กฎหมายต้องรู้
กฎหมายต้องรู้
กฎหมายไทย ที่ควรรู้
  • 11 คนติดตามเรื่องนี้
  • 3 โพสต์
  • 3 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • การศึกษา
  • นิติศาสตรบัณฑิต , เนติบัณฑิต ⚖️🩷💛🩵💙💜🇹🇭
อัปเดตล่าสุด
  • ● ฉ้อโกง กับ ฉ้อโกงประชาชน ●

    ¤ ฉ้อโกง ¤
    • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่หกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    ▪︎ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ : องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงคือ (1) การหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหลงเชื่อจึงได้มอบทรัพย์สินให้ แล้วตนเองได้ทรัพย์สินดังกล่าวไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ก็จะครบองค์ประกอบความผิด ของมาตรานี้แล้ว โดยผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามไม่ต้องถูกบังคับแต่อย่างใด(เต็มใจให้ แต่การเต็มใจให้นั้นก็เพราะถูกหลอกลวง)

    (2) การหลอกลวงให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ เมื่อผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามได้กระทำ อย่างหนึ่งอย่างใด(ทำ,ถอน,ทำลาย) ความผิดจะสำเร็จทันทีเพราะได้มีการกระทำครบองค์ประกอบของความผิดแล้ว
    -เอกสารสิทธิคืออะไร ให้ดูคำนิยามใน [ป.อ.มาตรา ๑(๙)"เอกสารสิทธิ"หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ]
    ตัวอย่างเช่น สัญญากู้ยืม , สัญญาจ้าง , สัญญาซื้อขาย , สัญญาจำนอง เป็นต้น

    ¤ ฉ้อโกงประชาชน ¤
    • มาตรา ๓๔๓ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ▪︎ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ : ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๓๔๓ จะมีโทษหนักขึ้นกว่าฉ้อโกงทั่วไป และเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ หรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายไม่ได้ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจรู้หรือเห็นว่ามีการกระทำความผิด ตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้
    เช่น พวกแชร์ลูกโซ่ต่างๆ หรือการหลอกลวงต่างๆ แต่ทำให้มีผู้เสียหายจำนวนมาก เช่น จำเลยไม่ใช่แพทย์ แต่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปว่ารักษาโรคได้หลายชนิด เมื่อมีคนมาสอบถาม จำเลยก็พูดยืนยันว่าสามารถรักษาโรคต่างๆให้หายได้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากมารักษาและเสียค่ารักษาให้แก่จำเลย / จำเลยประกาศรับสมัครงานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งไม่มีตำแหน่งงานดังกล่าวจริง เมื่อมีคนมาสอบถาม จำเลยยืนยันว่ามีงานจริง ผู้คนจึงสมัครเสียเงินไปทำงานด้วยเป็นจำนวนมาก ก็เป็นความผิดฉ้อโกงประชาชนแล้ว เป็นต้น
    ● ฉ้อโกง กับ ฉ้อโกงประชาชน ● ¤ ฉ้อโกง ¤ • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่หกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ▪︎ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ : องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงคือ (1) การหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหลงเชื่อจึงได้มอบทรัพย์สินให้ แล้วตนเองได้ทรัพย์สินดังกล่าวไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ก็จะครบองค์ประกอบความผิด ของมาตรานี้แล้ว โดยผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามไม่ต้องถูกบังคับแต่อย่างใด(เต็มใจให้ แต่การเต็มใจให้นั้นก็เพราะถูกหลอกลวง) (2) การหลอกลวงให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ เมื่อผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามได้กระทำ อย่างหนึ่งอย่างใด(ทำ,ถอน,ทำลาย) ความผิดจะสำเร็จทันทีเพราะได้มีการกระทำครบองค์ประกอบของความผิดแล้ว -เอกสารสิทธิคืออะไร ให้ดูคำนิยามใน [ป.อ.มาตรา ๑(๙)"เอกสารสิทธิ"หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ] ตัวอย่างเช่น สัญญากู้ยืม , สัญญาจ้าง , สัญญาซื้อขาย , สัญญาจำนอง เป็นต้น ¤ ฉ้อโกงประชาชน ¤ • มาตรา ๓๔๓ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ▪︎ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ : ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๓๔๓ จะมีโทษหนักขึ้นกว่าฉ้อโกงทั่วไป และเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ หรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายไม่ได้ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจรู้หรือเห็นว่ามีการกระทำความผิด ตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้ เช่น พวกแชร์ลูกโซ่ต่างๆ หรือการหลอกลวงต่างๆ แต่ทำให้มีผู้เสียหายจำนวนมาก เช่น จำเลยไม่ใช่แพทย์ แต่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปว่ารักษาโรคได้หลายชนิด เมื่อมีคนมาสอบถาม จำเลยก็พูดยืนยันว่าสามารถรักษาโรคต่างๆให้หายได้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากมารักษาและเสียค่ารักษาให้แก่จำเลย / จำเลยประกาศรับสมัครงานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งไม่มีตำแหน่งงานดังกล่าวจริง เมื่อมีคนมาสอบถาม จำเลยยืนยันว่ามีงานจริง ผู้คนจึงสมัครเสียเงินไปทำงานด้วยเป็นจำนวนมาก ก็เป็นความผิดฉ้อโกงประชาชนแล้ว เป็นต้น
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 80 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 17 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 17 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม