท่านจึงแนะนำว่าให้นำเอาบทความที่เน้นการดูเอกลักษณ์หรือตำหนิพุทธศิลป์มาลงมากยิ่งขึ้น โดยบทความเหล่านี้ท่านอาจารย์ได้เขียนให้ดูทีละจุด และในรูปจะมีการชี้ตำแหน่งที่ท่านเขียนถึง จะทำให้สมาชิกที่สนใจศึกษาการดูพระเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น แอดมินขออนุญาตนำบทความที่เคยลงไปแล้วในเดือนที่แล้วมา Rewrite กันอีกซักครั้งนะครับ ท่านอาจารย์ได้นำรูปพระองค์นี้มาอธิบายให้แอดมินฟังถึงตำหนิต่างๆ แอดมินเลยนำคำบรรยายของท่านอาจารย์มา Rewrite รวมเข้าไปกับบทความเดิมนะครับ 🙏🙏พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุทฒาจารย์ โต พรหมรังสี🙏🙏 ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า พระสมเด็จฯองค์นี้มีความสวยงาม 2 ประการใหญ่รวมอยู่ในองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ประการที่ 1 ด้านความสวยงามจากสีขององค์พระ พระสมเด็จฯองค์นี้มีเนื้อเป็นสีเขียว ท่านอาจารย์บอกว่าหาได้ยากมาก ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า ส่วนประกอบหนึ่งในมวลสารที่สมเด็จโตท่านนำมาสร้างเป็นพระสมเด็จฯ คือดอกไม้ที่ญาติโยมนำมาถวายพระ สมเด็จโตท่านน่าจะเห็นว่าดอกไม้เหล่านี้เป็นของสูง ไม่ควรนำไปทิ้งในที่ที่ไม่ควร ท่านจึงนำดอกไม้เหล่านี้มาตากแห้ง และผสมรวมเข้าไปเป็นมวลสาร หนึ่งในดอกไม้ที่คนสมัยนั้นนิยมนำมาถวายพระคือดอกมะลิซ้อน ซึ่งเวลาญาติโยมนำดอกมะลิซ้อนมาถวายบูชาพระจะนำมาทั้งดอกและก้านใบ โดยมัดมาเป็นช่อเล็กๆ นำมาถวายพระ สีเขียวของพระองค์นี้มาจากสีของก้านมะลิที่เมื่อนำไปตากแห่ง ตำให้ละเอียดและผสมกับมวลสารอื่นๆ การผ่านการผสมกับน้ำมันตังอิ้วที่มีทั้งน้ำมันและความชื้นจึงทำให้สีของก้านมะลิละลายออกมา เหมือนเป็นการย้อมสีมวลสารโดยไม่ได้ตั้งใจ ท่านอาจารย์กล่าวว่าท่านเคยเห็นพระสมเด็จฯที่มีสีเขียวอยู่บ้าง บางองค์เขียวเข้ม บางองค์เขียวอ่อน ล้วนแล้วแต่เป็นพระสมเด็จฯ ที่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น ประการที่ 2 ด้านความสวยงามจากพุทธศิลป์ ท่านอาจารย์อธิบายว่าพระองค์นี้นอกจากจะสีสวยแล้ว การกดพิมพ์ยังกดได้ลึกและแน่นมาก ทำให้องค์พระประธานดูล่ำใหญ่ สามารถมองเห็นเอกลักษณ์จากแม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน ทำให้เป็นพระที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นท่านอาจารย์ยังกล่าวด้วยว่า ด้วยความที่เราสามารถมองเห็นเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน พระองค์นี้จึงเหมาะมากที่จะกรณีศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจในการดูพระ เอาละครับ เรามาเริ่มกันเลย กับเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ต่างๆที่ท่านอาจารย์ได้เคยอธิบายไว้ดังนี้ (ดูตามหมายเลขในภาพได้เลยนะครับ) 1. กรอบแม่พิมพ์ เป็นพระที่ตัดปีกพอดีกับกรอบแม่พิมพ์ จึงเป็นกรอบแม่พิมพ์ไม่ชัดนัก 2. กรอบแม่พิมพ์ด้านซ้าย เป็นกรอบกระจกที่เกิดจากการใช้ตอกตัดจากพิมพ์ด้านหลังมาพิมพ์ด้านหน้า ทำให้เกินเป็นสันเล็กๆที่ด้านหน้าเรียกว่ากรอบกระจก ซึ่งเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ นั้นกรอบกระจกจะเป็นเส้นตรงลงมาจรดซุ้มเรือนแก้วบริเวณแนวข้อศอกซ้ายขององค์พระ 3. พระเกศ ปลายพระเกศจะแหลมจรดซุ้มเรือนแก้ว แต่โคนพระเกศจะอ้วนใหญ่เป็นกรวย จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 ทั้งพิมพ์สังฆาฏิสั้น และสังฆาฏิยาว 4. พระเศียร ด้วยความที่พระองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึกมาก ทำให้พระเศียรกลมโตเป็นพิเศษ 5. จมูก การกดพิมพ์ที่ลึกมากนั้นยังทำให้บริเวณปลายพระเศียรบริเวณจมูกนูนออกมาเล็กน้อย ซึ่งมีน้อยองค์มากๆที่จะเห็นรอยนูนนี้ 6. พระกรรณ พระกรรณข้างซ้ายจะเป็นปีกคมชัด ปลายพระกรรณยาวเกือบจรดบ่า พระกรรณข้างขวาติดรำไร เพราะเวลาถอดพระออกจากพิมพ์จะออกทางด้านซ้าย ทำให้ซึกซ้ายขององค์พระดูคมชัดกว่าซีกขวา (ในรูปมองเห็นพระกรรณไม่ชัดนัก แม้แต่ด้านซ้ายก็ตาม การถ่ายรูปถึงแม้จะถ่ายจาก Studio ที่มีประสบการณ์ก็ยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆนี้ให้เห็นเด่นชัดได้ ท่านอาจารย์บอกว่าถ้าได้ส่องจากองค์จริงจะมองเห็นชัดกว่าในรูป) 7. รักแร้ขององค์พระ จุดนี้ท่านอาจารย์เน้นย้ำว่า เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ รักแร้ด้านซ้ายจะลึกกว่าด้านขวา 8. ซุ้มเรือนแก้ว เป็นเส้นกลมเหมือนหวายผ่าซีก สำหรับพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 จะมีซุ้มเรือนแก้วที่อ้วนและใหญ่กว่าพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นทุกพิมพ์ และการหดตัวของซุ้มเรือนแก้วจะหดตัวในแนวตั้งฉาก (ตัวซุ้มเรือนแก้วเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นองค์พระ) 9. แขนทั้ง 2 ข้าง กลมและใหญ่ มีการหดตัวในแนวตั้งฉากเช่นเดียวกับซุ้มเรือนแก้ว 10. ตำหนิที่ต้นแขนซ้าย เราจะเห็นตำหนิการยุบลงเล็กน้อยบริเวณต้นแขนซ้าย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ ยกเว้นพิมพ์สังฆาฏิยาวเท่านั้นที่ต้นแขนจะเต็ม ไม่มีตำหนิแบบองค์นี้ 11. จีวรใต้ข้อศอกซ้าย เป็นเส้นเล็กๆยาวจรดที่หัวเข่า ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่าต้องมองเทียบกันระหว่างใต้ศอกซ้าย กับใต้ศอกขวา จะเห็นว่าที่ใต้ศอกซ้ายจะมีเนื้อองค์พระที่ตื้นกว่าใต้ศอกขวา เส้นนี้แหละที่เรียกว่าจีวรใต้ศอกซ้าย 12. ขอบจีวรที่พาดผ่านอก เป็นเส้นตื้นๆ รำไรพาดจากบ่าซ้ายเฉียงลงไปที่ซอกแขนขวา ตามจุดที่ชี้ในรูปจะเห็นเป็นรอย เนื่องจากพระสมเด็จฯองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึก จึงทำให้สามารถมองเห็นเส้นขอบจีวรนี้ได้ชัดกว่าองค์อื่นๆ (บางองค์มองแทบไม่เห็น ถ้ามองจากแค่รูปอาจจะไม่เห็นเลย ต้องส่องดูที่องค์จริงอาจจะเห็นเป็นรอยรำไรเท่านั้น) 13. เส้นสังฆาฏิ เป็นแผ่นโต และนูน พาดจากบ่าซ้ายลงมาที่ต้นช่องท้อง พระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นเส้นสังฆาฏิได้ง่ายและชัดมาก แต่บางองค์ที่กดพิมพ์ไม่ลึกมาก เส้นสังฆาฏิอาจจะมองยากซักนิดนึง โดยเฉพาะหากมองจากรูป อาจจะมองไม่เห็นเลย) 14. พระบาทซ้าย แนบที่หน้าตัก พระบาทยาวเกือบจรดเข่าขวา 15. ฐานชั้นที่3 เป็นทรงหมอนหนุน กลมโต และยาวตลอดหน้าตัก 16. เส้นแซมใต้ตัก ปลายฐานชั้นที่3 ทั้งสองข้างจะมีขอบม้วนขึ้นเป็นเส้นแซมใต้ตัก จากรูปตรงจุดที่เลข 16 ชี้นั้นเราจะเห็นเป็นเส้นนูนออกมาเล็กๆ ท่านอาจารย์กล่าวว่าด้วยความที่พระสมเด็จฯ องค์นี้กดพิมพ์ลึก จึงทำให้ยังสามารถเห็นได้แม้จะดูจากรูป แต่พระสมเด็จฯองค์อื่นๆ มองจากในรูปอาจจะไม่เห็นเส้นแซมใต้ตัก ต้องส่องจากองค์จริงถึงจะเห็น 17. ฐานชั้นที่2 เป็นโต๊ะขาสิงห์ ขอบโต๊ะจะเป็นทรงแหลม 18. ฐานชั้นที่1 เป็นฐานเขียงใหญ่และหนา ปลายฐานด้านขวาจะตัดเฉียงเป็นทรงหัวขวาน ท่านอาจารย์บอกว่าส่วนมากปลายล่างสุดด้านขวาของฐานชั้นที่ 1 จะชี้ไปยังมุมด้านล่างของซุ้มเรือนแก้ว 19. รอยหนอนด้น รอยหนอนด้นนั้นเราจะเห็นเป็นเส้นเล็กๆ เหมือนรอยปริแตก เกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ในมวลสารขององค์พระ ทำให้เกิดเป็นช่องว่าง เหมือนรอยแยก สำหรับพระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นรอยหนอนด้นบนซุ้มเรือนแก้ว (ตำแหน่งของรอยหนอนด้นบนองค์พระไม่แน่นอน แต่ละองค์ไม่เหมือนกัน ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า รอยหนอนด้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เอาไว้ดูว่าพระแท้หรือไม่ เพราะรอยดังกล่าวเกิดจากย่อยสลายของสารอินทรีย์ในมวลสาร ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นรอยหนอนด้น) 20. เม็ดพระธาตุ เม็ดพระธาตุเป็นปูนอีกชนิดหนึ่งที่สมเด็จโตท่านเอามาผสมในมวลสาร ซึ่งปูนชนิดนี้ไม่ได้ผสมกลมกลืนกับปูนเปลือกหอยที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำมวลสาร เมื่อเวลาผ่านไปการหดตัวของปูน 2 ชนิดไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยแยกเห็นปูนอีกชนิดหนึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่าสันนิษฐานว่าเม็ดพระธาตุนี้คือเศษปูนที่ฉาบพระประธานในพระอุโบสถไว้ (สมัยโบราณจะมีการฉาบปูนทับองค์พระประธานไว้) เมื่อเศษปูนกระเทาะออก หรือมีการกระเทาะออกอย่างตั้งใจเพื่อที่จะทำการฉาบใหม่ สมเด็จโตท่านเห็นว่าปูนนี้เป็นของสูง ไม่ควรทิ้งในที่ที่มิควร จึงนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในมวลสาร แต่ถึงจะบดอย่างไร ปูนคงมิได้ละเอียดเป็นผง ยังคงมีเหลือที่เป็นเม็ดเล็กๆ เป็นที่มาของเม็ดพระธาตุ ท่านอาจารย์บอกว่าพระสมเด็จฯ องค์นี้ในสมัยที่ท่านยังโลดแล่นอยู่ในสนามพระ เรียกกันว่า "องค์เขียวมรกต" ถือเป็นหนึ่งในองค์ครูในการศึกษาการดูพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น โดยเฉพาะการดูเอกลักษณ์แม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ของพิมพ์หน้า แอดมินหวังว่าบทความที่ Rewrite ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกแฟนเพจที่ต้องการศึกษาการดูพระบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ พบกันใหม่ในโพสหน้าครับ #พระสมเด็จ #พระสมเด็จวัดระฆัง #เบญจภาคี #พระเครื่อง #สมเด็จโต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

    แอดมินขออนุญาติทักทายท่านผู้อ่านทุกท่าน และขออธิบายที่มาที่ไปของเพจแห่งนี้นะครับ เพจแห่งนี้เกิดขึ้นจากดำริของท่านอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของท่านเกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชาแก่ผู้ที่สนใจ ท่านอาจารย์เป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการพระเครื่องมายาวนานกว่า 60ปี ท่านอาจารย์ไม่อยากให้ให้องค์ความรู้และประสบการณ์ของท่านหายไป ท่านอาจารย์กล่าวเสมอว่าองค์ความรู้ของท่านเป็นสมบัติของชาติที่ท่านถือเป็นภารกิจของท่านในการถ่ายทอดความรู้เหล่านี้แด่ชนรุ่นหลังต่อไป

    เพจแห่งนี้มิใช่เพจสำหรับซื้อ-ขายพระเครื่องพระบูชาแต่อย่างใด เพจแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชา ท่านอาจารย์คาดหวังให้เพจแห่งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้า หรือแม้กระทั่งพูดคุยขอความรู้ หรือให้คำแนะนำ มาแชร์ความรู้ร่วมกันก็ได้ หากผู้อ่านท่านใดต้องการ comment ในโพส สามารถทำได้อย่างอิสระ แต่ขอให้ comment โดยสุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้คำหยาบ หรือดูถูกดูแคลนกัน และห้ามมิให้ comment ที่ผิดกฏหมาย ทั้งพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ความเป็นส่วนตัว พรบ.ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    กราบขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านครับ
    แอดมิน
    สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน แอดมินขออนุญาติทักทายท่านผู้อ่านทุกท่าน และขออธิบายที่มาที่ไปของเพจแห่งนี้นะครับ เพจแห่งนี้เกิดขึ้นจากดำริของท่านอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของท่านเกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชาแก่ผู้ที่สนใจ ท่านอาจารย์เป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการพระเครื่องมายาวนานกว่า 60ปี ท่านอาจารย์ไม่อยากให้ให้องค์ความรู้และประสบการณ์ของท่านหายไป ท่านอาจารย์กล่าวเสมอว่าองค์ความรู้ของท่านเป็นสมบัติของชาติที่ท่านถือเป็นภารกิจของท่านในการถ่ายทอดความรู้เหล่านี้แด่ชนรุ่นหลังต่อไป เพจแห่งนี้มิใช่เพจสำหรับซื้อ-ขายพระเครื่องพระบูชาแต่อย่างใด เพจแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชา ท่านอาจารย์คาดหวังให้เพจแห่งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้า หรือแม้กระทั่งพูดคุยขอความรู้ หรือให้คำแนะนำ มาแชร์ความรู้ร่วมกันก็ได้ หากผู้อ่านท่านใดต้องการ comment ในโพส สามารถทำได้อย่างอิสระ แต่ขอให้ comment โดยสุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้คำหยาบ หรือดูถูกดูแคลนกัน และห้ามมิให้ comment ที่ผิดกฏหมาย ทั้งพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ความเป็นส่วนตัว พรบ.ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กราบขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านครับ แอดมิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 79 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 34 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 31 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 22 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม