โยนหินถามทาง ยกเลิกจำกัดขายเหล้า
ในประเทศไทยจำกัดการจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ให้จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. 2. งดจำหน่ายในวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา ก่อนที่จะแก้ไขโดยเพิ่มวันออกพรรษา ยกเว้นดิวตี้ฟรีในสนามบิน 3. ห้ามขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน ถึงเวลา 18.00 น. ของวันเลือกตั้ง
แต่ล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนข้อจำกัดทางกฎหมายในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอ้างว่าได้รับข้อร้องเรียนจากภาคธุรกิจหลายกลุ่มว่าเป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและไม่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงสั่งการให้ศึกษาเพิ่มเติม ทั้งการห้ามขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกรณีติดขัดข้อจำกัดด้านการควบคุมพื้นที่โซนนิ่ง และกฎบางประการออกมาตั้งแต่ช่วงโควิดหรือตั้งแต่ปี 2515
"อย่างวันพระใหญ่ หรือวันอะไรที่เราเป็นข้อห้ามอยู่ ชาวต่างชาติที่มาเขาไม่ได้ทราบวันเหล่านี้ก่อน และจะมีผลเรื่องการท่องเที่ยว เรามองว่าในธีมปีนี้เป็นปีของการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องถูกพิจารณาอีกครั้ง" น.ส.แพทองธาร ระบุ
สอดรับกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ระบุว่า นายกฯ มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าว ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มท. คือกรมการปกครอง ต้องไปดูภาพรวม โดยเฉพาะการจัดโซนนิ่ง เพราะครั้งนี้เกี่ยวกับการแก้ พ.ร.บ.ด้วย อีกทั้งต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่และดื่มไม่ขับ ถ้าจะปรับการแก้ไขกฎหมายต้องมีบทลงโทษที่รุนแรง เช่น หากกลางวันตรวจพบต้องมีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น
กระแสการแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว เป็นที่จับตามองจากเครือข่ายงดเหล้า ตั้งคำถามว่าที่นักท่องเที่ยวคิดว่าการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วงวันพระใหญ่หรือช่วงบ่าย 2 จึงตัดสินใจไม่มาไทยคงไม่ใช่ เพราะทุกวันนี้นักท่องเที่ยวยังเข้ามาและมากขึ้นเกือบจะเท่าก่อนโควิด แต่มาตรการยังเหมือนเดิม พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าอาจต้องการทำให้การขายการดื่มสะดวกมากขึ้น ท้ายสุดคือการเพิ่มจำนวนการดื่มและนักดื่มมากขึ้น เอื้อให้กับผู้ประกอบการหรือไม่ เพราะอันตรายที่แฝงมารัฐบาลก่อนจึงต้องจำกัดหรือควบคุม การที่นายกฯ ให้ไปศึกษานับว่ายังให้เวลาชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย เชื่อว่าหากศึกษาอย่างรอบด้านรัฐบาลควรตัดสินใจอย่างเที่ยงตรงตามหลักวิชาการอย่างแท้จริง
#Newskit
ในประเทศไทยจำกัดการจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ให้จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. 2. งดจำหน่ายในวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา ก่อนที่จะแก้ไขโดยเพิ่มวันออกพรรษา ยกเว้นดิวตี้ฟรีในสนามบิน 3. ห้ามขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน ถึงเวลา 18.00 น. ของวันเลือกตั้ง
แต่ล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนข้อจำกัดทางกฎหมายในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอ้างว่าได้รับข้อร้องเรียนจากภาคธุรกิจหลายกลุ่มว่าเป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและไม่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงสั่งการให้ศึกษาเพิ่มเติม ทั้งการห้ามขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกรณีติดขัดข้อจำกัดด้านการควบคุมพื้นที่โซนนิ่ง และกฎบางประการออกมาตั้งแต่ช่วงโควิดหรือตั้งแต่ปี 2515
"อย่างวันพระใหญ่ หรือวันอะไรที่เราเป็นข้อห้ามอยู่ ชาวต่างชาติที่มาเขาไม่ได้ทราบวันเหล่านี้ก่อน และจะมีผลเรื่องการท่องเที่ยว เรามองว่าในธีมปีนี้เป็นปีของการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องถูกพิจารณาอีกครั้ง" น.ส.แพทองธาร ระบุ
สอดรับกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ระบุว่า นายกฯ มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าว ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มท. คือกรมการปกครอง ต้องไปดูภาพรวม โดยเฉพาะการจัดโซนนิ่ง เพราะครั้งนี้เกี่ยวกับการแก้ พ.ร.บ.ด้วย อีกทั้งต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่และดื่มไม่ขับ ถ้าจะปรับการแก้ไขกฎหมายต้องมีบทลงโทษที่รุนแรง เช่น หากกลางวันตรวจพบต้องมีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น
กระแสการแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว เป็นที่จับตามองจากเครือข่ายงดเหล้า ตั้งคำถามว่าที่นักท่องเที่ยวคิดว่าการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วงวันพระใหญ่หรือช่วงบ่าย 2 จึงตัดสินใจไม่มาไทยคงไม่ใช่ เพราะทุกวันนี้นักท่องเที่ยวยังเข้ามาและมากขึ้นเกือบจะเท่าก่อนโควิด แต่มาตรการยังเหมือนเดิม พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าอาจต้องการทำให้การขายการดื่มสะดวกมากขึ้น ท้ายสุดคือการเพิ่มจำนวนการดื่มและนักดื่มมากขึ้น เอื้อให้กับผู้ประกอบการหรือไม่ เพราะอันตรายที่แฝงมารัฐบาลก่อนจึงต้องจำกัดหรือควบคุม การที่นายกฯ ให้ไปศึกษานับว่ายังให้เวลาชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย เชื่อว่าหากศึกษาอย่างรอบด้านรัฐบาลควรตัดสินใจอย่างเที่ยงตรงตามหลักวิชาการอย่างแท้จริง
#Newskit
โยนหินถามทาง ยกเลิกจำกัดขายเหล้า
ในประเทศไทยจำกัดการจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ให้จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. 2. งดจำหน่ายในวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา ก่อนที่จะแก้ไขโดยเพิ่มวันออกพรรษา ยกเว้นดิวตี้ฟรีในสนามบิน 3. ห้ามขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน ถึงเวลา 18.00 น. ของวันเลือกตั้ง
แต่ล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนข้อจำกัดทางกฎหมายในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอ้างว่าได้รับข้อร้องเรียนจากภาคธุรกิจหลายกลุ่มว่าเป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและไม่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงสั่งการให้ศึกษาเพิ่มเติม ทั้งการห้ามขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกรณีติดขัดข้อจำกัดด้านการควบคุมพื้นที่โซนนิ่ง และกฎบางประการออกมาตั้งแต่ช่วงโควิดหรือตั้งแต่ปี 2515
"อย่างวันพระใหญ่ หรือวันอะไรที่เราเป็นข้อห้ามอยู่ ชาวต่างชาติที่มาเขาไม่ได้ทราบวันเหล่านี้ก่อน และจะมีผลเรื่องการท่องเที่ยว เรามองว่าในธีมปีนี้เป็นปีของการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องถูกพิจารณาอีกครั้ง" น.ส.แพทองธาร ระบุ
สอดรับกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ระบุว่า นายกฯ มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าว ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มท. คือกรมการปกครอง ต้องไปดูภาพรวม โดยเฉพาะการจัดโซนนิ่ง เพราะครั้งนี้เกี่ยวกับการแก้ พ.ร.บ.ด้วย อีกทั้งต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่และดื่มไม่ขับ ถ้าจะปรับการแก้ไขกฎหมายต้องมีบทลงโทษที่รุนแรง เช่น หากกลางวันตรวจพบต้องมีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น
กระแสการแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว เป็นที่จับตามองจากเครือข่ายงดเหล้า ตั้งคำถามว่าที่นักท่องเที่ยวคิดว่าการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วงวันพระใหญ่หรือช่วงบ่าย 2 จึงตัดสินใจไม่มาไทยคงไม่ใช่ เพราะทุกวันนี้นักท่องเที่ยวยังเข้ามาและมากขึ้นเกือบจะเท่าก่อนโควิด แต่มาตรการยังเหมือนเดิม พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าอาจต้องการทำให้การขายการดื่มสะดวกมากขึ้น ท้ายสุดคือการเพิ่มจำนวนการดื่มและนักดื่มมากขึ้น เอื้อให้กับผู้ประกอบการหรือไม่ เพราะอันตรายที่แฝงมารัฐบาลก่อนจึงต้องจำกัดหรือควบคุม การที่นายกฯ ให้ไปศึกษานับว่ายังให้เวลาชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย เชื่อว่าหากศึกษาอย่างรอบด้านรัฐบาลควรตัดสินใจอย่างเที่ยงตรงตามหลักวิชาการอย่างแท้จริง
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
7 มุมมอง
0 รีวิว