ลมหวน
ลมหวน ชวนให้คิด ถึงความหลัง
  • 27 คนติดตามเรื่องนี้
  • 5 โพสต์
  • 7 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • อื่น ๆ
อัปเดตล่าสุด
  • สมัยที่ผมยังเด็ก...

    ในละแวกบ้าน...
    ตึกที่หลังใหญ่สุดแถวนั้น ก็คงจะเป็น "คูย่งล้ง" เป็นตึกที่ผมฝันอยู่ตลอดว่า ถ้าวันหนึ่งได้ขึ้นไปชั้นบนสุด (ตอนนั้น ยังไม่รู้จักคำว่า ดาดฟ้า) แล้วได้มองลงมายังด้านล่าง คงจะแจ่ม น่าดู...

    ตึกนี้ ดูแปลกตา ดูมี"อะไร" มากกว่าตึกแถวในสมัยนั้น
    ผมมีโอกาสได้พูดคุย สอบถาม กับทายาทรุ่นที่3 ของตึกนี้ ได้ความว่า อาคารหลังนี้ ออกแบบโดยสถาปนิก ซึ่งเป็น "อา" ของเจ้าของตึก ซึ่งจบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จากลาดกระบัง .....

    เหมือนที่ผมคิดเลย ว่า อาคารถึงมี ครีบ มีพื้นที่เปิดโล่งกลางตัวบ้าน เพื่อนำแสงธรรมชาติมาให้ความสว่างแก่ภายในอาคาร...

    ถัด"คูย่งล้ง"มาทางเหนือ ตอนนี้ เป็นร้าน บาร์บีกริลล์
    เมื่อก่อนนี้ ส่วนตรงนี้จะเป็นตรอก ลึกเข้าไปข้างใน....

    ในตรอกนี้ มีครอบครับหนึ่ง สามีชื่อแอ้ เมียชื่อ จัน
    ครอบครัวนี้มีอาชีพตัดผ้า เย็บผ้า และเลี้ยงหมู
    เมื่อก่อนนั้น ในตรอกนั้น จะมีโรงหมูด้วย

    ในยามที่เด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกับผม จะไปตกปลาริมตลิ่ง พวกเราก็จะไปขุดเอาไส้เดือนแดงแถวๆโรงหมู เพื่อเอาไปเกี่ยวเบ็ด

    เมื่อเป็นโรงหมู ก็แน่ละครับ กลิ่นตลบอบอวล ไปทั้งย่าน ยิ่งเวลาหน้าฝน อากาศชื้นๆนะครับ ไม่ต้องไปพูดถึงเลย...

    แถวปากตรอกเลี้ยงหมู เคยมีร้านอาหาร ชื่อ"มุ่ยสูน" ไปเปิดอยู่พักนึง
    ร้านนี้ จำหน่ายอาหารจีน อาหารตามสั่ง คงพอจะเทียบได้กับร้านอาหารระดับเหลาได้ เพราะในเวลานั้นร้านอาหารตามสั่งไม่ได้มีดาษดื่นแบบทุกวันนี้

    ร้าน "มุ่ยสูน" นี้ เคยมาเปิด ตรงหัวมุม ที่เป็นร้าน "เตี๋ยวเต็มโต๊ะ" ในปัจจุบัน อยู่พักหนึ่ง

    "มุ่ยสูน" ตรงหัวมุมนี้ เป็นร้านที่ทำให้ผมรู้จัก "เบียร์สิงห์" เป็นครั้งแรกในชีวิต....
    .
    .
    ในปีนั้น ...
    ผมอยู่ชั้น ป3.หรือ ป4.นี่แหละ..

    ปกติแล้วครอบครัวคนจีน มักจะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ
    ปีนั้น ญาติๆ ทางแม่ ก็มารวมตัวไหว้บรรพบุรุษที่บ้านที่ผมอยู่ เพราะอาม่า เป็นศูนย์กลางของลูกๆ
    พอไหว้เสร็จก็จะเอาอาหารเหล่านั้น มาทานร่วมกัน
    เด็กก็โต๊ะหนึ่ง...
    ผู้ใหญ่ก็โต๊ะหนึ่ง...

    แต่..ผมกลับไม่ได้ไปนั่งทาน
    ผมไปเดินเตร็ดเตร่แถวๆโต๊ะผู้ใหญ่ ญาติๆก็กินไป คุยไป

    คราวนี้ ลุงของผม คือ "ลุงสว่าง" ซึ่งผมเรียกแกว่า "กู๋หว่าง"
    เห็นผมวนเวียนแถวนั้นเลยบอกว่า

    "เฮ้ย ป้อม ลื้อเดินไปซื้อเบียร์ให้อั๊วหน่อย เอาเบียร์สิงห์นะ 2ขวด "
    พร้อมเอาเงินขยุ้มนึง ยัดใส่มือผม
    ผมก็เดินข้ามตรงไปร้าน "มุ่ยสูน" หัวมุมถนน พร้อมซื้อเบียร์สิงห์ตามสั่ง

    ผมยังจำได้...
    ระหว่างหิ้วเบียร์ เดินกลับบ้าน ต้องผ่านร้าน "คูย่งล้ง"
    ด้วยความที่ว่ายังเด็ก ไม่ประสา เดินไปก็เขย่าถุงใส่เบียร์ไป
    จนเถ้าแก่ "คูย่งล้ง" เห็นเข้า เลยร้องเตือนว่า

    "อย่าเขย่านะ เดี๋ยวตอน เปิด มันจะพุ่งออกมา"
    ผมเลยค่อยๆ ประคองเบียร์2ขวด นั้นจนส่งถึงมือ "กู๋หว่าง" พร้อมตังทอน

    แล้วผมก็หันหลัง เพื่อจะไปเล่นกะพี่น้อง เด็กๆ..

    "เดี๋ยวก่อน"
    กู๋หว่างเรียกผม
    "เอาเงินทอนไปกินขนม"....

    โอ้โห!
    ผมนี่ลิงโลดเลยทีเดียว เงิน10กว่า 20บาทสมัย30กว่าปีก่อน นี่ มันเยอะมาก!
    ยิ่งในความรู้สึกของเด็กน้อยที่ได้เงินไปโรงเรียนวันละ2บาท...
    อย่างผม...

    ผมจำได้ว่า...
    ตั้งแต่ปีนั้น เป็นต้นมา ผมวนเวียน รอวิ่งซืี้อเบียร์ ให้ "กู๋หว่าง" ตลอด ....
    จนเข้าไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ...

    ความทรงจำเกี่ยวกับละแวกบ้านของผม
    ก็ค่อยๆจางลง
    ตามวันเวลาที่ผ่านไป....
    สมัยที่ผมยังเด็ก... ในละแวกบ้าน... ตึกที่หลังใหญ่สุดแถวนั้น ก็คงจะเป็น "คูย่งล้ง" เป็นตึกที่ผมฝันอยู่ตลอดว่า ถ้าวันหนึ่งได้ขึ้นไปชั้นบนสุด (ตอนนั้น ยังไม่รู้จักคำว่า ดาดฟ้า) แล้วได้มองลงมายังด้านล่าง คงจะแจ่ม น่าดู... ตึกนี้ ดูแปลกตา ดูมี"อะไร" มากกว่าตึกแถวในสมัยนั้น ผมมีโอกาสได้พูดคุย สอบถาม กับทายาทรุ่นที่3 ของตึกนี้ ได้ความว่า อาคารหลังนี้ ออกแบบโดยสถาปนิก ซึ่งเป็น "อา" ของเจ้าของตึก ซึ่งจบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จากลาดกระบัง ..... เหมือนที่ผมคิดเลย ว่า อาคารถึงมี ครีบ มีพื้นที่เปิดโล่งกลางตัวบ้าน เพื่อนำแสงธรรมชาติมาให้ความสว่างแก่ภายในอาคาร... ถัด"คูย่งล้ง"มาทางเหนือ ตอนนี้ เป็นร้าน บาร์บีกริลล์ เมื่อก่อนนี้ ส่วนตรงนี้จะเป็นตรอก ลึกเข้าไปข้างใน.... ในตรอกนี้ มีครอบครับหนึ่ง สามีชื่อแอ้ เมียชื่อ จัน ครอบครัวนี้มีอาชีพตัดผ้า เย็บผ้า และเลี้ยงหมู เมื่อก่อนนั้น ในตรอกนั้น จะมีโรงหมูด้วย ในยามที่เด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกับผม จะไปตกปลาริมตลิ่ง พวกเราก็จะไปขุดเอาไส้เดือนแดงแถวๆโรงหมู เพื่อเอาไปเกี่ยวเบ็ด เมื่อเป็นโรงหมู ก็แน่ละครับ กลิ่นตลบอบอวล ไปทั้งย่าน ยิ่งเวลาหน้าฝน อากาศชื้นๆนะครับ ไม่ต้องไปพูดถึงเลย... แถวปากตรอกเลี้ยงหมู เคยมีร้านอาหาร ชื่อ"มุ่ยสูน" ไปเปิดอยู่พักนึง ร้านนี้ จำหน่ายอาหารจีน อาหารตามสั่ง คงพอจะเทียบได้กับร้านอาหารระดับเหลาได้ เพราะในเวลานั้นร้านอาหารตามสั่งไม่ได้มีดาษดื่นแบบทุกวันนี้ ร้าน "มุ่ยสูน" นี้ เคยมาเปิด ตรงหัวมุม ที่เป็นร้าน "เตี๋ยวเต็มโต๊ะ" ในปัจจุบัน อยู่พักหนึ่ง "มุ่ยสูน" ตรงหัวมุมนี้ เป็นร้านที่ทำให้ผมรู้จัก "เบียร์สิงห์" เป็นครั้งแรกในชีวิต.... . . ในปีนั้น ... ผมอยู่ชั้น ป3.หรือ ป4.นี่แหละ.. ปกติแล้วครอบครัวคนจีน มักจะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ ปีนั้น ญาติๆ ทางแม่ ก็มารวมตัวไหว้บรรพบุรุษที่บ้านที่ผมอยู่ เพราะอาม่า เป็นศูนย์กลางของลูกๆ พอไหว้เสร็จก็จะเอาอาหารเหล่านั้น มาทานร่วมกัน เด็กก็โต๊ะหนึ่ง... ผู้ใหญ่ก็โต๊ะหนึ่ง... แต่..ผมกลับไม่ได้ไปนั่งทาน ผมไปเดินเตร็ดเตร่แถวๆโต๊ะผู้ใหญ่ ญาติๆก็กินไป คุยไป คราวนี้ ลุงของผม คือ "ลุงสว่าง" ซึ่งผมเรียกแกว่า "กู๋หว่าง" เห็นผมวนเวียนแถวนั้นเลยบอกว่า "เฮ้ย ป้อม ลื้อเดินไปซื้อเบียร์ให้อั๊วหน่อย เอาเบียร์สิงห์นะ 2ขวด " พร้อมเอาเงินขยุ้มนึง ยัดใส่มือผม ผมก็เดินข้ามตรงไปร้าน "มุ่ยสูน" หัวมุมถนน พร้อมซื้อเบียร์สิงห์ตามสั่ง ผมยังจำได้... ระหว่างหิ้วเบียร์ เดินกลับบ้าน ต้องผ่านร้าน "คูย่งล้ง" ด้วยความที่ว่ายังเด็ก ไม่ประสา เดินไปก็เขย่าถุงใส่เบียร์ไป จนเถ้าแก่ "คูย่งล้ง" เห็นเข้า เลยร้องเตือนว่า "อย่าเขย่านะ เดี๋ยวตอน เปิด มันจะพุ่งออกมา" ผมเลยค่อยๆ ประคองเบียร์2ขวด นั้นจนส่งถึงมือ "กู๋หว่าง" พร้อมตังทอน แล้วผมก็หันหลัง เพื่อจะไปเล่นกะพี่น้อง เด็กๆ.. "เดี๋ยวก่อน" กู๋หว่างเรียกผม "เอาเงินทอนไปกินขนม".... โอ้โห! ผมนี่ลิงโลดเลยทีเดียว เงิน10กว่า 20บาทสมัย30กว่าปีก่อน นี่ มันเยอะมาก! ยิ่งในความรู้สึกของเด็กน้อยที่ได้เงินไปโรงเรียนวันละ2บาท... อย่างผม... ผมจำได้ว่า... ตั้งแต่ปีนั้น เป็นต้นมา ผมวนเวียน รอวิ่งซืี้อเบียร์ ให้ "กู๋หว่าง" ตลอด .... จนเข้าไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ... ความทรงจำเกี่ยวกับละแวกบ้านของผม ก็ค่อยๆจางลง ตามวันเวลาที่ผ่านไป....
    Like
    3
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมัยที่ผมยังเด็ก...

    บ้านที่ผมอาศัยอยู่ กับร้านของเตี่ย อยู่ห่างจากกันไม่ไกลนัก ข้างๆร้านของเตี่ย (กรุงเทพอาภรณ์) นั้น เป็นร้านเก่าแก่ของเมืองนครพนม..

    " ร้าน ไทยสามัคคี"

    ครับ ร้านที่เป็นแลนด์มาร์คของเมืองนครพนม ตั้งอยู่หลัง หอนาฬิกา จังหวัดนครพนม ระหว่างถนนสุนทรวิจิตร กับถนนศรีเทพ
    ร้านไทยสามัคคี นั้น มีชื่อจีนกำกับบนป้ายร้าน ว่า "ฮั่วเพ้ง..."

    ร้านนี้ มีหน้าร้าน2ฟากถนนตามที่ได้เอ่ยไปข้างต้น
    ฟากหนึ่งฝั่ง ถนนศรีเทพ จะเป็นร้านอาหารตามสั่ง พูดถึงร้านอาหารตามสั่ง เราๆท่านๆในปัจจุบันอาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่สมัยนั้น ร้านอาหารตามสั่งไม่ได้มีดาษดื่นเช่นทุกวันนี้ ผมยังจำได้เสมอว่า ข้าวผัดหมูจานแรกพร้อมพริกนำ้ปลาถ้วยเล็กๆนั้น มันอร่อยเพียงใด...

    แค่เตี่ยบอกว่า"ไปสั่งข้าวร้านข้างๆมากิน!" เท่านั้นแหละครับ เหมือนถูกหวยเลย!ผมจำได้เสมอ ถึงพ่อครัว2คน ที่ผลัดกัน ผัดอาหาร คนหนึ่งชื่อ ยงค์ หรือ ย้ง นี่แหละ!! คนนี้เสียชีวิตไปไม่นาน ...

    ส่วนอีกคนนั้น ผมเรียกตามเตี่ยผมว่า "เฮียอ่าง" ผมมักจะเลือกไปสั่งอาหารตอนเฮียอ่างอยู่หน้าเตา เพราะรู้สึกว่า เฮียอ่างผัดอร่อยกว่า
    ปัจจุบัน เฮียอ่าง ได้มาเปิดร้านขายสลากกินแบ่งรัฐบาล อยู่ถนนเฟื่องนคร ชื่อร้านคือ "โชควิทยา"

    ส่วนอีกฟากถนนสุนทรวิจิตรนั้น จะเป็นส่วนของร้านกาแฟ ร้านกาแฟนี้ ในสมัยเมื่อ 40 ปีที่แล้วนั้น มักจะมี ข้าราชการน้อยใหญ่มานั่งกินกาแฟ ไข่ลวก ทุกๆเช้า ภาพหนึ่งที่เห็นตอนเช้า ควันไฟจากเตาต้มนำ้ร้อนนั้น อ้อยอิ่งกระทบแสงแดดยามเช้า พร้อมกับกลิ่นกาแฟหอมๆที่ลอยมากับลมอ่อนๆ

    ผมมักจะขอตังอาม่าของผมไปซื้อ นมเย็น ที่ร้านประจำ คนชงนั้นถ้าจำไม่ผิด จะเป็นเจ้าของร้านตัวเล็กๆ หวีผมเสยพร้อมนำ้มันใส่ผม เรียบแปร้...

    คนรุ่นผมน่าจะคุ้นเคยกับการชงกาแฟ หรืออะไรก็ตามใส่กระป๋องนม แล้วเอาเชือกฟางร้อยรูบนฝากระป๋อง ซึ่งผมมักจะบอกคนชงว่า "ชงใส่กระป๋องให้ด้วย..."และผมยังคิดถึงหม้อต้มนำ้เพื่อชงกาแฟที่ทำด้วยทองแดง ไม่ก็ทองเหลืองทรงโบราณอยู่เสมอ...

    อีกภาพที่คุ้นตามากๆ สำหรับ "ร้านไทยสามัคคี" คือ หลังหอนาฬิกา จะมีที่นั่ง ทำด้วยหินขัดเป็นแนวยาวสีครีมเข้มๆ ที่นั่งนี้ จะเต็มไปด้วยคนถีบสามล้อ ที่ไปนั่งเฝ้านอนเฝ้า รอฟังผลหวยออก ซึ่งแน่นอน บริเวณนั้นก็จะเต็มไปด้วยรถสามล้อเช่นกัน...

    ระหว่างที่รอฟังหวย นั้น ถ้าหวยออกตัวไหน เจ้าของร้าน ก็จะเอากระดานสังกะสี ของเป๊บซี่ มาเขียนเลขที่ออกด้วยชอล์กสีขาว ออกตัวไหน ก็จะมีเสียงฮือฮา ของสมาคมสามล้อถีบในบริเวณนั้นเป็นระยะๆ จวบจน "หวยออกครบ" แปลว่า สมาคมย่อยๆนั้น ก็สลายไปพร้อมๆ กับเสียงบ่นพึมพำ ที่ค่อยๆจางลง.....
    จางลง.....
    สมัยที่ผมยังเด็ก... บ้านที่ผมอาศัยอยู่ กับร้านของเตี่ย อยู่ห่างจากกันไม่ไกลนัก ข้างๆร้านของเตี่ย (กรุงเทพอาภรณ์) นั้น เป็นร้านเก่าแก่ของเมืองนครพนม.. " ร้าน ไทยสามัคคี" ครับ ร้านที่เป็นแลนด์มาร์คของเมืองนครพนม ตั้งอยู่หลัง หอนาฬิกา จังหวัดนครพนม ระหว่างถนนสุนทรวิจิตร กับถนนศรีเทพ ร้านไทยสามัคคี นั้น มีชื่อจีนกำกับบนป้ายร้าน ว่า "ฮั่วเพ้ง..." ร้านนี้ มีหน้าร้าน2ฟากถนนตามที่ได้เอ่ยไปข้างต้น ฟากหนึ่งฝั่ง ถนนศรีเทพ จะเป็นร้านอาหารตามสั่ง พูดถึงร้านอาหารตามสั่ง เราๆท่านๆในปัจจุบันอาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่สมัยนั้น ร้านอาหารตามสั่งไม่ได้มีดาษดื่นเช่นทุกวันนี้ ผมยังจำได้เสมอว่า ข้าวผัดหมูจานแรกพร้อมพริกนำ้ปลาถ้วยเล็กๆนั้น มันอร่อยเพียงใด... แค่เตี่ยบอกว่า"ไปสั่งข้าวร้านข้างๆมากิน!" เท่านั้นแหละครับ เหมือนถูกหวยเลย!ผมจำได้เสมอ ถึงพ่อครัว2คน ที่ผลัดกัน ผัดอาหาร คนหนึ่งชื่อ ยงค์ หรือ ย้ง นี่แหละ!! คนนี้เสียชีวิตไปไม่นาน ... ส่วนอีกคนนั้น ผมเรียกตามเตี่ยผมว่า "เฮียอ่าง" ผมมักจะเลือกไปสั่งอาหารตอนเฮียอ่างอยู่หน้าเตา เพราะรู้สึกว่า เฮียอ่างผัดอร่อยกว่า ปัจจุบัน เฮียอ่าง ได้มาเปิดร้านขายสลากกินแบ่งรัฐบาล อยู่ถนนเฟื่องนคร ชื่อร้านคือ "โชควิทยา" ส่วนอีกฟากถนนสุนทรวิจิตรนั้น จะเป็นส่วนของร้านกาแฟ ร้านกาแฟนี้ ในสมัยเมื่อ 40 ปีที่แล้วนั้น มักจะมี ข้าราชการน้อยใหญ่มานั่งกินกาแฟ ไข่ลวก ทุกๆเช้า ภาพหนึ่งที่เห็นตอนเช้า ควันไฟจากเตาต้มนำ้ร้อนนั้น อ้อยอิ่งกระทบแสงแดดยามเช้า พร้อมกับกลิ่นกาแฟหอมๆที่ลอยมากับลมอ่อนๆ ผมมักจะขอตังอาม่าของผมไปซื้อ นมเย็น ที่ร้านประจำ คนชงนั้นถ้าจำไม่ผิด จะเป็นเจ้าของร้านตัวเล็กๆ หวีผมเสยพร้อมนำ้มันใส่ผม เรียบแปร้... คนรุ่นผมน่าจะคุ้นเคยกับการชงกาแฟ หรืออะไรก็ตามใส่กระป๋องนม แล้วเอาเชือกฟางร้อยรูบนฝากระป๋อง ซึ่งผมมักจะบอกคนชงว่า "ชงใส่กระป๋องให้ด้วย..."และผมยังคิดถึงหม้อต้มนำ้เพื่อชงกาแฟที่ทำด้วยทองแดง ไม่ก็ทองเหลืองทรงโบราณอยู่เสมอ... อีกภาพที่คุ้นตามากๆ สำหรับ "ร้านไทยสามัคคี" คือ หลังหอนาฬิกา จะมีที่นั่ง ทำด้วยหินขัดเป็นแนวยาวสีครีมเข้มๆ ที่นั่งนี้ จะเต็มไปด้วยคนถีบสามล้อ ที่ไปนั่งเฝ้านอนเฝ้า รอฟังผลหวยออก ซึ่งแน่นอน บริเวณนั้นก็จะเต็มไปด้วยรถสามล้อเช่นกัน... ระหว่างที่รอฟังหวย นั้น ถ้าหวยออกตัวไหน เจ้าของร้าน ก็จะเอากระดานสังกะสี ของเป๊บซี่ มาเขียนเลขที่ออกด้วยชอล์กสีขาว ออกตัวไหน ก็จะมีเสียงฮือฮา ของสมาคมสามล้อถีบในบริเวณนั้นเป็นระยะๆ จวบจน "หวยออกครบ" แปลว่า สมาคมย่อยๆนั้น ก็สลายไปพร้อมๆ กับเสียงบ่นพึมพำ ที่ค่อยๆจางลง..... จางลง.....
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 368 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 89 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมัยที่ผมยังเด็ก...

       บ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ริมน้ำสายใหญ่ เป็นบ้านไม้ที่ทีอายุร่วม 80 ปี ด้านหน้าบ้าน ติดถนนเลียบริมนำ้ หันไปทางทิศ ตะวันตก ส่วนหลังบ้าน ติดแม่นำสายใหญ่ และแน่นอน ฉันเองก็เติบโตขึ้นมา ในบ้านหลังนี้ ครอบครัวของเราอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มานาน ตั้งแต่อาก๋ง อาม่า รวมถึงพ่อ แม่ และพี่น้องของฉันด้วย

    มันเป็นบ้านไม้ ชั้นเดียวเป็นเรื่องปกติที่ บ้านไม้อายุขนาดนี้ คงไม่มีการจัดแบ่ง พื้นที่ใช้สอยได้ดีนัก ตัวบ้านแบ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเป็นโถง ขนาดพอสมควร ซึ่งปัจจุบัน คงจะเรียกกันตามภาษาฝรั่งว่า ลิฟวิ่งรูม ก็คงจะำงบึได้ แต่เอาเถอะไม่ว่าจะเรียกอย่างไร มันก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของฉันมาตลอด 10 กว่าปี ของการเติบโตในบ้านหลังนั้น แต่น่าจะเป็นเรื่องตลกที่บ้านโบราณจะมี ลิฟวิ่งรูม ชิ้นที่2
    เนื่องจากว่าพื้นที่ๆถัดจากโถง ลงไป1 ก้าว มันเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ชิ้นที่ 2 พวกเราได้ใช้พื้นที่นี้ เป็นส่วนทานอาหาร สำหรับอาม่าใช้เป็น ห้องสมุด และสำหรับแม่ มันกลายเป็น พื้นที่เย็บปักถักร้อย และทำงานอื่นๆ พูดถึงพื้นที่ทานอาหารแล้ว น่าจะเป็นส่วนรับประทานอาหารที่สวยที่สุดในโลก...
       เพราะทุกมื้อเช้าของพวกเราจะต้องทานอาหารเช้าไปพร้อมกับ แสงอ่อนๆของอาทิตย์ยามเช้า แต่ อาจจะเป็นเพราะว่าฉันยังเด็ก เกินกว่าจะมองเห็นความสวยงามของธรรมชาติ ฉันเองกลับคิดว่า มันแย่จังที่มีแสงแดดมาแยงตายามเช้าและมันยังร้อนมากอีกด้วย...

    สุดพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นหน้าต่างกระจก กรอบบานเป็นไม้ วางเรียงกันไปตลอดแนวของตัวบ้าน และส่วนริมหน้าต่างนี่เอง ถ้ามองออกไปที่หน้าต่างจะมองเห็น แม่น้ำสายใหญ่ ถัดจากหน้าต่างออกไป จะเป็นส่วนของระเบียง ซึ่งกลายเป็น สวนดอกไม้ลอยฟ้า ของอาม่าฉันเอง
    ภายในตัวบ้าน ด้านซ้ายมือของทางเดินจะเป็นส่วนที่ฉัน หวาดกลัวที่สุด ฉันเรียกมันว่า ห้องมืด จริงๆแล้วมันก็เป็นแค่ ห้อง อย่าเรียกว่า ห้องดีกว่า น่าจะเป็นพื้นที่เก็บของ เพียงแต่ว่าทุกครั้งที่ ฉันได้เข้าไปนั้น น้อยครั้งเหลือเกินที่จะมีการเปิดไฟส่องสว่าง ทำให้ในความรู้สึกของเด็กน้อยอย่างฉัน รู้สึกหวาดกลัวทุกครั้งที่เฉียดใกล้ ถ้าเดินผ่านส่วนห้องมืดไป ติดกันนั้นจะเป็นห้องนอนของอาม่า ซึ่งยาวไปจนสุดตัวบ้านติดริมน้ำแต่ แต่ห้องอาม่าจะถูกแบ่งช่วงสุดท้ายเป็นห้องเก็บของเล็กๆจะมีตู้กับข้าว อาหารแห้ง และเป็นพื้นที่ทางสัญจร ไปที่ที่สำหรับตากผ้า ริมหน้าต่าง และยังมีส่วนของห้องนอนแม่บ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องมืด

    ทางด้านขวา ของตัวบ้านส่วนแรกจะเป็น ห้องเก็บของ(อีกแล้ว) ซึ่งแต่เดิม ห้องส่วนนี้ เคยเป็นห้องนอนของ บีเอ 2 ห้อง แล้วต่อมาก็เลยกลายมาเป็นห้องเก็บของ
    เข้ามาก็เป็นห้องนอน ของพ่อ และแม่ ของฉัน ถัดมาก็เป็นส่วนของห้องนอนเด็กๆ
    และสุดท้ายก็เป็น ส่วนของห้องน้ำ

    คงจะงงแล้วสิว่าห้องครัวอยู่ตรงไหน มันอยู่ชั้นล่างครับ ไม่ผิดแน่ครับ ชั้นล่างแน่นอน !
    อ้าว ไหนบอกว่าเป็นบ้านชั้นเดียวไงหละ!!!

        คือมันเป็นอย่างนี้ บังเอิญว่า บ้านหลังนี้อยู่ริมแม่น้ำ ดังนั้น ตัวบ้านจริงๆเป็นบ้านชั้นเดียว แต่มีการต่อเติม บนส่วนของตลิ่ง นานวันเข้าเลยกลายเป็นส่วนถาวร ของบ้านไป ชั้นล่างนี้แหละ เป็นส่วนครัว และส่วนเก็บอุปกรณ์ และผลิตผลทางการเกษตร

         ส่วนพื้นที่ใช้สอยนี้ ในส่วนตัวของฉันคิดว่า บ้านที่อยู่ริมน้ำน่าจะมีแทบทุกบ้าน เหตุเพราะว่าหลังผ่านฤดูน้ำหลากแล้ว ช่วงน้ำลด น้ำจะพาเอาดินที่อุดม มาทับถมที่ตลิ่ง แล้วตลิ่งแถวบ้านฉันก็เป็นตลิ่งที่ค่อนข้างกว้าง หลังช่วงออกพรรษาแล้ว ลมหนาวเริ่มโชยมาก็จะเห็นชาวบ้านลงไปทำสวน ปลูกผัก กันอยู่ครึกโครม ซึ่งบ้านของฉันก็รวมอยู่ในนั้นด้วย.....
    สมัยที่ผมยังเด็ก...    บ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ริมน้ำสายใหญ่ เป็นบ้านไม้ที่ทีอายุร่วม 80 ปี ด้านหน้าบ้าน ติดถนนเลียบริมนำ้ หันไปทางทิศ ตะวันตก ส่วนหลังบ้าน ติดแม่นำสายใหญ่ และแน่นอน ฉันเองก็เติบโตขึ้นมา ในบ้านหลังนี้ ครอบครัวของเราอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มานาน ตั้งแต่อาก๋ง อาม่า รวมถึงพ่อ แม่ และพี่น้องของฉันด้วย มันเป็นบ้านไม้ ชั้นเดียวเป็นเรื่องปกติที่ บ้านไม้อายุขนาดนี้ คงไม่มีการจัดแบ่ง พื้นที่ใช้สอยได้ดีนัก ตัวบ้านแบ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเป็นโถง ขนาดพอสมควร ซึ่งปัจจุบัน คงจะเรียกกันตามภาษาฝรั่งว่า ลิฟวิ่งรูม ก็คงจะำงบึได้ แต่เอาเถอะไม่ว่าจะเรียกอย่างไร มันก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของฉันมาตลอด 10 กว่าปี ของการเติบโตในบ้านหลังนั้น แต่น่าจะเป็นเรื่องตลกที่บ้านโบราณจะมี ลิฟวิ่งรูม ชิ้นที่2 เนื่องจากว่าพื้นที่ๆถัดจากโถง ลงไป1 ก้าว มันเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ชิ้นที่ 2 พวกเราได้ใช้พื้นที่นี้ เป็นส่วนทานอาหาร สำหรับอาม่าใช้เป็น ห้องสมุด และสำหรับแม่ มันกลายเป็น พื้นที่เย็บปักถักร้อย และทำงานอื่นๆ พูดถึงพื้นที่ทานอาหารแล้ว น่าจะเป็นส่วนรับประทานอาหารที่สวยที่สุดในโลก...    เพราะทุกมื้อเช้าของพวกเราจะต้องทานอาหารเช้าไปพร้อมกับ แสงอ่อนๆของอาทิตย์ยามเช้า แต่ อาจจะเป็นเพราะว่าฉันยังเด็ก เกินกว่าจะมองเห็นความสวยงามของธรรมชาติ ฉันเองกลับคิดว่า มันแย่จังที่มีแสงแดดมาแยงตายามเช้าและมันยังร้อนมากอีกด้วย... สุดพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นหน้าต่างกระจก กรอบบานเป็นไม้ วางเรียงกันไปตลอดแนวของตัวบ้าน และส่วนริมหน้าต่างนี่เอง ถ้ามองออกไปที่หน้าต่างจะมองเห็น แม่น้ำสายใหญ่ ถัดจากหน้าต่างออกไป จะเป็นส่วนของระเบียง ซึ่งกลายเป็น สวนดอกไม้ลอยฟ้า ของอาม่าฉันเอง ภายในตัวบ้าน ด้านซ้ายมือของทางเดินจะเป็นส่วนที่ฉัน หวาดกลัวที่สุด ฉันเรียกมันว่า ห้องมืด จริงๆแล้วมันก็เป็นแค่ ห้อง อย่าเรียกว่า ห้องดีกว่า น่าจะเป็นพื้นที่เก็บของ เพียงแต่ว่าทุกครั้งที่ ฉันได้เข้าไปนั้น น้อยครั้งเหลือเกินที่จะมีการเปิดไฟส่องสว่าง ทำให้ในความรู้สึกของเด็กน้อยอย่างฉัน รู้สึกหวาดกลัวทุกครั้งที่เฉียดใกล้ ถ้าเดินผ่านส่วนห้องมืดไป ติดกันนั้นจะเป็นห้องนอนของอาม่า ซึ่งยาวไปจนสุดตัวบ้านติดริมน้ำแต่ แต่ห้องอาม่าจะถูกแบ่งช่วงสุดท้ายเป็นห้องเก็บของเล็กๆจะมีตู้กับข้าว อาหารแห้ง และเป็นพื้นที่ทางสัญจร ไปที่ที่สำหรับตากผ้า ริมหน้าต่าง และยังมีส่วนของห้องนอนแม่บ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องมืด ทางด้านขวา ของตัวบ้านส่วนแรกจะเป็น ห้องเก็บของ(อีกแล้ว) ซึ่งแต่เดิม ห้องส่วนนี้ เคยเป็นห้องนอนของ บีเอ 2 ห้อง แล้วต่อมาก็เลยกลายมาเป็นห้องเก็บของ เข้ามาก็เป็นห้องนอน ของพ่อ และแม่ ของฉัน ถัดมาก็เป็นส่วนของห้องนอนเด็กๆ และสุดท้ายก็เป็น ส่วนของห้องน้ำ คงจะงงแล้วสิว่าห้องครัวอยู่ตรงไหน มันอยู่ชั้นล่างครับ ไม่ผิดแน่ครับ ชั้นล่างแน่นอน ! อ้าว ไหนบอกว่าเป็นบ้านชั้นเดียวไงหละ!!!     คือมันเป็นอย่างนี้ บังเอิญว่า บ้านหลังนี้อยู่ริมแม่น้ำ ดังนั้น ตัวบ้านจริงๆเป็นบ้านชั้นเดียว แต่มีการต่อเติม บนส่วนของตลิ่ง นานวันเข้าเลยกลายเป็นส่วนถาวร ของบ้านไป ชั้นล่างนี้แหละ เป็นส่วนครัว และส่วนเก็บอุปกรณ์ และผลิตผลทางการเกษตร      ส่วนพื้นที่ใช้สอยนี้ ในส่วนตัวของฉันคิดว่า บ้านที่อยู่ริมน้ำน่าจะมีแทบทุกบ้าน เหตุเพราะว่าหลังผ่านฤดูน้ำหลากแล้ว ช่วงน้ำลด น้ำจะพาเอาดินที่อุดม มาทับถมที่ตลิ่ง แล้วตลิ่งแถวบ้านฉันก็เป็นตลิ่งที่ค่อนข้างกว้าง หลังช่วงออกพรรษาแล้ว ลมหนาวเริ่มโชยมาก็จะเห็นชาวบ้านลงไปทำสวน ปลูกผัก กันอยู่ครึกโครม ซึ่งบ้านของฉันก็รวมอยู่ในนั้นด้วย.....
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 371 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม