• หลวงปู่ทวด วัดเกาะเพชร จ.นครศรีธรรมราช ปี2551
    หลวงปู่ทวด เนื้อมหาว่าน พิมพ์ใหญ่ วัดเกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ปี2551 //พระดีพิธีใหญ่ เกจิร่วมปลุกเสก 108 องค์ พระมีประสบการณ์.. //พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ

    ** พุทธคุณ "แคล้วคาดปลอดภัย มหาอุด" เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม ดีนัก.กันเสนียดจัญไร เป็นมหามงคลและสุดยอดนิรันตราย >>

    พระดีพิธีใหญ่ พุทธคุณไม่แพ้รุ่นแพงๆ จัดสร้าง โดย วัดเกาะเพชร อ.หัวไทรจ.นครศรีธรรมราช เกจิร่วมปลุกเสก 108 องค์ เพื่อหาเงินสร้าง ศาลา หลวงปู่ทวด เพื่อประดิษฐฐานรูปเหมือน หลวงปู่ทวด วัดเกาะเพชร เป็นสถานที่ ที่หลวงปู่ทวดเคยจาริกผ่านตอนที่ท่านเดินธูดงค์กลับจากอยุธยาเพื่อกลับวัดพะโค๊ะ พิธีกรรม ฝ่าย ฆราวาส คือ อ.ประจวบ คงเหลือ ปลุกเสกโดย คณาจารย์สายใต้
    #พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน จุดเทียนชัย #พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี ดับเทียนชัย

    #รายนามคณาจารย์ร่วมปลุกเสก
    #จังหวัดนครศรีธรรมราช
    1. พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน 2.พ่อท่านพุ่ม สำนักสงฆ์ดอยเจดีย์ 3. อ.หรั่ง วัดห้วยเต็ง 4. อ.สมนึก วัดหรงบน 5.อ.สิทธิ สำนักสงฆ์ปอมทอง
    #จังหวัดปัตตานี
    1.พระอาจารย์จ่าง วัดศรีมหาโพธิ์ ปัตตานี 2.พระอาจารย์แดง วัดไร่ ปัตตานี
    #จังหวัดชุมพร
    1. หลวงพ่อชม นิ้วเพชร วัดปากน้ำละแม จ.ชุมพร 2. พระอาจารย์ชุม วัดทุ่งคาประชาธรรม 3.หลวงพ่อดำ วัดบางดวด
    #จังหวัดสงขลา
    1. หลวงปู่หวาน วัดสะบ้าย้อย 2. อาจารย์ภัตร วัดนาทวี 3.พระครูธรรมธรชาญชัย วัดพะโค๊ะ
    #จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    1.พ่อท่านท้วม วัดศรีสุวรรณ 2. หลวงพ่อชูชาติ วัดท่าไทร 3. พระอาจารย์ทอง วัดสถลธรรมาราม 4.พ่อท่านจ่าง วัดวัดน้ำรอบ
    #จังหวัดพัทลุง
    1.พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม 2.พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน 3.พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง 4.พ่อท่านเงิน วัดโพรงงู 5.อ.อุทัย วัดวิหารสูง 6.อ.รรรศิริ วัดบ้านสวน 7.อ.เถียร วัดโคกโดน 8.หลวงพ่อเหวียน วัดพิกุลทอง
    #จังหวัดตรังตรัง
    1.อ.พล วัดเขาห้วยแห้ง 2. อ.ประสูติ วัดในเตา

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    หลวงปู่ทวด วัดเกาะเพชร จ.นครศรีธรรมราช ปี2551 หลวงปู่ทวด เนื้อมหาว่าน พิมพ์ใหญ่ วัดเกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ปี2551 //พระดีพิธีใหญ่ เกจิร่วมปลุกเสก 108 องค์ พระมีประสบการณ์.. //พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ ** พุทธคุณ "แคล้วคาดปลอดภัย มหาอุด" เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม ดีนัก.กันเสนียดจัญไร เป็นมหามงคลและสุดยอดนิรันตราย >> พระดีพิธีใหญ่ พุทธคุณไม่แพ้รุ่นแพงๆ จัดสร้าง โดย วัดเกาะเพชร อ.หัวไทรจ.นครศรีธรรมราช เกจิร่วมปลุกเสก 108 องค์ เพื่อหาเงินสร้าง ศาลา หลวงปู่ทวด เพื่อประดิษฐฐานรูปเหมือน หลวงปู่ทวด วัดเกาะเพชร เป็นสถานที่ ที่หลวงปู่ทวดเคยจาริกผ่านตอนที่ท่านเดินธูดงค์กลับจากอยุธยาเพื่อกลับวัดพะโค๊ะ พิธีกรรม ฝ่าย ฆราวาส คือ อ.ประจวบ คงเหลือ ปลุกเสกโดย คณาจารย์สายใต้ #พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน จุดเทียนชัย #พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี ดับเทียนชัย #รายนามคณาจารย์ร่วมปลุกเสก #จังหวัดนครศรีธรรมราช 1. พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน 2.พ่อท่านพุ่ม สำนักสงฆ์ดอยเจดีย์ 3. อ.หรั่ง วัดห้วยเต็ง 4. อ.สมนึก วัดหรงบน 5.อ.สิทธิ สำนักสงฆ์ปอมทอง #จังหวัดปัตตานี 1.พระอาจารย์จ่าง วัดศรีมหาโพธิ์ ปัตตานี 2.พระอาจารย์แดง วัดไร่ ปัตตานี #จังหวัดชุมพร 1. หลวงพ่อชม นิ้วเพชร วัดปากน้ำละแม จ.ชุมพร 2. พระอาจารย์ชุม วัดทุ่งคาประชาธรรม 3.หลวงพ่อดำ วัดบางดวด #จังหวัดสงขลา 1. หลวงปู่หวาน วัดสะบ้าย้อย 2. อาจารย์ภัตร วัดนาทวี 3.พระครูธรรมธรชาญชัย วัดพะโค๊ะ #จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1.พ่อท่านท้วม วัดศรีสุวรรณ 2. หลวงพ่อชูชาติ วัดท่าไทร 3. พระอาจารย์ทอง วัดสถลธรรมาราม 4.พ่อท่านจ่าง วัดวัดน้ำรอบ #จังหวัดพัทลุง 1.พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม 2.พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน 3.พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง 4.พ่อท่านเงิน วัดโพรงงู 5.อ.อุทัย วัดวิหารสูง 6.อ.รรรศิริ วัดบ้านสวน 7.อ.เถียร วัดโคกโดน 8.หลวงพ่อเหวียน วัดพิกุลทอง #จังหวัดตรังตรัง 1.อ.พล วัดเขาห้วยแห้ง 2. อ.ประสูติ วัดในเตา ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 130 มุมมอง 0 รีวิว
  • 77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา

    📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม

    หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้

    🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

    📌 ภารกิจของหะยีสุหลง
    ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก
    ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา
    ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย

    แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย

    📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้

    📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง
    1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง
    2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80%
    3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
    5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา
    6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น
    7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม

    💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ"

    ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี
    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ

    หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม

    🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497
    หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา

    ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป...
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า

    เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ

    🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้

    📌 ผลกระทบที่สำคัญ
    ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย
    ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น
    ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

    แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม

    📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎

    ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้
    ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์
    ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ

    📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568

    #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 136 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทีมผู้พันวิทย์ อว. โดยกรมวิทย์ฯบริการ เร่งดำเนินการด้านน้ำดื่มสะอาดเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดปัตตานี
    https://www.thai-tai.tv/news/17124/
    ทีมผู้พันวิทย์ อว. โดยกรมวิทย์ฯบริการ เร่งดำเนินการด้านน้ำดื่มสะอาดเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดปัตตานี https://www.thai-tai.tv/news/17124/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 52 มุมมอง 0 รีวิว
  • งานทอดกฐินวัดนิคมควนเปลอ.โคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี
    งานทอดกฐินวัดนิคมควนเปลอ.โคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 506 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • บรรยากาศจังหวัดปัตตานี
    บรรยากาศจังหวัดปัตตานี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 166 มุมมอง 0 รีวิว
  • บรรยากาศจังหวัดปัตตานี
    บรรยากาศจังหวัดปัตตานี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ภูมิธรรม'ท่องสคริปเป๊ะ รัฐบาลทำเต็มที่ คดีตากใบจบแล้ว
    .
    สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังเป็นที่จับตามองอีกครั้ง ภายหลังอายุคดีการสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หมดอายุความ ทำให้ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องขึ้นศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
    .
    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า สถานการณ์ในพื้นที่เป็นเรื่องที่มีความกังวลตั้งแต่ต้นมาโดยตลอด เพราะสถานการณ์ความรุนแรงยังไม่จบ ทั้งท่าทีที่ฝ่ายรัฐบาลได้พยายามจบคดีนี้ตั้งแต่แรก และใช้เวลา 4-5 ปีในการติดตามแก้ไขปัญหา
    .
    "ส่วนที่บอกว่ารัฐบาลไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้มีกระบวนการยุติธรรม ยืนยันว่ารัฐบาลมีกระบวนการยุติธรรม อย่างที่ตนเคยบอกว่า เคยนำคดีเข้าสู่ศาลฯ อย่างน้อย 4 คดี เพราะฉะนั้นกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำมา ก็ได้ทำมาอย่างยาวนาน และที่ศาลฯ ได้ตัดสินในช่วง 5 ปีแรกจนถึงตอนนี้ผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี ไม่เคยมีการหยิบหยก ทั้ง ๆ ที่ผ่านมาแล้วหลายรัฐบาล แต่เหตุการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเสียใจกับเรื่องที่ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ และไม่สามารถออก พ.ร.ก.แก้ไขอายุความ ตามที่มีหลายฝ่ายเสนอมาได้"
    .
    นายภูมิธรรม ย้ำว่า ได้ให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง อย่าให้มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก และไม่ใช่เรื่องที่จะไปคาดการณ์ให้เลวร้ายที่สุด แต่เราดูแลป้องกันตลอดอยู่แล้ว เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของแต่ละฝ่าย เห็นพูดกันในสภาฯ ว่ามีคนเสียชีวิตกว่า 700 กว่าคน แต่ความจริงมีเพียง 70 กว่าคน ถ้าจะนำคนเสียชีวิต 700 กว่าคน ซึ่งต้องนับรวมทหารที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย หากจะพูดกันแบบตรงไปตรงมา เรื่องนี้ถือว่า จบแล้ว
    .
    ขณะที่ การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่นั้นเริ่มมีการปรับแนวทางการทำงานเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อกรณีคดีตากใบ เชื่อมโยงกรณีตากใบอีก
    พันตำรวจเอก ประยงค์ โคตรสาขา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ยกระดับคุมเข้ม4มุมเมือง ด่านทุกปรากการมีการตรวจ จยย. และรถยนต์ที่เข้าออกปัตตานี ร่วมถึงตรวจบุคคลที่มีรายชื่ออยู่สารระบบ หวั่นคนร้ายก่อเหตุในช่วงระหว่างนี้ หลังหน่วยความมั่นคงทราบว่ามีการนำอาวุธ และระเบิดพักค่อยเตรียมก่อเหตุอีกครั้งในพื้นที่
    .
    นอกจากนี้ ภายหลังเกิดกรณีคนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์ หน้า สภ.อ.ปะนาเระ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด่วน ประกอบด้วย ผกก.ปะนาเระ รองสืบสวน 3 นาย รองฝ่ายป้องกันปราบปราม อ.ปะนาเระ 2 นาย
    ..............
    Sondhi X
    'ภูมิธรรม'ท่องสคริปเป๊ะ รัฐบาลทำเต็มที่ คดีตากใบจบแล้ว . สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังเป็นที่จับตามองอีกครั้ง ภายหลังอายุคดีการสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หมดอายุความ ทำให้ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องขึ้นศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม . นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า สถานการณ์ในพื้นที่เป็นเรื่องที่มีความกังวลตั้งแต่ต้นมาโดยตลอด เพราะสถานการณ์ความรุนแรงยังไม่จบ ทั้งท่าทีที่ฝ่ายรัฐบาลได้พยายามจบคดีนี้ตั้งแต่แรก และใช้เวลา 4-5 ปีในการติดตามแก้ไขปัญหา . "ส่วนที่บอกว่ารัฐบาลไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้มีกระบวนการยุติธรรม ยืนยันว่ารัฐบาลมีกระบวนการยุติธรรม อย่างที่ตนเคยบอกว่า เคยนำคดีเข้าสู่ศาลฯ อย่างน้อย 4 คดี เพราะฉะนั้นกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำมา ก็ได้ทำมาอย่างยาวนาน และที่ศาลฯ ได้ตัดสินในช่วง 5 ปีแรกจนถึงตอนนี้ผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี ไม่เคยมีการหยิบหยก ทั้ง ๆ ที่ผ่านมาแล้วหลายรัฐบาล แต่เหตุการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเสียใจกับเรื่องที่ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ และไม่สามารถออก พ.ร.ก.แก้ไขอายุความ ตามที่มีหลายฝ่ายเสนอมาได้" . นายภูมิธรรม ย้ำว่า ได้ให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง อย่าให้มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก และไม่ใช่เรื่องที่จะไปคาดการณ์ให้เลวร้ายที่สุด แต่เราดูแลป้องกันตลอดอยู่แล้ว เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของแต่ละฝ่าย เห็นพูดกันในสภาฯ ว่ามีคนเสียชีวิตกว่า 700 กว่าคน แต่ความจริงมีเพียง 70 กว่าคน ถ้าจะนำคนเสียชีวิต 700 กว่าคน ซึ่งต้องนับรวมทหารที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย หากจะพูดกันแบบตรงไปตรงมา เรื่องนี้ถือว่า จบแล้ว . ขณะที่ การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่นั้นเริ่มมีการปรับแนวทางการทำงานเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อกรณีคดีตากใบ เชื่อมโยงกรณีตากใบอีก พันตำรวจเอก ประยงค์ โคตรสาขา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ยกระดับคุมเข้ม4มุมเมือง ด่านทุกปรากการมีการตรวจ จยย. และรถยนต์ที่เข้าออกปัตตานี ร่วมถึงตรวจบุคคลที่มีรายชื่ออยู่สารระบบ หวั่นคนร้ายก่อเหตุในช่วงระหว่างนี้ หลังหน่วยความมั่นคงทราบว่ามีการนำอาวุธ และระเบิดพักค่อยเตรียมก่อเหตุอีกครั้งในพื้นที่ . นอกจากนี้ ภายหลังเกิดกรณีคนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์ หน้า สภ.อ.ปะนาเระ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด่วน ประกอบด้วย ผกก.ปะนาเระ รองสืบสวน 3 นาย รองฝ่ายป้องกันปราบปราม อ.ปะนาเระ 2 นาย .............. Sondhi X
    Sad
    Like
    Love
    Haha
    Angry
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1175 มุมมอง 0 รีวิว
  • บาดแผลคดีตากใบ ไม่มีวันหมดอายุ

    ในที่สุดคดีสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 หมดอายุความแล้ว หลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา (26 ต.ค.) หลังจากที่ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดนำตัวผู้ต้องหาที่มีทั้งหมด 7 ราย ส่งให้ศาลจังหวัดนราธิวาส แม้แต่ศาลในพื้นที่ทุกจังหวัด ที่มีช่องทางรับตัวโดยมีสักขีพยานสอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็ไม่มีรายงานว่ามีการส่งตัวจำเลยแต่อย่างใด

    แม้การหมดอายุความของคดีตากใบ จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงที่เคยอยู่ในเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีก่อน รวมทั้งคนในรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บางคนโล่งใจที่ไม่ถูกเช็กบิล แต่ยังต้องเฝ้าระวังการก่อเหตุรุนแรง ที่เกิดจากความแค้นในคดีดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้ก็มีเหตุลอบวางระเบิดทหารพรานที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และเหตุคาร์บอมบ์ที่ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี

    พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงต่างๆ เฝ้าติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวในพื้นที่ ยกระดับควบคุมพื้นที่มาตรการสูงสุด ส่วน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยังคงให้ข่าวว่า เหตุการณ์ตากใบเป็นการกระทำของกลุ่มขบวนการที่วางแผนปลุกปั่นอย่างดี และเจ้าหน้าที่มีความผิดพลาดในการควบคุมตัว

    รายงานข่าวจากศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา ระบุว่า คลิปเหตุการณ์ตากใบถูกเผยแพร่ตามสื่อโซเชียลฯ จำนวนมาก ทำให้เยาวชนในพื้นที่แม้จะเกิดไม่ทัน แต่ก็ได้ดูคลิปเหตุการณ์ด้วย ซึ่งแต่ละคนรู้สึกเจ็บใจมาก รุ่นตนต้องไม่เกิดขึ้นอีก ต้องเอาคนผิดมาลงโทษให้ถึงที่สุด ชาวบ้านจะได้รับความเป็นธรรม บางคนดูคลิปแล้วโกรธเจ้าหน้าที่ สงสารชาวบ้านที่ถูกกระทำเช่นนั้น

    ส่วนกลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 30 คัน ออกจาก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส รวมตัวที่มัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานี ซึ่งห่างออกไป 145 กิโลเมตร เพื่อชูป้ายเรียกร้องความยุติธรรม ต่อด้วยหน้าค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี แต่ที่ สภ.ตากใบ ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ซึ่ง พ.ต.อ.ศุภชัช ณ พัทลุง ผกก.สภ.ตากใบ ใช้วิธีลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับมวลชนอย่างต่อเนื่อง

    แม้คดีตากใบจะหมดอายุความ แต่บาดแผลในอดีตของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลัง ที่เห็นเหตุการณ์ผ่านสื่อโซเชียลฯ แล้วเกิดความคับแค้นยังคงไม่หมดไป สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจเอากรณีนี้เป็นเงื่อนไขปลุกระดมมวลชน สร้างสถานการณ์ในพื้นที่อีกครั้ง

    ขณะที่การบริหารประเทศของ น.ส.แพทองธาร ที่มีผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา ก็ไม่ได้มรรคได้ผลอะไรทั้งสิ้น ประชาชนผู้บริสุทธิ์คงต้องใช้ชีวิตแบบตัวใครตัวมัน จนกว่าเรื่องราวจะเงียบหายไปกับสายลม

    #Newskit #คดีตากใบ
    บาดแผลคดีตากใบ ไม่มีวันหมดอายุ ในที่สุดคดีสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 หมดอายุความแล้ว หลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา (26 ต.ค.) หลังจากที่ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดนำตัวผู้ต้องหาที่มีทั้งหมด 7 ราย ส่งให้ศาลจังหวัดนราธิวาส แม้แต่ศาลในพื้นที่ทุกจังหวัด ที่มีช่องทางรับตัวโดยมีสักขีพยานสอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็ไม่มีรายงานว่ามีการส่งตัวจำเลยแต่อย่างใด แม้การหมดอายุความของคดีตากใบ จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงที่เคยอยู่ในเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีก่อน รวมทั้งคนในรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บางคนโล่งใจที่ไม่ถูกเช็กบิล แต่ยังต้องเฝ้าระวังการก่อเหตุรุนแรง ที่เกิดจากความแค้นในคดีดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้ก็มีเหตุลอบวางระเบิดทหารพรานที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และเหตุคาร์บอมบ์ที่ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงต่างๆ เฝ้าติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวในพื้นที่ ยกระดับควบคุมพื้นที่มาตรการสูงสุด ส่วน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยังคงให้ข่าวว่า เหตุการณ์ตากใบเป็นการกระทำของกลุ่มขบวนการที่วางแผนปลุกปั่นอย่างดี และเจ้าหน้าที่มีความผิดพลาดในการควบคุมตัว รายงานข่าวจากศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา ระบุว่า คลิปเหตุการณ์ตากใบถูกเผยแพร่ตามสื่อโซเชียลฯ จำนวนมาก ทำให้เยาวชนในพื้นที่แม้จะเกิดไม่ทัน แต่ก็ได้ดูคลิปเหตุการณ์ด้วย ซึ่งแต่ละคนรู้สึกเจ็บใจมาก รุ่นตนต้องไม่เกิดขึ้นอีก ต้องเอาคนผิดมาลงโทษให้ถึงที่สุด ชาวบ้านจะได้รับความเป็นธรรม บางคนดูคลิปแล้วโกรธเจ้าหน้าที่ สงสารชาวบ้านที่ถูกกระทำเช่นนั้น ส่วนกลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 30 คัน ออกจาก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส รวมตัวที่มัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานี ซึ่งห่างออกไป 145 กิโลเมตร เพื่อชูป้ายเรียกร้องความยุติธรรม ต่อด้วยหน้าค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี แต่ที่ สภ.ตากใบ ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ซึ่ง พ.ต.อ.ศุภชัช ณ พัทลุง ผกก.สภ.ตากใบ ใช้วิธีลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับมวลชนอย่างต่อเนื่อง แม้คดีตากใบจะหมดอายุความ แต่บาดแผลในอดีตของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลัง ที่เห็นเหตุการณ์ผ่านสื่อโซเชียลฯ แล้วเกิดความคับแค้นยังคงไม่หมดไป สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจเอากรณีนี้เป็นเงื่อนไขปลุกระดมมวลชน สร้างสถานการณ์ในพื้นที่อีกครั้ง ขณะที่การบริหารประเทศของ น.ส.แพทองธาร ที่มีผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา ก็ไม่ได้มรรคได้ผลอะไรทั้งสิ้น ประชาชนผู้บริสุทธิ์คงต้องใช้ชีวิตแบบตัวใครตัวมัน จนกว่าเรื่องราวจะเงียบหายไปกับสายลม #Newskit #คดีตากใบ
    Like
    Sad
    Angry
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 819 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุทยานอ่าวมะนาว -เขาตันหยง จ.นราธิวาส

    ตั้งอยู่หมู่ ๑ ตำบลกะลุวอเหนือ เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกันยาว ๔ กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ๆ ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
    หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติน่าเที่ยวแห่งจังหวัดนราธิวาส เพลิดเพลินกับการเที่ยวชมระบบนิเวศที่หลากหลาย ทั้งชายทะเล เนินเขาสูง พื้นที่ป่าสงวน ป่าพรุ และมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทำให้สภาพธรรมชาติมีความสมบูรณ์หลากหลาย มีการพบต้นมะนาวผี ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมาก รวมถึงสัตว์ป่าหายากหลากชนิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวสายธรรมชาติ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง

    อุทยานแห่งชาติแห่งนี้มาจากการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่บ้านบางมะนาว หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อหลายปีก่อน ทรงมีพระราชดำริให้มีการปรับปรุงด้านต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น สำนักงานป่าไม้ปัตตานีจึงได้สนองพระราชดำริดังกล่าว โดยทำการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติพิเศษ ป่าเขาตันหยง ในพื้นที่บริเวณนอกเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยานก่อนในเริ่มแรก มีเนื้อที่ประมาณ 23,278.25 ไร่ แล้วตั้งชื่อว่า วนอุทยานอ่าวมะนาว โดยกรมป่าไม้ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2536

    การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๘๔ นราธิวาส-ตากใบ ๓ กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก ๓ กิโลเมตร
    พอข้ามสะพานข้ามแม่น้ำบางนราจะมีทางเลี้ยวซ้าย เข้าไปเพียง 2.5 ม. ก็จะไปถึงแนวป่าสนร่มรื่นและชายทะเลยาวเหยียด พร้อมทั้งป้ายใหญ่โตชื่อ อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง
    ท่านจะพบบริเวณริมหาดที่มีสวนรุกขชาติ และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทาง ๑ กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (คล้ายสับปะรด) เป็นต้น และในบริเวณใกล้เคียงยังมีบ้านพักของเอกชนให้บริการ

    เขาตันหยงนั้นเป็นภูเขาเตี้ยๆ มียอดหลายยอดมีพื้นที่พอประมาณไม่สูงนัก ด้านตะวันออกของภูเขาติดชายทะเลอ่าวไทยติดชายหาด ส่วนด้านตะวันตกติดแนวถนนหมายเลข 4064 ด้านทิศใต้เป็นพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์และด้านทิศเหนือจึงเป็นที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ อ่าวมะนาว-เขาตันหยงนี่เอง
    ช่วงหน้าน้ำช่วงที่ฝนตกมาหลายวันต่อเนื่องกัน จะมีลำธารน้ำเล็กๆ ตกลงมาจากเขาตันหยงลงสู่ทะเลสองสาย กลายเป็นน้ำตกชั้นเล็กๆ คือน้ำตกธาราสวรรค์ที่ไหลลงชายหาดอ่าวมะนาวแล้วลงสูทะเล กัยน้ำตกริมผา ที่ไหลตกลงจากหน้าผาเล็กๆ ก่อนไหลเข้าหมู่บ้านแล้วออกสู่ชายทะเลด้านทศเหนือ ห่างที่ทำการอุทยานฯไปไม่ไกล

    อุทยานแหงชาติอ่าวมะนาว-ขาตันหยง ยังคงสถานภาพเป็นอุทยานเตรียมการประกาศ แต่ก็ได้รักษาดูแลสถานที่ไว้จนสวยงาม สมกับเป็นอุทยานแห่งชาติที่ใกล้กับตัวเมืองนราธิวาสที่สุด

    มานราคราววหน้า ลองมาเที่ยวเขาตันหยง-อ่าวมะนาว แล้วจะประทับใจเมืองนี้ไปอีกนาน....







    อุทยานอ่าวมะนาว -เขาตันหยง จ.นราธิวาส ตั้งอยู่หมู่ ๑ ตำบลกะลุวอเหนือ เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกันยาว ๔ กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ๆ ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติน่าเที่ยวแห่งจังหวัดนราธิวาส เพลิดเพลินกับการเที่ยวชมระบบนิเวศที่หลากหลาย ทั้งชายทะเล เนินเขาสูง พื้นที่ป่าสงวน ป่าพรุ และมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทำให้สภาพธรรมชาติมีความสมบูรณ์หลากหลาย มีการพบต้นมะนาวผี ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมาก รวมถึงสัตว์ป่าหายากหลากชนิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวสายธรรมชาติ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง อุทยานแห่งชาติแห่งนี้มาจากการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่บ้านบางมะนาว หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อหลายปีก่อน ทรงมีพระราชดำริให้มีการปรับปรุงด้านต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น สำนักงานป่าไม้ปัตตานีจึงได้สนองพระราชดำริดังกล่าว โดยทำการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติพิเศษ ป่าเขาตันหยง ในพื้นที่บริเวณนอกเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยานก่อนในเริ่มแรก มีเนื้อที่ประมาณ 23,278.25 ไร่ แล้วตั้งชื่อว่า วนอุทยานอ่าวมะนาว โดยกรมป่าไม้ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2536 การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๘๔ นราธิวาส-ตากใบ ๓ กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก ๓ กิโลเมตร พอข้ามสะพานข้ามแม่น้ำบางนราจะมีทางเลี้ยวซ้าย เข้าไปเพียง 2.5 ม. ก็จะไปถึงแนวป่าสนร่มรื่นและชายทะเลยาวเหยียด พร้อมทั้งป้ายใหญ่โตชื่อ อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง ท่านจะพบบริเวณริมหาดที่มีสวนรุกขชาติ และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทาง ๑ กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (คล้ายสับปะรด) เป็นต้น และในบริเวณใกล้เคียงยังมีบ้านพักของเอกชนให้บริการ เขาตันหยงนั้นเป็นภูเขาเตี้ยๆ มียอดหลายยอดมีพื้นที่พอประมาณไม่สูงนัก ด้านตะวันออกของภูเขาติดชายทะเลอ่าวไทยติดชายหาด ส่วนด้านตะวันตกติดแนวถนนหมายเลข 4064 ด้านทิศใต้เป็นพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์และด้านทิศเหนือจึงเป็นที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ อ่าวมะนาว-เขาตันหยงนี่เอง ช่วงหน้าน้ำช่วงที่ฝนตกมาหลายวันต่อเนื่องกัน จะมีลำธารน้ำเล็กๆ ตกลงมาจากเขาตันหยงลงสู่ทะเลสองสาย กลายเป็นน้ำตกชั้นเล็กๆ คือน้ำตกธาราสวรรค์ที่ไหลลงชายหาดอ่าวมะนาวแล้วลงสูทะเล กัยน้ำตกริมผา ที่ไหลตกลงจากหน้าผาเล็กๆ ก่อนไหลเข้าหมู่บ้านแล้วออกสู่ชายทะเลด้านทศเหนือ ห่างที่ทำการอุทยานฯไปไม่ไกล อุทยานแหงชาติอ่าวมะนาว-ขาตันหยง ยังคงสถานภาพเป็นอุทยานเตรียมการประกาศ แต่ก็ได้รักษาดูแลสถานที่ไว้จนสวยงาม สมกับเป็นอุทยานแห่งชาติที่ใกล้กับตัวเมืองนราธิวาสที่สุด มานราคราววหน้า ลองมาเที่ยวเขาตันหยง-อ่าวมะนาว แล้วจะประทับใจเมืองนี้ไปอีกนาน....
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 536 มุมมอง 0 รีวิว
  • หาดตะโละกาโปร์ จังหวัดปัตตานี
    หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ใน ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ชายหาดชื่อดังที่มาพร้อมกับทัศนีภาพอันงดงามของหาดทรายสีขาว ทอดยาวอยู่ขนานไปกับน้ำทะเลเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ตามชายหาดมีร่มเงาของต้นไม้คอยให้ความร่มรื่นอยู่เสมอ จึงทำให้ชายหาดแห่งนี้กลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจชื่อดังที่ชาวปัตตานีมักจะไปเล่นน้ำ เดินเล่น และชมพระอาทิตย์ตกดินอยู่เป็นประจำ

    สมัยก่อน บริเวณของหาดตะโละกาโปร์มีเปลือกหอยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่เก็บเปลือกหอยมาเผาไฟจนสุกกลายเป็นปูนขาว และนำมากินกับหมาก ซึ่งหอยที่ว่านั้นคาดว่าจะเป็น หอยขาว หรือ หอยแครง นั่นเอง เพราะหอยขาวถือเป็นหอยประจำอ่าวของที่นี่ และเป็นสินค้าส่งออกของอำเภอยะหริ่งเลยค่ะ ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ หาดตะโละกาโปร์ ในภาษามาลายู ตะโละ แปลว่า "อ่าว" ส่วน กาโปร์ แปลว่า "ปูน"

    นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวปัตตานีแล้ว หาดตะโละกาโปร์ยังตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านชาวประมง จึงไม่แปลกหากเราจะเห็น เรือกอและ เรือประมงพื้นบ้านของภาคใต้มาจอดเรียงรายกันหลายลำ แต่ละลำก็จะมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยจะผสมผสานลายมลายูลายชวาและลายไทยอย่างประณีตบรรจง สีสันฉูดฉาดโดดเด่นท่ามกลางท้องทะเล เป็นเสน่ห์ที่หาชมได้ยากจริงๆ

    #ปัตตานี
    #หาดตะโละกาโปร์
    หาดตะโละกาโปร์ จังหวัดปัตตานี หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ใน ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ชายหาดชื่อดังที่มาพร้อมกับทัศนีภาพอันงดงามของหาดทรายสีขาว ทอดยาวอยู่ขนานไปกับน้ำทะเลเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ตามชายหาดมีร่มเงาของต้นไม้คอยให้ความร่มรื่นอยู่เสมอ จึงทำให้ชายหาดแห่งนี้กลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจชื่อดังที่ชาวปัตตานีมักจะไปเล่นน้ำ เดินเล่น และชมพระอาทิตย์ตกดินอยู่เป็นประจำ สมัยก่อน บริเวณของหาดตะโละกาโปร์มีเปลือกหอยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่เก็บเปลือกหอยมาเผาไฟจนสุกกลายเป็นปูนขาว และนำมากินกับหมาก ซึ่งหอยที่ว่านั้นคาดว่าจะเป็น หอยขาว หรือ หอยแครง นั่นเอง เพราะหอยขาวถือเป็นหอยประจำอ่าวของที่นี่ และเป็นสินค้าส่งออกของอำเภอยะหริ่งเลยค่ะ ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ หาดตะโละกาโปร์ ในภาษามาลายู ตะโละ แปลว่า "อ่าว" ส่วน กาโปร์ แปลว่า "ปูน" นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวปัตตานีแล้ว หาดตะโละกาโปร์ยังตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านชาวประมง จึงไม่แปลกหากเราจะเห็น เรือกอและ เรือประมงพื้นบ้านของภาคใต้มาจอดเรียงรายกันหลายลำ แต่ละลำก็จะมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยจะผสมผสานลายมลายูลายชวาและลายไทยอย่างประณีตบรรจง สีสันฉูดฉาดโดดเด่นท่ามกลางท้องทะเล เป็นเสน่ห์ที่หาชมได้ยากจริงๆ #ปัตตานี #หาดตะโละกาโปร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 268 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง-พระราชินี พระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานประจำปี 2567
    วันที่ 28 กันยายน 2567
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับประเทศ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2567 ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และพระราชทานโล่เกียรติคุณและเงินรางวัลแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และอิหม่ามที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2566 และพระราชทานรางวัลแก่ผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ประจำปี 2566ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    ในหลวง-พระราชินี พระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานประจำปี 2567 วันที่ 28 กันยายน 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับประเทศ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2567 ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และพระราชทานโล่เกียรติคุณและเงินรางวัลแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และอิหม่ามที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2566 และพระราชทานรางวัลแก่ผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ประจำปี 2566ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Love
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 602 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกาะโลซิน แหล่งดำน้ำทรงคุณค่าแห่งอาณาจักรทะเลไทย

    หากใครไม่เคยรู้จักหรือเห็นภาพ “เกาะโลซิน” มาก่อน ก็คงนึกภาพไม่ออกว่าเกาะที่เป็นแหล่งดำน้ำสำคัญของไทยแห่งนี้หน้าตาเป็นอย่างไร และอาจจะจินตนาการถึงเกาะในแบบที่คุ้นตาซึ่งต้องมีชายหาด ทิวมะพร้าว เรือหางยาวจอดสวยๆซักลำ

    ความจริงแล้วเกาะโลซิน เสมือนกองหินกลางทะเลที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือน้ำประมาณสิบเมตรเท่านั้น สิ่งเดียวที่เห็นคือแนวหินกับประภาคารเล็กๆโดดเดี่ยวตั้งอยู่ห่างไกลจากฝั่งมากที่สุดของอ่าวไทย ระยะประมาณ 72 กิโลเมตรจากชายฝั่งจังหวัดปัตตานี
    แต่ทว่าเกาะจิ๋วแห่งนี้ มีคุณค่าต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะตามหลักอาณาเขตน่านน้ำสากลแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่จากจากเกาะโลซินออกไปอีกถึง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มิอาจประเมินค่าได้ และที่นี่ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่อุดมสมบูรณ์มากท่สุดแห่งหนึ่งของอ่าวไทยอีกด้วย

    ใต้ผืนน้ำของเกาะโลซินมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ เป็นบริเวณกว้าง ถ้านับแค่รอบๆเกาะก็มีพื้นที่ราว 2 สนามฟุตบอล มีฝูงปลา สัตว์ทะเลชนิดต่างๆจำนวนมาก เพราะยังไม่ค่อยถูกรบกวนจากการประมงมากนัก นักดำน้ำมีโอกาสสามารถพบฉลามวาฬได้ง่าย เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเรือประมงทำให้ฉลามวาฬเชื่องกับนักดำน้ำ มักว่ายมาวนให้ถ่ายรูปได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากนี้ยังมีปลาโรนิน หรือปลากระเบนท้องน้ำ ที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ง่ายจากที่อื่น



    เกาะโลซิน แหล่งดำน้ำทรงคุณค่าแห่งอาณาจักรทะเลไทย หากใครไม่เคยรู้จักหรือเห็นภาพ “เกาะโลซิน” มาก่อน ก็คงนึกภาพไม่ออกว่าเกาะที่เป็นแหล่งดำน้ำสำคัญของไทยแห่งนี้หน้าตาเป็นอย่างไร และอาจจะจินตนาการถึงเกาะในแบบที่คุ้นตาซึ่งต้องมีชายหาด ทิวมะพร้าว เรือหางยาวจอดสวยๆซักลำ ความจริงแล้วเกาะโลซิน เสมือนกองหินกลางทะเลที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือน้ำประมาณสิบเมตรเท่านั้น สิ่งเดียวที่เห็นคือแนวหินกับประภาคารเล็กๆโดดเดี่ยวตั้งอยู่ห่างไกลจากฝั่งมากที่สุดของอ่าวไทย ระยะประมาณ 72 กิโลเมตรจากชายฝั่งจังหวัดปัตตานี แต่ทว่าเกาะจิ๋วแห่งนี้ มีคุณค่าต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะตามหลักอาณาเขตน่านน้ำสากลแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่จากจากเกาะโลซินออกไปอีกถึง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มิอาจประเมินค่าได้ และที่นี่ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่อุดมสมบูรณ์มากท่สุดแห่งหนึ่งของอ่าวไทยอีกด้วย ใต้ผืนน้ำของเกาะโลซินมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ เป็นบริเวณกว้าง ถ้านับแค่รอบๆเกาะก็มีพื้นที่ราว 2 สนามฟุตบอล มีฝูงปลา สัตว์ทะเลชนิดต่างๆจำนวนมาก เพราะยังไม่ค่อยถูกรบกวนจากการประมงมากนัก นักดำน้ำมีโอกาสสามารถพบฉลามวาฬได้ง่าย เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเรือประมงทำให้ฉลามวาฬเชื่องกับนักดำน้ำ มักว่ายมาวนให้ถ่ายรูปได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากนี้ยังมีปลาโรนิน หรือปลากระเบนท้องน้ำ ที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ง่ายจากที่อื่น
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 318 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี #ทรงฉลองพระองค์ชุดบานง โทนสีม่วง ในโอกาสตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
    --
    สำหรับชุด “บานง” #เป็นเครื่องแต่งกายของสตรีไทยมุสลิมตามประเพณีดั้งเดิม ซึ่งมีความสวยงามและมีเสน่ห์ชวนมอง คำว่า “บานง” มาจาก #ภาษามลายูกลาง ว่า “บันดง” หมายถึง เมืองทางตะวันตกของเกาะชวา
    --
    #ชุดบานง เป็นชุดพื้นเมืองดั้งเดิมที่สตรีไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส นิยมสวมใส่ในงานประเพณีหรือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น พิธีนิก๊ะ งานรอมฏอน วันฮารีรายอ งานวันเมาลิด และการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น นิยมสวมใส่กับผ้าถุงปาเต๊ะ กระโปรงป้าย หรือกระโปรง จีบหน้านาง

    #ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


    @เรารักราชวงศ์จักรี
    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี #ทรงฉลองพระองค์ชุดบานง โทนสีม่วง ในโอกาสตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา -- สำหรับชุด “บานง” #เป็นเครื่องแต่งกายของสตรีไทยมุสลิมตามประเพณีดั้งเดิม ซึ่งมีความสวยงามและมีเสน่ห์ชวนมอง คำว่า “บานง” มาจาก #ภาษามลายูกลาง ว่า “บันดง” หมายถึง เมืองทางตะวันตกของเกาะชวา -- #ชุดบานง เป็นชุดพื้นเมืองดั้งเดิมที่สตรีไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส นิยมสวมใส่ในงานประเพณีหรือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น พิธีนิก๊ะ งานรอมฏอน วันฮารีรายอ งานวันเมาลิด และการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น นิยมสวมใส่กับผ้าถุงปาเต๊ะ กระโปรงป้าย หรือกระโปรง จีบหน้านาง #ขอพระองค์ทรงพระเจริญ @เรารักราชวงศ์จักรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 446 มุมมอง 0 รีวิว
  • นิด้าโพลสำรวจเสียงคนใต้เกินครึ่งไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มีผลเลือกตั้งครั้งหน้าไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์

    ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

    จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.58 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เลือก รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.48 ระบุว่า เลือก

    เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.87 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 15.27 จังหวัดสงขลา ร้อยละ 11.53 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 8.01 จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 7.10 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.95 จังหวัดตรัง ร้อยละ 5.80 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 5.57 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 5.34 จังหวัดยะลา ร้อยละ 4.96 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 4.43 จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 3.36 จังหวัดสตูล ร้อยละ 2.90 จังหวัดพังงา และร้อยละ 1.91 จังหวัดระนอง ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

    ตัวอย่าง ร้อยละ 14.35 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.29 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 72.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 27.25 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

    ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.74 สมรส และร้อยละ 1.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

    ตัวอย่าง ร้อยละ 11.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

    ตัวอย่าง ร้อยละ 18.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 16.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.63 ไม่ระบุรายได้

    ที่มา https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=716

    #Thaitimes
    นิด้าโพลสำรวจเสียงคนใต้เกินครึ่งไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มีผลเลือกตั้งครั้งหน้าไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.58 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เลือก รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.48 ระบุว่า เลือก เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.87 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 15.27 จังหวัดสงขลา ร้อยละ 11.53 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 8.01 จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 7.10 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.95 จังหวัดตรัง ร้อยละ 5.80 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 5.57 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 5.34 จังหวัดยะลา ร้อยละ 4.96 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 4.43 จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 3.36 จังหวัดสตูล ร้อยละ 2.90 จังหวัดพังงา และร้อยละ 1.91 จังหวัดระนอง ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 14.35 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.29 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 72.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 27.25 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.74 สมรส และร้อยละ 1.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 11.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 18.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 16.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.63 ไม่ระบุรายได้ ที่มา https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=716 #Thaitimes
    Like
    Haha
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1315 มุมมอง 0 รีวิว