ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยาในประเทศไทย
  • 1 คนติดตามเรื่องนี้
  • 3 โพสต์
  • 7 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • ประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริง
อัปเดตล่าสุด

  • เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ
    ....
    ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ
    .
    อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้
    .
    น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น
    .
    พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก
    .
    ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ
    .
    บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
    .
    พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ
    .
    แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่....
    .
    ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา
    .
    พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน
    .
    ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน
    .
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า
    .
    ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น
    .
    เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น...
    .
    ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน
    .
    และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์
    ...
    ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ .... ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ . อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้ . น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น . พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก . ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ . บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา . พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ . แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่.... . ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา . พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน . ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน . เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า . ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น . เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น... . ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน . และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์ ... ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 39 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 30 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม