CHANA2U
แม้เหรียญมีสองด้าน แต่..
ความจริงมีหนึ่งเดียว
  • 2 คนติดตามเรื่องนี้
  • 9 โพสต์
  • 9 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • ข่าวและการเมือง
อัปเดตล่าสุด
  • เปิ๊ดสะก๊าด หมายถึงอะไร
    เปิ๊ดสะก๊าด เป็นคำที่รับมาจากภาษาอังกฤษว่า first class แต่เนื่องจากฟังภาษาอังกฤษไม่ชัดรวมทั้งไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะสะกดในภาษาอังกฤษได้ จึงได้เพี้ยนเสียงไปเป็นคำว่า เปิ๊ดสะก๊าด นอกจากจะออกเสียงเพี้ยนไปแล้ว ความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย คำว่า first class ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ชั้นที่ ๑ เมื่อนำมาใช้ขยายนามใด จึงหมายความว่า เป็นชั้นที่ ๑ คือชนิดดีที่สุด แต่คำว่า เปิ๊ดสะก๊าด ในภาษาไทย ใช้หมายถึง หรูหรา ส่วนใหญ่ใช้กับการแต่งตัวที่หรูหรา ทันสมัยมาก เช่น แต่งตัวเสียเปิ๊ดสะก๊าด จะไปเที่ยวที่ไหนหรือจ๊ะ

    ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”
    เปิ๊ดสะก๊าด หมายถึงอะไร เปิ๊ดสะก๊าด เป็นคำที่รับมาจากภาษาอังกฤษว่า first class แต่เนื่องจากฟังภาษาอังกฤษไม่ชัดรวมทั้งไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะสะกดในภาษาอังกฤษได้ จึงได้เพี้ยนเสียงไปเป็นคำว่า เปิ๊ดสะก๊าด นอกจากจะออกเสียงเพี้ยนไปแล้ว ความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย คำว่า first class ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ชั้นที่ ๑ เมื่อนำมาใช้ขยายนามใด จึงหมายความว่า เป็นชั้นที่ ๑ คือชนิดดีที่สุด แต่คำว่า เปิ๊ดสะก๊าด ในภาษาไทย ใช้หมายถึง หรูหรา ส่วนใหญ่ใช้กับการแต่งตัวที่หรูหรา ทันสมัยมาก เช่น แต่งตัวเสียเปิ๊ดสะก๊าด จะไปเที่ยวที่ไหนหรือจ๊ะ ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 16 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิ๊ดสะก๊าด หมายถึงอะไร
    เปิ๊ดสะก๊าด เป็นคำที่รับมาจากภาษาอังกฤษว่า first class แต่เนื่องจากฟังภาษาอังกฤษไม่ชัดรวมทั้งไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะสะกดในภาษาอังกฤษได้ จึงได้เพี้ยนเสียงไปเป็นคำว่า เปิ๊ดสะก๊าด นอกจากจะออกเสียงเพี้ยนไปแล้ว ความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย คำว่า first class ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ชั้นที่ ๑ เมื่อนำมาใช้ขยายนามใด จึงหมายความว่า เป็นชั้นที่ ๑ คือชนิดดีที่สุด แต่คำว่า เปิ๊ดสะก๊าด ในภาษาไทย ใช้หมายถึง หรูหรา ส่วนใหญ่ใช้กับการแต่งตัวที่หรูหรา ทันสมัยมาก เช่น แต่งตัวเสียเปิ๊ดสะก๊าด จะไปเที่ยวที่ไหนหรือจ๊ะ

    ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”
    เปิ๊ดสะก๊าด หมายถึงอะไร เปิ๊ดสะก๊าด เป็นคำที่รับมาจากภาษาอังกฤษว่า first class แต่เนื่องจากฟังภาษาอังกฤษไม่ชัดรวมทั้งไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะสะกดในภาษาอังกฤษได้ จึงได้เพี้ยนเสียงไปเป็นคำว่า เปิ๊ดสะก๊าด นอกจากจะออกเสียงเพี้ยนไปแล้ว ความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย คำว่า first class ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ชั้นที่ ๑ เมื่อนำมาใช้ขยายนามใด จึงหมายความว่า เป็นชั้นที่ ๑ คือชนิดดีที่สุด แต่คำว่า เปิ๊ดสะก๊าด ในภาษาไทย ใช้หมายถึง หรูหรา ส่วนใหญ่ใช้กับการแต่งตัวที่หรูหรา ทันสมัยมาก เช่น แต่งตัวเสียเปิ๊ดสะก๊าด จะไปเที่ยวที่ไหนหรือจ๊ะ ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 17 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรณีมายาเกวซ (Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ที่รวดเร็ว เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12-15 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) ในเกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองพระสีหนุ/กำปงโสม (ក្រុងព្រះសីហនុ,កំពង់សោម;Sihanoukville) จังหวัดพระสีหนุ (ព្រះសីហនុ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา

    เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกาชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชา 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของเขมรแดง (ខ្មែរក្រហម,Khmer Rouge) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน)

    รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำโดยน.ท.เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Rudolph Ford Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 38 (9 สิงหาคม พ.ศ.2517-20 มกราคม พ.ศ.2520) ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประมาณ 1,000 นาย (ประกอบด้วยกองพันที่ 1,กรมนาวิกโยธินที่ 4,กองพันที่ 2,กรมนาวิกโยธินที่ 9,กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21,ฝูงบินกู้ภัยและฟื้นฟูการบินและอากาศที่ 40,ฝูงบินสนับสนุนทางอากาศทางยุทธวิธีที่ 23,กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 3,เรือยูเอสเอส เฮนรี่ บี. วิลสัน,เรือยูเอสเอส แฮโรลด์ อี. โฮลต์,เรือยูเอสเอส คอรัลซี ฝูงบินบรรทุกเรือเครื่องบินที่ 15) จากเกาะโอกินาว่าและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) ในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพสหรัฐฯที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมา (โคราช) ออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้

    ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางการสหรัฐใช้ฐานบินอู่ตะเภาทั้งที่รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่อนุญาตอย่างชัดแจ้ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ฝ่ายรัฐบาลไทยเรียกว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย และให้สหรัฐถอนทหารออกจากอู่ตะเภาในทันที

    ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว สุดท้ายสหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดสิ้นในปี 2519 (1976)
    กรณีมายาเกวซ (Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ที่รวดเร็ว เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12-15 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) ในเกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองพระสีหนุ/กำปงโสม (ក្រុងព្រះសីហនុ,កំពង់សោម;Sihanoukville) จังหวัดพระสีหนุ (ព្រះសីហនុ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกาชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชา 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของเขมรแดง (ខ្មែរក្រហម,Khmer Rouge) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน) รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำโดยน.ท.เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Rudolph Ford Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 38 (9 สิงหาคม พ.ศ.2517-20 มกราคม พ.ศ.2520) ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประมาณ 1,000 นาย (ประกอบด้วยกองพันที่ 1,กรมนาวิกโยธินที่ 4,กองพันที่ 2,กรมนาวิกโยธินที่ 9,กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21,ฝูงบินกู้ภัยและฟื้นฟูการบินและอากาศที่ 40,ฝูงบินสนับสนุนทางอากาศทางยุทธวิธีที่ 23,กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 3,เรือยูเอสเอส เฮนรี่ บี. วิลสัน,เรือยูเอสเอส แฮโรลด์ อี. โฮลต์,เรือยูเอสเอส คอรัลซี ฝูงบินบรรทุกเรือเครื่องบินที่ 15) จากเกาะโอกินาว่าและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) ในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพสหรัฐฯที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมา (โคราช) ออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้ ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางการสหรัฐใช้ฐานบินอู่ตะเภาทั้งที่รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่อนุญาตอย่างชัดแจ้ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ฝ่ายรัฐบาลไทยเรียกว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย และให้สหรัฐถอนทหารออกจากอู่ตะเภาในทันที ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว สุดท้ายสหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดสิ้นในปี 2519 (1976)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 385 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า

    “EUROPE'S WORST NIGHTMARE”
    “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป”

    พร้อมบทความที่นำเสนอว่า

    “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก

    ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป

    นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน

    ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ

    โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่

    “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า “EUROPE'S WORST NIGHTMARE” “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป” พร้อมบทความที่นำเสนอว่า “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่ “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 455 มุมมอง 0 รีวิว
  • ท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์ ประเทศไอซ์แลนด์
    .
    ท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์ เป็นดินแดนที่ธรรมชาติก่อรูปเป็นงานศิลปะอันงดงาม ฟยอร์ดตะวันตกของไอซ์แลนด์ซ่อนเร้นสนามบินเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ อิซาฟยอร์ดูร์ ท่าอากาศยานแห่งนี้เปรียบเสมือนประตูสู่โลกอันเงียบสงบและห่างไกลผู้คน เป็นจุดเชื่อมต่อที่เปราะบางระหว่างภูมิภาคอันห่างไกลกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ ท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์รายล้อมไปด้วยภูเขาสูงชันที่ทอดตัวสู่ท้องฟ้าราวกับกำแพงหิน และทะเลสีครามเข้มที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ภูมิประเทศอันขรุขระและสภาพอากาศที่ผันผวน ทำให้การเดินทางเข้าถึงท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง ลมทะเลที่พัดกระหน่ำและภูเขาที่บดบังทัศนวิสัย ทำให้การขึ้นลงของเครื่องบินเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของนักบินเป็นอย่างมาก
    .
    หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์ คือ รันเวย์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและท้าทายกว่าสนามบินส่วนใหญ่ทั่วไป เนื่องจากภูมิประเทศที่ซับซ้อน ทำให้รันเวย์ไม่สามารถสร้างให้ตรงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้ และเมื่อเครื่องบินเข้าใกล้เพื่อลงจอดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นักบินจะต้องบังคับเครื่องเลี้ยวกลับ 180 องศาเต็มก่อนจะแตะพื้น การเลี้ยวที่รวดเร็วและแม่นยำบนรันเวย์อันคับแคบนี้ ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดของนักบินที่บินเข้าสู่สนามบินแห่งนี้
    ท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์ ประเทศไอซ์แลนด์ . ท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์ เป็นดินแดนที่ธรรมชาติก่อรูปเป็นงานศิลปะอันงดงาม ฟยอร์ดตะวันตกของไอซ์แลนด์ซ่อนเร้นสนามบินเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ อิซาฟยอร์ดูร์ ท่าอากาศยานแห่งนี้เปรียบเสมือนประตูสู่โลกอันเงียบสงบและห่างไกลผู้คน เป็นจุดเชื่อมต่อที่เปราะบางระหว่างภูมิภาคอันห่างไกลกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ ท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์รายล้อมไปด้วยภูเขาสูงชันที่ทอดตัวสู่ท้องฟ้าราวกับกำแพงหิน และทะเลสีครามเข้มที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ภูมิประเทศอันขรุขระและสภาพอากาศที่ผันผวน ทำให้การเดินทางเข้าถึงท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง ลมทะเลที่พัดกระหน่ำและภูเขาที่บดบังทัศนวิสัย ทำให้การขึ้นลงของเครื่องบินเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของนักบินเป็นอย่างมาก . หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของท่าอากาศยานอิซาฟยอร์ดูร์ คือ รันเวย์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและท้าทายกว่าสนามบินส่วนใหญ่ทั่วไป เนื่องจากภูมิประเทศที่ซับซ้อน ทำให้รันเวย์ไม่สามารถสร้างให้ตรงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้ และเมื่อเครื่องบินเข้าใกล้เพื่อลงจอดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นักบินจะต้องบังคับเครื่องเลี้ยวกลับ 180 องศาเต็มก่อนจะแตะพื้น การเลี้ยวที่รวดเร็วและแม่นยำบนรันเวย์อันคับแคบนี้ ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดของนักบินที่บินเข้าสู่สนามบินแห่งนี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 499 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไทยมี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก คิดเป็นราว 45% ของ GDP ไทย: รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจกับ GDP ประเทศ ข้อมูลจาก KKP Research บอกว่า ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ของไทยมีขนาดใหญ่ประมาณ 45% ของ GDP ประเทศ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก

    ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายด้วย ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีการเสียภาษี ไม่ต้องมีการบันทึกบัญชี ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ทำให้แรงงานมักไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ได้ด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และมีความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนา เพราะสามารถช่วยสร้างงาน-สร้างรายได้ ช่วยให้การเริ่มธุรกิจง่ายและยืดหยุ่นกว่า ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจนอกระบบใกล้ตัวก็อย่างเช่นการทำเกษตร หาบเร่ แผงลอย ไปจนถึงการทำธุรกิจขนาดเล็กๆ ในครอบครัวหรือมีจำนวนลูกจ้างไม่กี่คน

    แต่ปัญหาที่เกิดจาก ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ก็มีมากมาย ทั้งเพิ่มโอกาสให้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบ ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ธุรกิจที่อยู่ในระบบถูกเอาเปรียบ รัฐบาลเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือหนักๆ อาจกลายเป็นต้นตอของการทุจริตคอร์รัปชัน และในบางกรณีที่เป็นธุรกิจผิดกฎหมายก็อาจจะนำไปสู่การฟอกเงินหรืออาชญากรรมอื่นๆ ขึ้นมาอีก

    ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับขนาดของ ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ในแต่ละประเทศด้วยว่าเหมาะสมไหม

    ถ้าดูจากสถิติจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีเศรษฐกิจนอกระบบในสัดส่วนที่ต่ำมาก เพราะสามารถเคลื่อนย้ายเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาไว้ในระบบได้สำเร็จ ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของคนในชาติโดยรวม

    แต่อย่างประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจนอกระบบมากราวๆ 45% ของ GDP เป็นอันดับ 8 ของโลกนั้น ถือว่ามีเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่มาก สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก และสูงกว่าเกือบทุกประเทศในเอเชีย

    โดยเมื่อคำนวณจาก GDP ไทยที่มีมูลค่าราวๆ 18 ล้านล้านบาทแล้ว จะพบว่าเศรษฐกิจนอกระบบไทยน่าจะมีมูลค่ามากถึง 8.1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

    ขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่เกินไป นำมาสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากแรงงานนอกระบบที่มีมากถึง 50% ของแรงงานทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้จน นำไปสู่การกู้นอกระบบสร้างวรจรหนี้ไม่รู้จบ ขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำ

    หรือปัญหาหลีกเลี่ยงภาษีของธุรกิจมากกว่า 2.4 ล้านรายในไทย ที่ทำให้รัฐเสียรายได้ภาษีจำนวนมหาศาล ขณะที่ธุรกิจเองก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ได้เช่นกัน ข้อเสนอของภาคธุรกิจในระยะหลังจึงอยากให้รัฐบาลไทยนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาในระบบด้วยนโยบายที่เหมาะสมโดยเร็ว

    โดย Sirarom Techasriamornrat

    Source: Brandinside
    https://brandinside.asia/thailand-informal-economy-rank-8-in-the-world/
    ไทยมี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก คิดเป็นราว 45% ของ GDP ไทย: รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจกับ GDP ประเทศ ข้อมูลจาก KKP Research บอกว่า ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ของไทยมีขนาดใหญ่ประมาณ 45% ของ GDP ประเทศ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายด้วย ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีการเสียภาษี ไม่ต้องมีการบันทึกบัญชี ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ทำให้แรงงานมักไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ได้ด้วย จริงๆ แล้ว ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และมีความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนา เพราะสามารถช่วยสร้างงาน-สร้างรายได้ ช่วยให้การเริ่มธุรกิจง่ายและยืดหยุ่นกว่า ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจนอกระบบใกล้ตัวก็อย่างเช่นการทำเกษตร หาบเร่ แผงลอย ไปจนถึงการทำธุรกิจขนาดเล็กๆ ในครอบครัวหรือมีจำนวนลูกจ้างไม่กี่คน แต่ปัญหาที่เกิดจาก ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ก็มีมากมาย ทั้งเพิ่มโอกาสให้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบ ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ธุรกิจที่อยู่ในระบบถูกเอาเปรียบ รัฐบาลเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือหนักๆ อาจกลายเป็นต้นตอของการทุจริตคอร์รัปชัน และในบางกรณีที่เป็นธุรกิจผิดกฎหมายก็อาจจะนำไปสู่การฟอกเงินหรืออาชญากรรมอื่นๆ ขึ้นมาอีก ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับขนาดของ ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ในแต่ละประเทศด้วยว่าเหมาะสมไหม ถ้าดูจากสถิติจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีเศรษฐกิจนอกระบบในสัดส่วนที่ต่ำมาก เพราะสามารถเคลื่อนย้ายเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาไว้ในระบบได้สำเร็จ ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของคนในชาติโดยรวม แต่อย่างประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจนอกระบบมากราวๆ 45% ของ GDP เป็นอันดับ 8 ของโลกนั้น ถือว่ามีเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่มาก สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก และสูงกว่าเกือบทุกประเทศในเอเชีย โดยเมื่อคำนวณจาก GDP ไทยที่มีมูลค่าราวๆ 18 ล้านล้านบาทแล้ว จะพบว่าเศรษฐกิจนอกระบบไทยน่าจะมีมูลค่ามากถึง 8.1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว ขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่เกินไป นำมาสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากแรงงานนอกระบบที่มีมากถึง 50% ของแรงงานทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้จน นำไปสู่การกู้นอกระบบสร้างวรจรหนี้ไม่รู้จบ ขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาหลีกเลี่ยงภาษีของธุรกิจมากกว่า 2.4 ล้านรายในไทย ที่ทำให้รัฐเสียรายได้ภาษีจำนวนมหาศาล ขณะที่ธุรกิจเองก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ได้เช่นกัน ข้อเสนอของภาคธุรกิจในระยะหลังจึงอยากให้รัฐบาลไทยนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาในระบบด้วยนโยบายที่เหมาะสมโดยเร็ว โดย Sirarom Techasriamornrat Source: Brandinside https://brandinside.asia/thailand-informal-economy-rank-8-in-the-world/
    BRANDINSIDE.ASIA
    ไทยมี 'เศรษฐกิจนอกระบบ' ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก
    รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มี 'เศรษฐกิจนอกระบบ' ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจกับ GDP ประเทศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 613 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถ Tesla Cybertruck ประสบอุบัติเหตุขณะใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ FSD v13

    โจนาธาน ชาลลิงเจอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ในฟลอริดาได้รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถ Tesla Cybertruck ของเขาขณะใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (FSD) เวอร์ชัน 13.2.4 โดยรถได้ชนขอบถนนและเสาไฟเนื่องจากระบบไม่สามารถเปลี่ยนเลนได้อย่างถูกต้องตามที่คาดหวัง

    เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่รถกำลังขับอยู่บนเลนขวาซึ่งกำลังจะสิ้นสุดและระบบไม่สามารถรวมเข้ากับเลนซ้ายได้อย่างราบรื่น ทำให้รถชนขอบถนนและเสาไฟ ชอลลิงเจอร์ระบุว่าเขาไม่สามารถควบคุมรถได้ทันเวลาเนื่องจากความล้มเหลวของระบบ FSD

    อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการกล่าวอ้างของ Elon Musk CEO ของ Tesla ที่ระบุว่า FSD จะสามารถขับขี่ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมจากมนุษย์ภายในสิ้นปีนี้ เหตุการณ์นี้จึงเป็นการจุดประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับความปลอดภัยและความพร้อมของเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติของ Tesla อีกครั้ง

    ชอลลิงเจอร์ ได้โพสต์เรื่องราวนี้ลงบน X เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ใช้ FSD ระมัดระวังและไม่ประมาทในการใช้ระบบ เขาเน้นย้ำว่าแม้ว่า FSD จะทำงานได้ดีในหลายๆ ครั้ง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบและอาจเกิดความผิดพลาดได้ จึงควรให้ความสนใจและควบคุมรถอยู่เสมอ
    รถ Tesla Cybertruck ประสบอุบัติเหตุขณะใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ FSD v13 โจนาธาน ชาลลิงเจอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ในฟลอริดาได้รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถ Tesla Cybertruck ของเขาขณะใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (FSD) เวอร์ชัน 13.2.4 โดยรถได้ชนขอบถนนและเสาไฟเนื่องจากระบบไม่สามารถเปลี่ยนเลนได้อย่างถูกต้องตามที่คาดหวัง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่รถกำลังขับอยู่บนเลนขวาซึ่งกำลังจะสิ้นสุดและระบบไม่สามารถรวมเข้ากับเลนซ้ายได้อย่างราบรื่น ทำให้รถชนขอบถนนและเสาไฟ ชอลลิงเจอร์ระบุว่าเขาไม่สามารถควบคุมรถได้ทันเวลาเนื่องจากความล้มเหลวของระบบ FSD อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการกล่าวอ้างของ Elon Musk CEO ของ Tesla ที่ระบุว่า FSD จะสามารถขับขี่ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมจากมนุษย์ภายในสิ้นปีนี้ เหตุการณ์นี้จึงเป็นการจุดประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับความปลอดภัยและความพร้อมของเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติของ Tesla อีกครั้ง ชอลลิงเจอร์ ได้โพสต์เรื่องราวนี้ลงบน X เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ใช้ FSD ระมัดระวังและไม่ประมาทในการใช้ระบบ เขาเน้นย้ำว่าแม้ว่า FSD จะทำงานได้ดีในหลายๆ ครั้ง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบและอาจเกิดความผิดพลาดได้ จึงควรให้ความสนใจและควบคุมรถอยู่เสมอ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • “กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย”

    พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
    (๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔)
    “กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร (๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇺🇸 🇷🇺 ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเครื่องบินรุ่นที่ 5 ที่ใช้ลานจอดเครื่องบินเดียวกันลูกเรือ F-35 ต่างกระตือรือร้นที่ได้เห็น Su-57 ด้วยตาตนเองเป็นครั้งแรก ในขณะที่นักบิน Felon ก็ได้เห็น F-16 และ F-35 เป็นครั้งแรกเช่นกันช่วงเวลาแห่งความหลงใหลซึ่งกันและกันอันหายาก
    🇺🇸 🇷🇺 ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเครื่องบินรุ่นที่ 5 ที่ใช้ลานจอดเครื่องบินเดียวกันลูกเรือ F-35 ต่างกระตือรือร้นที่ได้เห็น Su-57 ด้วยตาตนเองเป็นครั้งแรก ในขณะที่นักบิน Felon ก็ได้เห็น F-16 และ F-35 เป็นครั้งแรกเช่นกันช่วงเวลาแห่งความหลงใหลซึ่งกันและกันอันหายาก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม