รวมประวัติศาสตร์กรมรถไฟหลวง และกรมรถไฟไทย
พ.ศ.๒๔๓๙ ถึง ๒๔๙๔
  • 3 people Following this
  • 12 Posts
  • 12 Photos
  • 0 Videos
  • 0 Reviews
  • History and Facts
Recent Updates
  • ภาพทั้งสองพระองค์ทรงพระเกษมสำราญกับรถไฟจำลองขนาดเล็กย่อส่วนจากของจริง ที่กรมรถไฟนำมาถวาย
    อำนวยการสร้างโดยนายช่าง อาชว์ กุญชร ณ อยุธยา
    ............................................
    "รองอำมาตย์เอกอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา เป็นนายช่างของกรมรถไฟ โรงงานมักกะสัน ราชการฝ่ายการช่างกล ทำหน้าที่อำนวยการสร้างขบวนรถไฟเล็กถวายในหลวงรัชกาลที่ ๘ และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ) ให้ทรงประทับเล่นเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยกรมรถไฟได้น้อมเกล้าฯ ถวายในวังสระปทุม เป็นที่สำราญพระราชหฤทัย"
    ภาพทั้งสองพระองค์ทรงพระเกษมสำราญกับรถไฟจำลองขนาดเล็กย่อส่วนจากของจริง ที่กรมรถไฟนำมาถวาย อำนวยการสร้างโดยนายช่าง อาชว์ กุญชร ณ อยุธยา ............................................ "รองอำมาตย์เอกอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา เป็นนายช่างของกรมรถไฟ โรงงานมักกะสัน ราชการฝ่ายการช่างกล ทำหน้าที่อำนวยการสร้างขบวนรถไฟเล็กถวายในหลวงรัชกาลที่ ๘ และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ) ให้ทรงประทับเล่นเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยกรมรถไฟได้น้อมเกล้าฯ ถวายในวังสระปทุม เป็นที่สำราญพระราชหฤทัย"
    0 Comments 0 Shares 40 Views 0 Reviews
  • ภาพถ่ายสุภาพบุรุษนายช่างกลหนุ่มในเครื่องแบบกรมรถไฟไทย
    นักเรียนนอกจากเมืองน้ำหอมฝรั่งเศส ภาพถ่ายในปี พ.ศ.๒๔๘๓
    ..........................................
    นายช่าง "อาชว์ กุญชร ณ อยุธยา"
    อาจารย์ใหญ่คนที่ ๒ ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
    ๐๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖
    ..........................................
    ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองโรงงาน
    ราชการฝ่ายการช่างกล กรมรถไฟ
    ภาพถ่ายสุภาพบุรุษนายช่างกลหนุ่มในเครื่องแบบกรมรถไฟไทย นักเรียนนอกจากเมืองน้ำหอมฝรั่งเศส ภาพถ่ายในปี พ.ศ.๒๔๘๓ .......................................... นายช่าง "อาชว์ กุญชร ณ อยุธยา" อาจารย์ใหญ่คนที่ ๒ ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ๐๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖ .......................................... ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองโรงงาน ราชการฝ่ายการช่างกล กรมรถไฟ
    0 Comments 0 Shares 37 Views 0 Reviews
  • ภาพถ่ายคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ รุ่นที่ ๑
    ซึ่งเริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๘๓ สำเร็จการศึกษาเมื่อปี ๒๔๘๖ พร้อมเข้ารับราชการในกรมรถไฟ
    ...................................
    มีอาจารย์สอาด มีชูธน (บิดาของครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน) เป็นอาจารย์ใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ซึ่งในขณะนั้นโรงเรียนตั้งอยู่ที่ใกล้ๆกับย่านสถานีมักกะสัน
    ภาพถ่ายคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ รุ่นที่ ๑ ซึ่งเริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๘๓ สำเร็จการศึกษาเมื่อปี ๒๔๘๖ พร้อมเข้ารับราชการในกรมรถไฟ ................................... มีอาจารย์สอาด มีชูธน (บิดาของครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน) เป็นอาจารย์ใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ซึ่งในขณะนั้นโรงเรียนตั้งอยู่ที่ใกล้ๆกับย่านสถานีมักกะสัน
    0 Comments 0 Shares 43 Views 0 Reviews
  • "รถบรรทุกชนิด รถตู้ใหญ่ Covered Goods อักษรย่อ ต.ญ. C.G.
    เลขที่ ๑๓๒๖ รถรุ่นนี้ได้ติดตั้งเครื่องห้ามล้อลมดูดไว้ โดยแสดงเครื่องหมาย"ดาวสีขาว"ไว้ข้างรถ"
    กรมรถไฟนำมาใช้ในราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
    ราคาขึ้นทะเบียนสินทรัพย์ ๒๘,๔๕๓.๓๕ บาท
    ถ่ายโดยช่างภาพกรมรถไฟ
    .................................
    ภาพจาก : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
    "รถบรรทุกชนิด รถตู้ใหญ่ Covered Goods อักษรย่อ ต.ญ. C.G. เลขที่ ๑๓๒๖ รถรุ่นนี้ได้ติดตั้งเครื่องห้ามล้อลมดูดไว้ โดยแสดงเครื่องหมาย"ดาวสีขาว"ไว้ข้างรถ" กรมรถไฟนำมาใช้ในราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ราคาขึ้นทะเบียนสินทรัพย์ ๒๘,๔๕๓.๓๕ บาท ถ่ายโดยช่างภาพกรมรถไฟ ................................. ภาพจาก : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
    0 Comments 0 Shares 62 Views 0 Reviews
  • ภาพ รถจักรไอน้ำกาแรตต์ ถูกตู้รถไฟที่โดนแรงระเบิดอัดจนลอยขึ้นไปเกยค้างบนตัวรถจักร เข้าใจว่าน่าจะเป็นย่านสถานีรถไฟในทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
    .............................................
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นได้ว่ารถจักรไอน้ำกาแรตต์ ก็เกือบตกเป็นเหยื่อของลูกระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร อันมีอเมริกากับอังกฤษเป็นหัวหอก ตั้งหน้าตั้งตาทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์เป็นการใหญ่ ต่อเป้าหมายโดยเฉพาะย่านสถานีรถไฟ ทางรถไฟ และสะพานรถไฟสำคัญๆ
    ภาพ รถจักรไอน้ำกาแรตต์ ถูกตู้รถไฟที่โดนแรงระเบิดอัดจนลอยขึ้นไปเกยค้างบนตัวรถจักร เข้าใจว่าน่าจะเป็นย่านสถานีรถไฟในทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ............................................. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นได้ว่ารถจักรไอน้ำกาแรตต์ ก็เกือบตกเป็นเหยื่อของลูกระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร อันมีอเมริกากับอังกฤษเป็นหัวหอก ตั้งหน้าตั้งตาทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์เป็นการใหญ่ ต่อเป้าหมายโดยเฉพาะย่านสถานีรถไฟ ทางรถไฟ และสะพานรถไฟสำคัญๆ
    0 Comments 0 Shares 44 Views 0 Reviews
  • ภาพรถบรรทุกชนิด รถตู้ใหญ่ อักษรย่อ ต.ญ. (เหล็ก)
    Covered Goods C.G. เลขที่ ๔๘๔
    แบบอักษรไทยบนรถ ต.ญ.
    เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีตัวเลขอารบิคและเลขไทย
    ..............................................
    รถรุ่นนี้ได้ติดตั้งเครื่องห้ามล้อลมดูดไว้ โดยแสดงเครื่องหมาย"ดาวสีขาว"ไว้ข้างรถ กรมรถไฟหลวงนำมาใช้ในราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ (เรียกกันในหมู่คนรถไฟว่า "รุ่นประตูสามบาน" สั่งซื้อจากประเทศเบลเยี่ยม)
    ภาพรถบรรทุกชนิด รถตู้ใหญ่ อักษรย่อ ต.ญ. (เหล็ก) Covered Goods C.G. เลขที่ ๔๘๔ แบบอักษรไทยบนรถ ต.ญ. เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีตัวเลขอารบิคและเลขไทย .............................................. รถรุ่นนี้ได้ติดตั้งเครื่องห้ามล้อลมดูดไว้ โดยแสดงเครื่องหมาย"ดาวสีขาว"ไว้ข้างรถ กรมรถไฟหลวงนำมาใช้ในราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ (เรียกกันในหมู่คนรถไฟว่า "รุ่นประตูสามบาน" สั่งซื้อจากประเทศเบลเยี่ยม)
    0 Comments 0 Shares 73 Views 0 Reviews
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๗ )ประทับบนรถจักรไอน้ำบอลด์วินหมายเลข ๒๒๖ ที่นั่งพนักงานขับรถ

    โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม, ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงยืนอยู่ด้านหลังที่รถลำเลียง

    สำหรับรถจักรไอน้ำ "บอลด์วิน"หมายเลข ๒๒๖ นี้ เป็นรถจักรฯที่กรมรถไฟหลวง สั่งซื้อจากบริษัท Baldwin Locomotive Works U.S.A. ในราคาคันละ ๕๔๔,๗๖๑.๙๐ บาท นำมาใช้การในปี พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นรถจักรชนิด ๓ สูบ ใช้ไอที่ผ่าน Superheater แล้ว (ไอแห้ง) มาดันลูกสูบแบบล้อ ๔-๖-๒ (แปซิฟิก) ใช้วิ่งในทางขนาดกว้าง ๑ เมตร เลิกใช้การเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๗ มีอายุใช้การประมาณ ๓๐ ปี

    ประวัติความสำคัญของหัวรถจักรไอน้ำคันนี้ ยังมีตรา "ปปร" และ "รพ." ปรากฏอยู่เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากหัวรถจักรคันนี้ได้เคยใช้ทำการลากจูงขบวนรถไฟพระที่นั่ง ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จไปประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานพระราม ๖ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๙
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๗ )ประทับบนรถจักรไอน้ำบอลด์วินหมายเลข ๒๒๖ ที่นั่งพนักงานขับรถ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม, ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงยืนอยู่ด้านหลังที่รถลำเลียง สำหรับรถจักรไอน้ำ "บอลด์วิน"หมายเลข ๒๒๖ นี้ เป็นรถจักรฯที่กรมรถไฟหลวง สั่งซื้อจากบริษัท Baldwin Locomotive Works U.S.A. ในราคาคันละ ๕๔๔,๗๖๑.๙๐ บาท นำมาใช้การในปี พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นรถจักรชนิด ๓ สูบ ใช้ไอที่ผ่าน Superheater แล้ว (ไอแห้ง) มาดันลูกสูบแบบล้อ ๔-๖-๒ (แปซิฟิก) ใช้วิ่งในทางขนาดกว้าง ๑ เมตร เลิกใช้การเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๗ มีอายุใช้การประมาณ ๓๐ ปี ประวัติความสำคัญของหัวรถจักรไอน้ำคันนี้ ยังมีตรา "ปปร" และ "รพ." ปรากฏอยู่เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากหัวรถจักรคันนี้ได้เคยใช้ทำการลากจูงขบวนรถไฟพระที่นั่ง ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จไปประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานพระราม ๖ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๙
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 71 Views 0 Reviews
  • ๑๔ กันยายน วันบุรฉัตร

    "... มีพระนิสัยยิ่งด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตมั่นในพระกมลสันดาน ทรงวิจารณญาณประจักษ์แจ้งในชั้นเชิงคมนาคม เศรษฐกิจ พาณิชโยบาย..."

    พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

    วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก พระบิดาแห่งกิจการรถไฟยุคใหม่ ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๔๗๑

    “....ข้าพเจ้ายังจำติดตาว่า เวลาเขาเอาเปลหามสำหรับคนป่วยมารับเสด็จพ่อที่แท่นพระบรรทม เสด็จพ่อไม่ได้รับสั่งอะไร นอกจากทอดพระเนตรไปรอบๆห้องเหมือนหนึ่งจะสั่งลาบ้านที่พำนักเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จพ่อทอดพระเนตรอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งลงพ้นบันไดไปขึ้นรถพยาบาล มีแม่เล็กกับข้าพเจ้านั่งไปด้วยกับประนอม ทุมมานนท์ อีกคนหนึ่ง ในระหว่างที่อยู่ในรถจากบ้านไปโรงพยาบาล เสด็จพ่อเพ้อไปตลอดทาง แต่จับถ้อยคำไม่ได้ว่ารับสั่งอย่างใด ถึงเพียงนั้นเราก็ยังไม่สงสัยว่าประชวรมาก โดยเข้าใจว่าเป็นพิษไข้ เมื่อไปถึงโรงพยาบาล นายแพทย์ก็จัดการนำเสด็จพ่อไปไว้ในห้องพิเศษ

    ข้าพเจ้าเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ เสด็จพ่อเพ้ออีกครั้ง รับสั่งว่าเห็นวอและขบวนแห่อย่างหรูหรามารับบนเพดานห้อง ระหว่างที่รับสั่งพระเนตรก็จ้องเป๋งบนเพดานนั้น พวกเรายืนอย่างตกตะลึงเพราะไม่แน่ใจว่าทอดพระเนตรเห็นอะไร สักครู่หมอมาบอกว่าให้พวกเรากลับบ้านได้ พรุ่งนี้จึงให้มารับใหม่ เราจึงเชื่อหมอและกลับบ้านกัน

    พอถึงบ้านยังไม่ทันจะได้ถอดเครื่องแต่งกาย ก็มีคนโทรศัพท์มาจากโรงพยาบาลว่าให้รีบกลับไปอีกครั้งหนึ่งโดยด่วน เราจึงรีบเรียกคนรถสั่งให้เขากลับไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ แต่.... เมื่อเราไปพบแพทย์ เขาบอกว่าเสด็จพ่อสิ้นพระชนม์เสียแล้ว...."

    พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร ทรงบันทึก เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๙
    วันที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สิ้นพระชนม์

    จากหนังสือ “บุรฉัตรรำลึก”
    การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์
    ๑๔ กันยายน วันบุรฉัตร "... มีพระนิสัยยิ่งด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตมั่นในพระกมลสันดาน ทรงวิจารณญาณประจักษ์แจ้งในชั้นเชิงคมนาคม เศรษฐกิจ พาณิชโยบาย..." พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก พระบิดาแห่งกิจการรถไฟยุคใหม่ ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๔๗๑ “....ข้าพเจ้ายังจำติดตาว่า เวลาเขาเอาเปลหามสำหรับคนป่วยมารับเสด็จพ่อที่แท่นพระบรรทม เสด็จพ่อไม่ได้รับสั่งอะไร นอกจากทอดพระเนตรไปรอบๆห้องเหมือนหนึ่งจะสั่งลาบ้านที่พำนักเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จพ่อทอดพระเนตรอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งลงพ้นบันไดไปขึ้นรถพยาบาล มีแม่เล็กกับข้าพเจ้านั่งไปด้วยกับประนอม ทุมมานนท์ อีกคนหนึ่ง ในระหว่างที่อยู่ในรถจากบ้านไปโรงพยาบาล เสด็จพ่อเพ้อไปตลอดทาง แต่จับถ้อยคำไม่ได้ว่ารับสั่งอย่างใด ถึงเพียงนั้นเราก็ยังไม่สงสัยว่าประชวรมาก โดยเข้าใจว่าเป็นพิษไข้ เมื่อไปถึงโรงพยาบาล นายแพทย์ก็จัดการนำเสด็จพ่อไปไว้ในห้องพิเศษ ข้าพเจ้าเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ เสด็จพ่อเพ้ออีกครั้ง รับสั่งว่าเห็นวอและขบวนแห่อย่างหรูหรามารับบนเพดานห้อง ระหว่างที่รับสั่งพระเนตรก็จ้องเป๋งบนเพดานนั้น พวกเรายืนอย่างตกตะลึงเพราะไม่แน่ใจว่าทอดพระเนตรเห็นอะไร สักครู่หมอมาบอกว่าให้พวกเรากลับบ้านได้ พรุ่งนี้จึงให้มารับใหม่ เราจึงเชื่อหมอและกลับบ้านกัน พอถึงบ้านยังไม่ทันจะได้ถอดเครื่องแต่งกาย ก็มีคนโทรศัพท์มาจากโรงพยาบาลว่าให้รีบกลับไปอีกครั้งหนึ่งโดยด่วน เราจึงรีบเรียกคนรถสั่งให้เขากลับไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ แต่.... เมื่อเราไปพบแพทย์ เขาบอกว่าเสด็จพ่อสิ้นพระชนม์เสียแล้ว...." พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร ทรงบันทึก เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๙ วันที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สิ้นพระชนม์ จากหนังสือ “บุรฉัตรรำลึก” การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์
    0 Comments 0 Shares 84 Views 0 Reviews
  • สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
    Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge
    .............................................
    หนึ่งในงานสำคัญที่ "กองแบบแผน" กรมรถไฟหลวง มีส่วนออกแบบ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ทรงมีรับสั่งให้ "กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง" เป็นผู้ออกแบบโครงการแสดงทางขึ้น ๒ ข้างและตัวสะพานที่จะสร้าง พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเรียกประมูลราคาจากบริษัทต่างประเทศ และทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบและราคาที่บริษัทต่างๆยื่นประมูลที่กรุงลอนดอนคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
    ๑. นายเอช. กิตตินส์ (H. Gitting) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟหลวง
    ๒. นายยี, คาโนวา (G. Canova) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นหัวหน้ากองแบบแผน กรมรถไฟหลวง
    ๓. นายซี.พี. แซนด์เบอร์ก (C.P. Sandberg) นายช่างชาวอังกฤษ มีหน้าที่ตรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่กรมรถไฟหลวงสั่งจากยุโรปและอเมริกา
    ๔ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) ผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้นกำลังดูงานอยู่ในยุโรป
    ๕. นายยี.ซี. สมัยท์ (G.C. Smythe) นายช่างอำนวยการ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ขณะนั้นลาไปพักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ
    ๖.อำมาตย์ตรี เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายช่างภาค กรมรถไฟหลวง ซึ่งกำลังศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในยุโรป
    ................................................
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงส่งโทรเลขรายการประมูลจากกรุงลอนดอน มากราบบังคมทูลในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ทรงส่งโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง กราบบังคมทูลถวายความเห็นของคณะกรรมการประมูลราคาว่า บริษัทที่ดีที่สุดมี ๒ บริษัท คือ บริษัทดอร์แมน ลอง แห่งประเทศอังกฤษ และ บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งประเทศอิตาลี บริษัทอังกฤษรับว่าจะสร้างสะพานเสร็จภายในเวลา ๒๗ เดือน บริษัทอิตาลีรับว่าจะสร้างเสร็จภายในเวลา ๓๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำคำกราบบังคมทูลนี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า การเลือกจ้างบริษัทใดควรเลือกเอาบริษัทที่มีหลักฐานมั่นคงและราคาถูก มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้บริษัทอื่นเกิดขัดข้องใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ควรทำสัญญาจ้างบริษัทดอร์แมน ลอง โปรดเกล้าฯ ให้โทรเลขตอบไปยังกรุงลอนดอน ว่าตกลงทำสัญญากับบริษัทดอร์แมน ลอง
    .................................................
    รัฐบาลได้มอบสถานที่การก่อสร้างให้แก่บริษัทดอร์แมน ลอง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ บริษัทเริ่มลงมือทำงานที่ตอม่อฝั่งพระนคร วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ผู้ทรงเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างทั้งหมด
    .................................................
    กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง(ต่อมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย)ได้ดำเนินงานมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงถูกยุบ
    ที่มาของภาพ Public Relations Department / Thailand Illustrated - Thailand Illustrated (April 1954 Issue) retrieved from National Library of Thailand
    สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge ............................................. หนึ่งในงานสำคัญที่ "กองแบบแผน" กรมรถไฟหลวง มีส่วนออกแบบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ทรงมีรับสั่งให้ "กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง" เป็นผู้ออกแบบโครงการแสดงทางขึ้น ๒ ข้างและตัวสะพานที่จะสร้าง พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเรียกประมูลราคาจากบริษัทต่างประเทศ และทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบและราคาที่บริษัทต่างๆยื่นประมูลที่กรุงลอนดอนคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ๑. นายเอช. กิตตินส์ (H. Gitting) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟหลวง ๒. นายยี, คาโนวา (G. Canova) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นหัวหน้ากองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ๓. นายซี.พี. แซนด์เบอร์ก (C.P. Sandberg) นายช่างชาวอังกฤษ มีหน้าที่ตรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่กรมรถไฟหลวงสั่งจากยุโรปและอเมริกา ๔ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) ผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้นกำลังดูงานอยู่ในยุโรป ๕. นายยี.ซี. สมัยท์ (G.C. Smythe) นายช่างอำนวยการ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ขณะนั้นลาไปพักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ๖.อำมาตย์ตรี เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายช่างภาค กรมรถไฟหลวง ซึ่งกำลังศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในยุโรป ................................................ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงส่งโทรเลขรายการประมูลจากกรุงลอนดอน มากราบบังคมทูลในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ทรงส่งโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง กราบบังคมทูลถวายความเห็นของคณะกรรมการประมูลราคาว่า บริษัทที่ดีที่สุดมี ๒ บริษัท คือ บริษัทดอร์แมน ลอง แห่งประเทศอังกฤษ และ บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งประเทศอิตาลี บริษัทอังกฤษรับว่าจะสร้างสะพานเสร็จภายในเวลา ๒๗ เดือน บริษัทอิตาลีรับว่าจะสร้างเสร็จภายในเวลา ๓๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำคำกราบบังคมทูลนี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า การเลือกจ้างบริษัทใดควรเลือกเอาบริษัทที่มีหลักฐานมั่นคงและราคาถูก มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้บริษัทอื่นเกิดขัดข้องใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ควรทำสัญญาจ้างบริษัทดอร์แมน ลอง โปรดเกล้าฯ ให้โทรเลขตอบไปยังกรุงลอนดอน ว่าตกลงทำสัญญากับบริษัทดอร์แมน ลอง ................................................. รัฐบาลได้มอบสถานที่การก่อสร้างให้แก่บริษัทดอร์แมน ลอง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ บริษัทเริ่มลงมือทำงานที่ตอม่อฝั่งพระนคร วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ผู้ทรงเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างทั้งหมด ................................................. กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง(ต่อมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย)ได้ดำเนินงานมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงถูกยุบ ที่มาของภาพ Public Relations Department / Thailand Illustrated - Thailand Illustrated (April 1954 Issue) retrieved from National Library of Thailand
    0 Comments 0 Shares 81 Views 0 Reviews
  • โรงงานมักกะสันของกรมรถไฟหลวง"
    โรงงานอุตสาหกรรมรถไฟที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย จะเป็นรองก็แต่ญี่ปุ่นนิดหน่อยแต่เท่านั้น
    นี่คือความยิ่งใหญ่และทันสมัยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม
    โรงงานมักกะสันของกรมรถไฟหลวง" โรงงานอุตสาหกรรมรถไฟที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย จะเป็นรองก็แต่ญี่ปุ่นนิดหน่อยแต่เท่านั้น นี่คือความยิ่งใหญ่และทันสมัยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม
    0 Comments 0 Shares 67 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 64 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 67 Views 0 Reviews
More Stories